คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประทีป เฉลิมภัทรกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 458 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5752/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนหมายบังคับคดีจากข้อพิพาทสัญญาประนีประนอมยอมความ และการชำระหนี้ตรงตามกำหนด แม้เป็นวันหยุดทำการ
จำเลยยื่นคำร้องขอเพิกถอนหมายบังคับคดีในคดีนี้อ้างว่าจำเลยไม่ได้ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอม การที่จำเลยยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีในอีกคดีหนึ่งที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอายัดทรัพย์สินของจำเลยว่า ทรัพย์สินของจำเลยถูกเจ้าหนี้หลายรายรวมทั้งโจทก์อายัดไว้แล้ว การอายัดทรัพย์สินในคดีดังกล่าวจึงเป็นการอายัดซ้ำ ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการอายัดและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ถอนการอายัดแล้วเป็นการดำเนินการในคดีอื่นมิใช่ในคดีนี้ จึงมิใช่กรณีที่จำเลยได้ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่หรือเป็นการให้สัตยาบันแก่การกระทำนั้น จำเลยจึงมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนหมายบังคับคดีในคดีนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม
วันครบกำหนดชำระหนี้ตรงกับวันเสาร์ การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีของโจทก์ในธนาคารทันทีในวันแรกที่เปิดทำการจึงไม่ถือว่าจำเลยผ่อนชำระหนี้แก่โจทก์ล่วงพ้นกำหนดและตกเป็นผู้ผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8 แม้ธนาคารเปิดทำการในวันเสาร์อาทิตย์ก็มี ก็ไม่อาจเป็นข้อยกเว้นของกฎหมายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5752/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนหมายบังคับคดีเมื่อจำเลยไม่ได้ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ และผลของการนำเงินเข้าบัญชีหลังวันหยุดทำการ
แม้ภายหลังจากที่จำเลยยื่นคำร้องขอเพิกถอนหมายบังคับคดีแล้ว จำเลยยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอีกคดีหนึ่งอายัดทรัพย์สินของจำเลยว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวอายัดซ้ำกับคดีของโจทก์ เป็นการดำเนินการในคดีอื่นอีกคดีหนึ่งภายหลังจากที่จำเลยยื่นคำร้องในคดีนี้เพื่อรักษาประโยชน์ของตนเองในฐานะที่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวมิใช่การดำเนินการในคดีนี้ จึงมิใช่กรณีที่จำเลยได้ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่หรือเป็นการให้สัตยาบันแก่การกระทำนั้น ดังนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเห็นว่าศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีไม่ถูกต้อง จำเลยจึงมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนหมายบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม
จำเลยนำเงินเข้าบัญชีโจทก์ในวันจันทร์ที่ 1 กันยายน 2551 อันเป็นวันเปิดทำการวันแรกทันที ซึ่งการนับระยะเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8 บัญญัติว่า ถ้าวันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณี ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา ดังนั้น การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีของโจทก์ทันทีในวันแรกที่เปิดทำการจึงไม่ถือว่าจำเลยผ่อนชำระหนี้แก่โจทก์ล่วงพ้นกำหนดและตกเป็นผู้ผิดนัดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีจึงเป็นการไม่ชอบ แม้โจทก์จะอ้างว่าธนาคารเปิดทำการในวันเสาร์อาทิตย์ ไม่อาจเป็นข้อยกเว้นของกฎหมายได้ และแม้จะมีข้อเท็จจริงปรากฏต่อมาว่า ในงวดที่สามและที่สี่จำเลยยังคงนำเงินเข้าบัญชีโจทก์เกินกำหนด ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นในภายหลัง ไม่ทำให้การออกหมายบังคับคดีที่ไม่ชอบกลับกลายเป็นหมายบังคับคดีที่ถูกต้องตามกฎหมายไปได้ กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงไม่มีเหตุที่จะออกหมายบังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3729/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาบุกรุกป่า ศาลต้องใช้ข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาอาญาในการตัดสิน
พนักงานอัยการเคยเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีอาญาในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติฯ พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ และ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติฯ คดีถึงที่สุดในศาลชั้นต้นแล้ว โดยศาลวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินในป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่และป่าเขาสะโตน อันเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตอุทยานแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต ทำให้ป่าสงวนแห่งชาติเสื่อมสภาพคิดเป็นจำนวนเนื้อที่ 15 ไร่ ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 110/2544 ของศาลชั้นต้น คดีนี้เมื่อผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายตามสิทธิเรียกร้องอันมีมูลมาจากการกระทำความผิดอาญาจึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ดังนั้น การพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 จำเลยที่ 1 จะฎีกาโต้เถียงว่า โจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนเนื้อที่เท่าใด จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเต็มตามจำนวนเนื้อที่ 15 ไร่ นั้นหาได้ไม่ เพราะเป็นการฝ่าฝืนข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3729/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: การชดใช้ค่าเสียหายจากการบุกรุกป่า - ศาลต้องยึดตามข้อเท็จจริงในคำพิพากษาคดีอาญา
พนักงานอัยการเคยเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีอาญาในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ร.บ.ป่าไม้และ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ คดีถึงที่สุด โดยศาลวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินในป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่ และป่าเขาสะโตน อันเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตอุทยานแห่งชาติ โดยไม่ได้รับอนุญาต ทำให้ป่าสงวนแห่งชาติเสื่อมสภาพคิดเป็นจำนวนเนื้อที่ 15 ไร่ คดีนี้กรมป่าไม้ซึ่งเป็นผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายตามสิทธิเรียกร้องอันมีมูลมาจากการกระทำความผิดอาญาดังกล่าว จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 จำเลยที่ 1 จะฎีกาโต้เถียงว่า โจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนเนื้อที่เท่าใด จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเต็มตามจำนวนเนื้อที่ 15 ไร่ หาได้ไม่ เพราะเป็นการฝ่าฝืนข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3729/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การชดใช้ค่าเสียหายจากความผิดบุกรุกป่า ศาลต้องใช้ข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาอาญา
พนักงานอัยการเคยเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีอาญาในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ร.บ.ป่าไม้และพ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ คดีถึงที่สุดในศาลชั้นต้นแล้ว โดยศาลวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินในป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่และป่าเขาสะโตน อันเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตอุทยานแห่งชาติ โดยไม่ได้รับอนุญาต ทำให้ป่าสงวนแห่งชาติเสื่อมสภาพคิดเป็นจำนวนเนื้อที่ 15 ไร่ คดีนี้เมื่อผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายตามสิทธิเรียกร้องอันมีมูลมาจากการกระทำความผิดอาญาดังกล่าวจึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ดังนั้น ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 จำเลยที่ 1 จะฎีกาโต้เถียงว่า โจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่า โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนเนื้อที่เท่าใด จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเต็มตามจำนวนเนื้อที่ 15 ไร่ นั้น หาได้ไม่ เพราะเป็นการฝ่าฝืนข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2900/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผ่านที่ดินของผู้อื่นเมื่อที่ดินตนเองถูกล้อม และมีทางออกร่วมกันจากที่ดินแปลงใหญ่เดิม
อ. ฟ้องจำเลยขอให้เปิดทางจำเป็น เป็นเรื่องเฉพาะตัวไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสาม แต่ อ. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 319 แปลงใหญ่ และมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้เช่นเดียวกับที่ดินโจทก์ทั้งสาม เมื่อ อ. ผ่านที่ดินจำเลยซึ่งล้อมอยู่ออกไปสู่ทางสาธารณะและถนนได้ การที่ที่ดินของโจทก์ทั้งสามแบ่งแยกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 319 ซึ่งเป็นแปลงใหญ่นั้นปรากฏว่าที่ดินที่แบ่งทุกแปลงมีทางออกผ่านที่ดินของจำเลยออกสู่ทางสาธารณะเป็นทางจำเป็นอยู่แล้ว ดังนั้น โจทก์ทั้งสามย่อมมีสิทธิผ่านที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นทางจำเป็นได้เช่นเดียวกับ อ. เพราะจำเลยไม่มีสิทธิปิดกั้นทางจำเป็นได้อีกต่อไป ถือได้ว่าที่ดินโจทก์ทั้งสามมีทางออกถึงทางสาธารณะได้ โจทก์ทั้งสามจึงมีไม่สิทธิเรียกร้องให้จำเลยเปิดทางพิพาทในที่ดินจำเลยเป็นทางจำเป็นได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2758/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คหลายฉบับไม่เกี่ยวข้องกัน ผู้ทรงเช็คมีสิทธิฟ้องบังคับชำระหนี้แยกแต่ละฉบับได้
การที่ผู้ทรงเช็คได้รับเช็คที่มีผู้สั่งจ่ายรายเดียวกันไว้ในครอบครองหลายฉบับแม้จะเป็นการชำระหนี้ในมูลหนี้ในมูลหนี้เดียวกันก็ไม่ถือว่าเช็คแต่ละฉบับมีความเกี่ยวพันกัน เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้น ผู้ทรงเช็คย่อมใช้สิทธิเรียกร้องตามเช็คแต่ละฉบับได้ไม่จำต้องใช้สิทธิเรียกร้องตามเช็คทั้งหมดไปในคราวเดียวกัน การใช้สิทธิเรียกร้องในเช็คแต่ละฉบับโดยยื่นฟ้องเป็นหลายคดีเพื่อบังคับชำระหนี้ตามเช็คต่างฉบับกันไม่ใช่การใช้สิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ที่มีการออกเช็คชำระหนี้ทั้งยังเป็นคดีที่มีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแยกต่างหากจากกันตามเช็คแต่ละฉบับด้วย แม้เช็คพิพาทจะเป็นส่วนหนึ่งของเช็คหลายฉบับที่โจทก์ได้รับมาในคราวเดียวกัน โจทก์ก็มีสิทธินำเช็คดังกล่าวมาเป็นมูลฟ้องร้องเป็นคดีต่างหากจากกันได้ การที่โจทก์นำเช็คจำนวนหนึ่งไปฟ้องคดีแพ่ง และนำเช็คพิพาทมาฟ้องคดีนี้จึงมิใช่การยื่นคำฟ้องในเรื่องเดียวกัน อันจะเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2758/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนเช็ค: เช็คแต่ละฉบับเป็นมูลหนี้ต่างหาก โจทก์มีสิทธิฟ้องแยกคดีได้
ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคำฟ้องแล้ว คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาและผลแห่งการนี้ (1) ห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือศาลอื่น..." มีความมุ่งหมายว่า คดีเรื่องเดียวกันโจทก์ควรจะฟ้องร้องว่ากล่าวกันไปเสียให้เสร็จสิ้นในคราวเดียวกัน ส่วนคดีใดจะเป็นคดีเดียวกันหรือไม่ต้องพิจารณาจากคำฟ้องในคดีนั้นๆ ว่า เป็นคดีที่มีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาอย่างเดียวกันหรือไม่
เช็คเป็นตั๋วเงินซึ่งเป็นเอกเทศสัญญาประเภทหนึ่ง เช็คแต่ละฉบับก่อให้เกิดมูลหนี้ผูกพันระหว่างผู้ทรงเช็ค ผู้สลักหลัง และผู้สั่งจ่าย ในตัวเอง ซึ่งกฎหมายกำหนดสิทธิหน้าที่และความเกี่ยวพันระหว่างกันไว้เป็นการเฉพาะ การที่ผู้ทรงเช็คได้รับเช็คที่มีผู้สั่งจ่ายรายเดียวกันไว้ในครอบครองหลายฉบับแม้จะเป็นการชำระหนี้ในมูลหนี้เดียวกันก็ไม่ถือว่าเช็คแต่ละฉบับมีความเกี่ยวพันกัน เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้น ผู้ทรงเช็คย่อมใช้สิทธิเรียกร้องตามเช็คแต่ละฉบับได้ หาจำต้องใช้สิทธิเรียกร้องตามเช็คทั้งหมดไปในคราวเดียวกันแต่อย่างใดไม่ การใช้สิทธิเรียกร้องในเช็คแต่ละฉบับโดยยื่นฟ้องเป็นหลายคดีเพื่อบังคับชำระหนี้ตามเช็คต่างฉบับกัน ไม่ใช่การใช้สิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ที่มีการออกเช็คชำระหนี้ ทั้งยังเป็นคดีที่มีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแยกต่างหากจากกันตามเช็คแต่ละฉบับด้วย คดีนี้ แม้เช็คพิพาทจะเป็นส่วนหนึ่งของเช็คหลายฉบับที่โจทก์ได้รับมาในคราวเดียวกันก็ตาม แต่โจทก์ก็มีสิทธินำเช็คดังกล่าวมาเป็นมูลฟ้องร้องเป็นคดีต่างหากจากกันได้ การที่โจทก์นำเช็คจำนวนหนึ่งไปฟ้องในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 523/2547 ของศาลชั้นต้น และนำเช็คพิพาทมาฟ้องคดีนี้ จึงไม่ใช่การยื่นคำฟ้องในเรื่องเดียวกัน อันจะเป็นการต้องห้ามตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2758/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนเช็ค: เช็คแต่ละฉบับเป็นมูลหนี้แยกต่างหาก โจทก์ฟ้องได้หลายคดี
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง บัญญัติว่า "นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคำฟ้องแล้วคดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาและผลแห่งการนี้ (1) ห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือศาลอื่น..." มีความมุ่งหมายว่า คดีเรื่องเดียวกันโจทก์ควรจะฟ้องร้องว่ากล่าวกันไปเสียให้เสร็จสิ้นในคราวเดียวกัน ส่วนคดีใดจะเป็นคดีเดียวกันหรือไม่ต้องพิจารณาจากคำฟ้องในคดีนั้นๆ ว่า เป็นคดีที่มีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาอย่างเดียวกันหรือไม่ เช็คเป็นตั๋วเงินซึ่งเป็นเอกเทศสัญญาประเภทหนึ่ง เช็คแต่ละฉบับก่อให้เกิดมูลหนี้ผูกพันระหว่างผู้ทรงเช็ค ผู้สลักหลังและผู้สั่งจ่ายในตัวเอง ซึ่งกฎหมายกำหนดสิทธิ หน้าที่และความเกี่ยวพันระหว่างกันไว้เป็นการเฉพาะ การที่ผู้ทรงเช็คได้รับเช็คที่มีผู้สั่งจ่ายรายเดียวกันไว้ในครอบครองหลายฉบับ แม้จะเป็นการชำระหนี้ในมูลหนี้เดียวกันก็ไม่ถือว่าเช็คแต่ละฉบับมีความเกี่ยวพันกัน เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้น ผู้ทรงเช็คย่อมใช้สิทธิเรียกร้องตามเช็คแต่ละฉบับได้ หาจำต้องใช้สิทธิเรียกร้องตามเช็คทั้งหมดไปในคราวเดียวกันแต่อย่างใดไม่ การใช้สิทธิเรียกร้อกในเช็คแต่ละฉบับโดยยื่นฟ้องเป็นหลายคดีเพื่อบังคับชำระหนี้ตามเช็คต่างฉบับกันไม่ใช่การใช้สิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ที่มีการออกเช็คชำระหนี้ ทั้งยังเป็นคดีที่มีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแยกต่างหากจากกันตามเช็คแต่ละฉบับด้วย คดีนี้แม้เช็คพิพาทจะเป็นส่วนหนึ่งของเช็คหลายฉบับที่โจทก์ได้รับมาในคราวเดียวกันก็ตาม แต่โจทก์ก็ย่อมมีสิทธินำเช็คดังกล่าวมาเป็นมูลฟ้องร้องเป็นคดีต่างหากจากกันได้ การที่โจทก์นำเช็คจำนวนหนึ่งไปฟ้องในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 523/2547 ของศาลชั้นต้น และนำเช็คพิพาทมาฟ้องคดีนี้ จึงหาใช่การยื่นคำฟ้องในเรื่องเดียวกันอันจะเป็นการต้องห้ามตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2126/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความในมูลละเมิดที่เกี่ยวข้องกับความผิดทางอาญา การเริ่มต้นนับอายุความเมื่อโจทก์รู้ถึงการละเมิดและตัวผู้กระทำผิด
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคสอง ได้บัญญัติในกรณีที่การละเมิดที่เกิดขึ้นดังกล่าวมีโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา และกำหนดอายุความทางอาญายาวกว่าก็ให้เอาอายุความที่ยาวกว่าใช้บังคับ ซึ่งหมายความว่า หากความเสียหายในมูลละเมิดที่เกิดขึ้นมีความผิดที่มีโทษตาม ป.อ. ที่เกิดขึ้นด้วย ก็ให้ใช้อายุความที่ยาวกว่า แต่ก็หมายความถึงการเรียกร้องจากผู้กระทำความผิดหรือผู้ร่วมกระทำความผิดโดยเฉพาะ ไม่หมายความรวมถึงผู้อื่นที่มิได้ร่วมกระทำความผิดด้วย
of 46