พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์การกู้ยืมเงินจากลายมือชื่อและพยานหลักฐานประกอบอื่น การปิดอากรแสตมป์
ศาลฎีกาเปรียบเทียบลายมือชื่อในช่องผู้กู้ในสัญญากู้กับลายมือชื่อของจำเลยที่เคยลงไว้ในสมุด จ่ายเงินเดือน เงินค่าครองชีพ สมุด รายงาน เงินคงเหลือประจำวัน รวมทั้งจดหมายที่จำเลยอ้างความจำเป็นในการขอกู้ยืมเงินจากโจทก์แล้ว เห็นได้ด้วยตาเปล่าว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกัน เชื่อ ว่าเป็นลายมือเขียนของบุคคลเดียวกัน โจทก์มีฐานะดีกว่าจำเลย เป็นครูโรงเรียนเดียวกัน ไม่มีเหตุผลใด ที่จะปลอมสัญญากู้ขึ้นมาฟ้องจำเลยด้วยเงินไม่กี่หมื่นบาทอันเป็นการเสี่ยงต่ออาญาบ้านเมืองและถูกไล่ออกจากราชการ ส่วนเอกสารที่จำเลยอ้างว่าเป็นลายมือชื่อของจำเลยที่แท้จริงก็มีรอยขูดลบแล้วลงลายมือชื่อใหม่ มีลักษณะผิดเพี้ยนอันเป็นการผิดปกติรับฟังไม่ได้ พยานหลักฐานจากโจทก์มีน้ำหนักดีกว่าเชื่อ ว่าโจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินไปตามฟ้องจริง สัญญากู้ปิดอากรแสตมป์ไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์เพื่อมิให้นำไปใช้ได้อีก แม้ไม่ได้ลงวันเดือนปีไว้ที่อากรแสตมป์ก็ตามถือว่าเป็นการปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามป.รัษฎากร มาตรา 103 แล้ว จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อากรแสตมป์ไม่ครบถ้วนแต่ชำระเกินกว่าที่ต้องเสียและขีดฆ่าแล้ว ถือเป็นการปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
อากรแสตมป์ที่ปิดในเอกสารสัญญากู้ไม่ได้ลงวันเดือนปีแต่ได้ปิดอากรแสตมป์เป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ที่ปิดทับกระดาษเพื่อมิให้อากรแสตมป์นั้นใช้ได้อีกเป็นการปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามมาตรา 103 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหนี้ตามสัญญาเล่นแชร์: หนังสือสัญญาค้ำประกันต้องเสียอากรแสตมป์
หนังสือสัญญาเล่นแชร์ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อโจทก์มีจำเลยที่ 2 ที่ 3 ลงชื่อไว้ต่อท้ายสัญญาในฐานะผู้ค้ำประกัน ถือเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 680วรรคสอง ที่แสดงว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 ตกลงค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามพันธะข้อสัญญาที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์เท่านั้น มิใช่เป็นหนังสือสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรโดยปิดแสตม์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ตามความมุ่งหมายแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 103, 104,118 จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 680
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหนี้จากการเล่นแชร์: หนังสือสัญญาค้ำประกันที่ไม่ต้องเสียอากรแสตมป์
หนังสือสัญญาเล่นแชร์ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อโจทก์มีจำเลยที่ 2ที่ 3 ลงชื่อไว้ต่อท้ายสัญญาในฐานะผู้ค้ำประกัน ถือเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคสองที่แสดงว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 ตกลงค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1ต่อโจทก์ตามพันธะ ข้อสัญญาที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์เท่านั้นมิใช่เป็นหนังสือสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ที่ 3อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรโดยปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ตามความมุ่งหมายแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 103,104,118 จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันที่ลงชื่อต่อท้ายสัญญาระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ ถือเป็นหลักฐานการค้ำประกันตาม ม.680 ไม่ต้องเสียอากรแสตมป์
หนังสือสัญญาเล่นแชร์ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อโจทก์ มีจำเลยที่ 2 ที่ 3 ลงชื่อไว้ต่อท้ายสัญญาในฐานะผู้ค้ำประกัน ถือเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 680 วรรคสอง ที่แสดงว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 ตกลงค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามพันธะ ข้อสัญญาที่จำเลยที่ 1 ลูกหนี้ทำไว้กับโจทก์เท่านั้น มิใช่เป็นหนังสือสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรโดยปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ตามความมุ่งหมายแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 103,104,118 จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามมาตรา 680
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันที่ปรากฏในสัญญาเล่นแชร์ ไม่ต้องติดอากรแสตมป์ ถือเป็นหลักฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 ได้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเล่นแชร์ กับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 ที่ 3ลงชื่อต่อท้ายสัญญาในฐานะผู้ค้ำประกัน ถือว่าเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 วรรคสอง มิใช่เป็นหนังสือสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรตาม ป.รัษฎากร เอกสารดังกล่าวจึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6380/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักภาษี ณ ที่จ่าย ดอกเบี้ยเงินกู้จากต่างประเทศ และหน้าที่ชำระภาษีของผู้กู้
บริษัท พ. จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในประเทศสหรัฐอเมริกามีสัญญากับโจทก์ว่าเป็นผู้จัดหาคณะบุคคลให้แก่โจทก์ในการดำเนินงานของบริษัทโจทก์ภายใต้นโยบายของคณะกรรมการบริหารของบริษัทโจทก์บุคคลที่บริษัท พ. จัดหามาเพื่อทำงานให้แก่โจทก์นั้นจึงเป็นลูกจ้างของโจทก์ ไม่ถือว่าบริษัท พ. มีลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนในการประกอบกิจการในประเทศไทย ทั้งถือไม่ได้ว่าบริษัท พ.ประกอบกิจการในประเทศไทย โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่ายสำหรับเงินที่โจทก์จ่ายค่าจ้างเป็นค่าจัดการและดอกเบี้ยของเงินค่าจ้างให้แก่บริษัท พ. เมื่อโจทก์ไม่ได้หักไว้เพราะมีข้อสัญญาให้โจทก์ชำระแทน โจทก์ย่อมมีหน้าที่ต้องนำส่งเงินภาษีจำนวนที่ต้องรับผิดชำระแทนนั้นต่อเจ้าหน้าที่ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 โจทก์ทำสัญญากู้เงินจากสถาบันการเงิน 5 แห่ง ซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในประเทศสหรัฐอเมริการ่วมกับธนาคารแห่งอเมริกาตามข้อสัญญาระบุให้ธนาคารแห่งอเมริกาเป็นตัวแทนจัดการเงินกู้และรับดอกเบี้ยเงินกู้ ทั้งนี้สถาบันการเงินทั้ง 5 แห่ง เป็นผู้ลงลายมือชื่อในสัญญาโดยตรง ธนาคารแห่งอเมริกามีสาขาในประเทศไทยแต่ไม่ปรากฏว่า สาขาในประเทศไทยได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของสถาบันการเงินทั้ง 5 แห่ง การชำระดอกเบี้ยให้แก่สถาบันการเงินเหล่านั้นโจทก์ส่งไปให้แก่ธนาคารแห่งอเมริกา นครนิวยอร์คโดยตรงธนาคารแห่งอเมริกา นครนิวยอร์คจึงเป็นตัวแทนของสถาบันการเงินทั้ง 5 แห่งเพื่อการนี้ และแม้ธนาคารแห่งอเมริกาจะมีสาขาในประเทศไทย ก็ถือไม่ได้ว่าสาขาในประเทศไทยนั้นเป็นตัวแทนของสถาบันการเงินทั้ง 5 แห่งดังกล่าวด้วย เมื่อสถาบันการเงินทั้ง5 แห่งนั้นไม่มีสาขาหรือลูกจ้างหรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในประเทศไทย โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้นิติบุคคลณ ที่จ่าย สำหรับเงินค่าดอกเบี้ยที่โจทก์จ่ายให้แก่สถาบันการเงินทั้ง 5 แห่งดังกล่าว แต่เมื่อตามข้อสัญญาในหนังสือสัญญากู้ระบุให้โจทก์ในฐานะผู้กู้ต้องเป็นฝ่ายชำระค่าภาษีทั้งปวงแทน โจทก์ไม่อาจหักเงินภาษีออกจากเงินค่าดอกเบี้ยได้ โจทก์จึงชอบที่จะออกเงินค่าภาษีจำนวนที่ต้องรับผิดชำระแทนให้แก่เจ้าหน้าที่ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย หากปิดแสตมป์แต่ไม่ขีดฆ่า ทำให้ใช้เป็นหลักฐานในศาลไม่ได้
สัญญากู้ที่โจทก์ส่งศาลปิดอากรแสตมป์แล้ว แต่ไม่ขีดฆ่าอากรแสดตมป์นั้น ถือว่าสัญญากู้ไม่ปิดแสตมป็บริบูรณ์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 103 ข้อ 1 และไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ตามมาตรา 118 ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1627/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบรับเงินทดรองและชำระหนี้ รวมถึงเงินกู้ ต้องปิดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย แม้ไม่มีแบบพิมพ์หรือกรรมการเซ็น
ในการลงบัญชีของบริษัทโจทก์ได้ลงตามใบสำคัญ รายการใดไม่มีใบสำคัญแต่มีบันทึกของผู้จัดการเป็นภาษาจีน ผู้ช่วยสมุห์บัญชีก็จะคัดลอกเป็นภาษาไทยไว้เป็นเอกสารลงบัญชี เอกสารดังกล่าวนี้จึงเป็นเอกสารของบริษัทโจทก์ ทำขึ้นเพื่อประกอบการลงบัญชีของโจทก์ ไม่ใช่ทำขึ้นเป็นการส่วนตัวของผู้ช่วยสมุห์บัญชี เมื่อเอกสารดังกล่าวมีข้อความว่าโจทก์ได้รับเงินตามรายการในเอกสารนั้น และโจทก์เป็นผู้ทำขึ้นแล้วจะมีลายมือชื่อของบุคคลใดๆ หรือไม่ไม่สำคัญ ถือได้ว่าเป็นใบรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 103 แล้ว และเมื่อเป็นใบรับแล้ว แม้จะไม่ใช่แบบพิมพ์ของบริษัทโจทก์ ไม่มีกรรมการบริษัทเซ็นชื่อ หรือไม่ใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องทำใบรับก็ตาม ใบรับนั้นก็ต้องปิดอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28 ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่จะได้รับยกเว้นตามกฎหมาย
เมื่อบริษัทโจทก์เริ่มก่อตั้ง เงินของบริษัทไม่พอใช้ บรรดาผู้ถือหุ้นได้ออกเงินทดรองให้บริษัทโจทก์ เงินนี้บริษัทโจทก์ไม่ให้ดอกเบี้ยเพราะถือเป็นกันเองระหว่างญาติ ดังนี้ เมื่อบริษัทโจทก์เป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นให้บริษัทโจทก์ยืมเงินในฐานะส่วนตัวของผู้ถือหุ้นแต่ละคน การที่บริษัทโจทก์ออกใบรับในกรณีรับเงินนี้ มิใช่ใบรับที่บุคคลในคณะบุคคลซึ่งกระทำกิจการร่วมกันออกให้ซึ่งกันและกันตามหน้าที่เพื่อดำเนินกิจการของคณะบุคคลนั้นโจทก์จึงจำต้องปิดอากรแสตมป์ในใบรับดังกล่าว เพราะไม่เข้าข้อยกเว้นตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28
ผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ยืมเงินบริษัทโจทก์ไปใช้สอยส่วนตัวแล้วชำระคืนให้โจทก์ ในการรับชำระเงินคืนบริษัทโจทก์ได้ออกใบรับให้ผู้จัดการไปด้วย แต่ฟังไม่ได้ว่าใบรับนั้นได้ปิดอากรแสตมป์แล้ว ฉะนั้น ใบรับเงินชำระหนี้ที่ค้างดังกล่าวซึ่งโจทก์ทำขึ้นและโจทก์เป็นผู้ทรงอยู่ โจทก์จึงต้องเป็นผู้ปิดแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28
เมื่อโจทก์ต้องเสียอากรสำหรับใบรับเงินทดรองและใบรับชำระหนี้ที่ค้าง แต่โจทก์ไม่ได้ปิดแสตมป์ให้ถูกต้องจนพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบ พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจที่จะเรียกเงินอากรจนครบ และเงินเพิ่มอากรจากโจทก์ได้
บริษัทโจทก์กู้เงินจากบุคคลภายนอกและได้ทำใบรับเงินกู้ไว้ เมื่อการกู้นั้นมีสัญญากู้ซึ่งปิดอากรแสตมป์มีจำนวนไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและ ขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้ว โจทก์ก็ไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ซ้ำในใบรับอีก แม้ปรากฏว่าแสตมป์ปิดในสัญญากู้ไม่ได้ลงวัน เดือน ปี ก็ตาม แต่เมื่อสัญญากู้ได้ปิดอากรแสตมป์เป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสีย และได้ขีดฆ่าแสตมป์ที่ปิดทับกระดาษเพื่อมิให้แสตมป์ใช้ได้อีก ก็ย่อมเป็นการปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามมาตรา 103 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 561/2487 และ 461/2488)
เมื่อบริษัทโจทก์เริ่มก่อตั้ง เงินของบริษัทไม่พอใช้ บรรดาผู้ถือหุ้นได้ออกเงินทดรองให้บริษัทโจทก์ เงินนี้บริษัทโจทก์ไม่ให้ดอกเบี้ยเพราะถือเป็นกันเองระหว่างญาติ ดังนี้ เมื่อบริษัทโจทก์เป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นให้บริษัทโจทก์ยืมเงินในฐานะส่วนตัวของผู้ถือหุ้นแต่ละคน การที่บริษัทโจทก์ออกใบรับในกรณีรับเงินนี้ มิใช่ใบรับที่บุคคลในคณะบุคคลซึ่งกระทำกิจการร่วมกันออกให้ซึ่งกันและกันตามหน้าที่เพื่อดำเนินกิจการของคณะบุคคลนั้นโจทก์จึงจำต้องปิดอากรแสตมป์ในใบรับดังกล่าว เพราะไม่เข้าข้อยกเว้นตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28
ผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ยืมเงินบริษัทโจทก์ไปใช้สอยส่วนตัวแล้วชำระคืนให้โจทก์ ในการรับชำระเงินคืนบริษัทโจทก์ได้ออกใบรับให้ผู้จัดการไปด้วย แต่ฟังไม่ได้ว่าใบรับนั้นได้ปิดอากรแสตมป์แล้ว ฉะนั้น ใบรับเงินชำระหนี้ที่ค้างดังกล่าวซึ่งโจทก์ทำขึ้นและโจทก์เป็นผู้ทรงอยู่ โจทก์จึงต้องเป็นผู้ปิดแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28
เมื่อโจทก์ต้องเสียอากรสำหรับใบรับเงินทดรองและใบรับชำระหนี้ที่ค้าง แต่โจทก์ไม่ได้ปิดแสตมป์ให้ถูกต้องจนพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบ พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจที่จะเรียกเงินอากรจนครบ และเงินเพิ่มอากรจากโจทก์ได้
บริษัทโจทก์กู้เงินจากบุคคลภายนอกและได้ทำใบรับเงินกู้ไว้ เมื่อการกู้นั้นมีสัญญากู้ซึ่งปิดอากรแสตมป์มีจำนวนไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและ ขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้ว โจทก์ก็ไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ซ้ำในใบรับอีก แม้ปรากฏว่าแสตมป์ปิดในสัญญากู้ไม่ได้ลงวัน เดือน ปี ก็ตาม แต่เมื่อสัญญากู้ได้ปิดอากรแสตมป์เป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสีย และได้ขีดฆ่าแสตมป์ที่ปิดทับกระดาษเพื่อมิให้แสตมป์ใช้ได้อีก ก็ย่อมเป็นการปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามมาตรา 103 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 561/2487 และ 461/2488)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1627/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารรับเงินที่มิได้มีแบบพิมพ์และไม่มีลายมือชื่อกรรมการ ถือเป็นใบรับตามประมวลรัษฎากร ต้องปิดอากรแสตมป์
ในการลงบัญชีของบริษัทโจทก์ได้ลงตามใบสำคัญ รายการใดไม่มีใบสำคัญแต่มีบันทึกของผู้จัดการเป็นภาษาจีน ผู้ช่วยสมุห์บัญชีก็จะคัดลอกเป็นภาษาไทยไว้เป็นเอกสารลงบัญชี เอกสารดังกล่าวนี้จึงเป็นเอกสารของบริษัทโจทก์ ทำขึ้นเพื่อประกอบการลงบัญชีของโจทก์ ไม่ใช่ทำขึ้นเป็นการส่วนตัวของผู้ช่วยสมุห์บัญชี เมื่อเอกสารดังกล่าวมีข้อความโจทก์ได้รับเงินตามรายการในเอกสารนั้น และโจทก์เป็นผู้ทำขึ้นแล้วจะมีลายมือชื่อของบุคคลใด ๆ หรือไม่ไม่สำคัญ ถือได้ว่าเป็นใบรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 103 แล้ว และเมื่อเป็นใบรับแล้วแม้จะไม่ใช่แบบพิมพ์ของบริษัทโจทก์ ไม่มีกรรมการบริษัทเซ็นชื่อ หรือไม่ใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องทำใบรับก็ตาม ใบรับนั้นก็ต้องปิดอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28 ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่จะได้รับยกเว้นตามกฎหมาย
เมื่อบริษัทโจทก์เริ่มก่อตั้งเงินของบริษัทไม่พอใช้ บรรดาผู้ถือหุ้นได้ออกเงินทดรองให้บริษัทโจกท์ เงินนี้บริษัทโจทก์ไม่ให้ดอกเบี้ยเพราะถือเป็นกันเองระหว่างญาติ ดังนี้เมื่อบริษัทโจทก์เป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นให้บริษัทโจทก์ยืมเงินในฐานะส่วนตัวของผู้ถือหุ้นแต่ละคน การที่บริษัทโจทก์ออกใบรับในกรณีรับเงินนี้ มิใช่ใบรับที่บุคคลในคณะบุคคลซึ่งกระทำกิจการร่วมกันออกให้ซึ่งกันและกันตามหน้าที่เพื่อดำเนินกิจการของคณะบุคคลนั้น โจทก์จึงจำต้องปิดอากรแสตมป์ในใบรับรองดังกล่าว เพราะไม่เข้าข้อยกเว้นตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 25 ฒ.
ผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ยืมเงินบริษัทโจทก์ไปใช้สอยส่วนตัวแล้วชำระคืนให้โจทก์ในการรับชำระเงินคืน บริษัทโจทก์ได้ออกใบรับให้ผู้จัดการไปด้วย แต่ฟังไม่ได้ว่าใบรับนั้นได้ปิดอากรแสตมป์แล้ว ฉะนั้น ใบรับเงินชำระหนี้ที่ค้างดังกล่าวซึ่งโจทก์ทำขึ้นและโจทก์เป็นผู้ทรงอยู่ โจทก์จึงต้องเป็นผู้ปิดแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28
เมื่อโจทก์ต้องเสียอากรสำหรับใบรับเงินทดรองและใบรับชำระหนี้ค้าง แต่โจทก์ไม่ได้ปิดแสตมป์ให้ถูกต้องจนพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบ พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจที่จะเรียกเงินอากรจนครบ และเงินเพิ่มอากรจากโจทก์ได้
บริษัทโจทก์กู้เงินจากบุคคลภายนอกและได้ทำใบรับเงินกู้ไว้ เมื่อการกู้นั้นมีสัญญากู้ซึ่งปิดอากรแสตมป์มีจำนวนไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้ว โจทก์ก็ไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ซ้ำในใบรับอีก แม้ปรากฏว่าแสตมป์ปิดในสัญญากู้ไม่ได้ลงวัน เดือน ปี ก็ตาม แต่เมื่อสัญญากู้ได้ปิดอากรแสตมป์เป็นราคาไม่น้อยกว่า อากรที่ต้องเสียและได้ขีดฆ่าที่ปิดทับกระดาษเพื่อมิให้แสตมป์ใช้ได้อีก ก็ย่อมเป็นการปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามมาตรา 103 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 561/2487 และ 461/2488)
เมื่อบริษัทโจทก์เริ่มก่อตั้งเงินของบริษัทไม่พอใช้ บรรดาผู้ถือหุ้นได้ออกเงินทดรองให้บริษัทโจกท์ เงินนี้บริษัทโจทก์ไม่ให้ดอกเบี้ยเพราะถือเป็นกันเองระหว่างญาติ ดังนี้เมื่อบริษัทโจทก์เป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นให้บริษัทโจทก์ยืมเงินในฐานะส่วนตัวของผู้ถือหุ้นแต่ละคน การที่บริษัทโจทก์ออกใบรับในกรณีรับเงินนี้ มิใช่ใบรับที่บุคคลในคณะบุคคลซึ่งกระทำกิจการร่วมกันออกให้ซึ่งกันและกันตามหน้าที่เพื่อดำเนินกิจการของคณะบุคคลนั้น โจทก์จึงจำต้องปิดอากรแสตมป์ในใบรับรองดังกล่าว เพราะไม่เข้าข้อยกเว้นตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 25 ฒ.
ผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ยืมเงินบริษัทโจทก์ไปใช้สอยส่วนตัวแล้วชำระคืนให้โจทก์ในการรับชำระเงินคืน บริษัทโจทก์ได้ออกใบรับให้ผู้จัดการไปด้วย แต่ฟังไม่ได้ว่าใบรับนั้นได้ปิดอากรแสตมป์แล้ว ฉะนั้น ใบรับเงินชำระหนี้ที่ค้างดังกล่าวซึ่งโจทก์ทำขึ้นและโจทก์เป็นผู้ทรงอยู่ โจทก์จึงต้องเป็นผู้ปิดแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28
เมื่อโจทก์ต้องเสียอากรสำหรับใบรับเงินทดรองและใบรับชำระหนี้ค้าง แต่โจทก์ไม่ได้ปิดแสตมป์ให้ถูกต้องจนพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบ พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจที่จะเรียกเงินอากรจนครบ และเงินเพิ่มอากรจากโจทก์ได้
บริษัทโจทก์กู้เงินจากบุคคลภายนอกและได้ทำใบรับเงินกู้ไว้ เมื่อการกู้นั้นมีสัญญากู้ซึ่งปิดอากรแสตมป์มีจำนวนไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้ว โจทก์ก็ไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ซ้ำในใบรับอีก แม้ปรากฏว่าแสตมป์ปิดในสัญญากู้ไม่ได้ลงวัน เดือน ปี ก็ตาม แต่เมื่อสัญญากู้ได้ปิดอากรแสตมป์เป็นราคาไม่น้อยกว่า อากรที่ต้องเสียและได้ขีดฆ่าที่ปิดทับกระดาษเพื่อมิให้แสตมป์ใช้ได้อีก ก็ย่อมเป็นการปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามมาตรา 103 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 561/2487 และ 461/2488)