พบผลลัพธ์ทั้งหมด 458 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1126/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งงดสืบพยานและการโต้แย้งคำสั่ง หากมิได้โต้แย้งสิทธิอุทธรณ์ย่อมหมดไป
ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้จึงมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยและนัดฟังคำพิพากษา ซึ่งศาลชั้นต้นก็ได้พิพากษาคดีในวันดังกล่าวโดยนำข้อเท็จจริงจากที่คู่ความแถลงร่วมกันมาวินิจฉัยชี้ขาดคดี ดังนั้น คำสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้นในกรณีนี้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 วรรคหนึ่ง มิใช่คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามมาตรา 24 หากโจทก์เห็นว่าข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมหรือมีการสืบพยานต่อไปก็ต้องโต้แย้งคำสั่งไว้ มิฉะนั้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 226 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 996/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาอนุญาโตตุลาการมีผลต่อเนื่อง แม้มีการบอกเลิก หากข้อพิพาทเกิดขึ้นก่อนบอกเลิก
ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ผู้คัดค้านชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้ร้องตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยทั้ง 14 คำชี้ขาด ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากอนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยไม่มีอำนาจพิจารณาและชี้ขาดคำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้องนั้น เป็นกรณีที่ผู้คัดค้านกล่าวอ้างว่าการบังคับตามคำชี้ขาดและคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 222 ผู้คัดค้านมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาได้
สัญญาการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัย บทส่งท้าย ข้อ. 35 ระบุว่า "คู่สัญญามีสิทธิถอนตัวออกจากความผูกพันตามสัญญานี้ได้โดยการมีหนังสือแจ้งการถอนตัวส่งถึงนายกสมาคมประกันวินาศภัยล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อย 60 วัน ก่อนวันที่การบอกเลิกมีผลบังคับ และผลแห่งการบอกเลิกสัญญานี้ไม่กระทบถึงเรื่องที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการและเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนการบอกกล่าวถอนตัวจะมีผล" เมื่อมูลเหตุแห่งข้อพิพาทตามคำเสนอข้อพิพาทที่ผู้ร้องเสนอต่ออนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนการบอกกล่าวถอนตัวของผู้คัดค้านจะมีผล การบอกเลิกสัญญาของผู้คัดค้านจึงไม่มีผลกระทบถึงเรื่องดังกล่าว ผู้ร้องและผู้คัดค้านยังคงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยกันต่อไป อนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยจึงมีอำนาจพิจารณาและชี้ขาดคำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้อง
สัญญาการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัย บทส่งท้าย ข้อ. 35 ระบุว่า "คู่สัญญามีสิทธิถอนตัวออกจากความผูกพันตามสัญญานี้ได้โดยการมีหนังสือแจ้งการถอนตัวส่งถึงนายกสมาคมประกันวินาศภัยล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อย 60 วัน ก่อนวันที่การบอกเลิกมีผลบังคับ และผลแห่งการบอกเลิกสัญญานี้ไม่กระทบถึงเรื่องที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการและเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนการบอกกล่าวถอนตัวจะมีผล" เมื่อมูลเหตุแห่งข้อพิพาทตามคำเสนอข้อพิพาทที่ผู้ร้องเสนอต่ออนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนการบอกกล่าวถอนตัวของผู้คัดค้านจะมีผล การบอกเลิกสัญญาของผู้คัดค้านจึงไม่มีผลกระทบถึงเรื่องดังกล่าว ผู้ร้องและผู้คัดค้านยังคงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยกันต่อไป อนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยจึงมีอำนาจพิจารณาและชี้ขาดคำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 996/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการบอกเลิกสัญญาอนุญาโตตุลาการต่อข้อพิพาทที่เกิดขึ้นก่อนการบอกเลิก สัญญาฯ ยังมีผลบังคับ
ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ผู้คัดค้านชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้ร้องตามคำชี้ขาดของอนุญาตโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากอนุญาโตตุลากรสมาคมประกันวินาศภัยไม่มีอำนาจพิจารณาและชี้ขาดคำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้องนั้น เป็นกรณีที่ผู้คัดค้านกล่าวอ้างว่าการบังคับตามคำชี้ขาดและคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม พ.ร.บ. อนุญาตโตตุลาการฯ มาตรา 45 ประกอบกับ ป.วิ.พ. มาตรา 222 ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาได้
ตามสัญญาการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยบทส่งท้าย ข้อ 35 ที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านได้ร่วมกันทำขึ้นระบุว่า "คู่สัญญามีสิทธิถอนตัวออกจากความผูกพันตามสัญญานี้ได้โดยการมีหนังสือแจ้งการถอนตัวส่งถึงนายกสมาคมประกันวินาศภัยล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อย 60 วัน ก่อนวันที่การบอกเลิกมีผลบังคับ และผลแห่งการบอกเลิกสัญญานี้ไม่กระทบถึงเรื่องที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการและเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนการบอกกล่าวถอนตัวจะมีผล" เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่ามูลเหตุแห่งข้อพิพาทตามคำเสนอข้อพิพาทที่ผู้ร้องเสนอต่ออนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัย เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนการบอกกล่าวถอนตัวของผู้คัดค้านจะมีผล ดังนั้น ผลแห่งการบอกเลิกสัญญาของผู้คัดค้านจึงไม่มีผลกระทบถึงเรื่องดังกล่าว ผู้ร้องและผู้คัดค้านยังคงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อกันตามสัญญาการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยต่อไป แม้ผู้ร้องจะยื่นคำเสนอข้อพิพาทหลังจากการบอกเลิกสัญญามีผลแล้ว อนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยก็ยังมีอำนาจพิจารณาและชี้ขาดคำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้องได้
ตามสัญญาการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยบทส่งท้าย ข้อ 35 ที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านได้ร่วมกันทำขึ้นระบุว่า "คู่สัญญามีสิทธิถอนตัวออกจากความผูกพันตามสัญญานี้ได้โดยการมีหนังสือแจ้งการถอนตัวส่งถึงนายกสมาคมประกันวินาศภัยล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อย 60 วัน ก่อนวันที่การบอกเลิกมีผลบังคับ และผลแห่งการบอกเลิกสัญญานี้ไม่กระทบถึงเรื่องที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการและเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนการบอกกล่าวถอนตัวจะมีผล" เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่ามูลเหตุแห่งข้อพิพาทตามคำเสนอข้อพิพาทที่ผู้ร้องเสนอต่ออนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัย เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนการบอกกล่าวถอนตัวของผู้คัดค้านจะมีผล ดังนั้น ผลแห่งการบอกเลิกสัญญาของผู้คัดค้านจึงไม่มีผลกระทบถึงเรื่องดังกล่าว ผู้ร้องและผู้คัดค้านยังคงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อกันตามสัญญาการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยต่อไป แม้ผู้ร้องจะยื่นคำเสนอข้อพิพาทหลังจากการบอกเลิกสัญญามีผลแล้ว อนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยก็ยังมีอำนาจพิจารณาและชี้ขาดคำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาอนุญาโตตุลาการมีผลต่อเนื่อง แม้มีการบอกเลิกสัญญา หากข้อพิพาทเกิดขึ้นก่อนบอกเลิก
ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ผู้คัดค้านชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้ร้องตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยทั้ง 16 คำชี้ขาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากอนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยไม่มีอำนาจพิจารณาและชี้ขาดคำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้องนั้น เป็นกรณีที่ผู้คัดค้านกล่าวอ้างว่าการบังคับตามคำชี้ขาดและคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 222 ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาได้
สัญญาการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัย บทส่งท้าย ข้อ.35 ระบุว่า "คู่สัญญามีสิทธิถอนตัวออกจากความผูกพันตามสัญญานี้ได้โดยการมีหนังสือแจ้งการถอนตัวส่งถึงนายกสมาคมประกันวินาศภัยล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อย 60 วัน ก่อนวันที่การบอกเลิกมีผลบังคับ และผลแห่งการบอกเลิกสัญญานี้ไม่กระทบถึงเรื่องที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการและเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนการบอกกล่าวถอนตัวจะมีผล" เมื่อมูลเหตุแห่งข้อพิพาทตามคำเสนอข้อพิพาทที่ผู้ร้องเสนอต่ออนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัย เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนการบอกกล่าวถอนตัวของผู้คัดค้านจะมีผล การบอกเลิกสัญญาของผู้คัดค้านจึงไม่มีผลกระทบถึงเรื่องดังกล่าว ผู้ร้องและผู้คัดค้านยังคงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยกันต่อไป อนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยจึงมีอำนาจพิจารณาและชี้ขาดคำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้อง
สัญญาการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัย บทส่งท้าย ข้อ.35 ระบุว่า "คู่สัญญามีสิทธิถอนตัวออกจากความผูกพันตามสัญญานี้ได้โดยการมีหนังสือแจ้งการถอนตัวส่งถึงนายกสมาคมประกันวินาศภัยล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อย 60 วัน ก่อนวันที่การบอกเลิกมีผลบังคับ และผลแห่งการบอกเลิกสัญญานี้ไม่กระทบถึงเรื่องที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการและเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนการบอกกล่าวถอนตัวจะมีผล" เมื่อมูลเหตุแห่งข้อพิพาทตามคำเสนอข้อพิพาทที่ผู้ร้องเสนอต่ออนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัย เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนการบอกกล่าวถอนตัวของผู้คัดค้านจะมีผล การบอกเลิกสัญญาของผู้คัดค้านจึงไม่มีผลกระทบถึงเรื่องดังกล่าว ผู้ร้องและผู้คัดค้านยังคงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยกันต่อไป อนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยจึงมีอำนาจพิจารณาและชี้ขาดคำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายวงแชร์เป็นนิติบุคคล: นิติกรรมโมฆะ สิทธิเรียกร้องสมาชิกวงแชร์
พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 มาตรา 5 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้นิติบุคคลเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์" มาตรา 6 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้..." และมาตรา 7 บัญญัติว่า "บทบัญญัติในมาตรา 6 ไม่กระทบกระเทือนถึงการที่สมาชิกวงแชร์จะฟ้องคดีหรือใช้สิทธิเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์" จากบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่ากฎหมายได้แยกการกระทำของนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาในการเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไว้ต่างหากจากกัน ทั้งได้บัญญัติให้สิทธิแก่สมาชิกวงแชร์ในการเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เฉพาะกรณีนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น แต่กรณีนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เป็นนิติบุคคล กฎหมายหาได้ให้สิทธิเช่นว่านั้นไม่ ฉะนั้น หากข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าแชร์รายพิพาทมีห้างหุ้นส่วนจำกัด น. เป็นนายวงแชร์ตามที่จำเลยกล่าวอ้าง การเล่นแชร์รายนี้ย่อมเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายและตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เช็คพิพาทที่สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ค่าแชร์ที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าวจึงปราศจากมูลหนี้ที่จะบังคับได้ตามกฎหมาย แม้โจทก์และจำเลยต่างเป็นสมาชิกวงแชร์ด้วยกัน โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ได้ ข้อเท็จจริงที่ว่าการเล่นแชร์รายนี้มีห้างหุ้นส่วนจำกัด น. เป็นนายวงแชร์หรือไม่ จึงเป็นสาระสำคัญที่ต้องวินิจฉัย แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังมาจึงไม่พอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย คดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกัน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ข้อเท็จจริงที่ยังมิได้วินิจฉัยดังกล่าวอาจเป็นผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามลำดับชั้นศาลเสียก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 240 (3), 243 (3) (ข) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 851/2551 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้กฎหมายอิสลามในคดีมรดก: การพิจารณาศาสนาของผู้คัดค้าน
แม้คดีจะเกิดขึ้นในเขตจังหวัดสตูลและผู้ร้องซึ่งเป็นอิสลามศาสนิกเริ่มต้นคดีอย่างไม่มีข้อพิพาท โดยยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของ ท. ผู้ตายซึ่งเป็นอิสลามศาสนิกก็ตาม แต่เมื่อมีการคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 ก็มีผลให้คดีกลายเป็นคดีมีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 (4) โดยผู้ร้องและผู้คัดค้านมีฐานะเป็นคู่ความ เมื่อปรากฏว่าผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งมีฐานะเสมือนจำเลยมิใช่อิสลามศาสนิก จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 3 ของ พ.ร.บ. ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูลฯ ถือไม่ได้ว่าเป็นคดีแพ่งเกี่ยวด้วยเรื่องครอบครัวและมรดกของอิสลามศาสนิกในเขตจังหวัดสตูล ต้องใช้บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 6 บังคับแก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 851/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้กฎหมายอิสลามในคดีมรดก: ผู้คัดค้านมิใช่อิสลามศาสนิก จึงใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
แม้คดีจะเกิดขึ้นในเขตจังหวัดสตูลและผู้ร้องเป็นอิสลามศาสนิกเริ่มต้นคดีอย่างไม่มีข้อพิพาท โดยยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของนายทวี ผู้ตาย ซึ่งเป็นอิสลามศาสนิกก็ตาม แต่เมื่อมีการคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 ก็มีผลทำให้คดีกลายเป็นคดีมีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 (4) โดยผู้ร้องและผู้คัดค้านมีฐานะเป็นคู่ความ เมื่อปรากฏว่าผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งมีฐานะเสมือนจำเลยนับถือศาสนาพุทธ จึงมิใช่อิสลามศาสนิก จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 3 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลาและสตูล พ.ศ.2489 ถือไม่ได้ว่าเป็นคดีแพ่งเกี่ยวด้วยเรื่องครอบครัวและมรดกของอิสลามศาสนิกในเขตจังหวัดสตูล ต้องใช้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 บังคับแก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 851/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้กฎหมายอิสลามในคดีมรดกเมื่อคู่ความฝ่ายหนึ่งมิใช่อิสลามศาสนิก
คดีเกิดขึ้นในเขตจังหวัดสตูลและผู้ร้องซึ่งเป็นอิสลามศาสนิกเริ่มต้นคดีอย่างไม่มีข้อพิพาทโดยยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของผู้ตายซึ่งเป็นอิสลามศาสนิก การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำคัดค้านมีผลให้คดีกลายเป็นคดีมีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 (4) โดยผู้ร้องและผู้คัดค้านมีฐานะเป็นคู่ความ เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งมีฐานะเสมือนจำเลยมิไช่อิสลามศาสนิก จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 3 ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489 ถือไม่ได้ว่าเป็นคดีแพ่งเกี่ยวด้วยเรื่องครอบครัวและมรดกของอิสลามศาสนิกในเขตจังหวัดสตูล จึงต้องใช้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 บังคับแก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาวางค่าธรรมเนียมศาล: การไม่ปฏิบัติตามกำหนด และเหตุสุดวิสัย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ถึงวันที่ 1 พฤษภาคม 2546 แต่เมื่อครบกำหนดจำเลยที่ 4 ไม่ได้วางเงินค่าธรรมเนียมศาล จำเลยที่ 4 เพิ่งมายื่นคำร้องขอวางเงินค่าธรรมเนียมศาลบางส่วนในวันที่ 9 พฤษภาคม 2546 ถือได้ว่าเป็นคำร้องขอขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ซึ่งจำเลยที่ 4 จะต้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลภายในกำหนดเวลา หากพ้นกำหนดจำเลยที่ 4 จะสามารถยื่นคำร้องได้ต่อเมื่อมีเหตุสุดวิสัย ฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 4 ยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาแล้ว ซึ่งตามเหตุผลในคำร้องที่อ้างว่าจำเลยที่ 4 หาเงินค่าธรรมเนียมศาลมาได้เพียงบางส่วนและจะนำค่าธรรมเนียมศาลส่วนที่เหลือมาวางภายใน 30 วัน ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 4 วางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์และรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงไม่ชอบ กรณีเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามมาตรา 27 และเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาคดีไปได้ตามมาตรา 246 ประกอบมาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 582/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันของคำพิพากษาตามยอมต่อบริวารของผู้เช่า และการบังคับคดี
คดีเดิมโจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่ผู้เช่าและบริวารออกจากที่ดินพิพาทที่จำเลยเช่าจากโจทก์ในอัตราค่าเช่าเดือนละ 3,000 บาท กับให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างพร้อมค่าเสียหายนับถัดจากวันฟ้อง เป็นคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง คดีที่เกี่ยวกับการบังคับผู้ร้องซึ่งเป็นบริวารของจำเลยจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงด้วย
ผู้ร้องอุทธรณ์ว่า คำพิพากษาตามยอมผูกพันเฉพาะจำเลยกับโจทก์ผู้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ผูกพันผู้ร้อง เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ยอมออกจากที่ดินพิพาทพร้อมกับบริวาร แม้ผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว คำพิพากษาตามยอมก็มีผลบังคับแก่ผู้ร้องด้วย โจทก์จึงขอให้บังคับคดีแก่ผู้ร้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา
ผู้ร้องอุทธรณ์ว่า คำพิพากษาตามยอมผูกพันเฉพาะจำเลยกับโจทก์ผู้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ผูกพันผู้ร้อง เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ยอมออกจากที่ดินพิพาทพร้อมกับบริวาร แม้ผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว คำพิพากษาตามยอมก็มีผลบังคับแก่ผู้ร้องด้วย โจทก์จึงขอให้บังคับคดีแก่ผู้ร้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา