พบผลลัพธ์ทั้งหมด 458 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10769/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีโรงงานโดยไม่มีผู้แจ้งความ: การสอบสวนชอบด้วยกฎหมายและคำสั่งอัยการเป็นคำกล่าวโทษ
ความผิดฐานประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535 มาตรา 5, 7, 12, 50 เป็นความผิดอาญาแผ่นดินไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัวอันยอมความได้ คดีนี้พนักงานอัยการได้มีหนังสือถึงพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยกับพวก ซึ่งหนังสือดังกล่าวถือได้ว่าเป็นคำกล่าวโทษเพื่อให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองแล้ว ดังนั้น แม้จะไม่มีผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนคดีได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 วรรคหนึ่ง และตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 บัญญัติว่า ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาลโดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ได้มีการสอบสวน โดยไม่ปรากฏว่าการสอบสวนไม่ชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8403/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขุดหินในเขตประทานบัตร: ไม่ใช่ลักทรัพย์ แต่เป็นการละเมิดสิทธิและบุกรุก
หิน 2,000 ลูกบาศก์เมตร ตามบัญชีทรัพย์ถูกประทุษร้ายเป็นหินที่ประเมินจากความเสียหายจากหินที่ถูกคนร้ายขุดขึ้นมา มิใช่หินที่โจทก์ร่วมขุดขึ้นมากองไว้แต่อย่างใด หินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นหินแกรนิตที่มีอยู่ตามธรรมชาติและเป็นทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของแต่บุคคลอาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการเข้ายึดถือเอา การที่บริษัท ก โจทก์ร่วมได้รับประทานบัตรในการทำเหมืองแร่เป็นการผูกขาดจากรัฐ โจทก์ร่วมจึงมีสิทธิเพียงว่า ถ้าจะขุดหินแกรนิตจากพื้นดินที่ได้รับประทานบัตรก็ย่อมมีสิทธิที่จะเข้าถือเอาได้โดยไม่มีการหวงห้ามเสมือนบุคคลที่ไม่ได้รับประทานบัตร แต่จะมีกรรมสิทธิ์ในหินแกรนิตได้จะต้องมีการเข้ายึดถือเอาอีกชั้นหนึ่งก่อน เมื่อโจทก์ร่วมยังมิได้เข้ายึดถือ ถือเอาหินแกรนิตในเขตประทานบัตรตาม ป.พ.พ. มาตรา 1318 โจทก์ร่วมจึงมิได้เป็นเจ้าของหินแกรนิต การที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 เข้าขุดหินแกรนิตซึ่งฝังอยู่ในดินโดยจำเลยที่ 4 ซึ่งมีที่ดินอยู่ใกล้กับเขตประทานบัตรของโจทก์ร่วมเป็นผู้ขายหินแกรนิตให้กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นเพียงการละเมิดสิทธิของโจทก์ร่วมตามประทานบัตรที่จะเข้ายึดถือเอาหินแกรนิตในเขตประทานบัตรเท่านั้น มิใช่เป็นการลักเอาทรัพย์ซึ่งเป็นหินแกรนิตของโจทก์ร่วมแต่อย่างใด
พื้นที่เกิดเหตุเป็นเขตประทานบัตร ผู้มีสิทธิขุดหินคือผู้ขอประทานบัตรและผู้รับช่วงประทานบัตร แม้ขณะเกิดเหตุจะอยู่ในช่วงขออนุญาตหยุดทำเหมืองแร่ก็ตาม แต่บุคคลที่เข้าไปในเขตประทานบัตรได้ก็คือบุคคลที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ซึ่งแสดงว่าโจทก์ร่วมยังมีเจตนาที่จะยึดถือครอบครองที่ดินในเขตประทานบัตรอยู่ตลอดเวลาที่มีการอนุญาตให้หยุดทำการเหมืองแร่ การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เข้าไปขุดตักหินแกรนิตในเขตประทานบัตร ของโจทก์ร่วมโดยไม่ได้รับอนุญาตจนเป็นเหตุให้บริเวณดังกล่าวได้รับความเสียหายมีลักษณะเป็นหลุมบ่อกระจายอยู่โดยรอบเนื้อที่ประมาณ 8 ไร่ 2 งาน ย่อมเป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกเข้าไปกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุขตาม ป.อ. มาตรา 362 และฐานร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ กระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการทำลายป่า ทั้งยังมีความผิดฐานเข้าไปทำลายหรือทำให้เสื่อมสภาพพื้นที่ในเขตประทานบัตรตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 มาตรา 12, 133 ด้วย
พื้นที่เกิดเหตุเป็นเขตประทานบัตร ผู้มีสิทธิขุดหินคือผู้ขอประทานบัตรและผู้รับช่วงประทานบัตร แม้ขณะเกิดเหตุจะอยู่ในช่วงขออนุญาตหยุดทำเหมืองแร่ก็ตาม แต่บุคคลที่เข้าไปในเขตประทานบัตรได้ก็คือบุคคลที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ซึ่งแสดงว่าโจทก์ร่วมยังมีเจตนาที่จะยึดถือครอบครองที่ดินในเขตประทานบัตรอยู่ตลอดเวลาที่มีการอนุญาตให้หยุดทำการเหมืองแร่ การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เข้าไปขุดตักหินแกรนิตในเขตประทานบัตร ของโจทก์ร่วมโดยไม่ได้รับอนุญาตจนเป็นเหตุให้บริเวณดังกล่าวได้รับความเสียหายมีลักษณะเป็นหลุมบ่อกระจายอยู่โดยรอบเนื้อที่ประมาณ 8 ไร่ 2 งาน ย่อมเป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกเข้าไปกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุขตาม ป.อ. มาตรา 362 และฐานร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ กระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการทำลายป่า ทั้งยังมีความผิดฐานเข้าไปทำลายหรือทำให้เสื่อมสภาพพื้นที่ในเขตประทานบัตรตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 มาตรา 12, 133 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8332/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษคดีป่าสงวน: ศาลฎีกายืนตามศาลล่าง แม้ลดโทษแล้ว เพราะเป็นโทษขั้นต่ำตามกฎหมาย และไม่เข้าหลักเกณฑ์เปลี่ยนเป็นกักขัง
ความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 31 วรรคสอง (3) มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยเพียง 2 ปี เป็นการลงโทษในระวางโทษจำคุกขั้นต่ำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ทั้งยังลดโทษให้จำเลยอีกกึ่งหนึ่งซึ่งเป็นอัตราสูงสุดที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษให้เบากว่านี้ได้อีก ส่วนที่จำเลยขอให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทนตาม ป.อ. มาตรา 23 นั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 ลดโทษให้จำเลยแล้วคงจำคุก 1 ปี ซึ่งเป็นการลงโทษจำคุกเกิน 3 เดือน จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทนโทษจำคุกให้จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7713/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางในคดีอาญา: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยแม้โจทก์มิอุทธรณ์ หากศาลชั้นต้นละเลยการวินิจฉัย
ป.วิ.อ. มาตรา 158 บัญญัติว่า ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมีรายการต่าง ๆ ที่จะต้องมีในคำฟ้องอีกรวม 7 อนุมาตรา แต่มิได้มีเงื่อนไขเกี่ยวกับทรัพย์ที่จะขอให้ศาลสั่งริบว่าจะต้องมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง เมื่อโจทก์ได้บรรยายมาในคำฟ้องว่าเจ้าพนักงานจับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้พร้อมกับยึดเครื่องสูบน้ำเป็นของกลางและมีคำขอให้ริบเครื่องสูบน้ำดังกล่าวจึงเป็นการเพียงพอแล้ว ไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้องว่าเป็นของผู้ใดและใช้ในการกระทำความผิดอย่างไร
เมื่อโจทก์มีคำขอให้ริบเครื่องสูบน้ำของกลางแล้ว แต่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยว่าจะริบเครื่องสูบน้ำของกลางหรือไม่ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และการริบทรัพย์สินแม้ ป.อ. มาตรา 18 จะบัญญัติว่าเป็นโทษสถานหนึ่ง แต่เป็นโทษที่มุ่งถึงตัวทรัพย์เป็นสำคัญต่างกับโทษสถานอื่นซึ่งแม้จำเลยจะไม่ได้กระทำความผิดหรือกระทำความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ ศาลก็มีอำนาจสั่งริบทรัพย์สินของกลางได้ จึงมิใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ย่อมมีอำนาจสั่งริบของกลางได้
เมื่อโจทก์มีคำขอให้ริบเครื่องสูบน้ำของกลางแล้ว แต่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยว่าจะริบเครื่องสูบน้ำของกลางหรือไม่ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และการริบทรัพย์สินแม้ ป.อ. มาตรา 18 จะบัญญัติว่าเป็นโทษสถานหนึ่ง แต่เป็นโทษที่มุ่งถึงตัวทรัพย์เป็นสำคัญต่างกับโทษสถานอื่นซึ่งแม้จำเลยจะไม่ได้กระทำความผิดหรือกระทำความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ ศาลก็มีอำนาจสั่งริบทรัพย์สินของกลางได้ จึงมิใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ย่อมมีอำนาจสั่งริบของกลางได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6202/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานผลิตและครอบครองวัตถุอันตราย ปุ๋ยเคมี และการใช้ชื่อการค้าผู้อื่น ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อเดือนมกราคม 2548 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 25 มีนาคม 2548 เวลากลางวันต่อเนื่องกัน ระหว่างวันใดไม่ปรากฏชัด จำเลยผลิตด้วยวิธีการผสมและแบ่งบรรจุวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ของกลาง จากนั้นจำเลยได้ครอบครองวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ดังกล่าวซึ่งเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ปลอม เพื่อนำออกจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีคำขอท้ายฟ้องระบุกฎหมายที่จำเลยกระทำความผิดและบทมาตราที่ขอให้ลงโทษในความผิดดังกล่าว คำฟ้องของโจทก์ได้ระบุการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3338/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินไม่มีเอกสิทธิถือเป็นป่าตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ การครอบครองจึงเป็นความผิด
พ.ร.บ.ป่าไม้ ฯ มาตรา 4 (1) บัญญัติว่า "ป่า" หมายความว่าที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดิน ส่วนแบบแจ้งการครอบครองที่ดินตามที่พยานจำเลยอ้างนั้น ไม่ปรากฏว่ามีข้อความระบุว่าเป็นที่ดินที่แจ้งการครอบครองบริเวณใด และไม่ได้ระบุจำนวนเนื้อที่ดิน 70 ถึง 80 ไร่ แต่อย่างใด คงระบุแต่เพียงว่า ช. เป็นผู้แจ้งการครอบครองโดยไม่ได้ระบุว่าครอบครองต่อจากผู้ใด ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่พิพาทไม่มีเอกสารสิทธิจึงเป็นที่ดินซึ่งยังไม่มีบุคคลใดได้มาตามกฎหมายที่ดิน ที่พิพาทจึงเป็นป่าตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ ฯ มาตรา 4 (1) การที่จำเลยครอบครองที่พิพาทมานานแล้วนั้น ก็ถือเป็นการครอบครองโดยมิชอบด้วย ป.ที่ดิน เมื่อที่พิพาทมีสภาพเป็นป่าจำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองจึงเป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3335/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองไม้หวงห้าม: ครอบครองแทนผู้อื่นก็เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
คำว่า "ครอบครอง" ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ ฯ นั้น หาได้มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า "สิทธิครอบครอง" ตาม ป.พ.พ. ไม่ หากแต่มีความหมายกว้างกว่าโดยหมายความรวมถึงครอบครองเพื่อตนเองและครอบครองแทนผู้อื่นด้วย ทั้งนี้เพราะไม่มีบทกฎหมายใดให้ความหมายจำกัดว่าต้องเป็นการครอบครองเพื่อตนเองเท่านั้นจึงจะเป็นความผิดอีกทั้งในทางอาญาการร่วมกันครอบครองไม้หวงห้ามก็เป็นความผิดเช่นเดียวกัน ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสามรับจ้างผู้อื่นมาชัดลากไม้สักของกลางก็ตาม ก็ถือได้ว่าเป็นการครอบครองไม้สักของกลางแทนเจ้าของผู้ว่าจ้าง การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันมีไม้สักของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2312/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดเกี่ยวกับไม้หวงห้าม เลื่อยโซ่ยนต์ และการนำเข้าหลีกเลี่ยงอากร ศาลพิจารณาองค์ประกอบความผิดและแก้ไขโทษ
เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง การที่โจทก์ไม่ได้อ้างมาตรา 83 แห่ง ป.อ. หาทำให้คำฟ้องบกพร่องจนศาลไม่อาจจะลงโทษจำเลยที่ 1 ได้ไม่ เพราะตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 บัญญัติว่า "ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมี... (6) อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด..." ซึ่ง ป.อ. มาตรา 83 มิใช่บทมาตราที่กฎหมายบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ดังนั้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดแล้ว แม้จะไม่ได้ระบุมาตรา 83 มาในคำขอท้ายฟ้องด้วย ศาลก็ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานตัวการร่วมกันกระทำความผิดได้
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงขาดองค์ประกอบความผิด แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษฐานดังกล่าว โดยอ้างมาตรา 4, 19 แห่ง พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ ฯ มาด้วย ศาลฎีกาไม่สามารถลงโทษได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยทั้งสองจะให้การรับสารภาพและมิได้ยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงขาดองค์ประกอบความผิด แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษฐานดังกล่าว โดยอ้างมาตรา 4, 19 แห่ง พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ ฯ มาด้วย ศาลฎีกาไม่สามารถลงโทษได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยทั้งสองจะให้การรับสารภาพและมิได้ยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบคุมโภคภัณฑ์: คลอโรฟอร์มผสมในของเหลวต้องขออนุญาตขนย้าย แม้ไม่บริสุทธิ์
ตาม พ.ร.ฎ.ควบคุมโภคภัณฑ์ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2522 มาตรา 3 ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2522) ข้อ 1 ระบุเพียงว่า ให้น้ำยาเคมี คลอโรฟอร์ม เป็นโภคภัณฑ์ที่ถูกควบคุม โดยมิได้ระบุว่าจะต้องเป็นน้ำยาเคมี คลอโรฟอร์มบริสุทธิ์แต่อย่างใด จำเลยขนย้ายของเหลวที่มีน้ำยาเคมี คลอโรฟอร์มผสมอยู่โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย จึงเป็นความผิดตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 393/2554 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การช่วยเหลือคนต่างด้าวและการบุกรุกป่าสงวน การพิจารณาโทษและการแก้ไขโทษจำคุก
การกระทำความผิดฐานให้ที่พักอาศัย ซ่อนเร้น หรือช่วยเหลือด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุม ซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจไม่ลงโทษผู้กระทำก็ได้ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 64 วรรคท้าย นั้น จะต้องเป็นการกระทำเพื่อช่วยบิดา มารดา สามีหรือภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้กระทำเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 2 อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย จำเลยทั้งสองจึงไม่ได้เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาจึงไม่อาจใช้ดุลพินิจไม่ลงโทษจำเลยที่ 2 ตามมาตรานี้ได้