พบผลลัพธ์ทั้งหมด 390 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1898/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องในคดีตั๋วสัญญาใช้เงิน: อายุความสะดุดหยุดเมื่อมีการฟ้อง และสามารถแก้ไขคำฟ้องได้แม้พ้น 3 ปี
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินภายในกำหนดอายุความ 3 ปี นับแต่วันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดแล้วอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 เดิม และโจทก์ย่อมมีสิทธิขอแก้ไขคำฟ้องได้ภายในกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180 แม้จะยื่นคำร้องขอแก้ไขเมื่อพ้นกำหนด 3 ปี นับแต่วันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นถึงกำหนดแล้วก็ตาม ก็ไม่ทำให้คดีขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1898/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความตั๋วสัญญาใช้เงินและการแก้ไขคำฟ้อง
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินภายในกำหนดอายุความ 3 ปี นับแต่วันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดแล้วอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 เดิม และโจทก์ย่อมมีสิทธิขอแก้ไขคำฟ้องได้ภายในกำหนดเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 แม้จะยื่นคำร้องขอแก้ไขเมื่อพ้นกำหนด 3 ปี นับแต่วันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นถึงกำหนดแล้วก็ตาม ก็ไม่ทำให้คดีขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องหลังวันชี้สองสถาน: การพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 และผลกระทบจากประกาศ คสช.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 วรรคสองที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง บัญญัติไว้ว่า ถ้าศาลเห็นว่า ฯลฯ (2) คู่ความที่ขอแก้ไขคำฟ้อง หรือคำให้การ อาจยื่นคำร้องได้ก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยานแล้วแต่กรณีและคดีไม่เกี่ยวกับความงบเรียบร้อยของประชาชนให้ศาลมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสีย บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องไว้2 ประการ คือ ประการแรก กรณีที่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้ก่อนวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยาน และคดีไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน หากยื่นคำร้องหลังวันดังกล่าวให้ศาลมีคำสั่งยกคำร้องแต่ถ้าเป็นคดีเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็อาจยื่นคำร้องหลังวันดังกล่าวได้ประการที่สอง กรณีที่ไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้ก่อนวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยาน ย่อมจะยื่นคำร้องหลังวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยานได้ไม่ว่าจะเป็นคดีที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่ มาใช้แก่คดีนี้ได้หรือไม่เป็นอำนาจของศาลที่จะวินิจฉัยในชั้นพิจารณากำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์ในชั้นนี้เป็นเรื่องการพิจารณาว่าการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180 หรือไม่ จึงไม่ต้องนำบทบัญญัติดังกล่าวมาพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้อง: หลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 และอำนาจศาล
ป.วิ.พ. มาตรา 180 วรรคสอง ที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง บัญญัติไว้ว่า ถ้าศาลเห็นว่า ฯลฯ (2) คู่ความที่ขแก้ไขคำฟ้อง หรือคำให้การ อาจยื่นคำร้องได้ก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยานแล้วแต่กรณีและคดีไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนให้ศาลมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสีย บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องไว้ 2 ประการ คือ ประการแรก กรณีที่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้ก่อนวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยาน และคดีไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน หากยื่นคำร้องหลังวันดังกล่าวให้ศาลมีคำสั่งยกคำร้องแต่ถ้าเป็นคดีเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็อาจยื่นคำร้องหลังวันดังกล่าวได้ ประการที่สอง กรณีที่ไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้ก่อนวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยาน ย่อมจะยื่นคำร้องหลังวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยานได้ไม่ว่าจะเป็นคดีที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่ มาใช้แก่คดีนี้ได้หรือไม่เป็นอำนาจของศาลที่จะวินิจฉัยในชั้นพิจารณากำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์ในชั้นนี้เป็นเรื่องการพิจารณาว่าการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 180 หรือไม่ จึงไม่ต้องนำบทบัญญัติดังกล่าวมาพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 105/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขรายละเอียดในฟ้องหลังชี้สองสถาน มิใช่การแก้ไขคำฟ้องตามมาตรา 179 ไม่อยู่ในบังคับมาตรา 180
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขวันที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นเรื่องขอแก้ไขรายละเอียดในฟ้องเท่านั้น มิใช่เป็นการขอแก้ไขคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องขอแก้ไขในระยะเวลาตามมาตรา 180
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5589/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีและการเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากกระบวนการพิจารณาคดีที่ไม่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาถึงชั้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2531 แล้ว ก่อนวันนัดดังกล่าวโจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 7 เมษายน 2531 ขอแก้ไขคำฟ้องจากเดิมที่ขอเรียกค่าเสียหายนับแต่วันทำละเมิดเป็นนับแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต และสั่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องต่อไปว่า "สำเนาให้จำเลย ส่งธรรมดาไม่ได้ให้ปิด" ขณะเดียวกันจำเลยที่ 3ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีในวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่11 เมษายน 2531 ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปวันที่15 มิถุนายน 2531 ต่อมาเจ้าหน้าที่ศาลรายงานต่อศาลชั้นต้นว่า โจทก์ไม่มานำส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 ว่า ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดี และเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 15 มิถุนายน 2531 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้จำหน่ายคดีของโจทก์อีกครั้งหนึ่ง ดังนี้คำสั่งจำหน่ายคดีเป็นผลให้คดีเสร็จไปจากศาล โดยไม่ต้องมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี นอกเหนือจากการวินิจฉัยชี้ขาดคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีในกรณีใดนั้น ย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีนี้เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 เป็นการอ้างเหตุตามมาตรา 132(1) และเมื่อมีคำสั่งจำหน่ายคดีแล้วมีผลทำให้คดีเสร็จไปจากศาลชั้นต้น การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจนมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา และมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2531ซ้ำอีกจึงเป็นการไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2531จึงไม่มีผลใช้บังคับ คงเหลือเพียงคำสั่งจำหน่ายคดีเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 ดังนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531ไม่ชอบ โจทก์ย่อมอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ และมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเป็นการพิจารณาผิดระเบียบศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจสั่งให้เพิกถอนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ยกคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นโดยให้เพิกถอนการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ผิดระเบียบ ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่นั้น เป็นผลทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เสียประโยชน์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ย่อมมีสิทธิฎีกาได้ตามหลักทั่วไป และคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในกรณีนี้ก็หาได้มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นที่สุดไม่ จำเลยที่ 1ที่ 2 จึงฎีกาในข้อนี้ได้ คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องในคดีนี้เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ประสงค์แก้ไขให้ถูกต้องตามสิทธิของโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยที่มีสิทธิเรียกเอาเงินที่ตนได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยนับแต่วันที่ใช้เงินไป มิใช่นับแต่วันที่มีการละเมิด ทั้งการแก้ไขดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่โจทก์ คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเช่นนี้จึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180,181 คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยก็เป็นเพียงเพื่อให้รับทราบเท่านั้น ทั้งการสั่งให้ปิดหมายนัดก็มิได้สั่งให้โจทก์ปฏิบัติเช่นใดให้ชัดเจนและเมื่อมิใช่คำฟ้องตั้งต้นคดีซึ่งโจทก์มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(1)แล้วบทบัญญัตินี้ก็จะนำมาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5589/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเนื่องจากทิ้งฟ้อง การเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี และอำนาจศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกเมื่อวันที่ 11 เมษายน2531 ก่อนวันนัดโจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 7 เมษายน 2531ขอแก้ไขคำฟ้อง ศาลมีคำสั่งอนุญาต และสั่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องต่อไปว่า "สำเนาให้จำเลย ส่งธรรมดาไม่ได้ ให้ปิด"ขณะเดียวกันจำเลยได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไป วันที่ 15 มิถุนายน 2531 ต่อมาเจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่า โจทก์ไม่นำส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 ว่า ถือว่า โจทก์ทิ้งฟ้อง ให้จำหน่ายคดี และเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ วันที่ 15 มิถุนายน 2531 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้จำหน่ายคดีของโจทก์อีกครั้งหนึ่งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดี เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม2531 เป็นกรณีการอ้างเหตุตามมาตรา 132(1)แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และเมื่อมีคำสั่งจำหน่ายคดีแล้ว มีผลทำให้คดีเสร็จไปจากศาลชั้นต้นดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นกลับดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจนมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา และมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ซ้ำอีก จึงเป็นการไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่มีผลใช้บังคับคงเหลือเพียงคำสั่งจำหน่ายคดีเมื่อวันที่19 พฤษภาคม 2531 เมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 ไม่ชอบโจทก์ย่อมอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเป็นการพิจารณาผิดระเบียบศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจสั่งให้เพิกถอนได้ตามมาตรา 27 คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่เป็นผลทำให้จำเลยเสียประโยชน์ จำเลยย่อมมีสิทธิฎีกาได้ตามหลักทั่วไป และคำพิพากษา ของศาลอุทธรณ์ในกรณีที่ให้เพิกถอนการพิจารณาของศาลชั้นต้น ที่ผิดระเบียบให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาพิพากษาใหม่ ตามรูปคดีหาได้มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นที่สุดไม่ จำเลย จึงฎีกาในข้อนี้ได้ ตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องขอแก้จากเดิมที่ขอเรียกค่าเสียหาย นับแต่วันทำละเมิดเป็นนับแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่ผู้เอาประกันภัย เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ ประสงค์จะแก้ไขให้ถูกต้องตามสิทธิของโจทก์ในฐานะที่โจทก์ เป็นผู้รับประกันภัยที่มีสิทธิเรียกเอาเงินที่ตนได้ใช้ ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันนับแต่วันที่ใช้เงินไปมิใช่นับแต่วันที่มีการละเมิด ทั้งการแก้ไขดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่โจทก์คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเช่นนี้จึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180,181 คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยก็เป็นเพียงเพื่อให้รับทราบเท่านั้น และเมื่อมิใช่คำฟ้องตั้งต้นคดีซึ่งโจทก์มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามมาตรา 174(1) แล้ว บทบัญญัตินี้ก็จะนำมาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์อันจะถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5589/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีที่ไม่ถูกต้องและการแก้ไขคำฟ้องที่ไม่กระทบสิทธิคู่ความ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจเพิกถอนคำสั่งได้
ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาถึงชั้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2531 แล้ว ก่อนวันนัดดังกล่าว โจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 7เมษายน 2531 ขอแก้ไขคำฟ้องจากเดิมที่ขอเรียกค่าเสียหายนับแต่วันทำละเมิดเป็นนับแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต และสั่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องต่อไปว่า "สำเนาให้จำเลย ส่งธรรมดาไม่ได้ให้ปิด" ขณะเดียวกันจำเลยที่ 3 ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีในวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่11 เมษายน 2531 ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปวันที่ 15 มิถุนายน 2531 ต่อมาเจ้าหน้าที่ศาลรายงานต่อศาลชั้นต้นว่า โจทก์ไม่มานำส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 ว่า ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดี และเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 15 มิถุนายน 2531ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้จำหน่ายคดีของโจทก์อีกครั้งหนึ่ง ดังนี้คำสั่งจำหน่ายคดีเป็นผลให้คดีเสร็จไปจากศาล โดยไม่ต้องมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี นอกเหนือจากการวินิจฉัยชี้ขาดคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีในกรณีใดนั้น ย่อมเป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 132 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีนี้เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 เป็นการอ้างเหตุตามมาตรา 132 (1) และเมื่อมีคำสั่งจำหน่ายคดีแล้ว มีผลทำให้คดีเสร็จไปจากศาลชั้นต้นการที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจนมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา และมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2531 ซ้ำอีกจึงเป็นการไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2531จึงไม่มีผลใช้บังคับ คงเหลือเพียงคำสั่งจำหน่ายคดีเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531ดังนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531ไม่ชอบ โจทก์ย่อมอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ และมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเป็นการพิจารณาผิดระเบียบ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจสั่งให้เพิกถอนได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ยกคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นโดยให้เพิกถอนการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ผิดระเบียบ ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่นั้น เป็นผลทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เสียประโยชน์ จำเลยที่ 1 ที่ 2ย่อมมีสิทธิฎีกาได้ตามหลักทั่วไป และคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในกรณีนี้ก็หาได้มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นที่สุดไม่ จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงฎีกาในข้อนี้ได้
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องในคดีนี้เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ประสงค์แก้ไขให้ถูกต้องตามสิทธิของโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยที่มีสิทธิเรียกเอาเงินที่ตนได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยนับแต่วันที่ใช้เงินไป มิใช่นับแต่วันที่มีการละเมิด ทั้งการแก้ไขดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่โจทก์ คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเช่นนี้จึงไม่อยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 180, 181 คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยก็เป็นเพียงเพื่อให้รับทราบเท่านั้น ทั้งการสั่งให้ปิดหมายนัดก็มิได้สั่งให้โจทก์ปฏิบัติเช่นใดให้ชัดเจน และเมื่อมิใช่คำฟ้องตั้งต้นคดีซึ่งโจทก์มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (1) แล้วบทบัญญัตินี้ก็จะนำมาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้ จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ยกคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นโดยให้เพิกถอนการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ผิดระเบียบ ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่นั้น เป็นผลทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เสียประโยชน์ จำเลยที่ 1 ที่ 2ย่อมมีสิทธิฎีกาได้ตามหลักทั่วไป และคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในกรณีนี้ก็หาได้มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นที่สุดไม่ จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงฎีกาในข้อนี้ได้
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องในคดีนี้เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ประสงค์แก้ไขให้ถูกต้องตามสิทธิของโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยที่มีสิทธิเรียกเอาเงินที่ตนได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยนับแต่วันที่ใช้เงินไป มิใช่นับแต่วันที่มีการละเมิด ทั้งการแก้ไขดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่โจทก์ คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเช่นนี้จึงไม่อยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 180, 181 คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยก็เป็นเพียงเพื่อให้รับทราบเท่านั้น ทั้งการสั่งให้ปิดหมายนัดก็มิได้สั่งให้โจทก์ปฏิบัติเช่นใดให้ชัดเจน และเมื่อมิใช่คำฟ้องตั้งต้นคดีซึ่งโจทก์มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (1) แล้วบทบัญญัตินี้ก็จะนำมาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้ จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4883/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนและจำนองในคดีล้มละลาย และขอบเขตความรับผิดของผู้รับจำนองเมื่อไม่สามารถกลับสู่ฐานะเดิม
การร้องขอเพิกถอนการโอนหรือการกระทำตามมาตรา 114แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เป็นอำนาจของผู้ร้องโดยเฉพาะที่จะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่ง เมื่อศาลมีคำสั่งเพิกถอนแล้ว ย่อมเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทุกคน และประชาชนเพื่อที่ผู้ร้องจะจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินในคดีล้มละลายต่อไป การที่ผู้ร้องขออนุญาตแก้ไขคำร้องเดิมโดยเพิ่มคำว่า "สิ่งปลูกสร้าง" ลงในส่วนคำขอท้ายคำร้องขอเพิกถอนนั้น จึงเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ไม่จำต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขก่อนวันสืบพยานและเมื่อผู้คัดค้านไม่หลงผิดในคำร้องเดิมโดยได้คัดค้านและนำสืบพยานไว้แล้ว ผู้คัดค้านย่อมไม่เสียเปรียบและไม่จำต้องส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขเพื่อให้คัดค้านและนำสืบอีก การที่ผู้ร้องนำสืบว่า พ.เป็นตัวแทนของลูกหนี้ซื้อที่ดินแทนลูกหนี้นั้นเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงระหว่างกันในกรณีเป็นตัวแทนไม่ใช่นำสืบในข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาหรือเกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาจะขายที่ดินโดยอาศัยสัญญาตัวแทนเป็นมูลกรณี จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ประกอบพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการจำนองแล้ว ก็เท่ากับไม่มีการจำนองรายที่ถูกเพิกถอนอีกต่อไป คู่กรณีตามสัญญาจำนองย่อมกลับสู่ฐานะเดิมเสมือนไม่มีการจำนองกัน ไม่มีความจำเป็นที่ศาลจะต้องสั่งให้มีการชดใช้ราคาทรัพย์ในกรณีที่ไม่สามารถกลับคืนสู่ฐานะเดิมอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4356/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกคืนภาษีอากรต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน แม้จะถูกแจ้งให้แก้ราคาสินค้า
จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า โจทก์มิได้มอบอำนาจให้ดำเนินคดีแก่จำเลย หนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นจำเลยมิได้ต่อสู้โดยตรงว่า โจทก์มิได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีตามใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเลขที่... ที่ศาลภาษีอากรกลางอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเลขที่ใบขนสินค้าในหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยในรายละเอียดจึงไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ แม้การแก้ราคาสินค้าและจำนวนเงินภาษีอากรที่ต้องชำระในใบขนสินค้ากับใบกำกับสินค้าให้สูงขึ้นจากเดิมจะเป็นการกระทำของโจทก์เองมิใช่เป็นการกระทำของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยก็ตาม แต่การแก้ดังกล่าวก็เป็นการแก้ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยแจ้งให้โจทก์กระทำ หากโจทก์ไม่แก้ พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยก็คงไม่ตรวจปล่อยสินค้าพิพาทจากอารักขามอบให้โจทก์ไป ทั้งโจทก์ก็ได้สงวนสิทธิโต้แย้งราคาสินค้าในส่วนที่เพิ่มขึ้นไว้ที่หลังใบขนสินค้าขาเข้าดังกล่าว แสดงว่าโจทก์มิได้แก้ราคาสินค้าและจำนวนเงินภาษีอากรด้วยความสมัครใจหรือเห็นด้วยกับความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลย การยอมแก้ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการแก้ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินแล้ว เมื่อโจทก์ได้ชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามการประเมินนั้นแล้วมาอ้างว่าได้ชำระเกินกว่าที่จะต้องเสียตามกฎหมาย ขอเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินภาษีอากรดังกล่าวให้อันเป็นการโต้แย้งผลการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลย โจทก์จึงต้องอุทธรณ์คัดค้านต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้วินิจฉัยเสียก่อนว่าโจทก์เสียภาษีอากรไว้เกินกว่าที่จะต้องเสียตามกฎหมายหรือไม่ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยและมีคำสั่งแล้ว โจทก์จึงจะอุทธรณ์ต่อศาลหรือนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ตามที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 30 บัญญัติไว้ แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเกี่ยวกับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลได้