คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประทีป เฉลิมภัทรกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 458 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4170/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิเพิกถอนได้แม้ผู้รับโอนไม่รู้
จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ก่อนที่จำเลยทั้งสองจดทะเบียนหย่ากันและบันทึกข้อตกลงเรื่องทรัพย์สินตามทะเบียนการหย่าระบุว่า ที่ดินพร้อมบ้านและทรัพย์สินทุกอย่างในบ้านยกให้แก่จำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 1 กลับไปจดทะเบียนขายที่ดินและบ้านเฉพาะส่วนให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 รับว่า จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านให้แก่จำเลยที่ 2 พนักงานที่ดินกำหนดราคา 200,000 บาท แต่ความจริงไม่ได้มีการชำระเงินกัน แสดงว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านดังกล่าวระหว่างจำเลยทั้งสองมีเจตนาไม่สุจริตและข้อตกลงระหว่างจำเลยทั้งสองเป็นการให้โดยเสน่หามิใช่ซื้อขาย ดังนั้น เมื่อกรณีเป็นการให้โดยเสน่หาเพียงแต่จำเลยที่ 1 ลูกหนี้เป็นผู้รู้ว่าตนเป็นหนี้โจทก์ฝ่ายเดียวเท่านั้นก็พอแล้วที่จะขอเพิกถอนการฉ้อฉลได้ โดยจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์แต่อย่างใดตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 วรรคหนึ่ง ตอนท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3399/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกโดยการส่งมอบการครอบครอง และอายุความฟ้องคดีมรดก
การแบ่งปันทรัพย์มรดก นอกจากไม่มีบทกฎหมายบัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือแล้ว ที่ดินพิพาทที่มีเพียงใบไต่สวน ผู้เป็นเจ้าของจึงมีเพียงสิทธิครอบครอง ดังนั้น การแบ่งปันทรัพย์มรดกจึงกระทำได้โดยการส่งมอบการครอบครองเท่านั้น เมื่อที่ดินพิพาทมีการตกลงแบ่งปันกันระหว่างทายาทเป็นส่วนสัด อันเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคหนึ่งแล้ว ว. ทายาทซึ่งเป็นมารดาโจทก์ครอบครองที่ดินส่วนพิพาทตอนกลางเพื่อตนเองตลอดมาและมอบการครอบครองให้แก่โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3384/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้โดยเสน่หาที่มีค่าตอบแทน การถอนคืนการให้เพราะเหตุเนรคุณ
จำเลยทั้งสองนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 ที่เปิดบัญชีไว้กับธนาคารเพื่อประโยชน์ของโจทก์ในวันเดียวกับที่โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อเป็นค่าตอบแทนในการที่โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยทั้งสอง จึงเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพันซึ่งผู้ให้ไม่อาจถอนคืนการให้เพราะเหตุเนรคุณได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 535 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3094/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การฟ้องเรียกเงินมัดจำหลังศาลตัดสินคดีเดิมแล้ว ถือเป็นการฟ้องซ้ำต้องห้ามตามกฎหมาย
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินมัดจำที่โจทก์วางไว้ให้แก่จำเลยในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินคืนแก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ฟ้องบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาและเรียกค่าเสียหายตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 894/2535 ของศาลชั้นต้น โดยไม่ปรากฏว่าได้ขอบังคับให้จำเลยคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ด้วย ทั้งที่เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นและมีอยู่ในขณะฟ้อง และโจทก์มีสิทธิตามกฎหมายที่จะเรียกร้องเช่นนั้นได้แม้ต่อมาคดีดังกล่าวศาลฎีกาจะมีคำพิพากษายกฟ้องคำขอที่บังคับให้จำเลยรังวัดแบ่งแยกที่ดินแก่โจทก์โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ก็ตาม แต่ศาลฎีกาก็ได้วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและบังคับให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ อันถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยประเด็นแห่งคดีว่าจำเลยผิดสัญญาหรือไม่แล้ว ทั้งต่อมาปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยและเจ้าของรวมทุกคนขอให้บังคับแบ่งแยกที่ดินตามที่โจทก์ต้องการแล้วจดทะเบียนโอนที่ดินที่แบ่งแยกแก่โจทก์ตามสิทธิที่ได้รับตามคำพิพากษาศาลฎีกาและเรียกค่าเสียหาย แต่โจทก์ก็ไม่มีคำขอให้จำเลยคืนเงินมัดจำหากจำเลยไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ ซึ่งต่อมาคดีที่โจทก์ฟ้องใหม่นี้ ศาลชั้นต้นก็พิพากษายกฟ้องตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 4934/2542 ของศาลชั้นต้น คดีถึงที่สุด ดังนั้น การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้อ้างว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงถือว่าสัญญาเลิกกันและขอเงินมัดจำคืน เท่ากับศาลต้องวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีว่าจำเลยผิดสัญญาหรือไม่ซ้ำกับคดีก่อนที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองคดีและถึงที่สุดแล้ว ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 และปัญหาว่าคดีโจทก์เป็นฟ้องซ้ำหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความในหยิบยกขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3090/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาเช่าโดยความยินยอม และการเรียกร้องค่าเสียหาย/ค่าซ่อมแซมจากผู้เช่าเมื่อสัญญาเลิก
หนังสือที่จำเลยมีถึงโจทก์แจ้งว่า โจทก์ทราบว่าจำเลยย้ายออกจากพื้นที่เช่าจึงขอคืนพื้นที่จอดรถ ใบส่งโทรสารของโจทก์ถึงจำเลยเกี่ยวกับพื้นที่จอดรถ และหนังสือที่โจทก์คืนเงินค่าหมายเลขโทรศัพท์ให้แก่จำเลย แม้จำเลยมิได้อ้างไว้ในบัญชีระบุพยาน ซึ่งฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 88 แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานดังกล่าวอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีศาลฎีกามีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2)
เอกสารที่จำเลยไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารนั้นให้แก่โจทก์ เป็นเอกสารโต้ตอบระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งต่างฝ่ายต่างทราบดีอยู่แล้วถึงความมีอยู่และความแท้จริงแห่งเอกสารนั้นแล้ว จึงไม่จำต้องส่งสำเนาให้โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90 วรรคสาม (1)
จำเลยไม่เสียค่าอ้างเอกสาร เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยจงใจฝ่าฝืนไม่เสีย ประกอบกับศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความทุกฝ่ายย่อมไม่ควรยกเป็นเหตุไม่รับฟังเอกสารดังกล่าวนั้น ศาลจึงมีอำนาจรับฟังเอกสารดังกล่าวได้
ป.พ.พ. มาตรา 386 ให้สิทธิคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามข้อสัญญาหรือตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ นอกจากนี้คู่สัญญาอาจตกลงเลิกสัญญากันเองภายหลังทำสัญญาก็ได้ ซึ่งอาจตกลงเลิกสัญญากันโดยชัดแจ้งหรือถือว่าสัญญาเลิกกันโดยปริยายก็ได้ และการบอกเลิกสัญญาโดยปริยายไม่มีกฎหมายบังคับไว้ว่าจะต้องบอกเลิกสัญญาเป็นหนังสือ แต่ต้องทำโดยแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง แม้ตามสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยจะให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเพียงฝ่ายเดียว โดยจำเลยไม่สามารถบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดสัญญาก็ตาม แต่การที่ ธ. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่า จำเลยเคยแจ้งให้โจทก์ทราบทางจดหมายว่าจะไม่เช่าพื้นที่ทั้งหมดและจะย้ายออกตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2539 โจทก์ทราบว่าจำเลยได้ขนย้ายทรัพย์สินพร้อมบริวารออกสถานที่เช่า ทั้งจำเลยซ่อมแซมพื้นที่เช่าไปด้วย โจทก์ไม่ได้โต้แย้ง โจทก์ไม่ได้ให้บริการแก่จำเลยตั้งแต่เดือนธันวาคม 2540 และจำเลยมีหนังสือถึงโจทก์เพื่อคืนกุญแจห้องและสถานที่จอดรถตั้งแต่เดือนธันวาคม 2539 ในเดือนพฤศจิกายน 2540 จำเลยว่าจ้างบริษัท ท. มาปรับปรุงอาคารที่เช่าเพื่อส่งมอบคืนแก่โจทก์ โจทก์ตอบกลับว่างานที่ปรับปรุงยังมีความบกพร่องต้องแก้ไข ทั้งโจทก์คืนเงินมัดจำค่าโทรศัพท์ให้จำเลย 2 ครั้ง ดังนั้นเมื่อจำเลยทำคำเสนอแสดงเจตนาขอเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์และโจทก์ทำคำสนองรับด้วยพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์จำเลยว่าต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาเช่าและสัญญาให้บริการต่อกันโดยปริยายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2757/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามวางเพลิง: การประเมินผลสำเร็จและเหตุบังเอิญ
จำเลยใช้ไฟแช็กแก๊สจุดไฟบริเวณที่ราดน้ำมันซึ่งเป็นพื้นปูนซีเมนต์และประตูหน้าบ้านของผู้เสียหายซึ่งเป็นประตูเหล็ก แต่วัตถุดังกล่าวหาใช่ว่าจะไม่สามารถติดไฟได้เลยอย่างแน่แท้ไม่ เพราะน้ำมันเบนซินเป็นวัตถุไวไฟติดไฟง่ายสามารถเผาผลาญปูนซีเมนต์และเหล็กได้ ทั้งเมื่อไฟติดแล้วอาจจะลุกลามกระจายเป็นวงกว้างไปไหม้บ้านของผู้เสียหายได้ การที่จำเลยจุดไฟไม่ติดจึงเป็นเหตุบังเอิญมากกว่า การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานพยายามกระทำความผิดที่ไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ตาม ป.อ. มาตรา 81 แต่เป็นความผิดฐานพยายามซึ่งอาจบรรลุผลได้ตาม ป.อ. มาตรา 80

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2526/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากการซ่อมแซมอาคารชำรุด: ไม่ใช่ 1 ปี แต่ใช้ 10 ปีตามสัญญา
โจทก์จ้างจำเลยที่ 1 ออกแบบก่อสร้าง ทำการก่อสร้างและควบคุมการก่อสร้างอาคารที่ทำการสื่อสารโทรคมนาคมยานนาวาตามสัญญาว่าจ้าง โดยมีข้อตกลงในการประกันผลงานในข้อ 5.3 ซึ่งให้สิทธิโจทก์ในฐานะผู้ว่าจ้างในการดำเนินการแก้ไขซ่อมแซมหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดได้เองในกรณีที่เกิดการชำรุดเสียหายแก่อาคารซึ่งเหตุชำรุดเสียหายเกิดจากความบกพร่องของผู้รับจ้าง และโจทก์ได้แจ้งให้ผู้รับจ้างต้องรีบทำการแก้ไข ซ่อมแซมภายในระยะเวลาที่ผู้ว่าจ้างกำหนดแล้ว แต่ผู้รับจ้างไม่ดำเนินการแก้ไขซ่อมแซมความชำรุดบกพร่องให้เสร็จภายในเวลาที่โจทก์กำหนด โดยผู้รับจ้างยินยอมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด นอกจากนี้สัญญาว่าจ้างข้อ 10.2 ในกรณีที่ผู้รับจ้างไม่ปฏิบัติตามสัญญา ยังให้สิทธิโจทก์ที่จะว่าจ้างผู้อื่นมาทำงานแทนผู้รับจ้างได้โดยมิต้องบอกกล่าวหรือให้ผู้รับจ้างยินยอมแต่อย่างใด และค่าใช้จ่ายทั้งหมดผู้รับจ้างยินยอมให้โจทก์เรียกร้องจากผู้รับจ้างทั้งหมด สัญญาข้อที่ 10.2 นี้อยู่ในส่วนของเงื่อนไขทั่วไปของสัญญาว่าจ้าง จึงไม่ใช่ใช้เฉพาะกรณีที่งานของจำเลยที่ 1 ยังไม่แล้วเสร็จเท่านั้น แต่ใช้ได้ตลอดเวลาที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังมีนิติสัมพันธ์กันอยู่และยังเป็นข้อตกลงตามสัญญาอย่างหนึ่งที่ให้สิทธิโจทก์ในการว่าจ้างบุคคลภายนอกทำงานแทนผู้รับจ้างได้ในกรณีที่ผู้รับจ้างไม่ปฏิบัติตามสัญญา สำหรับกรณีคำฟ้องของโจทก์ไม่ใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดพบพร่องอันมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 601 เพราะบทบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับกรณีที่เกิดขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 600 กล่าวคือ ถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญา เมื่อได้ส่งมอบงานกันแล้วปรากฏว่างานที่ว่าจ้างมีการชำรุดบกพร่องเกิดขึ้นภายหลังจึงกำหนดให้ฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันการชำรุดบกพร่องปรากฏขึ้น แต่กรณีคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องเรียกค่าจ้างตามที่มีข้อสัญญาตกลงกันไว้เป็นพิเศษ โจทก์และจำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติตามสัญญานั้นซึ่งผูกพันกันอีกส่วนหนึ่งต่างหากตามสัญญา กรณีนี้จึงไม่ใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 601 ทั้งกรณีของโจทก์ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปคือ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ดังนั้น เมื่อโจทก์พบความชำรุดบกพร่องในวันที่ 9 สิงหาคม 2545 และแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทำการซ่อมแซมแก้ไขอาคารรวม 2 ครั้งแล้วแต่จำเลยที่ 1 เพิกเฉย โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะว่าจ้างบุคคลภายนอกทำการซ่อมแซมแทนจำเลยที่ 1 ได้ ซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชอบค่าจ้างที่โจทก์เสียไปทั้งหมดตามสัญญาข้างต้น โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2549 ซึ่งนับแต่วันที่พบความชำรุดบกพร่องถึงวันฟ้องยังไม่เงิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวน: การบังคับใช้กฎกระทรวงเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บุคคลใดอ้างว่ามีสิทธิหรือได้ทำประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติใดอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงกำหนดป่าสงวนแห่งชาตินั้นใช้บังคับ ให้ยื่นคำร้องเป็นหนังสือต่อนายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอท้องที่ภายในกำหนด 90 วันนับแต่วันที่กฎกระทรวงนั้นใช้บังคับ..." และมาตรา 5 วรรคสอง บัญญัติว่า "กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้" ดังนั้น เมื่อกฎกระทรวงฉบับที่ 597 (พ.ศ.2516) ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วจึงย่อมมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายและถือได้ว่าจำเลยทั้งสองหรือผู้ครอบครองที่ดินที่เกิดเหตุเจ้าของเดิมสามารถใช้สิทธิตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ มิใช่นับแต่มีการปิดประกาศสำเนากฎกระทรวงและแผนที่ท้ายกฎกระทรวงดังกล่าวให้ราษฎรทราบตามมาตรา 9 แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2031/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องขับไล่ vs. สิทธิในที่ดิน: การรวมพิจารณาฟ้องแย้งเรื่องกรรมสิทธิ์และละเมิด
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสามออกจากที่ดินและบ้านพิพาทโดยอ้างว่า จำเลยทั้งสามขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสามให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยทั้งสามโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์โดยไม่มีการซื้อขายกันจริงเพื่อที่โจทก์จะไปดำเนินการกู้ยืมเงินจากธนาคาร อ. และนำที่ดินและบ้านพิพาทจำนองเป็นประกันหนี้แทนจำเลยทั้งสอง ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทหรือไม่ หากฟังข้อเท็จจริงได้ตามที่จำเลยทั้งสามให้การไว้ดังกล่าว โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสามและต้องดำเนินการคืนที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสาม ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามในส่วนที่ขอให้โจทก์รับเงินเพื่อไปไถ่ถอนและจดทะเบียนโอนที่ดินและบ้านพิพาทคืนให้แก่จำเลยทั้งสามตามคำขอท้ายฟ้อง จึงเป็นเรื่องเดียวกันกับฟ้องเดิมชอบที่จำเลยทั้งสามจะฟ้องแย้งมาในคำให้การได้ ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามที่อ้างว่า จำเลยทั้งสามมอบหมายให้โจทก์ไปดำเนินการกู้ยืมเงินและจำนองที่ดินและบ้านพิพาทแทนจำเลยทั้งสาม แต่โจทก์กลับเบียดบังที่ดินและบ้านพิพาทของจำเลยทั้งสามเป็นของตนเองแล้วนำคดีมาฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสามเป็นการจงใจกระทำละเมิดต่อจำเลยทั้งสามให้ได้รับความเสียหาย จึงขอให้โจทก์ชดใช้ค่าทดแทนเดือนละ 50,000 บาท ฟ้องแย้งในส่วนนี้เป็นเงื่อนไขที่ศาลจะต้องพิจารณาให้ได้ข้อเท็จจริงก่อนว่าโจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทโดยจำเลยทั้งสามเป็นเจ้าของที่แท้จริง แล้วจึงจะพิจารณาได้ว่าโจทก์จงใจที่จะกระทำละเมิดจำเลยทั้งสามโดยแกล้งฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสามให้ออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาท รวมทั้งพิจารณากำหนดค่าทดแทนตามที่จำเลยทั้งสามขอในคำขอท้ายฟ้อง ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามในส่วนนี้จึงเป็นการอ้างว่าโจทก์จงใจทำละเมิดจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นคนละเรื่องกับฟ้องเดิมและเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบมาตรา 179 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2022/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีพิพาทที่ดินที่เคยตัดสินแล้ว ห้ามฟ้องรื้อร้องประเด็นเดิม
ก่อนคดีนี้จำเลยทั้งสองเคยฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาท อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสอง โจทก์ให้การต่อสู้คดีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้ขับไล่โจทก์กับบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทพร้อมกับให้โจทก์ชำระค่าเสียหายแก่จำเลยทั้งสอง คดีถึงที่สุดแล้ว คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยออกโฉนดที่ดินทับที่ดินโจทก์ ขอให้เพิกถอนหรือแก้ไขเนื้อที่ในโฉนดของจำเลย เมื่อคดีนี้และคดีก่อนเป็นคู่ความเดียวกัน การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ เช่นเดียวกับประเด็นพิพาทในคดีก่อน หากข้อเท็จจริงในคดีนี้ฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์จึงจะพิพากษาให้เพิกถอนและแก้ไขเนื้อที่ดินในโฉนดที่ดินตามฟ้องโจทก์ได้ ดังนี้ ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความรื้อร้องฟ้องกันอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง
of 46