พบผลลัพธ์ทั้งหมด 458 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6515/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำสั่งศาลล้มละลายจากข้อผิดพลาดในการคำนวณหนี้ แม้จะเกินทุนทรัพย์ที่อุทธรณ์ได้
เจ้าหนี้อุทธรณ์ว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คำนวณจำนวนเงินที่เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ขาดไป 27,750.89 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท อุทธรณ์ของเจ้าหนี้จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 24 วรรคหนึ่ง แต่กฎหมายล้มละลายเป็นกฎหมายพิเศษมีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ให้ได้รับชำระหนี้หรือได้รับส่วนแบ่งอย่างเป็นธรรม เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แถลงยอมรับว่าคำนวณจำนวนเงินที่เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ขาดไป จึงมีกรณีจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาด สมควรรับอุทธรณ์ของเจ้าหนี้ไว้พิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 26 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6507/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ การพิสูจน์ลายมือชื่อ และดอกเบี้ยตามสัญญา
จำเลยทั้งสี่ต้องรับผิดตามสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันต่อบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. โจทก์รับโอนสิทธิเรียกร้องที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. มีต่อจำเลยทั้งสี่และได้บอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลยทั้งสี่แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันแก่โจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง ทั้งนี้ไม่ว่าจำเลยทั้งสี่จะตกลงด้วยหรือไม่ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6504/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความบัตรเครดิต: การรับสภาพหนี้และการผ่อนผันการบังคับสิทธิ
จำเลยใช้บัตรเครดิตของธนาคารโจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2540 โจทก์ส่งใบแจ้งยอดค่าใช้จ่ายให้จำเลยชำระเงินขั้นต่ำภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2540 เมื่อจำเลยผิดนัด โจทก์ย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้เมื่อครบกำหนดตามใบแจ้งยอดค่าใช้จ่ายและเริ่มนับอายุความนับแต่วันนั้นมา จำเลยชำระหนี้บางส่วนครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2544 อันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และมาตรา 193/15 โจทก์ฟ้องวันที่ 29 ธันวาคม 2546 พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2544 ซึ่งเป็นวันเริ่มนับอายุความใหม่ จึงขาดอายุความ
โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้เมื่อครบกำหนดตามใบแจ้งยอดค่าใช้จ่าย หลังจากนั้นจำเลยไม่เคยใช้บัตรเครดิตของโจทก์ และโจทก์ไม่ได้ออกเงินทดรองให้แก่สถานประกอบการค้าต่างๆ แทนจำเลยอีก ใบแจ้งยอดค่าใช้จ่ายที่โจทก์ส่งให้จำเลยแต่ละเดือนต่อมาล้วนเป็นการคิดบวกดอกเบี้ยที่จำเลยผิดนัดเข้ากับต้นเงินที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์เท่านั้น การที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยเมื่ออาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ผ่อนผันไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยเอง มิใช่โจทก์ไม่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงมิได้เริ่มนับตั้งแต่วันที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ที่ค้างชำระทั้งหมดโดยไม่ผ่อนผันให้แก่จำเลยอีกต่อไป
โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้เมื่อครบกำหนดตามใบแจ้งยอดค่าใช้จ่าย หลังจากนั้นจำเลยไม่เคยใช้บัตรเครดิตของโจทก์ และโจทก์ไม่ได้ออกเงินทดรองให้แก่สถานประกอบการค้าต่างๆ แทนจำเลยอีก ใบแจ้งยอดค่าใช้จ่ายที่โจทก์ส่งให้จำเลยแต่ละเดือนต่อมาล้วนเป็นการคิดบวกดอกเบี้ยที่จำเลยผิดนัดเข้ากับต้นเงินที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์เท่านั้น การที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยเมื่ออาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ผ่อนผันไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยเอง มิใช่โจทก์ไม่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงมิได้เริ่มนับตั้งแต่วันที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ที่ค้างชำระทั้งหมดโดยไม่ผ่อนผันให้แก่จำเลยอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6466/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการชำระหนี้เจ้าหนี้ไม่มีประกันในคดีล้มละลาย: ค่าจ้างว่าความตามมาตรา 130(7) ชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้มูลหนี้ค่าจ้างว่าความในฐานะเจ้าหนี้ไม่มีประกันและศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ตามขอ สิทธิของเจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไม่มีประกันด้วยกันจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลายในลำดับก่อนหลังกัน ย่อมต้องบังคับตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 130 (1) ถึง (7) เมื่อค่าจ้างว่าความของเจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้มิใช่ค่าใช้จ่ายหรือหนี้สินอย่างหนึ่งอย่างใดตาม (1) ถึง (6) ที่อยู่ในลำดับที่จะให้ได้รับชำระก่อนหนี้อื่นตาม (7) ของบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ในมูลหนี้ค่าจ้างว่าความตามมาตรา 130 (7) ตามความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6451/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากร: การประเมินภาษีและการยึดทรัพย์ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง คดีล้มละลาย
ป.รัษฎากร มาตรา 12 ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรค้างได้โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง อันเป็นการกระทำที่ถือได้ว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดีให้จำเลยชำระภาษี จึงเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6424/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดินและการก่อสร้างอาคาร
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยขนย้ายทรัพย์สินและสิ่งก่อสร้างออกจากที่ดินพิพาท และคืนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ในสภาพไม่มีสิ่งปลูกสร้างและวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท การที่จำเลยเข้าไปดำเนินการก่อสร้างอาคารในที่ดินพิพาทหลังจากที่โจทก์ยื่นคำฟ้องแล้ว ย่อมเป็นการกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไป ซึ่งการละเมิดที่ถูกฟ้องร้อง อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ได้ หากศาลพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี กรณีจึงมีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ. 254 (2) มาใช้โดยห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยและบริวารดำเนินการก่อสร้างอาคารในที่ดินพิพาทจนกว่าจะถึงที่สุดได้
ตามคำขอของโจทก์มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้ หากจำเลยได้รับความเสียหายจำเลยก็มีสิทธิที่จะว่ากล่าวเอาแก่โจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 263 เมื่อโจทก์เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตตามคำขอของโจทก์โดยไม่สั่งให้โจทก์นำเงินหรือหาประกันมาวางตามมาตรา 257 วรรคท้าย จึงชอบแล้ว
ตามคำขอของโจทก์มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้ หากจำเลยได้รับความเสียหายจำเลยก็มีสิทธิที่จะว่ากล่าวเอาแก่โจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 263 เมื่อโจทก์เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตตามคำขอของโจทก์โดยไม่สั่งให้โจทก์นำเงินหรือหาประกันมาวางตามมาตรา 257 วรรคท้าย จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6390/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การครอบครองปรปักษ์ต่างจากคดีละเมิด แม้มีประเด็นที่ดินร่วมกัน ศาลต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริง
ฟ้องโจทก์ในคดีก่อนเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 กับพวก ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ ทำให้บ้านเลขที่ 137/2 ของโจทก์ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 1137 ได้รับความเสียหายและจำเลยที่ 1 กับพวกนำทรัพย์สินของโจทก์ไป ประเด็นในคดีก่อนจึงมีว่า จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ไม่มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 1137 ส่วนคดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 1137 ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 และขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ในคดีก่อนกับคดีนี้จึงมิใช่เรื่องเดียวกันและประเด็นคนละอย่างต่างกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน ทั้งโจทก์มิใช่คู่ความในคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องขับไล่นางผูกมารดาโจทก์ตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 173/2534 แม้โจทก์จะไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนด 8 วัน นับแต่วันปิดประกาศตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) ซึ่งสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษา แต่บทกฎหมายดังกล่าวก็หาได้มีผลเด็ดขาดเป็นการตัดสิทธิห้ามฟ้องภายหลังไม่ เมื่อโจทก์มิได้เป็นคู่ความในคดีก่อนดังกล่าวจึงไม่ผูกพันในผลแห่งคดี ต้องห้ามมิให้ฟ้องร้อง คดีจึงต้องมีการฟังข้อเท็จจริงกันต่อไป การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนแล้วพิพากษายกฟ้อง และศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืนจึงไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง สมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6380/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์หลังการโอนที่ดินมีข้อจำกัด และเจตนาสละการครอบครองของผู้ขาย
ที่ดินพิพาทมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี ตาม ป.ที่ดินฯ มาตรา 58 ทวิ นับแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2521 ส. ขายที่ดินและบ้านพิพาทโดยส่งมอบการครอบครองให้ พ. ในเดือนพฤศจิกายน 2526 ยังอยู่ภายในกำหนดเวลาห้ามโอนตามกฎหมาย แม้ในระหว่างนั้น พ. จะยังไม่ได้สิทธิครอบครอง เนื่องจากถูกจำกัดโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว มีผลทำให้การโอนที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ถือว่า พ. ครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทแทน ส. แต่เมื่อ พ. ยังคงครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทตลอดมาจนล่วงเลยระยะเวลาห้ามโอนแล้วเป็นเวลานานประมาณ 6 ปี โดย พ. ถึงแก่ความตายเมื่อกลางปี 2537 และจำเลยที่ 2 เป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินพิพาทตลอดมา และ ส. ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2530 ก่อนครบกำหนดเวลาห้ามโอน แต่โจทก์เพิ่งยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. เพื่อกล่าวอ้างสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาทในปี 2537 โดยก่อนหน้าที่ พ. จะถึงแก่ความตายนั้น โจทก์และทายาทของ ส. ไม่เคยเข้าไปยุ่งเกี่ยวอ้างสิทธิครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทแต่ประการใด จึงเป็นกรณีที่ พ. ไม่อาจทราบได้ว่าตนยึดถือที่ดินและบ้านพิพาทไว้แทนผู้ใด อันจะต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังผู้นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 พฤติการณ์แห่งคดีแสดงให้เห็นว่าโจทก์และทายาทของ ส. สละเจตนาครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทแล้ว การครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทของ พ. จึงเป็นการยึดถือโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน พ. ย่อมได้ซึ่งสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6372/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: แม้มีทางออกแต่ไม่สะดวก ไม่ถือว่าที่ดินถูกปิดล้อม จึงไม่มีสิทธิขอทางจำเป็น
โจทก์ฟ้องว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นและภาระจำยอม ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือทางภาระจำยอมหรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าทางพิพาทมิใช่ทางภาระจำยอมโดยอายุความก็ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ตามที่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ทั้งที่ทางพิจารณาอาจเป็นได้ทั้งทางจำเป็นและทางภาระจำยอมในขณะเดียวกันได้จึงเป็นการไม่ชอบ ดังนี้หากศาลอุทธรณ์ภาค 3 เห็นว่า ทางพิพาทไม่ใช่ทางภาระจำยอมโดยอายุความ และข้อเท็จจริงในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยในเรื่องทางจำเป็น ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็มีอำนาจวินิจฉัยในเรื่องทางพิพาทว่าเป็นทางจำเป็นหรือไม่ได้ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น เนื่องจากโจทก์มีคำขอมาตั้งแต่ต้นแล้ว มิฉะนั้น โจทก์คงต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่ ทั้งโจทก์ จำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมก็ต้องนำสืบถึงข้อเท็จจริงซ้ำในเรื่องที่เคยนำสืบมาแล้ว จึงหาชอบด้วยความยุติธรรมไม่
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 45810 ของโจทก์และที่ดินโฉนดเลขที่ 45821 ของจำเลยที่ 2 เป็นที่ดินแปลงเดียวกันต่อมามีการแบ่งแยกที่ดินออกเป็น 2 แปลงดังกล่าว แต่เมื่อทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกของที่ดินโจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โดยเป็นทางเดินเท้าซึ่งตามแผนที่พิพาทระบุว่าทางด้านทิศตะวันออกของที่ดินโจทก์กว้างประมาณ 1.10 เมตร ไม่สามารถใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อผ่านเข้าออกได้นั้น ก็เป็นเรื่องความสะดวกของโจทก์เท่านั้นหาใช่ว่าโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นในที่ดินโฉนดเลขที่ 45821 ของจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 และ 1350 เพราะที่ดินโจทก์ไม่ถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมจนไม่สามารถออกไปสู่ทางสาธารณะได้
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 45810 ของโจทก์และที่ดินโฉนดเลขที่ 45821 ของจำเลยที่ 2 เป็นที่ดินแปลงเดียวกันต่อมามีการแบ่งแยกที่ดินออกเป็น 2 แปลงดังกล่าว แต่เมื่อทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกของที่ดินโจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โดยเป็นทางเดินเท้าซึ่งตามแผนที่พิพาทระบุว่าทางด้านทิศตะวันออกของที่ดินโจทก์กว้างประมาณ 1.10 เมตร ไม่สามารถใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อผ่านเข้าออกได้นั้น ก็เป็นเรื่องความสะดวกของโจทก์เท่านั้นหาใช่ว่าโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นในที่ดินโฉนดเลขที่ 45821 ของจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 และ 1350 เพราะที่ดินโจทก์ไม่ถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมจนไม่สามารถออกไปสู่ทางสาธารณะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6334/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ แม้หลังผิดนัดชำระ และผู้รับโอนไม่มีส่วนได้เสียโดยตรง ย่อมทำได้ตามกฎหมาย
ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคหนึ่ง และมาตรา 306 วรรคหนึ่ง มิได้บัญญัติว่าหนี้ที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระแล้วจะโอนให้แก่กันไม่ได้ และผู้รับโอนจะต้องมีส่วนได้เสียในมูลหนี้ที่รับโอน แม้การโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างเจ้าหนี้กับโจทก์จะกระทำภายหลังจำเลยผิดนัดชำระหนี้แล้วและโจทก์มิได้มีส่วนได้เสียในมูลหนี้ดังกล่าว ก็มิใช่เรื่องการซื้อขายความและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อการโอนสิทธิเรียกร้องได้ทำเป็นหนังสือและโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตามมาตรา 306 วรรคหนึ่งแล้ว ย่อมมีผลสมบูรณ์และใช้ยันจำเลยได้ โจทก์ผู้รับโอนซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้แทนเจ้าหนี้เดิมย่อมมีสิทธิเรียกร้องตามมูลหนี้ที่มีอยู่จากจำเลยได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ชำระหนี้ดังกล่าวได้