คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประทีป เฉลิมภัทรกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 458 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1823/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานอกประเด็นฟ้อง: สัญญาไม่ใช่ซื้อขายแต่เป็นสัญญาเช่าซื้อ เงินที่ชำระไม่ใช่เงินมัดจำ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.พ.พ. มาตรา 249
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาซื้อขายสินค้ากับโจทก์ราคา 1,502,424 บาท ตกลงชำระค่ามัดจำ 360,000 บาท โดยชำระในวันทำสัญญา 60,000 บาท ในวันติดตั้งสินค้า 37,500 บาท อีก 262,500 บาท ชำระหลังจากที่จำเลยผ่อนชำระราคาสินค้าส่วนที่เหลือ 1,142,424 บาท ให้แก่บริษัทเงินทุนครบถ้วนแล้ว ต่อมาจำเลยผิดสัญญาไม่ผ่อนชำระเงินค่างวดแก่บริษัทเงินทุนเป็นเหตุให้ถูกบอกเลิกสัญญาและยึดสินค้าคืน ถือว่าจำเลยสละเงื่อนเวลาและไม่ได้รับประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาอีกต่อไป จำเลยจึงต้องรับผิดในเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย การที่โจทก์ฎีกาว่า สัญญาตามฟ้องแม้ระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขาย แต่เมื่อพิจารณาข้อความในสัญญาแล้วมิใช่สัญญาซื้อขายเพราะโจทก์จำเลยไม่ได้ตกลงที่จะให้มีการส่งมอบสินค้าซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้ และสัญญามีข้อตกลงให้โจทก์เป็นฝ่ายจัดหาบริษัทเงินทุนเพื่อให้จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อผ่อนชำระราคาสินค้าส่วนที่เหลือ สัญญาดังกล่าวถือเป็นสัญญาชนิดหนึ่งซึ่งใช้บังคับได้ เงินจำนวน 262,500 บาท ที่ระบุในสัญญาจึงมิใช่มัดจำ เมื่อจำเลยตกลงจะชำระราคาสินค้าส่วนที่เหลือจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ จำเลยจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด เป็นฎีกานอกเหนือประเด็นที่กล่าวในฟ้อง ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามฎีกาตาม ป.พ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาพรากผู้เยาว์และการฟ้องนอกเหนือจากข้อหาที่แจ้ง พยานหลักฐานเชื่อมโยงผู้เสียหายกับจำเลย
การแจ้งข้อหาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 เป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งของการสอบสวนเพื่อต้องการให้ผู้ต้องหารู้ตัวก่อนว่าตนจะถูกสอบสวนในความผิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ แม้เดิมจะแจ้งข้อหาว่ากระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์ 2 วัน แต่เมื่อสอบสวนไปแล้วปรากฏว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิดอีก 2 วัน ซึ่งเป็นความผิดฐานเดียวกันแต่เพิ่มอีก 2 กระทง ก็ถือได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานพรากผู้เยาว์ พนักงานอัยการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามมาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1632/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ กรณีรถยนต์ของห้างหุ้นส่วนได้รับความเสียหายจากการถูกชน
ส. ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นผู้ครอบครองรถยนต์กระบะคันเกิดเหตุในสมุดคู่มือการจดทะเบียนมอบรถยนต์กระบะให้แก่โจทก์เป็นผู้ครอบครองโดยใช้เป็นพาหนะส่งอาหารทะเลให้แก่ลูกค้า แม้โจทก์จะไม่มีชื่อเป็นผู้ครอบครองรถยนต์ในสมุดคู่มือการจดทะเบียน แต่การจดทะเบียนรถยนต์ไม่ใช่หลักฐานแห่งกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายเป็นเพียงหลักฐานที่กำหนดขึ้นเพื่อความสะดวกในการควบคุมใช้รถและการเสียภาษีของเจ้าพนักงานเท่านั้น บุคคลใดจะเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถยนต์ต้องพิจารณาไปตามสภาพของข้อเท็จจริง เมื่อปรากฏว่าโจทก์และ ส. ได้ร่วมลงทุนในการประกอบกิจการค้าขายและขนส่งอาหารอันมีลักษณะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ รถยนต์กระบะจึงเป็นทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วน เมื่อทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนได้รับความเสียหายโดยไม่ปรากฏว่าได้ตกลงกันไว้ในกระบวนจัดการห้างหุ้นส่วน โจทก์ในฐานะหุ้นส่วนย่อมมีอำนาจฟ้องร้องผู้กระทำให้ทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนได้รับความเสียหายได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1033

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1627/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนโดยทราบว่าไม่มีสิทธิ ย่อมเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวน
จำเลยทราบแล้วว่าไม่มีสิทธิยึดถือครอบครองที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แต่ยังคงครอบครองปลูกต้นส้มต่อไป ย่อมเป็นการทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ เพราะทำให้กลายเป็นสวนส้ม ไม่เป็นป่าตามสภาพเดิม จำเลยไม่ได้สำคัญผิดในข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่เกิดเหตุได้ตาม ป.อ. มาตรา 62 จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14 และมาตรา 31 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1244/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีขับไล่และบังคับคดีที่ดิน/บ้าน: ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารให้ออกจากที่ดินและบ้านซึ่งปลูกสร้างในที่ดินพร้อมเรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 36,000 บาท จำเลยไม่ยื่นคำให้การ และโจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินและบ้านดังกล่าวหากให้ผู้อื่นเช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ 4,500 บาท คดีของโจทก์จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท โจทก์และจำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษว่าไม่ใช่บริวารของจำเลย ศาลชั้นต้นงดการไต่สวนคำร้องของผู้ร้อง และมีคำสั่งให้เพิกถอนการบังคับคดีบ้านของผู้ร้อง เท่ากับศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วว่าผู้ร้องไม่เป็นบริวารของจำเลยและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน คดีระหว่างโจทก์และผู้ร้องจึงเป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยผู้ถูกฟ้องขับไล่ซึ่งอยู่บนอสังหาริมทรัพย์และคดีระหว่างโจทก์จำเลยเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทซึ่งคู่ความในส่วนของคดีฟ้องขับไล่นั้นต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม มาตรา 248 วรรคสอง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ว่าศาลจะฟังว่าบุคคลดังกล่าวสามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้หรือไม่ คดีในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยจึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1244/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีขับไล่และบังคับคดีที่ดิน/บ้าน: ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารให้ออกจากที่ดินและบ้านซึ่งปลูกสร้างในที่ดินดังกล่าวพร้อมเรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 36,000 บาท จำเลยไม่ยื่นคำให้การ และโจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินและบ้านดังกล่าวหากให้ผู้อื่นเช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ 4,500 บาท คดีของโจทก์จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท โจทก์และจำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษว่าไม่ใช่บริวารของจำเลย โดย ท. ยกที่ดินและบ้านดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องทั้งสองในฐานะบุตรสาวและบุตรเขย และศาลชั้นต้นงดการไต่สวนคำร้องของผู้ร้องทั้งสอง และมีคำสั่งให้เพิกถอนการบังคับคดีบ้านของผู้ร้องทั้งสอง เท่ากับศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วว่าผู้ร้องทั้งสองไม่เป็นบริวารของจำเลย และศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน คดีระหว่างโจทก์และผู้ร้องทั้งสองจึงเป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยผู้ถูกฟ้องขับไล่ซึ่งอยู่บนอสังหาริมทรัพย์ และคดีระหว่างโจทก์จำเลยเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท ซึ่งคู่ความในคดีฟ้องขับไล่นั้นต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ว่าศาลจะฟังว่าบุคคลดังกล่าวสามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้หรือไม่คดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันและความรับผิดร่วม: ศาลฎีกาชี้ว่าผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ในสัญญาซื้อขาย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระค่าปรับเพราะผิดสัญญาซื้อขายรวม 4 ฉบับ โดยมีจำเลยที่ 2 ทำหนังสือค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายรายฉบับรวม 4 ฉบับ หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาซื้อขายโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าปรับและหลักประกันสัญญาตามรายสัญญา แม้โจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขายรวมกันมาทั้งสี่ฉบับการกำหนดค่าปรับก็ต้องพิจารณาภายในวงเงินตามสัญญาซื้อขายแต่ละฉบับ จำนวนทุนทรัพย์แห่งคดีจึงต้องคำนวณแยกตามสัญญาซื้อขายและหนังสือค้ำประกันนั้นเป็นรายสัญญา เมื่อมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาในแต่ละสัญญาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องเรียกค่าปรับรวมดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน 7,325.37 บาท และหลักประกันสัญญารวมดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน 3,212.57 บาท รวมเป็นเงิน 10,537.94 บาท ศาลชั้นต้นกำหนดค่าปรับให้ 3,000 บาท คงเหลือจำนวนค่าปรับที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เพียง 7,537.94 บาท ซึ่งถือเป็นทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง อุทธรณ์ของโจทก์ที่เกี่ยวกับปัญหาในการกำหนดค่าปรับเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้จึงไม่ชอบ แม้โจทก์จะเห็นพ้องกับการกำหนดค่าปรับของศาลอุทธรณ์และไม่ฎีกาค่าปรับในส่วนนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขได้ตามมาตรา 142 (5)
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 กำหนดอัตราค่าปรับให้หน่วยราชการใช้และถือปฏิบัติเป็นหลักทั่วไปเพื่อให้เกิดความเสมอภาคและเป็นธรรม หากให้แต่ละหน่วยราชการต่างกำหนดค่าปรับเองกรณีผิดสัญญาก็จะทำให้เกิดความลักลั่นไม่เป็นธรรม แต่ไม่ได้หมายความว่าอัตราค่าปรับที่กำหนดในระเบียบดังกล่าวจะเหมาะสมแก่ทุกกรณี เมื่อค่าปรับดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าจึงเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจที่จะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ตามหนังสือค้ำประกันเป็นความรับผิดที่เกิดจากการปฏิบัติผิดสัญญาของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ต้องเสียค่าปรับตามสัญญาซื้อขายแก่โจทก์ ประกอบกับหนังสือค้ำประกันระบุว่า ยอมผูกพันตนโดยไม่มีเงื่อนไขที่จะค้ำประกันชนิดเพิกถอนไม่ได้เช่นเดียวกับลูกหนี้ชั้นต้น และให้โจทก์เรียกร้องจากจำเลยที่ 2 ได้ทันทีโดยไม่ต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ก่อนซึ่งมีลักษณะต้องร่วมรับผิดอยู่แล้ว จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้โจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 883/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมต้องได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายหรือใช้สิทธิโดยสงบต่อเนื่อง การใช้ทางโดยวิสาสะไม่ถือเป็นการได้มา
จำเลยที่ 3 คุ้นเคยกับ บ. มารดาโจทก์ในลักษณะเพื่อนบ้านที่ต่างพึ่งพาอาศัยกันการที่จำเลยที่ 3 และบริวารใช้ทางพิพาทเป็นการได้รับอนุญาตจากเจ้าของที่ดินแล้วส่วนที่จำเลยที่ 3 อ้างว่าพังรั้วที่กั้นระหว่างที่ดินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 และขนวัสดุอุปกรณ์ในการปลูกสร้างบ้านของจำเลยที่ 3 และใช้ทางพิพาทเรื่อยมาตลอดจนนำที่ดินลูกรังและหินมาถมในทางพิพาทมาตลอดทุกปีโดยไม่ได้ขออนุญาตโจทก์ แสดงว่าจำเลยที่ 3 ใช้ทางพิพาทอย่างเป็นปรปักษ์กับ บ. หรือโจทก์แล้ว จึงถือได้ว่า การพังรั้วของจำเลยที่ 3 ก็เพื่อความสะดวกในการขนวัสดุอุปกรณ์ในการปลูกสร้างบ้านของจำเลยที่ 3 ส่วนการนำดินลูกรังและหินมาถมในทางพิพาทก็เพื่อความสะดวกในการใช้ทางพิพาทของจำเลยที่ 3 พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าเป็นการถือวิสาสะของจำเลยที่ 3 เท่านั้น หาใช่เป็นการแสดงเจตนาที่จะใช้ทางพิพาทอย่างเป็นปรปักษ์กับ บ. หรือโจทก์แต่อย่างใดไม่ เช่นนี้แม้จำเลยที่ 3 จะใช้ทางพิพาทมานานเกินกว่า 10 ปี ก็ไม่ทำให้ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของจำเลยที่ 3 แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 793/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น: การเลือกเส้นทางที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อที่ดินน้อยที่สุด
ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคสาม บัญญัติถึงการที่จะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่นั้นต้องเลือกให้พอสมควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า หากโจทก์ทั้งสามสามารถออกสู่ทางสาะรณประโยชน์ถนนสายสามค้อ-บางบ่อ ได้จะต้องผ่านที่ดินถึง 7 แปลง แต่ถ้าโจทก์ทั้งสามใช้ทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณประโยชน์ถนนสายบางบ่อ-ทุ่งสะเดา จะผ่านที่ดินจำเลยเพียงแปลงเดียว ประกอบกับได้ความจากคำเบิกความของ ม. มารดาโจทก์ทั้งสามและจำเลยซึ่งเป็นพยานโจทก์ทั้งสามว่า ขณะที่ ง. และพยานเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 14487 และ 7795 มีทางเข้าออกด้านทิศตะวันออกผ่านที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวยาวตลอดแนวสู่ทางสาธารณะประโยชน์ถนนสายบางบ่อ-ทุ่งสะเดา ตามรูปแผนที่วิวาท แสดงว่า ง. และ ม.เคยใช้ทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณประโยชน์ดังกล่าวมาก่อนแล้ว ทั้งทางพิพาทยังเป็นทางเชื่อมต่อจากทางสาธารณะประโยชน์ที่อยู่ด้านทิศตะวันออกของที่ดินโจทก์ทั้งสาม ดังนั้น เมื่อคำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่เปรียบเทียบกันแล้ว การที่โจทก์ทั้งสามจะผ่านทางพิพาทย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่ที่ดินที่ล้อมอยู่แต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ตามบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว เพราะทางพิพาทผ่านที่ดินจำเลยเพียงแปลงเดียวโจทก์ทั้งสามจึงชอบที่จะขอให้จำเลยเปิดทางพิพาทในที่ดินจำเลยเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินโจทก์ทั้งสามเพื่ออกสู่ทางสาธารณประโยชน์ถนนสายบางบ่อ-ทุ่งสะเดา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15179/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตควบคุมการแปรรูปไม้: โจทก์ไม่นำสืบประกาศ แต่จำเลยไม่โต้แย้ง ถือว่าจำเลยทราบแล้ว ศาลลงโทษได้
มาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ ฯ ที่กำหนดให้คัดสำเนาประกาศรัฐมนตรีซึ่งกำหนดขึ้นตามบทแห่งกฎหมายดังกล่าวประกาศไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องนั้นเป็นแต่เพียงการกำหนดวิธีการให้พนักงานเจ้าหน้าที่กระทำในการประกาศให้ทราบถึงประกาศรัฐมนตรีเท่านั้น ไม่ใช่บทบังคับอันเป็นองค์ประกอบความผิด การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมกับพวกมีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตามประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2499 โดยประกาศดังกล่าวได้มีการคัดสำเนาประกาศไว้ ณ สถานที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ทราบโดยทั่วกัน และจำเลยกับพวกได้ทราบแล้ว ซึ่งจำเลยไม่เคยโต้เถียงทั้งไม่ฎีกาว่าท้องที่เกิดเหตุมิใช่เขตควบคุมการแปรรูปไม้ แสดงว่าจำเลยทราบประกาศดังกล่าวแล้ว หากจำเลยเห็นว่ายังไม่ได้มีการปิดประกาศดังกล่าว ซึ่งจะใช้บังคับแก่จำเลยไม่ได้ ก็เป็นข้อที่จำเลยจะต่อสู้ขึ้นมาให้เห็นเป็นประเด็นในศาลชั้นต้น ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้นำสืบให้เห็นว่า ได้มีการคัดสำเนาประกาศกระทรวงเกษตร เรื่อง กำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ ฯ ปิดประกาศไว้ ณ สถานที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ก็ลงโทษจำเลยได้
of 46