พบผลลัพธ์ทั้งหมด 458 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 393/2554 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การช่วยเหลือคนต่างด้าวและการบุกรุกป่าสงวน การพิจารณาโทษและการแก้ไขโทษจำคุก
การกระทำความผิดฐานให้ที่พักอาศัย ซ่อนเร้น หรือช่วยเหลือด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุม ซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจไม่ลงโทษผู้กระทำก็ได้ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 64 วรรคท้าย นั้น จะต้องเป็นการกระทำเพื่อช่วยบิดา มารดา สามีหรือภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้กระทำเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 2 อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย จำเลยทั้งสองจึงไม่ได้เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาจึงไม่อาจใช้ดุลพินิจไม่ลงโทษจำเลยที่ 2 ตามมาตรานี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของฟ้องอาญา: การบรรยายฟ้องแยกกรรมความผิดชัดเจนเพียงพอ ศาลพิพากษาลงโทษหลายกรรมได้
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า ระหว่างเวลาที่โจทก์ระบุไว้ในคำฟ้องข้อ 2 และข้อ 2.2 จำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าไปก่อสร้าง แผ้วถาง หรือเผาป่า อันเป็นความผิดตามกฎหมายกรรมหนึ่ง และข้อ 2.3 โจทก์บรรยายฟ้องตอนต้นว่า "หลังจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันบุกรุกครอบครองป่าและป่าสงวนแห่งชาติแล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ร่วมกันทำไม้โดยการใช้มีดพร้าตัด ฟัน กาน ต้นไม้หวงห้ามรวม 92 ต้น ซึ่งก็เข้าใจได้ว่า ตามวันเวลาที่โจทก์ระบุไว้ในข้อ 2 แต่เป็นเวลาหลังจากที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้บุกรุกเข้าไปครอบครองป่าและป่าสงวนแห่งชาติแล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ร่วมกันทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นความผิดตามกฎหมายอีกกรรมหนึ่ง ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ชัดแจ้งว่า เมื่อวันเวลาใด จำเลยที่ 2 ได้กระทำความผิดฐานใดบ้าง อันเป็นความผิดต่างกระทงต่างกรรมกัน มิใช่เป็นการบรรยายฟ้องที่ไม่ชัดแจ้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาในศาลแขวงต้องระบุองค์ประกอบความผิดครบถ้วน แม้เป็นคดีฟ้องด้วยวาจาก็ตาม
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานนำไม้เคลื่อนที่โดยไม่ได้รับอนุญาตและโดยไม่มีใบเบิกทางกำกับจากพนักงานเจ้าหน้าที่อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 39 ซึ่งการนำไม้เคลื่อนที่จะต้องมีใบเบิกทางตามความใน พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 39 นั้น ต้องเป็นการนำไม้เคลื่อนที่เข้าในลักษณะใดลักษณะหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 38 (1) ถึง (4) ดังนั้น เมื่อโจทก์เพียงแต่บรรยายฟ้องว่าจำเลยนำไม้กระถินเคลื่อนที่ไปตามถนนวังม่วง - พัฒนานิคม โดยไม่ได้รับอนุญาตและโดยไม่มีใบเบิกทางกำกับเท่านั้นโดยมิได้บรรยายฟ้องข้อความตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 38 อนุมาตราใดอนุมาตราหนึ่งแล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดองค์ประกอบความผิดของ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 39 แม้คดีนี้จะเป็นการฟ้องด้วยวาจาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 19 ซึ่งไม่เคร่งครัดเรื่องฟ้องเคลือบคลุมเหมือนการบรรยายฟ้องเป็นหนังสือในคดีอาญาทั่วไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ก็ตาม แต่เรื่ององค์ประกอบความผิดนั้นยังเป็นหลักการสำคัญที่โจทก์จะต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ดังนั้น เมื่อบันทึกฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์บรรยายไม่ครบองค์ประกอบความผิดแล้ว จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 19 ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ลงโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15771/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีความผิด พ.ร.บ.การชลประทานหลวง: ความผิดต่อรัฐ ไม่ต้องมีผู้เสียหายโดยตรง
การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การชลประทานหลวง พ.ศ.2485 มาตรา 23 วรรคหนึ่ง เป็นความผิดที่กระทำต่อรัฐ ไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัว พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนได้แม้จะไม่มีคำร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 ดังนั้น เมื่อพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนคดีนี้แล้ว พนักงานอัยการย่อมมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 28 (1), 120 และ พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 11 (1) โดยมิต้องคำนึงว่าผู้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีจะเป็นผู้เสียหายแท้จริงหรือไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13788/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์คำสั่งปรับค่าประกัน และอำนาจศาลอุทธรณ์ในการพิจารณาค่าปรับจากผิดสัญญาประกัน
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอลดหรืองดค่าปรับแก่ผู้ประกันจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 แล้ว ผู้ประกันได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลชั้นต้นซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คำสั่งแก่ผู้ประกันและผู้ประกันยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จึงเป็นการยื่นไม่เกินกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยาย
ส่วนที่ผู้ประกันขอให้ศาลฎีกาพิจารณาและมีคำสั่งกรณีของดหรือลดค่าปรับไปในคราวเดียวกันนี้ด้วยนั้น เนื่องจาก ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล ศาลมีอำนาจสั่งบังคับตามสัญญาประกันหรือตามที่ศาลเห็นสมควรโดยมิต้องฟ้อง เมื่อศาลสั่งประการใดแล้ว ฝ่ายผู้ถูกบังคับตามสัญญาประกันหรือพนักงานอัยการมีอำนาจอุทธรณ์ได้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด" ฉะนั้น จึงเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่จะพิจารณาและมีคำสั่งอุทธรณ์คำสั่งของผู้ประกันจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต่อไป ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ของผู้ประกันได้
ส่วนที่ผู้ประกันขอให้ศาลฎีกาพิจารณาและมีคำสั่งกรณีของดหรือลดค่าปรับไปในคราวเดียวกันนี้ด้วยนั้น เนื่องจาก ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล ศาลมีอำนาจสั่งบังคับตามสัญญาประกันหรือตามที่ศาลเห็นสมควรโดยมิต้องฟ้อง เมื่อศาลสั่งประการใดแล้ว ฝ่ายผู้ถูกบังคับตามสัญญาประกันหรือพนักงานอัยการมีอำนาจอุทธรณ์ได้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด" ฉะนั้น จึงเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่จะพิจารณาและมีคำสั่งอุทธรณ์คำสั่งของผู้ประกันจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต่อไป ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ของผู้ประกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11584/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดใบอนุญาตโรงงาน: เจตนาเลิกใช้ใบอนุญาตเดิมเมื่อเปลี่ยนประเภทกิจการ
แม้จะไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดระบุว่า เมื่อได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 แล้ว ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 ที่ได้รับอยู่ก่อนหน้านั้นเป็นอันสิ้นสุดลงก็ตาม แต่เมื่อโรงงานที่จำเลยทั้งสองใช้ประกอบกิจการนั้นเป็นโรงงานแห่งเดียวกันและมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการอย่างเดียวกันแล้ว การที่จำเลยที่ 1 ขออนุญาตเปลี่ยนแปลงการประกอบกิจการโรงงานจากจำพวกที่ 2 เป็นจำพวกที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์เพิ่มกำลังแรงม้าเครื่องจักรในการประกอบกิจการมากขึ้นก็เพื่อให้สามารถผลิดผลงานได้มากขึ้นเป็นการเพิ่มผลประโยชน์ให้แก่จำเลยทั้งสองย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์ใช้ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 ที่อนุญาตให้ใช้เครื่องจักรแรงม้าต่ำในการประกอบกิจการอีกต่อไปแล้ว ทั้งยังเป็นการประกอบกิจการในโรงงานแห่งเดียวกันและในกิจการประเภทเดียวกันด้วย จึงเป็นไปไม่ได้ว่าโรงงานแห่งเดียวกันจะมีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานหลายจำพวกหลายฉบับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11260/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลริบทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดอาญา แม้ไม่มีบทบัญญัติเฉพาะในกฎหมายอาญา
แม้ศาลจะสั่งให้ริบรถยนต์กระบะของกลางสำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2584 มาตรา 29 ทวิ ไม่ได้ เพราะไม่มีบทบัญญัติตามกฎหมายดังกล่าวบัญญัติไว้โดยตรงแต่ก็ไม่มีบทบัญญัติใดที่แสดงให้เห็นว่าไม่ต้องการให้นำบทบัญญัติในภาค 1 แห่ง ป.อ. มาใช้บังคับ ทั้งตาม ป.อ. มาตรา 33 ก็ได้บัญญัติให้ศาลมีอำนาจริบทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดได้ นอกเหนือจากอำนาจริบตามกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว ดังนั้น เมื่อรถยนต์กระบะของกลางเป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 กับพวกได้ใช้ในการกระทำความผิด ศาลก็มีอำนาจริบรถยนต์กระบะของกลางได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) การที่จำเลยที่ 1 กับพวกใช้รถยนต์กระบะของกลางเป็นพาหนะใช้ในการขนกล้วยไม้ป่าจำนวน 320 ต้น น้ำหนัก 31 กิโลกรัม ซึ่งเป็นของป่าหวงห้ามที่มีไว้ในครอบครองเพื่อการค้า โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ลักษณะการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 กับพวก นอกจากเป็นเหตุทำให้กล้วยไม้ป่าอาจสูญพันธุ์ไปจากป่าของประเทศไทยแล้ว ยังมีผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพต่างๆ ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ จึงสมควรริบรถยนต์กระบะของกลาง
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2553)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2553)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9790/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นกลบเกลื่อนการกู้ยืมเงิน ศาลเพิกถอนสัญญาได้
โจทก์ทั้งสองและจำเลยมีเจตนาทำสัญญากู้ยืมเงินกัน มิได้มีเจตนาที่จะทำสัญญาซื้อขายและสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท สัญญาดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง และเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินที่โจทก์ทั้งสองกู้เงินจากจำเลยโดยให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยยึดถือเป็นประกัน ถือว่าสัญญาซื้อขายและสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้เงินที่ทำกันเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยซึ่งถูกอำพรางไว้จึงต้องบังคับตามสัญญากู้เงินที่เป็นนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง เมื่อโจทก์ทั้งสองผ่อนชำระหนี้เงินกู้แก่จำเลยเกินกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ทั้งสองกู้จากจำเลยแล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิยึดหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินพิพาทไว้ ต้องคืนแก่โจทก์ทั้งสองและต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ทั้งสองด้วย แต่ที่โจทก์ทั้งสองขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โดยปลอดจำนองหรือภาระผูกพันใด ๆ นั้น มีผลทำให้คำพิพากษากระทบต่อสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่คู่ความในคดี ย่อมไม่อาจกระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9471/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่สมบูรณ์ฐานพยายามล่าสัตว์ป่า: รายละเอียดการกระทำผิดและสถานที่สำคัญต่อการเข้าใจข้อหา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานพยายามล่าสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง โดยบรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยกับพวกร่วมกันใช้อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนแบตเตอรี่พร้อมดวงไฟเที่ยวติดตามแสวงหาล่าสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครองทุกชนิดในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง จำเลยกับพวกร่วมกันกระทำความผิดไปโดยตลอดแล้วแต่การกระทำไม่บรรลุผล เนื่องจากไม่พบสัตว์ป่าดังกล่าว โดยไม่ได้ระบุว่าจำเลยลงมือล่าสัตว์ชนิดใดด้วยวิธีการอย่างไรและใช้อาวุธปืนของกลางร่วมในการกระทำความผิดอย่างไร ซึ่งเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด รวมทั้งไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่และสิ่งของที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี จึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็เป็นการรับสารภาพตามฟ้องที่ไม่เป็นความผิดจึงไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวตามฟ้องของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7135/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพและขอบเขตความผิดฐานบุกรุกทำไม้ในเขตป่าสงวน การลงโทษที่เหมาะสม
จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องแล้ว จึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามคำรับสารภาพของจำเลยว่ามีเจตนากระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องมา จำเลยจะฎีกาโต้เถียงว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิดหาได้ไม่ เพราะขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยและมิใช่ข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มตรา 15
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครอง ก่นสร้าง แผ้วถางป่าสงวนแห่งชาติและร่วมกันทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำความผิดในคราวเดียวกัน จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตามกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 แต่ความผิดฐานมีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองนั้น เป็นการกระทำต่างวาระกัน อาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแตกต่างแยกจากกันกับการกระทำความผิดสองฐานดังกล่าวจึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครอง ก่นสร้าง แผ้วถางป่าสงวนแห่งชาติและร่วมกันทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำความผิดในคราวเดียวกัน จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตามกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 แต่ความผิดฐานมีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองนั้น เป็นการกระทำต่างวาระกัน อาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแตกต่างแยกจากกันกับการกระทำความผิดสองฐานดังกล่าวจึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน