พบผลลัพธ์ทั้งหมด 387 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2577/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีจำนอง, การบอกกล่าวหนี้, ดอกเบี้ยเกินกฎหมาย, และความยินยอมในการฟ้องคดี
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้จำนอง ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 728 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อนฟ้องโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดแล้ว ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน หนังสือของสามีโจทก์ที่ยินยอมให้โจทก์ฟ้องจำเลย มิใช่ใบมอบอำนาจที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ โจทก์คิดดอกเบี้ยเงินกู้จากจำเลยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะ แต่จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหนี้ตามสัญญาเล่นแชร์: หนังสือสัญญาค้ำประกันต้องเสียอากรแสตมป์
หนังสือสัญญาเล่นแชร์ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อโจทก์มีจำเลยที่ 2 ที่ 3 ลงชื่อไว้ต่อท้ายสัญญาในฐานะผู้ค้ำประกัน ถือเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 680วรรคสอง ที่แสดงว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 ตกลงค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามพันธะข้อสัญญาที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์เท่านั้น มิใช่เป็นหนังสือสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรโดยปิดแสตม์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ตามความมุ่งหมายแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 103, 104,118 จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 680
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันที่ปรากฏในสัญญาเล่นแชร์ ไม่ต้องติดอากรแสตมป์ ถือเป็นหลักฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 ได้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเล่นแชร์ กับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 ที่ 3ลงชื่อต่อท้ายสัญญาในฐานะผู้ค้ำประกัน ถือว่าเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 วรรคสอง มิใช่เป็นหนังสือสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรตาม ป.รัษฎากร เอกสารดังกล่าวจึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันที่ลงชื่อต่อท้ายสัญญาระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ ถือเป็นหลักฐานการค้ำประกันตาม ม.680 ไม่ต้องเสียอากรแสตมป์
หนังสือสัญญาเล่นแชร์ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อโจทก์ มีจำเลยที่ 2 ที่ 3 ลงชื่อไว้ต่อท้ายสัญญาในฐานะผู้ค้ำประกัน ถือเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 680 วรรคสอง ที่แสดงว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 ตกลงค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามพันธะ ข้อสัญญาที่จำเลยที่ 1 ลูกหนี้ทำไว้กับโจทก์เท่านั้น มิใช่เป็นหนังสือสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรโดยปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ตามความมุ่งหมายแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 103,104,118 จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามมาตรา 680
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหนี้จากการเล่นแชร์: หนังสือสัญญาค้ำประกันที่ไม่ต้องเสียอากรแสตมป์
หนังสือสัญญาเล่นแชร์ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อโจทก์มีจำเลยที่ 2ที่ 3 ลงชื่อไว้ต่อท้ายสัญญาในฐานะผู้ค้ำประกัน ถือเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคสองที่แสดงว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 ตกลงค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1ต่อโจทก์ตามพันธะ ข้อสัญญาที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์เท่านั้นมิใช่เป็นหนังสือสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ที่ 3อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรโดยปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ตามความมุ่งหมายแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 103,104,118 จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5951/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, หนังสือมอบอำนาจ, น้ำหนักสินค้า, การชั่งน้ำหนัก, สัญญาซื้อขาย
โจทก์มี น. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์มาเบิกความยืนยันประกอบหนังสือมอบอำนาจเอกสารแสดงฐานะการเป็นนิติบุคคลของโจทก์และหนังสือรับรองลายมือชื่อโดยโนตารีปับลิก และกงสุลไทยประจำเมืองที่มีการทำหนังสือมอบอำนาจว่า โจทก์ได้มอบอำนาจให้ น. ดำเนินคดีแทนในประเทศไทย จำเลยไม่นำสืบหักล้าง โจทก์จึงไม่จำต้องนำกรรมการผู้มอบอำนาจของโจทก์มาเบิกความประกอบข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ น. ดำเนินคดีแทนในประเทศไทยแล้ว และหนังสือมอบอำนาจไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร การนำพยานบุคคลมาสืบเกี่ยวกับน้ำหนักเหล็กแผ่นพิพาทว่า มีน้ำหนักแตกต่างไปจากน้ำหนักที่ระบุในใบแจ้งราคาเบื้องต้นของเหล็กแผ่น ซึ่งมีรายละเอียดระบุในเอกสารนั้นว่ารายละเอียดต่าง ๆ เช่น น้ำหนัก ราคาเป็นเพียงการประมาณเอาเท่านั้น น้ำหนักแท้จริงน้ำหนักแน่นอนจะแจ้งหนี้ครั้งสุดท้าย ฯลฯ แสดงให้เห็นว่าทั้งปริมาณและราคายังมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเอกสารดังกล่าว ดังนั้น การสืบพยานโจทก์จึงไม่เป็นการสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงพยานเอกสารตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94(ข).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3582/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาตามคำร้องรับของกลาง: ผู้รับมอบอำนาจมีหน้าที่ปฏิบัติตามสัญญา แม้เจ้าของที่แท้จริงจะโต้แย้ง
จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับมอบอำนาจของจำเลยที่ 1 ให้สัญญาไว้ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองร้อยเอ็ดตามคำร้องขอรับรถยนต์ของกลางและรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่า จะนำรถยนต์ของกลางส่งพนักงานสอบสวนภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พนักงานสอบสวนแจ้งให้ทราบ เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ของกลางแล้ว จำเลยไม่ส่งมอบโจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาได้ ไม่ว่าผู้ใดจะเป็นเจ้าของที่แท้จริงเพราะพนักงานสอบสวนจะต้องปฏิบัติไปตามขั้นตอนเรื่องการคืนของกลาง หาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
สารวัตรใหญ่เป็นพนักงานสอบสวนคนหนี่ง และเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนการมอบอำนาจให้กระทำต่อสารวัตรใหญ่ ย่อมกระทำต่อพนักงานสอบสวนได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ขอรับรถยนต์ของกลางจากสารวัตรใหญ่ การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องต่อพนักงานสอบสวน จึงเป็นการกระทำภายในขอบอำนาจที่ได้รับมอบหมายและมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย
เอกสารคำร้องขอรับรถยนต์ของกลางไปเก็บรักษา และรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่บันทึกการรับรถยนต์ของกลางคืน หาใช่สัญญาค้ำประกัน อันเป็นตราสารที่ต้องปิดอากร-แสตมป์ตามประมวลรัษฎากรไม่ เอกสารทั้งสองฉบับดังกล่าวจึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
การที่จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ไปขอรับรถยนต์จากพนักงานสอบสวนนั้น จำเลยที่ 2 ย่อมกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการขอรับรถยนต์ได้ด้วย เช่น ยื่นคำขอรับรถยนต์และเซ็นชื่อรับรถยนต์ไว้ การกระทำต่าง ๆ เหล่านี้ ย่อมเป็นการกระทำเกี่ยวกับเรื่องขอรับรถยนต์ทั้งสิ้นหาเป็นการกระทำเรื่องอื่น ๆ ต่างหากไม่ จึงเป็นการมอบอำนาจให้กระทำการครั้งเดียว การปิดอากรแสตมป์ 5 บาท ของจำเลยชอบแล้ว
สารวัตรใหญ่เป็นพนักงานสอบสวนคนหนี่ง และเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนการมอบอำนาจให้กระทำต่อสารวัตรใหญ่ ย่อมกระทำต่อพนักงานสอบสวนได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ขอรับรถยนต์ของกลางจากสารวัตรใหญ่ การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องต่อพนักงานสอบสวน จึงเป็นการกระทำภายในขอบอำนาจที่ได้รับมอบหมายและมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย
เอกสารคำร้องขอรับรถยนต์ของกลางไปเก็บรักษา และรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่บันทึกการรับรถยนต์ของกลางคืน หาใช่สัญญาค้ำประกัน อันเป็นตราสารที่ต้องปิดอากร-แสตมป์ตามประมวลรัษฎากรไม่ เอกสารทั้งสองฉบับดังกล่าวจึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
การที่จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ไปขอรับรถยนต์จากพนักงานสอบสวนนั้น จำเลยที่ 2 ย่อมกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการขอรับรถยนต์ได้ด้วย เช่น ยื่นคำขอรับรถยนต์และเซ็นชื่อรับรถยนต์ไว้ การกระทำต่าง ๆ เหล่านี้ ย่อมเป็นการกระทำเกี่ยวกับเรื่องขอรับรถยนต์ทั้งสิ้นหาเป็นการกระทำเรื่องอื่น ๆ ต่างหากไม่ จึงเป็นการมอบอำนาจให้กระทำการครั้งเดียว การปิดอากรแสตมป์ 5 บาท ของจำเลยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3582/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของโจทก์ตามสัญญาการรับดูแลรถยนต์ของกลาง และขอบเขตอำนาจของผู้รับมอบอำนาจ
จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับมอบอำนาจของจำเลยที่ 1 ให้สัญญาไว้ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองร้อยเอ็ดตามคำร้องขอรับรถยนต์ของกลางและรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่า จะนำรถยนต์ของกลางส่งพนักงานสอบสวนภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พนักงานสอบสวนแจ้งให้ทราบเมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ของกลางแล้ว จำเลยไม่ส่งมอบโจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาได้ ไม่ว่าผู้ใดจะเป็นเจ้าของที่แท้จริงเพราะพนักงานสอบสวนจะต้องปฏิบัติไปตามขั้นตอนเรื่องการคืนของกลาง หาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ สารวัตรใหญ่เป็นพนักงานสอบสวนคนหนึ่ง และเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน การมอบอำนาจให้กระทำต่อสารวัตรใหญ่ ย่อมกระทำต่อพนักงานสอบสวนได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ขอรับรถยนต์ของกลางจากสารวัตรใหญ่ การที่จำเลยที่ 2ยื่นคำร้องต่อพนักงานสอบสวน จึงเป็นการกระทำภายในขอบอำนาจที่ได้รับมอบหมายและมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย เอกสารคำร้องขอรับรถยนต์ของกลางไปเก็บรักษา และรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่บันทึกการรับรถยนต์ของกลางคืน หาใช่สัญญาค้ำประกันอันเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรไม่ เอกสารทั้งสองฉบับดังกล่าวจึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ การที่จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ไปขอรับรถยนต์จากพนักงานสอบสวนนั้น จำเลยที่ 2 ย่อมกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการขอรับรถยนต์ได้ด้วย เช่น ยื่นคำขอรับรถยนต์และเซ็นชื่อรับรถยนต์ไว้ การกระทำต่าง ๆ เหล่านี้ ย่อมเป็นการกระทำเกี่ยวกับเรื่องขอรับรถยนต์ทั้งสิ้น หาเป็นการกระทำเรื่องอื่น ๆ ต่างหากไม่จึงเป็นการมอบอำนาจให้กระทำการครั้งเดียว การปิดอากรแสตมป์5 บาท ของจำเลยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1424/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: อำนาจฟ้องของพนักงานสอบสวน และการใช้สัญญาเป็นหลักฐาน แม้ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากความควบคุมของร้อยตำรวจโท ช.ในฐานะที่ร้อยตำรวจโทช. เป็นพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพระโขนง เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกัน จำเลยก็ต้องรับผิดชอบต่อพนักงานสอบสวนแม้พันตำรวจโท ช. มิได้ทำการสอบสวนหรือร่วมทำการสอบสวนคดีดังกล่าว ตลอดจนมิใช่เป็นคู่สัญญาประกัน แต่พันตำรวจโท ธ. ในฐานะพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพระโขนงขณะยื่นคำฟ้องก็มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ สัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไม่ใช่สัญญาค้ำประกันตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ซึ่งจะต้องบังคับตามมาตรา 104 และมาตรา 118แห่งประมวลรัษฎากร แม้ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1424/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: พนักงานสอบสวนมีอำนาจฟ้องได้ แม้ไม่ได้ทำการสอบสวนเอง สัญญาไม่ใช่สัญญาค้ำประกัน
จำเลยได้ทำสัญญาประกันตัว ป. กับพวก ผู้ต้องหาไปจากการควบคุมของร้อยตำรวจโท ช.ในฐานะที่ร้อยตำรวจโทช. เป็นพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพระโขนงมิได้ทำในฐานะส่วนตัว เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกัน จำเลยก็ต้องรับผิดชอบต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยได้แม้พันตำรวจโท ธ. มิได้ทำการสอบสวนหรือร่วมทำการสอบสวนคดีที่ ป. กับพวกตกเป็นผู้ต้องหา ตลอดจนมิใช่เป็นคู่สัญญาประกันแต่พันตำรวจโท ธ. ในฐานะพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพระโขนงขณะยื่นคำฟ้อง ก็มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยได้ สัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไม่ใช่สัญญาค้ำประกันตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ซึ่งจะต้องบังคับตามมาตรา 104 และมาตรา 118แห่ง ป.รัษฎากร เพราะฉะนั้นสัญญาประกันดังกล่าวแม้ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้.