พบผลลัพธ์ทั้งหมด 387 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5028/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารค้ำประกันที่ไม่ใช่สัญญาค้ำประกัน: การใช้เป็นพยานหลักฐาน แม้ไม่มีอากรแสตมป์
เอกสารฉบับพิพาทเป็นเพียงบันทึกที่จำเลยที่ 2 ตกลงค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ให้ไว้แก่โจทก์ว่า หากจำเลยที่ 1 กระทำด้วยประการใด ๆ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมชดใช้ จำเลยที่ 2ยินยอมชดใช้แทนจนครบ โดยจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 680 วรรคสอง เท่านั้น เมื่อมิใช่เป็นหนังสือสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรโดยปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ตามความมุ่งหมายแห่ง ป.รัษฎากร มาตรา 103, 104 และ 118 แม้เอกสารดังกล่าวมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2791/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตวัตถุประสงค์สัญญาเช่าซื้อ, อายุความค่าเช่าซื้อ, และเอกสารหลักฐานทางภาษี
สัญญาเช่าซื้อคือสัญญาที่เจ้าของทรัพย์สินเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น ดังนั้นเมื่อโจทก์มีวัตถุประสงค์ ซื้อ ขาย เช่า ให้เช่า การที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์ของโจทก์จึงเป็นการกระทำภายในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์
เมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงโจทก์มีสิทธิเรียกค่าใช้ทรัพย์ตลอดระยะเวลาที่ยังไม่ได้รับทรัพย์คืนและค่าเสื่อมราคารวมถึงค่าเสียหายในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร มิได้กำหนดให้สัญญาซื้อขายรถยนต์จากการขายทอดตลาดเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ และเอกสารดังกล่าวมิใช่ใบรับสำหรับการขายหรือโอนกรรมสิทธิ์ยานพาหนะตามข้อ 28(ค)แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรโดยปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ตามความมุ่งหมายแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 103,104 และ 108 เอกสารดังกล่าวแม้ไม่ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานได้
เมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงโจทก์มีสิทธิเรียกค่าใช้ทรัพย์ตลอดระยะเวลาที่ยังไม่ได้รับทรัพย์คืนและค่าเสื่อมราคารวมถึงค่าเสียหายในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร มิได้กำหนดให้สัญญาซื้อขายรถยนต์จากการขายทอดตลาดเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ และเอกสารดังกล่าวมิใช่ใบรับสำหรับการขายหรือโอนกรรมสิทธิ์ยานพาหนะตามข้อ 28(ค)แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรโดยปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ตามความมุ่งหมายแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 103,104 และ 108 เอกสารดังกล่าวแม้ไม่ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1479/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อากรแสตมป์: การประเมินและเรียกเก็บอากรแสตมป์เพิ่มเติมจากบันทึกเพิ่มเติมสัญญาเงินกู้
เมื่อวันที่15กุมภาพันธ์2525บ. ขอกู้เงินตามวิธีและธรรมเนียมประเพณีการเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ในวงเงิน2,000,000บาทกำหนดชำระหนี้ให้หมดสิ้นภายในวันที่15กุมภาพันธ์2526ได้ทำสัญญากันไว้ตาม"สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"โดยปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ในตราสารดังกล่าวแล้วต่อมาได้ทำ"บันทึกต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"ให้เบิกเงินเกินบัญชีได้ถึงวันที่15กุมภาพันธ์2530(ในวงเงินเดิม)และในวันที่26กุมภาพันธ์2529บ. ได้ทำ"บันทึกต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"กับโจทก์โดยตกลงเพิ่มวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีตาม"สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"ขึ้นอีกรวมเป็นวงเงิน3,000,000บาทข้อตกลงอื่นคงให้เป็นไปตาม"สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"ดังนั้นในวันที่26กุมภาพันธ์2529บ. ยังมีข้อตกลงเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ตาม"สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"ประกอบ"บันทึกต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"อยู่จำนวน2,000,000บาทสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหาได้ถูกยกเลิกไปแล้วไม่การที่บ.ตกลงเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ตาม"บันทึกต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"ในวันดังกล่าวจึงเป็นการที่โจทก์ตกลงให้บ.เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารในยอดเงินเพียง1,000,000บาทส่วนจำนวน2,000,000บาทยังคงเป็นยอดเงินเบิกเกินบัญชีตาม"สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"ซึ่งโจทก์ได้ปิดอากรแสตมป์ไว้บริบูรณ์แล้วโจทก์จึงมีหน้าที่ปิดอากรแสตมป์ในตราสาร"บันทึกต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"โดยคำนวณจากยอดเงินเพียง1,000,000บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1479/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อากรแสตมป์สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี: การเพิ่มวงเงินกู้และการคำนวณอากร
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2525 ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.ขอกู้เงินตามวิธีและธรรมเนียมประเพณีการเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์จำนวน 2,000,000 บาทกำหนดชำระหนี้ให้หมดสิ้นภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2526 ได้ทำสัญญากันไว้ และปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ในตราสารดังกล่าวแล้ว หลังจากนั้นได้ทำบันทึกต่ออายุสัญญากันอีก 4 ครั้ง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2526 วันที่ 18 มกราคม 2527 วันที่ 8 มีนาคม2528 และวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2529 ตามลำดับ ให้เบิกเงินเกินบัญชีได้ถึงวันที่ 15กุมภาพันธ์ 2530 และในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2529 ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.ได้ทำบันทึกต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์โดยตกลงเพิ่มวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเพิ่มเติมขึ้นอีก 1,000,000 บาท รวมเป็นจำนวน3,000,000 บาท ข้อตกลงอื่นคงให้เป็นไปตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเดิม ดังนี้เมื่อปรากฏว่าโจทก์ตกลงให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.เบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ได้ในวงเงิน 2,000,000 บาท ได้ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2530 ดังนั้นในวันที่ 26กุมภาพันธ์ 2529 ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.ยังมีข้อตกลงเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ได้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเดิมได้อยู่จำนวน 2,000,000 บาท สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวหาได้ถูกยกเลิกไปแล้วไม่ ฉะนั้น การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.ตกลงเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์เพิ่มขึ้นอีกจำนวน 1,000,000 บาท ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์2529 จึงเป็นการที่โจทก์ตกลงให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเพิ่มเติมในยอดเงินเพียง 1,000,000 บาท ส่วนอีกจำนวน 2,000,000 บาท ยังคงเป็นยอดเงินเบิกเกินบัญชีตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเดิมซึ่งโจทก์ได้ปิดอากรแสตมป์ไว้บริบูรณ์แล้ว หาใช่ยอดเงินทั้งจำนวน3,000,000 บาท เป็นยอดเงินเบิกเกินบัญชีตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเพิ่มเติมไม่เมื่อยอดเงินเบิกเกินบัญชีตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเพิ่มเติมมีจำนวนเพียง1,000,000 บาท โจทก์จึงต้องปิดอากรแสตมป์ในตราสารดังกล่าวในยอดเงิน1,000,000 บาท คิดเป็นค่าอากรแสตมป์จำนวน 500 บาท ตามบทบัญญัติแห่งป.รัษฎากร มาตรา 104 ประกอบลักษณะแห่งตราสาร 5 แห่งบัญชีอัตราอากร-แสตมป์ท้ายหมวด 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7565/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวผู้ต้องหาและหนังสือมอบอำนาจ: การปิดอากรแสตมป์และการใช้เป็นพยานหลักฐาน
สัญญาประกันเพื่อปล่อยตัวผู้ต้องหาชั่วคราวโดยมีหลักประการตามมาตรา112แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิใช่เป็นสัญญาค้ำประกันซึ่งผู้ค้ำประกันผูกพันตนต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา680และมิใช่ตราสารที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรว่าต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา104ไม่ตกอยู่ในบังคับตามมาตรา118แห่งประมวลรัษฎากรจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ หนังสือมอบอำนาจซึ่งจำเลยที่1มอบอำนาจให้จำเลยที่2ไปประกันตัวผู้ต้องหามีข้อความว่าจำเลยที่1ขอมอบอำนาจให้จำเลยที่2เป็นผู้มีอำนาจนำโฉนดที่ดินไปประกันตัวจ.ผู้ต้องหาไปจากความควบคุมตัวของพนักงานสอบสวนแทนจำเลยที่1จนเสร็จการและจำเลยที่1ยอมรับผิดชอบในการที่ผู้รับมอบอำนาจได้ทำไปตามที่มอบอำนาจนี้ภายในวงเงินไม่เกินราคาที่ดินโฉนดข้อความดังกล่าวมีความหมายว่าจำเลยที่1มอบอำนาจให้จำเลยที่2มีอำนาจไปประกันตัวผู้ต้องหาต่อพนักงานสอบสวนแทนจำเลยที่1จนเสร็จการจึงเป็นการมอบอำนาจให้กระทำการครั้งเดียวซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์10บาทตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ7(ก) คำว่า"กระทำ"ในบทนิยามมาตรา103แห่งประมวลรัษฎากรเมื่อใช้เกี่ยวกับตราสารหมายความว่าการลงลายมือชื่อตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์การที่จำเลยที่2ผู้รับมอบอำนาจต้องลงลายมือชื่อตามที่พนักงานสอบสวนนัดให้ส่งตัวผู้ต้องหาหลายครั้งที่ด้านหลังสัญญาประกันจึงมิใช่เป็นกรณีที่จำเลยที่1มอบอำนาจให้จำเลยที่2กระทำการมากกว่าครั้งเดียวแต่เป็นกรณีที่จำเลยที่2ต้องปฎิบัติตามเงื่อนเวลาที่พนักงานสอบสวนกำหนดให้ผู้ประกันต้องปฎิบัติตามในการส่งตัวผู้ต้องหาเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7268/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจ, อากรแสตมป์, การส่งสำเนาเอกสาร, การคัดค้าน, เหตุฟ้องไม่ชอบ
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า "ฯลฯ ข้าพเจ้า อ.ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตึกแถวเลขที่ 1/11 ซอยวัฒนโยธินถนนราชวิถีแขวงถนนพญาไทเขตราชเทวี กรุงเทพมหานครขอมอบอำนาจให้ ม. ฯลฯ เป็นผู้รับมอบอำนาจให้มีอำนาจกระทำการแทนข้าพเจ้าในกิจการดังต่อไปนี้ ข้อ 1. ให้มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้อง ว. ผู้เช่าตึกแถวดังกล่าวเป็นจำเลยต่อศาลแพ่ง รวมทั้งมีอำนาจแก้ฟ้องแย้งของจำเลย และให้มีอำนาจดำเนินคดีแทนข้าพเจ้าได้ทุกประการ" การมอบอำนาจตามข้อความที่ระบุไว้ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่โจทก์มอบอำนาจให้กระทำการครั้งเดียว มิใช่มอบอำนาจทั่วไปให้แก่ ม.จึงต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 10 บาท ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 104 และบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 7(ก) ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าหนังสือมอบอำนาจฉบับนี้ ได้ปิดอากรแสตมป์ 10 บาทครบถ้วนแล้วในวันยื่นฟ้อง ศาลจึงรับฟังหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีได้โดยชอบด้วยกฎหมาย และแม้ภายหลังโจทก์นำหนังสือมอบอำนาจนั้นไปติดอากรแสตมป์เพิ่มอีก20 บาท โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือขออนุญาตปิดอากรแสตมป์จากศาลก็หามีผลทำให้หนังสือมอบอำนาจนั้นกลับเป็นหนังสือมอบอำนาจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใดไม่ โจทก์ได้ระบุอ้างหนังสือให้ความยินยอมเป็นพยานและได้นำต้นฉบับเอกสารดังกล่าวมาสืบเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ในวันสืบพยาน การที่โจทก์มิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่จำเลยก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 วรรคหนึ่งอันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น หากจำเลยเห็นว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเป็นผิดระเบียบจำเลยจะต้องยื่นคัดค้านเสียภายใน 8 วัน ตามมาตรา 27 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อจำเลยทราบตั้งแต่ขณะที่โจทก์นำต้นฉบับเอกสารดังกล่าวมาสืบแล้วว่าเป็นการผิดระเบียบ แต่จำเลยก็มิได้คัดค้านเสียภายใน 8 วันนับแต่วันที่จำเลยได้ทราบเช่นนั้น จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุดังกล่าวขึ้นมาอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านในภายหลังได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1126/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งทางทะเล: ผู้ขนส่งต้องรับผิดชอบความเสียหายของสินค้าหากพิสูจน์ไม่ได้ว่าเกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือสภาพสินค้า
ปัญหาว่าหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นใบมอบอำนาจตามประมวลรัษฎากรปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ยกประเด็นนี้ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้นและเพิ่งจะยกขึ้นเป็นข้อโต้เถียงคัดค้านในชั้นอุทธรณ์ก็ตาม จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างได้ ปรากฏตามหนังสือมอบอำนาจว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญ ก.ได้แต่งตั้งให้ น. และหรือ ว. เป็นผู้รับมอบอำนาจกระทำการต่าง ๆแทนห้างหุ้นส่วนได้แก่ ฟ้องร้อง ต่อสู้คดี ดำเนินคดี และดำเนินการตามกฎหมายทั้งทางแพ่งและทางอาญาในศาลทั้งหลายของประเทศไทยหรือองค์การใด ๆ ของรัฐบาลในประเทศไทยต่อจำเลยทั้งห้า ฟ้องร้องดำเนินคดีล้มละลายแก่ลูกหนี้ในประเทศไทยและกระทำการอื่นตามที่ระบุไว้ในข้อ 1 ถึง 5 ดังนี้ เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้ ค่าอากรจึงต้องคิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจคนละ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 7(ค) ท้ายประมวลรัษฎากร แม้โจทก์ที่ 3ที่ 4 และที่ 5 จะลงลายมือชื่อเป็นผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว แต่ก็เป็นการกระทำในนามของห้างหุ้นส่วนสามัญ ก.หาใช่โจทก์ทั้งสามต่างคนต่างมอบอำนาจเป็นการเฉพาะตัวไม่ เมื่อเป็นการมอบอำนาจให้บุคคล 2 คน ต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์สำหรับผู้รับมอบอำนาจคนละ 30 บาทหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 60 บาท เท่านั้น การปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 113 และ 114ก็ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บเงินอากรจนครบพร้อมเงินเพิ่มอากรเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยในชั้นสืบพยานโจทก์ได้ปิดอากรแสตมป์เพิ่มเติมอีก 150 บาท จากที่ปิดอากรแสตมป์ไว้เดิมเพียง 30 บาทซึ่งมากกว่าจำนวนที่ต้องปิดตามกฎหมาย พร้อมทั้งขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้วแม้จะไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ได้เสียเงินเพิ่มอากรศาลก็รับฟังหนังสือมอบอำนาจให้ดำเนินคดีเป็นพยานหลักฐานได้โจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้อง ข้อเท็จจริงที่จำเลยฎีกาเป็นข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก (เดิม) คดีพิพาทเกี่ยวกับการรับขนของทางทะเล ซึ่ง ป.พ.พ.มาตรา 609 วรรคสอง กำหนดให้บังคับตามกฎหมายและข้อบังคับว่าด้วยการนั้น แต่ปรากฏว่าขณะเกิดข้อพิพาทยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับทั้งไม่ปรากฏจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นในเรื่องดังกล่าว จึงต้องนำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 รับขนมาใช้บังคับโดยถือเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 บัญญัติว่าผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในการที่ของอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนั้นบุบสลายเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการบุบสลายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดแต่สภาพแห่งของนั้นเอง หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ส่งหรือผู้รับตราส่ง ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 รับขนส่งสินค้าลำไยพิพาทโดยมีหน้าที่ต้องจัดหาตู้คอนเทนเนอร์ที่มีเครื่องทำความเย็นสำหรับควบคุมอุณหภูมิในขณะขนส่ง จำเลยที่ 1 และที่ 2มอบตู้คอนเทนเนอร์ดังกล่าวให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำการขนส่งเพราะจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีเรือบรรทุกสินค้า จำเลยที่ 2เป็นผู้ว่าจ้างโดยมีข้อตกลงกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ว่าเป็นการส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่มีเครื่องทำความเย็นภายในบรรจุลำไยสดจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงทราบดีว่าสินค้าภายในตู้เป็นผลไม้สดที่ต้องใช้ตู้ทำความเย็นเพื่อรักษาความสดของผลไม้ไว้ เหตุที่จำเลยที่ 3และที่ 4 อ้างว่าสินค้าลำไยพิพาทต้องเสียหายเป็นเพราะความบกพร่องของตู้คอนเทนเนอร์ ท่อน้ำยารั่ว ตู้ดังกล่าวจึงไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิภายในตู้ได้ เจ้าหน้าที่เรือไม่อาจซ่อมแซมขณะเรือแล่นอยู่ในทะเลได้นั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการบุบสลายหรือเสียหายอันเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดแต่สภาพแห่งของนั้นเอง ทั้งไม่ปรากฏว่าสินค้าต้องบุบสลายหรือเสียหายเพราะความผิดของผู้ขนส่งหรือผู้รับตราส่งแต่อย่างใด การขนส่งของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการขนส่งหลายคนหลายทอดจำเลยทั้งสี่จึงต้องรับผิดร่วมกันในการบุบสลายหรือเสียหายนั้นต่อโจทก์ที่ 3 ที่ 4และที่ 5 ผู้รับตราส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3225/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารกู้ยืมที่ไม่ติดอากรแสตมป์ & อำนาจแต่งตั้งทนายความของผู้รับมอบอำนาจ
ปัญหาว่าเอกสารหลักฐานแห่งการกู้ยืมมิได้ปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าตามประมวลรัษฎากร ศาลจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยก็ยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้ ใบยืมของชั่วคราวมีข้อความเพียงว่า เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม2528 จำเลยยืมเงินไป 40,000 บาท และมีลายมือชื่อจำเลยในช่องผู้รับของ เป็นเพียงหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ มิใช่สัญญากู้ยืม จึงไม่ตกอยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ โจทก์มอบอำนาจให้ ด.เป็นตัวแทนมีอำนาจฟ้องคดีด.จึงมีอำนาจแต่งตั้งทนายความว่าความแทนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3225/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารกู้ยืมที่ไม่ติดอากรแสตมป์ และอำนาจแต่งตั้งทนายความของตัวแทน
ปัญหาว่าเอกสารหลักฐานแห่งการกู้ยืมมิได้ปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าตามประมวล-รัษฎากร ศาลจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยก็ยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้
ใบยืมของชั่วคราวมีข้อความเพียงว่า เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2528 จำเลยยืมเงินไป 40,000 บาท และมีลายมือชื่อจำเลยในช่องผู้รับของ เป็นเพียงหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ มิใช่สัญญากู้ยืม จึงไม่ตกอยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์
โจทก์มอบอำนาจให้ ด.เป็นตัวแทนมีอำนาจฟ้องคดี ด.จึงมีอำนาจแต่งตั้งทนายความว่าความแทนได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคสอง
ใบยืมของชั่วคราวมีข้อความเพียงว่า เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2528 จำเลยยืมเงินไป 40,000 บาท และมีลายมือชื่อจำเลยในช่องผู้รับของ เป็นเพียงหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ มิใช่สัญญากู้ยืม จึงไม่ตกอยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์
โจทก์มอบอำนาจให้ ด.เป็นตัวแทนมีอำนาจฟ้องคดี ด.จึงมีอำนาจแต่งตั้งทนายความว่าความแทนได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2577/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีจำนอง, การบอกกล่าวหนี้, ดอกเบี้ยเกินกฎหมาย, และความยินยอมในการฟ้องคดี
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้จำนอง ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 728 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อนฟ้องโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดแล้ว ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน หนังสือของสามีโจทก์ที่ยินยอมให้โจทก์ฟ้องจำเลย มิใช่ใบมอบอำนาจที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ โจทก์คิดดอกเบี้ยเงินกู้จากจำเลยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะ แต่จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224