พบผลลัพธ์ทั้งหมด 390 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3579/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การพ้นกำหนด ไม่กระทบความสมบูรณ์สัญญาเช่าซื้อ และไม่เป็นประเด็นความสงบเรียบร้อย
โจทก์จะเป็นเจ้าของรถยนต์ที่ให้เช่าซื้อในขณะทำสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงมิได้กระทบถึงความสมบูรณ์ของสัญญาเช่าซื้อ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่จจำเลยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3579/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การนอกกำหนดเวลาและประเด็นความสมบูรณ์ของสัญญาเช่าซื้อ
ในขณะที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อและจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์นั้น โจทก์จะเป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทหรือไม่ เป็นเพียงข้อเท็จจริง มิได้มีผลกระทบถึงความสมบูรณ์ของสัญญาเช่าซื้อ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในปัญหาดังกล่าวเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2899/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้อง, นิติกรรมอำพราง, อายุความสัญญาเช่าซื้อ และการขายทอดตลาด
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 การแก้ไขคำฟ้องจะต้องกระทำเสียก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน เว้นแต่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องว่า โจทก์ขอมอบอำนาจช่วงให้ ว. ดำเนินคดีแทน ซึ่งโจทก์มีอำนาจตามกฎหมายอยู่แล้ว และทำเมื่อใดก็ได้โดยไม่ต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องก็ได้ ส่วนที่โจทก์ขอแก้คำฟ้องว่าผู้ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อ คือ น. มิใช่ ส. เป็นการแก้ไขให้ตรงต่อความเป็นจริงเพราะโจทก์ผิดหลงพิมพ์ผิดไป เป็นการแก้ไขเล็กน้อย จึงแก้ไขได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว
จำเลยที่ 1 ต้องการซื้อรถยนต์แต่ไม่มีเงินพอ จึงให้โจทก์ชำระราคารถยนต์แก่ผู้ขาย แล้วโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์เป็นของโจทก์ จากนั้น โจทก์จึงนำรถยนต์ดังกล่าวมาให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อ การกระทำดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการทำสัญญาเช่าซื้อเพื่ออำพรางการกู้ยืม
การที่โจทก์ขายทอดตลาดโดยให้บริษัท ส. ซึ่งประกอบกิจการด้านนี้เป็นผู้ดำเนินการ ไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินการโดยไม่สุจริต ราคารถยนต์ที่ขายได้เป็นการขายตามสภาพที่ยึดมา ทั้งมีการประกาศขายทอดตลาดทางหนังสือพิมพ์ให้บุคคลทั่วไปทราบ และในขณะที่ทำการขายทอดตลาดยังไม่มีกฎหมายหรือประกาศคณะกรรมการ ว่าด้วยสัญญาเรื่องให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2543 ออกมาใช้บังคับ โจทก์จึงไม่ต้องแจ้งเรื่องการขายทอดตลาดให้จำเลยที่ 1 ทราบเสียก่อน
ค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าขาดประโยชน์และค่าขาดราคา เป็นค่าเสียหายอันสืบเนื่องมาจากการผิดสัญญาของจำเลยที่ 1 มิใช่ค่าเสียหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 562 เมื่อกฎหมายลักษณะเช่าซื้อมิได้บัญญัติอายุความในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ส่วนเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความนั้นเป็นเรื่องที่กฎหมายให้อำนาจศาลในการใช้ดุลพินิจ โดยพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ รวมถึงความสุจริตในการต่อสู้คดี
จำเลยที่ 1 ต้องการซื้อรถยนต์แต่ไม่มีเงินพอ จึงให้โจทก์ชำระราคารถยนต์แก่ผู้ขาย แล้วโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์เป็นของโจทก์ จากนั้น โจทก์จึงนำรถยนต์ดังกล่าวมาให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อ การกระทำดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการทำสัญญาเช่าซื้อเพื่ออำพรางการกู้ยืม
การที่โจทก์ขายทอดตลาดโดยให้บริษัท ส. ซึ่งประกอบกิจการด้านนี้เป็นผู้ดำเนินการ ไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินการโดยไม่สุจริต ราคารถยนต์ที่ขายได้เป็นการขายตามสภาพที่ยึดมา ทั้งมีการประกาศขายทอดตลาดทางหนังสือพิมพ์ให้บุคคลทั่วไปทราบ และในขณะที่ทำการขายทอดตลาดยังไม่มีกฎหมายหรือประกาศคณะกรรมการ ว่าด้วยสัญญาเรื่องให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2543 ออกมาใช้บังคับ โจทก์จึงไม่ต้องแจ้งเรื่องการขายทอดตลาดให้จำเลยที่ 1 ทราบเสียก่อน
ค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าขาดประโยชน์และค่าขาดราคา เป็นค่าเสียหายอันสืบเนื่องมาจากการผิดสัญญาของจำเลยที่ 1 มิใช่ค่าเสียหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 562 เมื่อกฎหมายลักษณะเช่าซื้อมิได้บัญญัติอายุความในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ส่วนเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความนั้นเป็นเรื่องที่กฎหมายให้อำนาจศาลในการใช้ดุลพินิจ โดยพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ รวมถึงความสุจริตในการต่อสู้คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2899/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การแก้ไขคำฟ้อง, ฟ้องไม่เคลือบคลุม, ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา, และอายุความ
โจทก์ขอแก้คำฟ้องว่าผู้ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อคือ น. มิใช่ ส. เป็นการแก้ไขให้ตรงต่อความเป็นจริงเพราะโจทก์ผิดหลงพิมพ์ผิดไป เป็นการแก้ไขเล็กน้อยจึงแก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ไปในราคาและจะต้องผ่อนชำระงวดละเดือนละเท่าใด จำเลยที่ 1 ชำระเงินให้แก่โจทก์เพียง 6 งวด ผิดนัดตั้งแต่งวดที่ 7 เป็นต้นมาโจทก์จึงบอกเลิกสัญญาและยึดรถยนต์นำออกขายทอดตลาดได้ราคา 782,000 บาท เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจได้ว่า เหตุแห่งการบอกเลิกสัญญาสืบเนื่องมาจากเหตุใด และการขายทอดตลาดได้ในราคาดังกล่าวต่ำกว่าราคาที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อไป จึงเป็นความเสียหายที่โจทก์ได้รับ ส่วนสภาพของรถยนต์ในขณะขายทอดตลาดหรือสถานที่ ๆขายทอดตลาดเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบเท่านั้น ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 ซื้อรถยนต์จากห้างหุ้นส่วนจำกัด ข. แต่จำเลยที่ 1 มีเงินไม่เพียงพอจึงต้องหาธุรกิจเช่าซื้อมาช่วยดำเนินการให้ โดยให้โจทก์เป็นผู้ชำระราคารถยนต์ส่วนที่เหลือและโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์เป็นของโจทก์ จากนั้นโจทก์จึงนำรถยนต์มาให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อ การกระทำดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการทำสัญญาเช่าซื้อเพื่ออำพรางการกู้ยืมเงิน
จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อและโจทก์ได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยชอบแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าขาดประโยชน์ที่ไม่ได้ใช้รถยนต์ในระหว่างที่รถยนต์ยังอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 นับแต่วันผิดนัดจนถึงวันที่ยึดรถยนต์คืน
ค่าเสียหายอันเกิดจากโจทก์ขายรถยนต์แล้วยังขาดราคาค่าเช่าซื้ออยู่อีกจำนวนหนึ่ง เป็นค่าเสียหายโดยตรงอันเกิดจากการผิดสัญญา และเป็นค่าเสียหายคนละส่วนกับค่าขาดประโยชน์โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าขาดรายได้ ส่วนการกำหนดอัตราค่าปรับอีกร้อยละ 2 บาท ต่อเดือน จากจำนวนเงินดังกล่าว เป็นเบี้ยปรับที่คู่สัญญาอาจกำหนดไว้ได้ในกรณีที่อีกฝ่ายหนึ่งผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าขาดประโยชน์และค่าขาดราคา เป็นค่าเสียหายอันสืบเนื่องมาจากการผิดสัญญาของจำเลยที่ 1 มิใช่ค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 562 เมื่อกฎหมายลักษณะเช่าซื้อมิได้บัญญัติอายุความในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ไปในราคาและจะต้องผ่อนชำระงวดละเดือนละเท่าใด จำเลยที่ 1 ชำระเงินให้แก่โจทก์เพียง 6 งวด ผิดนัดตั้งแต่งวดที่ 7 เป็นต้นมาโจทก์จึงบอกเลิกสัญญาและยึดรถยนต์นำออกขายทอดตลาดได้ราคา 782,000 บาท เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจได้ว่า เหตุแห่งการบอกเลิกสัญญาสืบเนื่องมาจากเหตุใด และการขายทอดตลาดได้ในราคาดังกล่าวต่ำกว่าราคาที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อไป จึงเป็นความเสียหายที่โจทก์ได้รับ ส่วนสภาพของรถยนต์ในขณะขายทอดตลาดหรือสถานที่ ๆขายทอดตลาดเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบเท่านั้น ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 ซื้อรถยนต์จากห้างหุ้นส่วนจำกัด ข. แต่จำเลยที่ 1 มีเงินไม่เพียงพอจึงต้องหาธุรกิจเช่าซื้อมาช่วยดำเนินการให้ โดยให้โจทก์เป็นผู้ชำระราคารถยนต์ส่วนที่เหลือและโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์เป็นของโจทก์ จากนั้นโจทก์จึงนำรถยนต์มาให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อ การกระทำดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการทำสัญญาเช่าซื้อเพื่ออำพรางการกู้ยืมเงิน
จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อและโจทก์ได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยชอบแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าขาดประโยชน์ที่ไม่ได้ใช้รถยนต์ในระหว่างที่รถยนต์ยังอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 นับแต่วันผิดนัดจนถึงวันที่ยึดรถยนต์คืน
ค่าเสียหายอันเกิดจากโจทก์ขายรถยนต์แล้วยังขาดราคาค่าเช่าซื้ออยู่อีกจำนวนหนึ่ง เป็นค่าเสียหายโดยตรงอันเกิดจากการผิดสัญญา และเป็นค่าเสียหายคนละส่วนกับค่าขาดประโยชน์โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าขาดรายได้ ส่วนการกำหนดอัตราค่าปรับอีกร้อยละ 2 บาท ต่อเดือน จากจำนวนเงินดังกล่าว เป็นเบี้ยปรับที่คู่สัญญาอาจกำหนดไว้ได้ในกรณีที่อีกฝ่ายหนึ่งผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าขาดประโยชน์และค่าขาดราคา เป็นค่าเสียหายอันสืบเนื่องมาจากการผิดสัญญาของจำเลยที่ 1 มิใช่ค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 562 เมื่อกฎหมายลักษณะเช่าซื้อมิได้บัญญัติอายุความในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2236/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การที่ขัดแย้งกับคำให้การเดิม ศาลไม่อนุญาต เพราะทำให้ขาดประเด็นพิจารณา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179(3) มิได้บัญญัติว่า ข้อความที่ขอแก้ไขคำให้การจำเลยใหม่จะต้องเกี่ยวกับคำให้การเดิมหรือข้ออ้างเดิมของจำเลยคงบัญญัติห้ามเฉพาะเรื่องคำฟ้องเท่านั้น ฉะนั้นแม้การแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยที่ 1 จะเป็นการยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่กล่าวแก้ข้อหาของโจทก์ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับคำให้การเดิมหรือไม่ก็ย่อมกระทำได้
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องอันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขภายหลังจากวันสืบพยานโจทก์ได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180
จำเลยที่ 1 ให้การไว้ว่า โจทก์ได้ชำระเบี้ยประกันภัยโดยสั่งจ่ายเช็คและจำเลยที่ 2ได้นำเช็คไปเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 2 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 ได้ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่โจทก์แล้วก็ต้องถือว่าโจทก์ได้ชำระเบี้ยประกันภัยให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วคำให้การดังกล่าวจำเลยที่ 1 รับว่า โจทก์เป็นผู้ทำสัญญาประกันภัยรถยนต์กับจำเลยที่ 2และเงินที่จ่ายค่าเบี้ยประกันภัยเป็นเงินของโจทก์ ส่วนคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยที่ 1 ขอเพิ่มเติมว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์ในขณะที่นำมาทำสัญญาประกันภัยไว้แก่จำเลยที่ 2 เพราะโจทก์ได้โอนและส่งมอบการครอบครองรถยนต์ให้เป็นทรัพย์สินส่วนกลางของ ท. แล้ว โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์กรมธรรม์ประกันภัยจึงไม่มีผลผูกพันคู่กรณีเงินค่าเบี้ยประกันภัยไม่ใช่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนั้น คำให้การกับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยที่ 1จึงขัดแย้งกันเอง หากศาลอนุญาตแล้วย่อมจะทำให้กลายเป็นคำให้การที่มิได้ปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์โดยชัดแจ้ง จึงไม่อาจอนุญาตให้จำเลยที่ 1 แก้ไขเพิ่มเติมคำให้การได้
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องอันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขภายหลังจากวันสืบพยานโจทก์ได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180
จำเลยที่ 1 ให้การไว้ว่า โจทก์ได้ชำระเบี้ยประกันภัยโดยสั่งจ่ายเช็คและจำเลยที่ 2ได้นำเช็คไปเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 2 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 ได้ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่โจทก์แล้วก็ต้องถือว่าโจทก์ได้ชำระเบี้ยประกันภัยให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วคำให้การดังกล่าวจำเลยที่ 1 รับว่า โจทก์เป็นผู้ทำสัญญาประกันภัยรถยนต์กับจำเลยที่ 2และเงินที่จ่ายค่าเบี้ยประกันภัยเป็นเงินของโจทก์ ส่วนคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยที่ 1 ขอเพิ่มเติมว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์ในขณะที่นำมาทำสัญญาประกันภัยไว้แก่จำเลยที่ 2 เพราะโจทก์ได้โอนและส่งมอบการครอบครองรถยนต์ให้เป็นทรัพย์สินส่วนกลางของ ท. แล้ว โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์กรมธรรม์ประกันภัยจึงไม่มีผลผูกพันคู่กรณีเงินค่าเบี้ยประกันภัยไม่ใช่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนั้น คำให้การกับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยที่ 1จึงขัดแย้งกันเอง หากศาลอนุญาตแล้วย่อมจะทำให้กลายเป็นคำให้การที่มิได้ปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์โดยชัดแจ้ง จึงไม่อาจอนุญาตให้จำเลยที่ 1 แก้ไขเพิ่มเติมคำให้การได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1147/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การต้องยื่นตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เว้นแต่มีเหตุสมควร หรือเป็นเรื่องความสงบเรียบร้อย
โจทก์ส่งสำเนาบัญชีกระแสรายวันให้จำเลยแล้วตั้งแต่ขณะยื่นฟ้องตามเอกสารท้ายฟ้อง จำเลยสามารถตรวจสอบยอดหนี้และรายการคิดดอกเบี้ยได้มาตั้งแต่ต้น การที่จำเลยเพิ่งมายื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การภายหลังวันสืบพยานว่าเป็นหนี้โจทก์อยู่เพียงประมาณ 300,000 บาท จึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การก่อนวันดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องในคดีแรงงานต้องยื่นก่อนสืบพยาน หากเลยกำหนดหรือไม่เข้าเหตุยกเว้น ศาลไม่อนุญาต
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มิได้บัญญัติถึงวิธีการหรือหลักเกณฑ์ในการขอแก้ไขคำฟ้องไว้ จึงต้องนำป.วิ.พ. มาตรา 180 มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ในคดีแรงงานถือได้ว่าไม่มีการชี้สองสถานเพราะการกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันสืบพยานเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ฉะนั้นโจทก์จะต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน เว้นแต่มีเหตุยกเว้นตามกฎหมายคดีนี้โจทก์ยื่นคำร้องวันที่ 7 กรกฎาคม 2543 ขอแก้ไขคำฟ้องภายหลังจากจำเลยสืบพยานเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งในขณะที่โจทก์ยื่นคำฟ้อง โจทก์ย่อมจะทราบถึงสิทธิที่โจทก์จะพึงได้รับดอกเบี้ยจากค่าชดเชย ค่าจ้างค้างจ่ายและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าซึ่งจำเลยผิดนัดไม่จ่ายให้โจทก์อยู่แล้วและคดีไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งมิใช่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยไม่จำต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์
ในคดีแรงงานถือได้ว่าไม่มีการชี้สองสถานเพราะการกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันสืบพยานเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ฉะนั้นโจทก์จะต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน เว้นแต่มีเหตุยกเว้นตามกฎหมายคดีนี้โจทก์ยื่นคำร้องวันที่ 7 กรกฎาคม 2543 ขอแก้ไขคำฟ้องภายหลังจากจำเลยสืบพยานเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งในขณะที่โจทก์ยื่นคำฟ้อง โจทก์ย่อมจะทราบถึงสิทธิที่โจทก์จะพึงได้รับดอกเบี้ยจากค่าชดเชย ค่าจ้างค้างจ่ายและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าซึ่งจำเลยผิดนัดไม่จ่ายให้โจทก์อยู่แล้วและคดีไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งมิใช่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยไม่จำต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องคดีแรงงานต้องยื่นก่อนวันสืบพยาน หากเลยกำหนดและไม่เข้าข้อยกเว้น ศาลไม่อนุญาต
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มิได้บัญญัติถึงวิธีการหรือหลักเกณฑ์ในการขอแก้ไขคำฟ้อง จึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 มาบังคับโดยอนุโลมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 31 แต่ในคดีแรงงานไม่มีการชี้สองสถานเพราะการกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันสืบพยานเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ฉะนั้น โจทก์ต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วันเว้นแต่มีเหตุยกเว้นตามบทบัญญัติข้างต้น ปรากฏว่าในขณะที่ยื่นคำฟ้อง โจทก์ย่อมจะทราบถึงสิทธิของตนอันจะพึงได้รับดอกเบี้ยจากค่าชดเชยค่าจ้างค้างจ่าย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าซึ่งจำเลยผิดนัดไม่จ่ายให้โจทก์อยู่แล้ว โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องหลังจากที่จำเลยสืบพยานเสร็จสิ้นแล้วและคดีไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งมิใช่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9716/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังสืบพยานต้องมีเหตุสมควร การไม่ได้รับเงินหรือการขาดความยินยอมไม่ทำให้สัญญานั้นเป็นโมฆะ
ข้อเท็จจริงที่จำเลยขอแก้ไขคำให้การว่าจำเลยยังไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้เงินและสัญญากู้ดังกล่าวกับสัญญาจำนอง ทำขึ้นโดยปราศจากความยินยอมของภริยาจำเลยมิใช่ข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้อง
การไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้คงมีผลตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 650 ว่าสัญญาดังกล่าวไม่สมบูรณ์ และการทำสัญญากู้เงินและสัญญาจำนองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คงมีผลตามมาตรา 1480 ว่า นิติกรรมสัญญาดังกล่าวไม่สมบูรณ์ อันอาจฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมนั้นได้เท่านั้น แต่หาได้ตกเป็นโมฆะจนถึงกับโจทก์ผู้ให้กู้ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ ส่วนเรื่องการบอกเลิกสัญญาก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหากที่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งจะไปดำเนินการตามกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับจำเลย การขอแก้ไขคำให้การในเรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน อันจำเลยจะมีสิทธิขอแก้ไขคำให้การหลังจากสืบพยานโจทก์ไปบ้างแล้ว
การไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้คงมีผลตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 650 ว่าสัญญาดังกล่าวไม่สมบูรณ์ และการทำสัญญากู้เงินและสัญญาจำนองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คงมีผลตามมาตรา 1480 ว่า นิติกรรมสัญญาดังกล่าวไม่สมบูรณ์ อันอาจฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมนั้นได้เท่านั้น แต่หาได้ตกเป็นโมฆะจนถึงกับโจทก์ผู้ให้กู้ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ ส่วนเรื่องการบอกเลิกสัญญาก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหากที่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งจะไปดำเนินการตามกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับจำเลย การขอแก้ไขคำให้การในเรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน อันจำเลยจะมีสิทธิขอแก้ไขคำให้การหลังจากสืบพยานโจทก์ไปบ้างแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8099/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องหลังสืบพยานฝ่ายจำเลย: ศาลไม่อนุญาตหากเหตุผลไม่สมควรหรือไม่เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องขอเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินตามฟ้อง อ้างว่าโจทก์หลงลืมและโจทก์เพิ่งทราบในภายหลังว่าตามกฎหมายสามารถเรียกร้องดอกเบี้ยได้ หลังจากที่ศาลแรงงาน สืบพยานจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่นำพยานเข้าสืบก่อนเสร็จสิ้นแล้ว แต่เหตุที่โจทก์อ้างก็ไม่ปรากฏว่ามีเหตุอันสมควรที่โจทก์ไม่อาจรู้หรือไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น หรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย จึงไม่เข้ากรณีที่โจทก์จะขอแก้ไขคำฟ้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31