พบผลลัพธ์ทั้งหมด 390 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12437/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: ค่าเสียหายจากภาระจำยอมที่ไม่จดทะเบียน แม้ฟ้องเพิ่มเติมหลังคดีเดิมดำเนินอยู่ ก็เป็นฟ้องซ้อน
คดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.129/2554 ของศาลชั้นต้น โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 และ ฉ. เป็นผู้จัดสรรที่ดินมีหน้าที่ต้องดูแลและบำรุงรักษาสาธารณูปโภคให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานเพื่อประโยชน์ของผู้ซื้อที่ดินจัดสรร ต้องสร้างถนนบนที่ดินพิพาทเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กสูงเทียบเท่าถนนสาธารณะ และจดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องโดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาอย่างเดียวกัน แต่อ้างเพิ่มเติมว่า การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 และ ฉ. เพิกเฉยไม่ไปจดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ เป็นเหตุให้สถาบันการเงินไม่อนุมัติสินเชื่อในการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยเพื่อเป็นสวัสดิการที่พักให้แก่พนักงานของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายต้องจ่ายเงินชดเชยค่าเช่าที่พักให้แก่พนักงานของโจทก์และขอเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งเจ็ด ซึ่งค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้สืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 และ ฉ. ไม่ไปจดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ตามฟ้องในคดีก่อน อันเป็นค่าเสียหายที่โจทก์สามารถฟ้องเรียกได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว
เดิมโจทก์ฟ้องคดีก่อนเป็นคดีผู้บริโภค คดีแพ่งหมายเลขดำที่ ผบ.1543/2552 ของศาลชั้นต้น ต่อมาประธานศาลอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยชี้ขาดว่า ไม่เป็นคดีผู้บริโภค และศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคดีไว้พิจารณาเป็นคดีแพ่งสามัญ คดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.129/2554 ให้งดชี้สองสถานและกำหนดวันนัดพิจารณาต่อเนื่อง แต่ค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เกิดจากสถาบันการเงินไม่อนุมัติสินเชื่อซึ่งได้แจ้งให้โจทก์ทราบตามหนังสือแจ้งอนุมัติสินเชื่อ โจทก์จึงชอบที่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องได้ในคดีก่อน ซึ่งเป็นการขอเพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ในฟ้องเดิมที่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาและมีความเกี่ยวข้องกัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 และ 180 การที่โจทก์กลับมาฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีนี้อันเป็นการฟ้องเรื่องเดียวกันขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.129/2554 ของศาลชั้นต้น ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
เดิมโจทก์ฟ้องคดีก่อนเป็นคดีผู้บริโภค คดีแพ่งหมายเลขดำที่ ผบ.1543/2552 ของศาลชั้นต้น ต่อมาประธานศาลอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยชี้ขาดว่า ไม่เป็นคดีผู้บริโภค และศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคดีไว้พิจารณาเป็นคดีแพ่งสามัญ คดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.129/2554 ให้งดชี้สองสถานและกำหนดวันนัดพิจารณาต่อเนื่อง แต่ค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เกิดจากสถาบันการเงินไม่อนุมัติสินเชื่อซึ่งได้แจ้งให้โจทก์ทราบตามหนังสือแจ้งอนุมัติสินเชื่อ โจทก์จึงชอบที่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องได้ในคดีก่อน ซึ่งเป็นการขอเพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ในฟ้องเดิมที่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาและมีความเกี่ยวข้องกัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 และ 180 การที่โจทก์กลับมาฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีนี้อันเป็นการฟ้องเรื่องเดียวกันขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.129/2554 ของศาลชั้นต้น ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10811/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องเพิ่มเติมข้อเรียกร้องและทุนทรัพย์: ศาลรับคำฟ้องได้หากยื่นก่อนกำหนด
สาระสำคัญในคำฟ้องภายหลังที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องคือ โจทก์ได้ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องในการรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทตามสัญญาจะซื้อขายที่ทำกับจำเลย ให้แก่บริษัท อ. ในราคา 370,000,000 บาท โดยโจทก์รับเงินมัดจำมาแล้ว 20,000,000 บาท การที่จำเลยนำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไปขายให้แก่บุคคลอื่นทำให้โจทก์ขาดกำไรอีก 169,990,001 บาท รวมค่าเสียหายตามคำฟ้องเดิมและคำฟ้องภายหลังที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ทั้งสิ้น 232,990,001 บาท คำฟ้องภายหลังนี้เป็นการเพิ่มเติมคำฟ้องเดิมที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขาย จำเลยนำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไปขายให้บุคคลอื่น ทำให้โจทก์เสียหาย โดยเพิ่มเติมว่าการกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ต้องผิดสัญญากับบริษัท อ. และขาดกำไรไปอีก 169,990,001 บาท จึงเป็นการเพิ่มเติมคำฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ และเพิ่มทุนทรัพย์ที่พิพาทในฟ้องเดิม ทั้งคำฟ้องเดิมและคำฟ้องภายหลังนี้ก็เกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 (1) (2) และวรรคท้าย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้แก้ไขคำฟ้องโดยทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลก่อนวันชี้สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะรับคำฟ้องภายหลังของโจทก์ไว้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินรวมกับคำฟ้องเดิมของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10777/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมหลังหมดกำหนดในคดีล้มละลาย ไม่อาจกระทำได้ แม้จะเพิ่งพบสัญญา
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 บัญญัติไว้ว่า "เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว เจ้าหนี้จะขอรับชำระหนี้ได้ก็แต่โดยปฏิบัติตามวิธีการที่กล่าวไว้ในพระราชบัญญัตินี้..." ซึ่งตามหมวด 4 วิธีจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ ส่วนที่ 1 การขอรับชำระหนี้ มาตรา 91 บัญญัติว่า "เจ้าหนี้ซึ่งจะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายจะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือไม่ก็ตาม ต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด... คำขอรับชำระหนี้นั้นต้องทำตามแบบพิมพ์ โดยมีบัญชีแสดงรายละเอียดแห่งหนี้สิน..." บทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวบัญญัติไว้เป็นกรณีพิเศษแล้วว่า เจ้าหนี้มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามแบบพิมพ์ โดยมีบัญชีแสดงรายละเอียดแห่งหนี้สินภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด รวมทั้งการขอแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนหนี้และหรือมูลหนี้ แม้จะเกี่ยวข้องกันพอที่รวมการสอบสวนและทำความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าด้วยกันได้ก็ตาม เจ้าหนี้ก็จะต้องยื่นคำร้องหรือคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมภายในกำหนดเวลาดังกล่าวเช่นกัน ทั้งนี้เพราะกฎหมายล้มละลายมีเจตนารมณ์ให้กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายดำเนินการไปโดยถูกต้องและรวดเร็วเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย ลูกหนี้และบุคคลที่เกี่ยวข้อง สำหรับการขอรับชำระหนี้หากให้เจ้าหนี้แก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับชำระหนี้ในส่วนจำนวนหนี้และหรือมูลหนี้ภายหลังพ้นกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้แล้ว ย่อมทำให้คดีต้องล่าช้าและเป็นการขยายระยะเวลาการขอรับชำระหนี้ให้เจ้าหนี้นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด ทั้งกระทบต่อกระบวนการพิจารณาในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ อาทิ การประนอมหนี้ การนับคะแนนเสียงในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกและครั้งอื่น เป็นต้น ซึ่งจะต้องทราบจำนวนเจ้าหนี้และหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ ดังนั้น เมื่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ได้บัญญัติกระบวนพิจารณาเรื่องการขอรับชำระหนี้ไว้เป็นกรณีเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 180 มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 ได้
แม้เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมก่อนวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดให้เจ้าหนี้ยื่นบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นซึ่งเสมือนหนึ่งเป็นวันนัดสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก็ตาม เมื่อพิจารณาว่าคำขอรับชำระหนี้และบัญชีรายละเอียดแห่งหนี้สินที่เจ้าหนี้ยื่นไว้เดิมภายในกำหนดระบุหนี้ที่ขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ตามคำพิพากษา ส่วนคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมที่เจ้าหนี้ยื่นระบุหนี้ที่ขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้ อันเป็นหนี้คนละมูลหนี้และไม่เกี่ยวข้องกันกับมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้เดิมและเพิ่มเติมจำนวนหนี้มาเป็นจำนวนมาก ซึ่งเจ้าหนี้สามารถยื่นคำขอรับชำระหนี้รวมกับคำขอรับชำระหนี้ที่ยื่นไว้เดิมได้ แต่เมื่อเจ้าหนี้นำหนี้ดังกล่าวมายื่นขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมเมื่อพ้นกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำพิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้จึงกระทำมิได้
การที่เจ้าหนี้อ้างว่า เจ้าหนี้เพิ่งตรวจสอบพบว่าลูกหนี้เป็นหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้เนื่องจากเจ้าหนี้ตกแต่งอาคารและสถานที่ทำงานทำให้ต้องขนย้ายสิ่งของและเอกสารรวมทั้งสัญญาต่าง ๆ จากชั้น 2 ไปยังชั้น 10 และพบสัญญารับสภาพหนี้จึงรีบยื่นคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมนั้น เจ้าหนี้เพิ่งกล่าวอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวในภายหลังขณะนำพยานมาสืบในชั้นไต่สวนคำร้อง พฤติการณ์ดังกล่าวมิใช่เหตุสุดวิสัย หากจะฟังว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษเจ้าหนี้ก็ต้องขออนุญาตขยายระยะเวลาต่อศาลก่อนสิ้นระยะเวลาที่กำหนดให้บรรดาเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 แต่เจ้าหนี้ก็มิได้ดำเนินการ จึงไม่อาจขยายระยะเวลาให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามคำร้องนี้ได้ การที่เจ้าหนี้ยื่นคำร้องขอยื่นคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมมูลหนี้และจำนวนหนี้เมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำพิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมได้
แม้เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมก่อนวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดให้เจ้าหนี้ยื่นบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นซึ่งเสมือนหนึ่งเป็นวันนัดสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก็ตาม เมื่อพิจารณาว่าคำขอรับชำระหนี้และบัญชีรายละเอียดแห่งหนี้สินที่เจ้าหนี้ยื่นไว้เดิมภายในกำหนดระบุหนี้ที่ขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ตามคำพิพากษา ส่วนคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมที่เจ้าหนี้ยื่นระบุหนี้ที่ขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้ อันเป็นหนี้คนละมูลหนี้และไม่เกี่ยวข้องกันกับมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้เดิมและเพิ่มเติมจำนวนหนี้มาเป็นจำนวนมาก ซึ่งเจ้าหนี้สามารถยื่นคำขอรับชำระหนี้รวมกับคำขอรับชำระหนี้ที่ยื่นไว้เดิมได้ แต่เมื่อเจ้าหนี้นำหนี้ดังกล่าวมายื่นขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมเมื่อพ้นกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำพิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้จึงกระทำมิได้
การที่เจ้าหนี้อ้างว่า เจ้าหนี้เพิ่งตรวจสอบพบว่าลูกหนี้เป็นหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้เนื่องจากเจ้าหนี้ตกแต่งอาคารและสถานที่ทำงานทำให้ต้องขนย้ายสิ่งของและเอกสารรวมทั้งสัญญาต่าง ๆ จากชั้น 2 ไปยังชั้น 10 และพบสัญญารับสภาพหนี้จึงรีบยื่นคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมนั้น เจ้าหนี้เพิ่งกล่าวอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวในภายหลังขณะนำพยานมาสืบในชั้นไต่สวนคำร้อง พฤติการณ์ดังกล่าวมิใช่เหตุสุดวิสัย หากจะฟังว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษเจ้าหนี้ก็ต้องขออนุญาตขยายระยะเวลาต่อศาลก่อนสิ้นระยะเวลาที่กำหนดให้บรรดาเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 แต่เจ้าหนี้ก็มิได้ดำเนินการ จึงไม่อาจขยายระยะเวลาให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามคำร้องนี้ได้ การที่เจ้าหนี้ยื่นคำร้องขอยื่นคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมมูลหนี้และจำนวนหนี้เมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำพิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8730/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกายืนคำสั่งไม่อนุญาตแก้ไขคำให้การและไม่รับฟ้องแย้ง เหตุฟ้องซ้ำ, ดอกเบี้ยเกินอัตรา, และฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 การแก้ไขคำให้การต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันชี้สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยานโจทก์ไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน เว้นแต่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนหน้านั้นหรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย บทบัญญัติดังกล่าวให้สิทธิจำเลยที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การ หาใช่เป็นบทบัญญัติบังคับศาลที่จะต้องอนุญาตตามคำร้องของจำเลยเสมอไปไม่ เมื่อศาลพิจารณาคำร้องของจำเลยแล้วหากมีเหตุอันสมควร ศาลสามารถใช้ดุลพินิจอนุญาตหรือไม่อนุญาตตามคำร้องของจำเลยได้
คำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ว่า มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี สัญญากู้เงิน และหนังสือขอรับเงินกู้ซึ่งมีตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นเอกสารประกอบทั้งสามประเภทหนี้รวมกันเป็นคดีเดียวกัน โดยเสียเงินค่าขึ้นศาลเพียง 200,000 บาท จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและหลีกเลี่ยงค่าขึ้นศาล อันเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 29 นั้น หากจำเลยที่ 1 และที่ 2 เห็นว่าโจทก์ฟ้องในมูลหนี้แต่ละประเภทรวมกันมาเป็นการไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแยกคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 29 หรือขอให้ศาลมีคำสั่งขอให้โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มเติมเพื่อให้ศาลชั้นต้นได้พิจารณาได้ โดยไม่จำต้องต่อสู้มาในคำร้องขอแก้ไขคำให้การ กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 แก้ไขคำให้การ
คำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ว่า โจทก์คิดดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 การคิดดอกเบี้ยของโจทก์ย่อมตกเป็นโมฆะ ยอดหนี้ที่โจทก์ฟ้องมาจึงไม่ถูกต้องและเป็นโมฆะนั้น แม้การคิดดอกเบี้ยเกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนดจะเป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ตาม แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้การไว้แล้วว่ายอดหนี้และดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องตามสัญญาทั้งสามประเภทเคลือบคลุมและไม่ถูกต้อง กับการคิดดอกเบี้ยของโจทก์ในกรณีผิดนัดสูงเกินส่วน ทั้งศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการคิดดอกเบี้ยของโจทก์ไว้ด้วย ซึ่งโจทก์ต้องนำสืบถึงการคิดยอดหนี้และดอกเบี้ยที่โจทก์คิดจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 และจำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถนำสืบหักล้างว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยที่ถูกต้องตามกฎหมายจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีเพียงใดได้ กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 แก้ไขคำให้การ
ส่วนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขอแก้ไขคำให้การที่ว่า ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงเจ้าหนี้ซึ่งเป็นหนี้จำนวนเดียวกันกับหนี้ที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ ฟ้องคดีของโจทก์ซ้ำซ้อนกันอันเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นโมฆะ ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนนั้น คำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในข้อนี้ได้ก่อนวันชี้สองสถาน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 และไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้เคยมีการฟ้องคดีต่อศาลไว้ก่อนแล้วอย่างไรที่จะทำให้คดีนี้กลายเป็นฟ้องซ้อนจึงไม่ใช่เป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี สัญญากู้เงิน หนังสือขอรับเงินกู้ซึ่งมีตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นเอกสารประกอบสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันเนื่องจากจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญา ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นการฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์โดยอ้างว่าการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้และแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้รับความเสียหายต้องเสียชื่อเสียงและเสียหายในการค้า มูลหนี้ตามฟ้องของโจทก์ในคดีนี้กับข้ออ้างที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในฟ้องแย้งในเรื่องกล่าวหาว่าโจทก์กระทำละเมิด จึงเป็นคนละส่วนและมาจากคนละมูลหนี้ไม่เกี่ยวข้องกันกับฟ้องเดิม
คำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ว่า มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี สัญญากู้เงิน และหนังสือขอรับเงินกู้ซึ่งมีตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นเอกสารประกอบทั้งสามประเภทหนี้รวมกันเป็นคดีเดียวกัน โดยเสียเงินค่าขึ้นศาลเพียง 200,000 บาท จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและหลีกเลี่ยงค่าขึ้นศาล อันเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 29 นั้น หากจำเลยที่ 1 และที่ 2 เห็นว่าโจทก์ฟ้องในมูลหนี้แต่ละประเภทรวมกันมาเป็นการไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแยกคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 29 หรือขอให้ศาลมีคำสั่งขอให้โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มเติมเพื่อให้ศาลชั้นต้นได้พิจารณาได้ โดยไม่จำต้องต่อสู้มาในคำร้องขอแก้ไขคำให้การ กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 แก้ไขคำให้การ
คำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ว่า โจทก์คิดดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 การคิดดอกเบี้ยของโจทก์ย่อมตกเป็นโมฆะ ยอดหนี้ที่โจทก์ฟ้องมาจึงไม่ถูกต้องและเป็นโมฆะนั้น แม้การคิดดอกเบี้ยเกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนดจะเป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ตาม แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้การไว้แล้วว่ายอดหนี้และดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องตามสัญญาทั้งสามประเภทเคลือบคลุมและไม่ถูกต้อง กับการคิดดอกเบี้ยของโจทก์ในกรณีผิดนัดสูงเกินส่วน ทั้งศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการคิดดอกเบี้ยของโจทก์ไว้ด้วย ซึ่งโจทก์ต้องนำสืบถึงการคิดยอดหนี้และดอกเบี้ยที่โจทก์คิดจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 และจำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถนำสืบหักล้างว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยที่ถูกต้องตามกฎหมายจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีเพียงใดได้ กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 แก้ไขคำให้การ
ส่วนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขอแก้ไขคำให้การที่ว่า ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงเจ้าหนี้ซึ่งเป็นหนี้จำนวนเดียวกันกับหนี้ที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ ฟ้องคดีของโจทก์ซ้ำซ้อนกันอันเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นโมฆะ ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนนั้น คำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในข้อนี้ได้ก่อนวันชี้สองสถาน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 และไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้เคยมีการฟ้องคดีต่อศาลไว้ก่อนแล้วอย่างไรที่จะทำให้คดีนี้กลายเป็นฟ้องซ้อนจึงไม่ใช่เป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี สัญญากู้เงิน หนังสือขอรับเงินกู้ซึ่งมีตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นเอกสารประกอบสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันเนื่องจากจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญา ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นการฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์โดยอ้างว่าการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้และแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้รับความเสียหายต้องเสียชื่อเสียงและเสียหายในการค้า มูลหนี้ตามฟ้องของโจทก์ในคดีนี้กับข้ออ้างที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในฟ้องแย้งในเรื่องกล่าวหาว่าโจทก์กระทำละเมิด จึงเป็นคนละส่วนและมาจากคนละมูลหนี้ไม่เกี่ยวข้องกันกับฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7074/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การหลังสืบพยาน, การเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายจากวิธีวิทยาศาสตร์, หน้าที่อุปการะเลี้ยงดู
ป.วิ.พ. มาตรา 180 ให้อำนาจโจทก์หรือจำเลยขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องหรือคำให้การได้ กรณีไม่มีการชี้สองสถานต้องยื่นคำร้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน เว้นแต่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น หรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ฯลฯ บทบัญญัติดังกล่าวให้สิทธิโจทก์หรือจำเลยที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องหรือคำให้การ แต่หาได้เป็นบทบัญญัติบังคับศาลที่จะต้องอนุญาตตามคำร้องของโจทก์จำเลยเสมอไปไม่ เมื่อมีเหตุอันสมควรศาลสามารถใช้ดุลพินิจอนุญาตหรือไม่อนุญาตตามคำร้องของโจทก์จำเลยได้ ซึ่งศาลจะพิจารณาคำร้องเป็นเรื่อง ๆ ไป กรณีตามคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การจำเลยซึ่งยื่นหลังจากสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยเสร็จแล้ว เป็นการขอแก้ไขเพิ่มเติมในปัญหาว่า ผู้เยาว์ทั้งสามเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลยหรือไม่ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน โดยเรื่องที่จำเลยต้องการสืบพยานเพิ่มเติมตามคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริจาคน้ำเชื้อให้แก่แพทย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ใช้ในการผสมเทียมของหญิงอื่นที่มิใช่ภริยาของผู้บริจาคไม่ถือว่าผู้บริจาคเป็นบิดาของเด็กที่ถือกำเนิดมาตามกฎหมายมลรัฐอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นกฎหมายแห่งสัญชาติของจำเลยแต่ข้อเท็จจริงที่ได้จากการนำสืบของโจทก์โดยจำเลยไม่ได้นำสืบโต้แย้งฟังได้ว่า โจทก์กับจำเลยตกลงอยู่กินด้วยกันโดยแต่งงานกันตามประเพณี แต่ไม่สามารถมีบุตรด้วยกันตามธรรมชาติได้จึงใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์โดยการทำกิ๊ฟท์นำสเปิร์มของจำเลยไปผสมกับไข่ของโจทก์ในหลอดแก้ว เมื่อมีการปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนแล้วนำกลับเข้าไปไว้ในร่างกายของโจทก์ ทำให้เกิดบุตรแฝดสามคน คือผู้เยาว์ทั้งสามในคราวเดียวกัน การที่โจทก์และจำเลยซึ่งอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาประสงค์จะมีบุตรด้วยกันแต่ไม่สามารถมีบุตรตามธรรมชาติได้จึงได้ไปพบแพทย์ด้วยกันเพื่อใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์หลายครั้ง เป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยสมัครใจจะมีบุตรร่วมกัน ไม่ใช่มีลักษณะเป็นการบริจาคตามความหมายของกฎหมายมลรัฐอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ดังที่จำเลยอ้าง ดังนั้นกรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การตามคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1209/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องคดีผู้บริโภค: ศาลอนุญาตแก้ไขได้หากคำฟ้องยังขาดสาระสำคัญ แม้โจทก์เป็นผู้ยื่นขอแก้ไขเอง
การแก้ไขคำฟ้องในคดีผู้บริโภค ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 20 วรรคสอง บัญญัติว่า "หากศาลเห็นว่าคำฟ้องนั้นไม่ถูกต้องหรือขาดสาระสำคัญบางเรื่อง ศาลอาจมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องในส่วนนั้นให้ถูกต้องหรือชัดเจนขึ้นก็ได้" การที่โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาประกันภัยไว้กับจำเลย กรมธรรม์ประกันภัยเริ่มคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน 2552 ถึงวันที่ 24 เมษายน 2553 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 มีคนร้ายวางเพลิงเผาทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายตามกรมธรรม์ประกันภัย ก่อนยื่นคำให้การ โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องจากคำว่าวันที่ 24 เมษายน 2553 โดยขอเพิ่มเติมข้อความว่า "และโจทก์ยังได้ต่ออายุสัญญากรมธรรม์ประกันภัยกับจำเลยโดยเริ่มคุ้มครองวันที่ 24 เมษายน 2553 ครบระยะเวลา 1 ปี ในวันที่ 24 เมษายน 2554 ซึ่งขณะเกิดเหตุคดีนี้ยังอยู่ในอายุสัญญากรมธรรม์ประกันภัย จำเลยจึงต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย" ดังนี้ เมื่อโจทก์เป็นผู้บริโภคและดำเนินคดีมาอย่างคดีผู้บริโภค ซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้ศาลตรวจคำฟ้องของผู้บริโภคด้วยว่า" หากเห็นว่าคำฟ้องนั้นไม่ถูกต้องหรือขาดสาระสำคัญบางเรื่อง ศาลอาจมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องในส่วนนั้นให้ถูกต้องหรือชัดเจนขึ้นก็ได้" และตามคำฟ้องที่โจทก์ฟ้องมานั้นยังขาดสาระสำคัญบางเรื่อง ศาลก็อาจมีคำสั่งให้โจทก์นั้นแก้ไขคำฟ้องให้ถูกต้องหรือชัดเจนขึ้นก็ได้ แม้คดีนี้โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเข้ามาเองก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์จะแก้ไขคำฟ้องในคดีผู้บริโภคที่ขาดสาระสำคัญนั้นให้ถูกต้องหรือชัดเจนยิ่งขึ้น และเป็นการขอแก้ไขก่อนจำเลยยื่นคำให้การ ภายในกำหนดระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 จำเลยไม่ได้เสียเปรียบแต่อย่างใด อีกทั้งปัญหาดังกล่าวก็เป็นเรื่องที่ศาลอาจมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องในส่วนนั้นให้ถูกต้องหรือชัดเจนขึ้นได้อยู่แล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องโดยเห็นว่าเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์แล้วจะมาแก้ไขให้สมบูรณ์นั้นไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 จึงไม่ต้องด้วยเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 20 วรรคสองดังกล่าว ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1209/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องในคดีผู้บริโภค: ศาลอนุญาตแก้ไขได้หากคำฟ้องยังขาดสาระสำคัญ เพื่อให้คำฟ้องถูกต้องและชัดเจนยิ่งขึ้น
การแก้ไขคำฟ้องในคดีผู้บริโภค ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 20 วรรคสอง บัญญัติว่า "หากศาลเห็นว่าคำฟ้องนั้นไม่ถูกต้องหรือขาดสาระสำคัญบางเรื่อง ศาลอาจมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องในส่วนนั้นให้ถูกต้องหรือชัดเจนขึ้นก็ได้" การที่โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาประกันภัยไว้กับจำเลย กรมธรรม์ประกันภัยเริ่มคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน 2552 ถึงวันที่ 24 เมษายน 2553 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 มีคนร้ายวางเพลิงเผาทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายตามกรมธรรม์ประกันภัย ก่อนยื่นคำให้การ โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องจากคำว่าวันที่ 24 เมษายน 2553 โดยขอเพิ่มเติมข้อความว่า "และโจทก์ยังได้ต่ออายุสัญญากรมธรรม์ประกันภัยกับจำเลยโดยเริ่มคุ้มครองวันที่ 24 เมษายน 2553 ครบระยะเวลา 1 ปี ในวันที่ 24 เมษายน 2554 ซึ่งขณะเกิดเหตุคดีนี้ยังอยู่ในอายุสัญญากรมธรรม์ประกันภัย จำเลยจึงต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย" ดังนี้ เมื่อคดีนี้โจทก์เป็นผู้บริโภคและได้ดำเนินคดีนี้มาอย่างคดีผู้บริโภค ซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้ศาลตรวจคำฟ้องของผู้บริโภคด้วยว่า" หากเห็นว่าคำฟ้องนั้นไม่ถูกต้องหรือขาดสาระสำคัญบางเรื่อง ศาลอาจมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องในส่วนนั้นให้ถูกต้องหรือชัดเจนขึ้นก็ได้" และตามคำฟ้องที่โจทก์ฟ้องมานั้นยังขาดสาระสำคัญบางเรื่อง ศาลก็อาจมีคำสั่งให้โจทก์นั้นแก้ไขคำฟ้องให้ถูกต้องหรือชัดเจนขึ้นก็ได้ แม้ในคดีนี้โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเข้ามาเองก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์จะแก้ไขคำฟ้องในคดีผู้บริโภคที่ขาดสาระสำคัญนั้นให้ถูกต้องหรือชัดเจนยิ่งขึ้น และเป็นการขอแก้ไขก่อนจำเลยยื่นคำให้การ ภายในกำหนดระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 จำเลยไม่ได้เสียเปรียบแต่อย่างใด อีกทั้งปัญหาดังกล่าวก็เป็นเรื่องที่ศาลอาจมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องในส่วนนั้นให้ถูกต้องหรือชัดเจนขึ้นได้อยู่แล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องโดยเห็นว่าเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์แล้วจะมาแก้ไขให้สมบูรณ์นั้นไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 จึงไม่ต้องด้วยเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 20 วรรคสองดังกล่าว ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องได้ตามคำร้องที่ขอเพิ่มเติมฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11902/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำคัดค้านและการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: ต้องยื่นแก้ไขก่อนกำหนด หากไม่เป็นเหตุสมควร ศาลมีอำนาจใช้ดุลยพินิจ
การแก้ไขข้อต่อสู้ ข้ออ้าง หรือข้อเถียงที่เสนอต่อศาลแต่แรก ผู้คัดค้านต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขก่อนวันชี้สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน เว้นแต่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นได้ก่อนนั้น หรือเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 (3) และ 180 คดีนี้ไม่มีการชี้สองสถาน หากผู้คัดค้านจะยื่นคำร้องขอแก้ไขพินัยกรรมท้ายคำคัดค้าน ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำคัดค้านจึงต้องยื่นก่อนวันสืบพยานในวันที่ 6 ตุลาคม 2552 ไม่น้อยกว่า 7 วัน แต่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2552 จึงล่วงเลยเวลาที่กฎหมายกำหนด อีกทั้งผู้คัดค้านอ้างว่าเพิ่งค้นพบพินัยกรรมฉบับใหม่ในเดือนมีนาคม 2552 หากผู้คัดค้านประสงค์จะเปลี่ยนพินัยกรรมตามคำคัดค้านเป็นพินัยกรรมฉบับใหม่ก็สามารถยื่นคำร้องขอเปลี่ยนแปลงได้ตั้งแต่ขณะนั้น การที่ผู้คัดค้านเพิ่งมายื่นคำร้องภายหลังทราบผลการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของ ม. ตามพินัยกรรมท้ายคำคัดค้าน และมีการสืบพยานผู้ร้องเสร็จแล้ว จึงฟังไม่ได้ว่ามีเหตุสมควรและไม่ใช่กรณีขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน การแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านชอบแล้ว
แม้ผู้คัดค้านจะมีคำขอให้มีคำสั่งยกคำร้องขอของผู้ร้องและมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของ ม. โดยมิได้ขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ม. ร่วมกับผู้ร้องก็ตาม แต่หากศาลเห็นว่าการแต่งตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกอีกคนหนึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดการมรดกยิ่งขึ้น ศาลก็มีอำนาจใช้ดุลยพินิจแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันได้
แม้ผู้คัดค้านจะมีคำขอให้มีคำสั่งยกคำร้องขอของผู้ร้องและมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของ ม. โดยมิได้ขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ม. ร่วมกับผู้ร้องก็ตาม แต่หากศาลเห็นว่าการแต่งตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกอีกคนหนึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดการมรดกยิ่งขึ้น ศาลก็มีอำนาจใช้ดุลยพินิจแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10565/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การ, ครอบครองปรปักษ์, และการซื้อที่ดินโดยสุจริต ศาลฎีกาวินิจฉัยเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
เดิมจำเลยให้การว่า จำเลยไม่ได้สร้างรั้วคอนกรีตล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง แต่หลังจากที่มีการรังวัดสอบแนวเขตที่ดินจนทราบว่าจำเลยสร้างรั้วล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสองแล้ว จำเลยขอแก้ไขคำให้การเดิมและฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของโจทก์ทั้งสองโดยการครอบครอง คำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยไม่เป็นการขอแก้ไขคำให้การในข้อสาระสำคัญ ตรงกันข้ามกลับเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่า จำเลยสร้างรั้วล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสองจริง เพียงแต่ยกข้อต่อสู้ใหม่ขึ้นกล่าวอ้างว่า จำเลยครอบครองที่ดินส่วนนั้นมานานเกินกว่าสิบปีจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว ทั้งเป็นการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การก่อนมีการชี้สองสถาน ไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินคดีของโจทก์ทั้งสองให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบในการดำเนินคดี
จำเลยเพิ่งเข้าไปอยู่ในที่ดินของจำเลยเมื่อปี 2539 นับถึงวันฟ้องแล้วยังไม่ครบสิบปีตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1382 บัญญัติไว้ จำเลยยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของโจทก์ทั้งสองโดยการครอบครอง เมื่อจำเลยที่ 2 สร้างรั้วล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ที่ 2 เป็นเนื้อที่ 12 ตารางวา ซึ่งทางราชการประเมินราคาที่ดินไว้ตารางวาละ 13,000 บาท คิดเป็นมูลค่า 156,000 บาท ทุนทรัพย์ของโจทก์ที่ 2 จึงไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาของโจทก์ที่ 2 มา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
แม้คดีของโจทก์ที่ 2 ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อพยานหลักฐานที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่าโจทก์ที่ 1 ซื้อที่ดินมาโดยสุจริตหรือไม่ เป็นพยานหลักฐานชุดเดียวที่เกี่ยวพันไปถึงโจทก์ที่ 2 ด้วย เพราะโจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินแต่ละแปลงมาพร้อมกัน ยิ่งไปกว่านั้นโจทก์ทั้งสองยังมีหนังสือฉบับเดียวกันแจ้งให้จำเลยรื้อรั้วออกไปจากที่ดินของโจทก์ทั้งสอง หากไม่วินิจฉัยไปถึงโจทก์ที่ 2 อาจส่งผลให้คำพิพากษาสำหรับโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ขัดแย้งกัน ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 146 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246 และ 247 ให้ถือคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่สูงกว่ามาใช้บังคับ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปถึงโจทก์ที่ 2 ด้วยว่าโจทก์ที่ 2 ซื้อที่ดินมาโดยสุจริตหรือไม่
จำเลยเพิ่งเข้าไปอยู่ในที่ดินของจำเลยเมื่อปี 2539 นับถึงวันฟ้องแล้วยังไม่ครบสิบปีตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1382 บัญญัติไว้ จำเลยยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของโจทก์ทั้งสองโดยการครอบครอง เมื่อจำเลยที่ 2 สร้างรั้วล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ที่ 2 เป็นเนื้อที่ 12 ตารางวา ซึ่งทางราชการประเมินราคาที่ดินไว้ตารางวาละ 13,000 บาท คิดเป็นมูลค่า 156,000 บาท ทุนทรัพย์ของโจทก์ที่ 2 จึงไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาของโจทก์ที่ 2 มา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
แม้คดีของโจทก์ที่ 2 ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อพยานหลักฐานที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่าโจทก์ที่ 1 ซื้อที่ดินมาโดยสุจริตหรือไม่ เป็นพยานหลักฐานชุดเดียวที่เกี่ยวพันไปถึงโจทก์ที่ 2 ด้วย เพราะโจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินแต่ละแปลงมาพร้อมกัน ยิ่งไปกว่านั้นโจทก์ทั้งสองยังมีหนังสือฉบับเดียวกันแจ้งให้จำเลยรื้อรั้วออกไปจากที่ดินของโจทก์ทั้งสอง หากไม่วินิจฉัยไปถึงโจทก์ที่ 2 อาจส่งผลให้คำพิพากษาสำหรับโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ขัดแย้งกัน ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 146 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246 และ 247 ให้ถือคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่สูงกว่ามาใช้บังคับ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปถึงโจทก์ที่ 2 ด้วยว่าโจทก์ที่ 2 ซื้อที่ดินมาโดยสุจริตหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1761/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขชื่อจำเลยในคดีถึงที่สุด ศาลต้องไต่สวนเพื่อยืนยันว่าเป็นบุคคลเดียวกันก่อน
หลังจากศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาตามยอมและออกหมายบังคับคดีแล้ว โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง ใบแต่งทนายความบัญชีพยาน คำพิพากษา และหมายบังคับคดีในส่วนชื่อของจำเลยที่ 3 จาก "นางละมูล พลทอน" เป็น "นางละมูลหรือละมุล พลทอน" ตามลายมือชื่อที่จำเลยที่ 3 ลงไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาและสัญญาประนีประนอมยอมความว่า "ละมุล พลทอน" ศาลแรงงานกลางต้องไต่สวนให้ได้ความว่านางละมูล พลทอน จำเลยที่ 3 กับนางละมุล พลทอน เป็นบุคคลคนเดียวกันหรือไม่แล้วจึงมีคำสั่งตามรูปคดี