คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 180

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 390 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องเล็กน้อย และการเรียกค่าธรรมเนียมผิดนัดบัตรเครดิต
การที่จะวินิจฉัยว่าการแก้ไขคำฟ้องอย่างไรเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยนั้น จำเป็นต้องดูคำบรรยายฟ้องของโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาในการใช้บัตรไดเนอร์สคลับที่โจทก์ออกให้ไปใช้ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2532 โดยจำเลยค้างชำระหนี้แก่โจทก์จำนวน 20,620 บาท โจทก์ทวงถามแล้วไม่ชำระ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินให้โจทก์จำนวน 20,620 บาท พร้อมค่าธรรมเนียมผิดนัดอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2532 คำนวณถึงวันฟ้องจำนวน 4,646.37 บาท รวมเป็นเงิน25,266.37 บาท แต่โจทก์กลับบรรยายฟ้องขอบังคับให้จำเลยชำระเงินจำนวน4,646.37 บาท พร้อมค่าธรรมเนียมผิดนัดอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ในต้นเงินจำนวน 20,620 บาท เห็นได้ชัดว่าการพิมพ์ฟ้องของโจทก์ผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากเจตนา ต้องถือว่าเป็นการผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อย ซึ่งโจทก์ย่อมยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมได้แม้ภายหลังวันชี้สองสถาน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 180
อุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบ แม้ศาลอุทธรณ์จะไม่รับวินิจฉัยโดยยกเหตุคนละเหตุว่า ข้ออุทธรณ์ของจำเลยนั้นจำเลยไม่เคยให้การต่อสู้คดีไว้ และจำเลยฎีกาว่าศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยไม่ชอบก็ตามก็ถือได้ว่าไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249
ตามวิธีการของการใช้บัตรไดเนอร์สคลับ เมื่อจำเลยนำบัตรของโจทก์ไปใช้ โจทก์จะชำระหนี้แทนจำเลย จำเลยมีหน้าที่จะชำระเงินคืนโจทก์ภายในกำหนด ในกรณีนี้จำเลยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมผิดนัด แต่หากจำเลยไม่ชำระเงินคืนให้โจทก์ภายในกำหนด โจทก์จะเรียกค่าธรรมเนียมผิดนัดอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน โดยไม่ปรากฏว่าเรียกค่าเสียหายอย่างอื่นอีก จึงเห็นได้ว่าค่าธรรมเนียมผิดนัดไม่ใช่ดอกเบี้ยตามความหมายของ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 แต่มีลักษณะคล้ายเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้โจทก์จึงฟ้องเรียกค่าธรรมเนียมผิดนัดดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องหลังวันชี้สองสถาน: ข้อผิดพลาดเล็กน้อย/ผิดหลงเล็กน้อย และค่าธรรมเนียมผิดนัด
การที่จะวินิจฉัยว่าการแก้ไขอย่างไรเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำฟ้องจำเป็นต้องดูคำบรรยายฟ้องของโจทก์ซึ่งตามปกติการขอแก้ไขเพิ่มเติมสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับและข้ออ้างอันเป็นที่อาศัยแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172ถือว่าเป็นการขอแก้ไขเพิ่มเติมในข้อสาระสำคัญ โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาในการใช้บัตรสินเชื่อที่โจทก์ออกให้ไปใช้โดยจำเลยค้างชำระหนี้แก่โจทก์จำนวน20,620บาทจำเลยต้องรับผิดชำระเงินให้โจทก์จำนวน20,620บาทพร้อมค่าธรรมเนียมผิดนัดอัตราร้อยละ2ต่อเดือนคำนวณถึงวันฟ้องจำนวน4,646.37บาทรวมเป็นเงิน25,266.37บาทซึ่งปกติถ้าโจทก์ไม่บรรยายคำฟ้องต่อไปว่าไม่ประสงค์เรียกร้องให้ตรงจำนวนหนี้แล้วโจทก์ก็ต้องบรรยายคำขอบังคับให้จำเลยชำระเงินจำนวนที่จำเลยต้องรับผิดดังกล่าวแต่โจทก์กลับบรรยายฟ้องขอบังคับให้จำเลยชำระเงินจำนวน4,646.37บาทพร้อมค่าธรรมเนียมผิดนัดอัตราร้อยละ2ต่อเดือนในต้นเงินจำนวน20,620บาทเห็นได้ชัดว่าการพิมพ์ฟ้องของโจทก์ผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากเจตนาต้องถือว่าเป็นการผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยซึ่งโจทก์ย่อมยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมได้แม้ภายหลังวันชี้สองสถานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา180 โจทก์ได้บรรยายวิธีการใช้บัตรสินเชื่อไว้ว่าเมื่อสมาชิกผู้มีบัตรประสงค์จะซื้อสินค้าใช้บริการหรืออื่นๆสมาชิกสามารถนำบัตรดังกล่าวไปแสดงต่อบุคคลนิติบุคคลหรือร้านค้าต่างๆซึ่งตกลงรับบัตรที่โจทก์ออกให้โดยไม่ต้องชำระเงินสดซึ่งโจทก์จะเป็นผู้ชำระเงินแทนสมาชิกแล้วภายหลังจึงเรียกเก็บจากสมาชิกเป็นรายเดือนโดยแนบใบแจ้งยอดบัญชีกับหลักฐานซึ่งแสดงว่าสมาชิกได้ซื้อสินค้าหรือใช้บริการแต่ละครั้งไปด้วยฟ้องโจทก์บรรยายชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาผิดสัญญาคำขอบังคับและข้ออ้างอันเป็นที่อาศัยแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172แล้วไม่เคลือบคลุม ตามวิธีการใช้บัตรสินเชื่อของโจทก์เมื่อจำเลยนำบัตรของโจทก์ไปใช้โจทก์จะชำระหนี้แทนจำเลยจำเลยมีหน้าที่จะชำระเงินคืนโจทก์ภายในกำหนดซึ่งกรณีนี้จำเลยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมผิดนัดแต่หากจำเลยไม่ชำระเงินคืนให้โจทก์ภายในกำหนดโจทก์จะเรียกค่าธรรมเนียมผิดนัดโดยไม่เรียกค่าเสียหายอย่างอื่นอีกค่าธรรมเนียมผิดนัดไม่ใช่ดอกเบี้ยตามความหมายของพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพ.ศ.2475แต่มีลักษณะคล้ายเบี้ยปรับเมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้โจทก์จึงฟ้องเรียกค่าธรรมเนียมผิดนัดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6373/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้อง: เพิ่มเติมข้อเท็จจริงเดิมได้ ไม่ถือเป็นการตั้งข้อหาใหม่ ศาลมีอำนาจเพิกถอนโฉนดที่ดินออกโดยไม่ชอบ
ตามคำฟ้องเดิมโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันบุกรุกเข้าไปปลูกบ้านในที่พิพาท ขอให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและออกจากที่พิพาท ส่วนตามคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องโจทก์ขอเพิ่มเติมคำฟ้องว่า ทั้ง บ. และโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่พิพาทโดยฝากให้จำเลยที่ 1 ดูแลที่พิพาท มิได้อนุญาตให้จำเลยที่ 1เข้าไปอยู่ในที่พิพาท เป็นการเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์มิใช่เป็นการตั้งข้อหาใหม่หรือเปลี่ยนแปลงข้อหาในคำฟ้องเดิมแต่อย่างใด ส่วนที่โจทก์ขอให้พิพากษาทำลายโฉนดที่ดินส่วนที่ออกทับที่พิพาทนั้น มีความหมายว่าโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 1 ส่วนที่ทับที่พิพาทออกมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะที่พิพาทเป็นของโจทก์ซึ่งเป็นข้อหาตามคำฟ้องเดิมอยู่แล้ว แม้โจทก์จะไม่มีคำขอดังกล่าวมาท้ายฟ้อง หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโฉนดที่ดินออกทับที่ดินโจทก์ซึ่งเป็นที่พิพาทศาลก็มีอำนาจสั่งเพิกถอนได้ ดังนั้นการขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องของโจทก์ จึงเป็นการเพิ่มเติมข้อเท็จจริงในฟ้องเดิมให้บริบูรณ์และเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกัน โจทก์มีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6164/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแทน, การแก้ไขคำฟ้อง, และการพิสูจน์หนี้: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นการฟ้องร้องและการแก้ไขคำฟ้องในคดีหนี้สิน
หนังสือมอบอำนาจระบุให้ อ. ดำเนินคดีทางศาลแทนโจทก์ได้ทั่วไปในคดีทุกชนิด ทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา และคดีล้มละลาย จึงเป็นหนังสือมอบอำนาจทั่วไป แม้โจทก์จะได้มอบอำนาจโดยมิได้ระบุให้ฟ้องผู้ใดเป็นจำเลย และมอบอำนาจไว้นานเพียงใด อ. ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยแทนโจทก์โดยไม่จำต้องมีหนังสืออนุญาตจากโจทก์ให้ฟ้องจำเลยอีก
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงจำนวนหนี้พร้อมดอกเบี้ยที่จำเลยค้างชำระโจทก์แจ้งชัดพอที่จำเลยจะเข้าใจแล้ว ส่วนโจทก์จะคิดดอกเบี้ยอย่างไร จากยอดเงินใด ระยะเวลาเท่าใด เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาและแสดงหลักฐานต่าง ๆ ประกอบข้อเท็จจริงในฟ้องได้ หาทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดีไม่ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยยังติดค้างหนี้โจทก์เฉพาะต้นเงินยังไม่รวมดอกเบี้ยจำนวน 2,703,000 บาทเศษ แม้จำเลยจะยังโต้เถียงอยู่ว่าโจทก์คำนวณดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง ก็ถือได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ซึ่งอาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนไม่น้อยกว่า 500,000 บาท
โจทก์ขอแก้ไขจำนวนหนี้ในฟ้องให้ถูกต้องตามความเป็นจริงเมื่อแก้แล้วจำนวนหนี้โดยเฉพาะต้นเงินก็ยังไม่น้อยกว่า 500,000 บาท ตามเดิมและในเรื่องนี้ศาลฎีกาก็วินิจฉัยไว้เพียงว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ในต้นเงินไม่น้อยกว่า500,000 บาท โดยมิได้ชี้ชัดในชั้นนี้ว่ายอดหนี้ทั้งหมดที่ถูกต้องเป็นเท่าใด เพราะจะต้องไปว่ากันในชั้นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อยู่แล้ว ฉะนั้นฎีกาของจำเลยที่ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วเป็นการไม่ชอบ จึงไม่เป็นสาระแก่คดี เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องหรือไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยคงมีแต่พยานบุคคลมาสืบต่อสู้ว่าชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้วโดยไม่ปรากฏว่าได้อ้างอิงพยานเอกสารแสดงถึงการชำระหนี้ หากให้จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบอีกในประเด็นนี้ก็ไม่ทำให้การวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไป ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตัดพยานบุคคลของจำเลยที่จะนำสืบในประเด็นดังกล่าวจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6164/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจทั่วไป, การฟ้องล้มละลาย, หนี้สิน, การแก้ไขคำฟ้อง, พยานหลักฐาน
หนังสือมอบอำนาจระบุให้ อ. ดำเนินคดีทางศาลแทนโจทก์ได้ทั่วไปในคดีทุกชนิด ทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา และคดีล้มละลายจึงเป็นหนังสือมอบอำนาจทั่วไป แม้โจทก์จะได้มอบอำนาจโดยมิได้ระบุให้ฟ้องผู้ใดเป็นจำเลย และมอบอำนาจไว้นานเพียงใด อ. ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยแทนโจทก์โดยไม่จำต้องมีหนังสืออนุญาตจากโจทก์ให้ฟ้องจำเลยอีก ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงจำนวนหนี้พร้อมดอกเบี้ยที่จำเลยค้างชำระโจทก์แจ้งชัดพอที่จำเลยจะเข้าใจแล้ว ส่วนโจทก์จะคิดดอกเบี้ยอย่างไรจากยอดเงินใด ระยะเวลาเท่าใด เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาและแสดงหลักฐานต่าง ๆ ประกอบข้อเท็จจริงในฟ้องได้หาทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดีไม่ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยยังติดค้างหนี้โจทก์เฉพาะต้นเงินยังไม่รวมดอกเบี้ยจำนวน 2,703,000 บาทเศษ แม้จำเลยจะยังโต้เถียงอยู่ว่า โจทก์คำนวณดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง ก็ถือได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ซึ่งอาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนไม่น้อยกว่า 500,000 บาท โจทก์ขอแก้ไขจำนวนหนี้ในฟ้องให้ถูกต้องตามความเป็นจริงเมื่อแก้แล้วจำนวนหนี้โดยเฉพาะต้นเงินก็ยังไม่น้อยกว่า 500,000 บาทตามเดิมและในเรื่องนี้ศาลฎีกาก็วินิจฉัยไว้เพียงว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ในต้นเงินไม่น้อยกว่า 500,000 บาท โดยมิได้ชี้ขัดในชั้นนี้ว่ายอดหนี้ทั้งหมดที่ถูกต้องเป็นเท่าใด เพราะจะต้องไปว่ากันในชั้นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อยู่แล้ว ฉะนั้นฎีกาของจำเลยที่ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วเป็นการไม่ชอบ จึงไม่เป็นสาระแก่คดี เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องหรือไม่ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยคงมีแต่พยานบุคคลมาสืบต่อสู้ว่าชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้วโดยไม่ปรากฏว่าได้อ้างอิงพยานเอกสารแสดงถึงการชำระหนี้หากให้จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบอีกในประเด็นนี้ก็ไม่ทำให้การวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไป ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตัดพยานบุคคลของจำเลยที่จะนำสืบในประเด็นดังกล่าวจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4874/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การที่ไม่เป็นสาระต่อคดี เมื่อประเด็นข้อพิพาทหลักได้สละไปแล้ว คงเหลือเฉพาะประเด็นค่าเสียหาย
คำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยเป็นเรื่องเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทที่ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์หรือไม่ซึ่งคู่ความได้สละแล้ว คงเหลือประเด็นค่าเสียหายเท่านั้น แม้ศาลจะอนุญาตก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไปจึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้แก้ไขคำให้การชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4874/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การที่เกินกรอบประเด็นข้อพิพาทเดิม ศาลไม่อนุญาต เพราะไม่เป็นสาระต่อคดี
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นมารดาของ ส. จำเลยที่ 2 ที่ 3เป็นบิดามารดาและผู้ดูแลปกครองจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เยาว์และจำเลยที่ 1 กับพวกได้ทำร้าย ส.เป็นเหตุให้ส. ถึงแก่ความตายทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยทั้งสามให้การว่า โจทก์มิได้เป็นมารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบธรรมของ ส. ฟ้องโจทก์ขาดอายุความจำเลยที่ 1 เป็นผู้เยาว์โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ใหญ่มีความรับผิดชอบตนเองแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 ทั้งจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำละเมิดต่อ ส.ค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายที่โจทก์ฟ้องสูงเกินไป คดีอยู่ในระหว่างการดำเนินคดีอาญายังไม่ทราบว่าใครเป็นผู้กระทำผิด และฟ้องโจทก์เคลือบคลุมขอให้ยกฟ้อง ในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อหนึ่งว่า "จำเลยที่ 2 ที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์หรือไม่" และปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นในภายหลังว่า "คู่ความแถลงขอให้รอฟังผลคดีอาญาจนถึงที่สุดโดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 ยอมรับผลของคดีอาญาดังกล่าวเมื่อถึงที่สุด คดีมีประเด็นเรื่องค่าเสียหายเท่านั้น" ดังนี้คำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3มิใช่บิดามารดาของจำเลยที่ 1 ในขณะเกิดเหตุ เพราะมีบุคคลภายนอกได้จดทะเบียนรับจำเลยที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรมก่อนเกิดเหตุแล้วจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองจำเลยที่ 1 ในขณะเกิดเหตุ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทข้อดังกล่าว ซึ่งคู่ความได้สละประเด็นไปแล้ว คงเหลือประเด็นเรื่องค่าเสียหายเท่านั้น แม้ศาลจะอนุญาตให้แก้ไขคำให้การก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทข้อนี้ และข้ออื่น ๆ เว้นแต่เรื่องค่าเสียหายเปลี่ยนแปลงไปคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีจึงชอบที่ศาลจะไม่รับคำร้องขอแก้ไขคำให้การนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3629/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้อง, การกำหนดประเด็นข้อพิพาท, ความประมาทเลินเล่อ, เหตุสุดวิสัย, ความรับผิดทางละเมิด
การขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับหมายเลขทะเบียนรถคันเกิดเหตุเป็นกรณีแก้ไขข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดเล็กน้อยในรายละเอียดเพื่อให้ตรงตามความเป็นจริง ไม่จำต้องขอแก้ไขก่อนวันชี้สองสถานเพราะเข้าข้อยกเว้นของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับหมายเลขทะเบียนของรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุ ย่อมมีผลให้คำฟ้องของโจทก์และรายงานการชี้สองสถานในประเด็นเกี่ยวกับหมายเลขทะเบียนของรถคันดังกล่าวต้องเปลี่ยนไปตามที่โจทก์ขอแก้ไขโดยไม่ต้องทำการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ เหตุที่รถชนกันเกิดขึ้นเพราะยางรถยนต์ระเบิด ไม่เป็นเหตุสุดวิสัยเพราะเป็นหน้าที่ของผู้ขับขี่จะต้องตรวจตราระมัดระวังให้รถอยู่ในสภาพเรียบร้อยและขับด้วยความปลอดภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3629/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องหมายเลขทะเบียนรถ และการพิสูจน์ความรับผิดจากเหตุละเมิดเนื่องจากความประมาท
การขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับหมายเลขทะเบียนรถเป็นกรณีแก้ไขข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดเล็กน้อยในรายละเอียดเพื่อให้ตรงตามความเป็นจริงไม่จำต้องขอแก้ไขก่อนวันชี้สองสถานเพราะเข้าข้อยกเว้นของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับหมายเลขทะเบียนของรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุย่อมมีผลให้คำฟ้องของโจทก์และรายงานการชี้สองสถานในประเด็นเกี่ยวกับหมายเลขทะเบียนของรถคันดังกล่าวต้องเป็นไปตามที่โจทก์ขอแก้ไข แม้เหตุที่รถเกิดชนกันเป็นเพราะยางรถยนต์คันที่ น.ขับมาเกิดระเบิดขึ้นก็ตาม ก็หาเป็นเหตุสุดวิสัยไม่ เพราะเป็นหน้าที่ของ น. ผู้ขับขี่จะต้องตรวจตราระมัดระวังให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยและขับด้วยความปลอดภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3629/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้อง, หมายเลขทะเบียนรถ, เหตุสุดวิสัย, ความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่
การขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับหมายเลขทะเบียนรถเป็นกรณีแก้ไขข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดเล็กน้อยในรายละเอียดเพื่อให้ตรงตามความเป็นจริงไม่จำต้องขอแก้ไขก่อนวันชี้สองสถานเพราะเข้าข้อยกเว้นของ ป.วิ.พ.มาตรา 180
การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับหมายเลขทะเบียนของรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุย่อมมีผลให้คำฟ้องของโจทก์และรายงานการชี้สองสถานในประเด็นเกี่ยวกับหมายเลขทะเบียนของรถคันดังกล่าวต้องเป็นไปตามที่โจทก์ขอแก้ไข
แม้เหตุที่รถเกิดชนกันเป็นเพราะยางรถยนต์คันที่ น.ขับมาเกิดระเบิดขึ้นก็ตาม ก็หาเป็นเหตุสุดวิสัยไม่ เพราะเป็นหน้าที่ของ น.ผู้ขับขี่จะต้องตรวจตราระมัดระวังให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยและขับด้วยความปลอดภัย
of 39