คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประทีป เฉลิมภัทรกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 458 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8635/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งมอบพัสดุโดยกรรมการบริหารของจำเลยถือเป็นการรับมอบโดยถูกต้อง แม้จะมีคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ
ในการดำเนินการจัดซื้อกิ่งพันธุ์ลำไยจำเลยได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุไว้ ซึ่งมี ก. เป็นประธานกรรมการ แต่การดำเนินการดังกล่าวเป็นการบริหารกิจการภายในซึ่งเป็นเรื่องของจำเลย ทั้งตามสัญญาซื้อขายก็มิได้มีข้อตกลงว่าการรับมอบสิ่งของจะต้องกระทำโดยคณะกรรมการตรวจรับพัสดุที่จำเลยแต่งตั้งไว้ คำสั่งของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์ การที่โจทก์นำกิ่งพันธุ์ลำไยไปส่งมอบให้จำเลยภายในเวลาที่กำหนดไว้ตามสัญญาโดย น. และ ก. ซึ่งเป็นประธานกรรมการบริหารและกรรมการบริหารของจำเลยตามลำดับได้รับมอบกิ่งพันธุ์ลำไยจากโจทก์ไว้แล้วให้โจทก์นำไปส่งมอบให้ผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านต่างๆ ตามหลักฐานการส่งมอบกิ่งพันธุ์ลำไย เป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าจำเลยได้รับมอบกิ่งพันธุ์ลำไยจากโจทก์ไว้แล้วโดยมิได้โต้แย้งว่ากิ่งพันธุ์ลำไยไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องตามสัญญา
หลักฐานการส่งมอบกิ่งพันธุ์ลำไยซึ่ง น. และ ก. ได้ลงลายมือชื่อในฐานะกรรมการส่งมอบพัสดุมีข้อความระบุว่า คณะกรรมการส่งมอบพัสดุได้ส่งมอบกิ่งพันธุ์ลำไยให้แก่ผู้ใหญ่บ้านต่างๆ เพื่อจะได้ส่งมอบให้แก่ประชาชนในหมู่บ้านของตนต่อไป ข้อความดังกล่าวบ่งชี้ว่าจำเลยได้ตรวจและรับมอบกิ่งพันธุ์ลำไยไว้เรียบร้อยแล้ว มิใช่เพียงแต่รับมอบไว้เพื่อให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุทำการตรวจรับ เมื่อจำเลยได้รับมอบกิ่งพันธุ์ลำไยจากโจทก์โดยถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินประกันของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8598/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาต้องเป็นประเด็นข้อกฎหมาย การโต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แม้ศาลชั้นต้นมิได้สั่งอนุญาต แต่การที่จำเลยทั้งห้าได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้านและศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา พอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบและไม่เชื่อถือพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ เป็นดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานอันเป็นข้อเท็จจริง จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริง ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ตามหนังสือมอบอำนาจมีกรรมการกองทุนหมู่บ้านจำนวน 7 คน ลงลายมือชื่อมอบอำนาจให้ ท. และ ส. ฟ้องคดีนี้ซึ่งถือว่าเกินกว่ากึ่งหนึ่งของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านทั้งหมดและเป็นเสียงข้างมาก การวินิจฉัยชี้ขาดให้ฟ้องคดีถือว่าชอบด้วยระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ และระเบียบข้อบังคับของกองทุนหมู่บ้านโจทก์ เพราะระเบียบดังกล่าวไม่ได้กำหนดว่าคณะกรรมการหมู่บ้านต้องมอบอำนาจให้ครบทั้ง 9 คน ซึ่งจำเลยทั้งห้าก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น ส่วนคำเบิกความของ ท. และ ส. ที่ว่าได้รับมอบอำนาจจากคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านจำนวน 9 คน ก็ไม่ขัดแย้งกับคำฟ้องของโจทก์เพราะเป็นการเบิกความรวมถึงตัว ท. และ ส. ผู้รับมอบอำนาจซึ่งเป็นกรรมการด้วย เมื่อ ท. และ ส. เบิกความยืนยันว่าได้รับมอบอำนาจจากคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านชุดใหม่ของโจทก์ให้ฟ้องคดีนี้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้านั้น เป็นการอุทธรณ์ว่าพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมาฟังได้แล้วว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง ถือเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายและอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรงนั้นจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8345/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการบังคับคดีต้องยื่นในคดีที่มีการบังคับคดีเท่านั้น ผู้มีส่วนได้เสียต้องร้องขอในคดีนั้นโดยตรง
การร้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีใด ๆ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ต้องยื่นคำร้องในคดีที่มีการบังคับคดีเท่านั้น โจทก์จะยื่นคำร้องขอในคดีของตนเองเพื่อขอให้เพิกถอนการบังคับคดีในคดีอื่นหาได้ไม่ และตราบใดที่การบังคับคดีในคดีอื่นยังไม่ถูกเพิกถอน โจทก์ย่อมไม่อาจขอให้เรียกเงินที่ถูกอายัดในคดีดังกล่าวมาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8345/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการบังคับคดีต้องยื่นในคดีที่มีการบังคับคดีนั้น การยื่นในคดีอื่นเป็นไปไม่ได้ตามกฎหมาย
การร้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีต้องร้องขอในคดีที่มีการบังคับคดีนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง จะร้องขอในคดีหนึ่งให้เพิกถอนการบังคับคดีอีกคดีหนึ่งไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8330/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ: ผลกระทบของกฎหมายใหม่ และกรอบเวลาในการดำเนินการ
อุทธรณ์ของผู้ร้องที่ว่า คดีของผู้ร้องต้องอยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 แต่ศาลชั้นต้นนำบทบัญญัติของกฎหมายที่ยกเลิกไปแล้วมาปรับใช้แก่คดี คำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการกล่าวอ้างว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องจึงมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาได้ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 222
ผู้ร้องยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการและคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดในระหว่างที่พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 ยังมีผลใช้บังคับ เมื่อผู้ร้องได้ส่งสำเนาคำชี้ขาดให้ผู้คัดค้านทราบแล้ว ผู้คัดค้านไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาด ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลบังคับตามคำชี้ขาดได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้คัดค้านได้รับสำเนาคำชี้ขาดตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530
ในระหว่างที่ผู้ร้องยังมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 23 มีพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ออกใช้บังคับโดยมาตรา 3 บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 แต่มีบทเฉพาะกาลมาตรา 48 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า "บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์แห่งสัญญาอนุญาโตตุลาการและการดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการใดที่ได้กระทำไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้บังคับ" และวรรคสองบัญญัติว่า "การดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการใดที่ยังมิได้กระทำและยังไม่ล่วงพ้นกำหนดเวลาที่จะต้องกระทำตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ก่อนพระราชบัญญัตินี้ ให้ดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการนั้นได้ภายในกำหนดเวลาตามพระราชบัญญัตินี้" เมื่อการยื่นคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเป็นการดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการตามความในมาตรา 48 วรรคสอง และยังไม่ล่วงกำหนดเวลาที่จะต้องกระทำตามกฎหมายที่ถูกยกเลิกไป ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการนั้นได้ภายในกำหนดเวลาสามปีนับแต่วันที่อาจบังคับตามคำชี้ขาดได้ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 42

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8328/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกันสัญญาซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน แม้ลูกหนี้ฟื้นฟูกิจการ ความรับผิดยังคงอยู่
สัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการส่งสินค้าออกที่จำเลยเป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมเป็นสัญญาอีกอย่างหนึ่งต่างหากจากตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัท ป. ออกให้ไว้แก่โจทก์ ความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการส่งสินค้าออกดังกล่าว จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องปฏิบัติตามวิธีการที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 985 ประกอบมาตรา 941 บังคับให้ผู้ทรงต้องนำตั๋วสัญญาใช้เงินไปยื่นเพื่อให้ใช้เงินในวันถึงกำหนด
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง คำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของบุคคลซึ่งเป็นหุ้นส่วนกับลูกหนี้หรือผู้รับผิดร่วมกับลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกัน ดังนั้น การยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของบริษัท ป. ซึ่งเป็นผู้ทำสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการส่งสินค้าออกไว้ต่อโจทก์ แม้ต่อมาศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของบริษัทดังกล่าวก็ไม่มีผลกระทบต่อความรับผิดของจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน การที่โจทก์ไม่นำหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการส่งสินค้าออกของบริษัท ป. ไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ไม่ทำให้หนี้ระงับ จึงไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน กรณีนี้ไม่อาจปรับบทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 697

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8328/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันแยกจากตั๋วสัญญาใช้เงิน, ผลกระทบการฟื้นฟูกิจการ, การไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
สัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นสัญญาอีกอย่างหนึ่งต่างหากจากตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกให้ไว้แก่โจทก์ ความรับผิดของจำเลยทั้งสามในฐานะผู้ค้ำประกันสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องปฏิบัติตามวิธีการที่ ป.พ.พ. มาตรา 985 ประกอบมาตรา 941 บังคับให้ผู้ทรงต้องนำตั๋วสัญญาใช้เงินไปยื่นเพื่อให้ใช้เงินในวันถึงกำหนด
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของผู้ทำสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน ไม่มีผลกระทบต่อความรับผิดของจำเลยทั้งสาม ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/60 วรรคสอง การที่โจทก์ไม่นำหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ไม่ทำให้หนี้ดังกล่าวระงับ จึงไม่ทำให้จำเลยทั้งสามหลุดพ้นจากความรับผิดของสัญญาค้ำประกัน กรณีไม่อาจปรับบทตาม ป.พ.พ. มาตรา 697

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8260/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสนอทรัพย์ชำระหนี้ vs. การปฏิเสธรับชำระหนี้ และข้อตกลงพิเศษในสัญญาจำนอง
แผ่นพับโฆษณาให้บุคคลทั่วไปทราบว่า โจทก์มีโครงการโอนทรัพย์จำนองชำระหนี้ เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีภาระหนี้ค้างชำระสูงและไม่สามารถชำระหนี้ต่อไปได้ ให้สามารถปลดภาระหนี้ที่มีอยู่ด้วยวิธีการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่จำนองให้โจทก์แทนการชำระหนี้ โดยโจทก์กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขซึ่งจะต้องผ่านการพิจารณาของโจทก์ก่อน แผ่นพับโฆษณาดังกล่าวยังไม่ชัดเจนแน่นอน จึงมิใช่คำเสนอ แต่เป็นเพียงคำเชื้อเชิญให้ผู้สนใจทำคำเสนอเข้ามาเท่านั้น คำร้องขอของจำเลยที่แสดงความประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ จึงจัดว่าเป็นคำเสนอเมื่อโจทก์มิได้สนองรับย่อมไม่ก่อให้เกิดสัญญา
จำเลยค้างชำระหนี้เงินแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องชำระเงินให้แก่โจทก์โดยปราศจากเงื่อนไขใด ๆ เพราะการชำระหนี้จะให้สำเร็จผลเป็นอย่างใด ลูกหนี้จะต้องขอปฏิบัติการชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้เป็นอย่างนั้นโดยตรง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 208 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยเสนอขอชำระหนี้แก่โจทก์ โดยให้โจทก์รับโอนทรัพย์จำนองแทนการชำระหนี้ด้วยเงิน จึงมิใช่เป็นการขอปฏิบัติการชำระหนี้แก่โจทก์โดยชอบ โจทก์ย่อมมีเหตุผลที่จะปฏิเสธการรับชำระหนี้ได้ การที่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้จากจำเลย โจทก์จึงไม่ตกเป็นผู้ผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 207 จำเลยต้องชำระหนี้ให้โจทก์ตามฟ้อง
แม้ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองจะเป็นเรื่องที่โจทก์ผู้รับจำนองและจำเลยผู้จำนองตกลงกันเป็นประการพิเศษนอกเหนือจากที่ ป.พ.พ. มาตรา 733 บัญญัติไว้ ซึ่งบทบัญญัติตามมาตรา 733 ดังกล่าว เป็นบทบัญญัติสันนิษฐานถึงเจตนาของคู่กรณีเท่านั้น มิใช่บทกฎหมายซึ่งเกี่ยวด้วยผลประโยชน์ของมหาชนโดยทั่วไปแต่เกี่ยวแก่คู่กรณีโดยเฉพาะ และมิได้เกี่ยวกับศีลธรรมตามที่นิยมกันในหมู่ชนทั่วไปหรือธรรมเนียมประเพณีของสังคมแต่อย่างใด จึงไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โจทก์อาจตกลงกับจำเลยเป็นประการอื่นพิเศษนอกเหนือจากที่มาตรา 733 บัญญัติไว้ก็ย่อมกระทำได้ ดังนั้น ในกรณีที่โจทก์ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดแล้วได้เงินไม่พอใช้เงิน โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะยึดทรัพย์อื่นของจำเลยในฐานะผู้จำนองเป็นประกันมาใช้หนี้จนครบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8260/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น และผลของการตกลงพิเศษเรื่องการรับผิดชอบหนี้ที่เหลือหลังบังคับจำนอง
จำเลยค้างชำระหนี้โจทก์ซึ่งเป็นหนี้เงินจำเลยต้องชำระเงินให้แก่โจทก์โดยปราศจากเงื่อนไขใดๆ เพราะการชำระหนี้จะให้สำเร็จผลเป็นอย่างใด ลูกหนี้จะต้องขอปฏิบัติการชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้เป็นอย่างนั้นโดยตรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 208 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยเสนอชำระหนี้โดยให้โจทก์รับโอนทรัพย์จำนองแทนการชำระหนี้ด้วยเงิน จึงมิใช่เป็นการขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบ โจทก์ย่อมมีเหตุผลที่จะปฏิเสธการรับชำระหนี้ได้โจทก์จึงไม่ตกเป็นผู้ผิดนัดตามมาตรา 207
มาตรา 733 แห่ง ป.พ.พ. เป็นบทบัญญัติสันนิษฐานถึงเจตนาของคู่กรณีโดยเฉพาะ และมิได้เกี่ยวกับศีลธรรมตามที่นิยมกันในหมู่ชนทั่วไปหรือธรรมเนียมประเพณีของสังคม จึงไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โจทก์อาจตกลงกับจำเลยเป็นประการอื่นพิเศษนอกเหนือจากที่มาตรา 733 บัญญัติไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7633/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คผิดนัดชำระหนี้: การคิดดอกเบี้ยเป็นค่าเสียหายโดยความสมัครใจ ไม่ใช่การฉ้อโกง
แม้สัญญาซื้อขายวัสดุก่อสร้างระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยมิได้มีการตกลงไว้ว่าหากผิดสัญญาสามารถกำหนดเบี้ยปรับหรือค่าเสียหายกันได้ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ร่วมจะคิดค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน แก่ลูกหนี้ทุกรายที่ผิดนัด รวมทั้งจำเลยด้วย เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ค่าสินค้าแก่โจทก์ร่วม จำเลยย่อมทราบแล้วว่าโจทก์ร่วมคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน การที่เช็คพิพาทเป็นเช็คค่าสินค้าที่คิดรวมดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวไว้ด้วยจึงเป็นการกำหนดค่าเสียหายโดยสมัครใจของทั้งสองฝ่าย หาใช่เป็นการคิดค่าเสียหายเอาตามอำเภอใจของโจทก์ร่วมแต่อย่างใดไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าหนี้ตามเช็คพิพาทไม่ใช่หนี้กู้ยืม ย่อมไม่ตกอยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 7 และมาตรา 224 วรรคหนึ่ง จึงเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย
of 46