พบผลลัพธ์ทั้งหมด 458 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7683/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องเกินสิทธิ, การรับผิดชอบร่วมของลูกหนี้, และดอกเบี้ยจากการโอนสิทธิเรียกร้อง
จำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงจำเลยที่ 5 แจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าขายสินค้าไม่ว่าหนี้ในปัจจุบันหรือที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่จำเลยที่ 5 ต้องชำระต่อจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ ซึ่งในหนังสือยังแจ้งด้วยว่า แม้ใบเรียกเก็บเงินบางฉบับอาจจะไม่มีข้อความที่ระบุข้างต้นก็ขอชำระเงินให้แก่โจทก์ตามรายการในใบเรียกเก็บเงินทุกใบต่อไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะแจ้งเปลี่ยนแปลงเป็นลายลักษณ์อักษร แสดงให้เห็นว่าเป็นการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าขายสินค้าที่จำเลยที่ 5 มีต่อจำเลยที่ 1 ที่จะเกิดขึ้นต่อไปทั้งหมด มิได้เป็นการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เฉพาะราย หลังจากนั้น จำเลยที่ 5 ยังได้สั่งซื้อสินค้าจากจำเลยที่ 1 หลายครั้งและชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว ดังนั้นการซื้อขายสินค้าระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 5 จึงเป็นการซื้อขายแบบต่อเนื่องไม่ใช่เป็นการซื้อขายสินค้าเจาะจงเฉพาะสิ่ง การโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าขายสินค้าจึงรวมถึงหนี้ค่าสินค้ารายการที่ 1 ถึง 14 ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 5 ชำระหนี้ได้อยู่แล้ว เพียงแต่ยังไม่ถึงกำหนดชำระเท่านั้น ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าขายสินค้าให้แก่จำเลยที่ 5 ทราบแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคแรก จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 5
สินค้ารายการที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ส่งมอบให้แก่จำเลยที่ 5 จำเลยที่ 1 ได้โอนขายสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าสินค้าโดยคิดรวมในส่วนที่ไม่ได้ส่งมอบดังกล่าวให้แก่โจทก์ด้วย จึงเป็นการโอนขายสิทธิเรียกร้องเกินกว่าสิทธิที่จำเลยที่ 1 มีต่อจำเลยที่ 5 จำเลยที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในหนี้รายการดังกล่าว
สินค้ารายการที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ส่งมอบให้แก่จำเลยที่ 5 จำเลยที่ 1 ได้โอนขายสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าสินค้าโดยคิดรวมในส่วนที่ไม่ได้ส่งมอบดังกล่าวให้แก่โจทก์ด้วย จึงเป็นการโอนขายสิทธิเรียกร้องเกินกว่าสิทธิที่จำเลยที่ 1 มีต่อจำเลยที่ 5 จำเลยที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในหนี้รายการดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7683/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าสินค้าต่อเนื่อง การแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องมีผลผูกพันผู้ซื้อ แม้จะยังไม่มีกำหนดชำระ
จำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงจำเลยที่ 5 แจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าขายสินค้าไม่ว่าหนี้ในปัจจุบันหรือที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่จำเลยที่ 5 ต้องชำระต่อจำเลยที่ 1 ไปให้แก่โจทก์ หนังสือดังกล่าวยังแจ้งด้วยว่าแม้ใบเรียกเก็บเงินบางฉบับอาจจะไม่มีข้อความที่ระบุข้างต้น ก็ให้ชำระเงินแก่โจทก์ตามรายการในใบเรียกเก็บเงินทุกใบต่อไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะแจ้งเปลี่ยนแปลงเป็นลายลักษณ์อักษร แสดงให้เห็นว่าเป็นการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าขายสินค้าที่จำเลยที่ 5 มีต่อจำเลยที่ 1 ที่จะเกิดขึ้นต่อไปทั้งหมด มิได้เป็นการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าขายสินค้าเฉพาะราย หลังจากโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องและมีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่จำเลยที่ 5 ดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 5 สั่งซื้อสินค้าจากจำเลยที่ 1 หลายครั้งและชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว ดังนั้นการซื้อขายสินค้าระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 5 จึงเป็นการซื้อขายแบบต่อเนื่อง ไม่ใช่เป็นการซื้อขายสินค้าเจาะจงเฉพาะสิ่ง การโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าขายสินค้าจึงรวมถึงหนี้ค่าสินค้ารายการที่ 1 ถึง 14 ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 5 ชำระหนี้ได้อยู่แล้ว เพียงแต่ยังไม่ถึงกำหนดชำระเท่านั้น ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าขายสินค้าให้แก่จำเลยที่ 5 แล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคแรก การโอนสิทธิเรียกร้องจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 5 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 5 ชำระหนี้ค่าขายสินค้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7631/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วม สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ผูกพันคู่สัญญาที่ไม่ร่วมทำสัญญา โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
สามีจำเลยกู้เงินโจทก์ จำเลยลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญากู้ ถือว่าจำเลยได้ให้สัตยาบันในการทำสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว หนี้กู้ยืมเงินจึงเป็นหนี้ร่วมของสามีจำเลยและจำเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4) โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ย่อมมีอำนาจฟ้องลูกหนี้ทุกคนพร้อมกันให้ชำระหนี้เป็นส่วนๆ หรือจะฟ้องลูกหนี้ทีละคนจนกว่าจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยในคดีก่อนให้ร่วมกับสามีชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ด้วย จำเลยคดีนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นคู่ความเดียวกันกับจำเลยในคดีก่อน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์นำสัญญากู้ยืมฟ้องสามีจำเลยให้ชำระหนี้เงินกู้ โจทก์กับสามีจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลมีคำพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุด ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้สิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ยืมเงินสิ้นสุดไป โจทก์ถือสิทธิใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 การที่สามีจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ จำเลยไม่ได้ร่วมทำสัญญาด้วย จึงไม่มีผลผูกพันจำเลย เมื่อจำเลยไม่ใช่คู่สัญญาในสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยจึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญากับโจทก์ สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมไม่ผูกพันจำเลยเพราะไม่ใช่คู่ความในคดีดังกล่าว โจทก์ไม่สามารถนำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวมาฟ้องจำเลยให้รับผิดได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกขึ้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ 264 และ 247
คดีก่อนโจทก์นำสัญญากู้ยืมฟ้องสามีจำเลยให้ชำระหนี้เงินกู้ โจทก์กับสามีจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลมีคำพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุด ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้สิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ยืมเงินสิ้นสุดไป โจทก์ถือสิทธิใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 การที่สามีจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ จำเลยไม่ได้ร่วมทำสัญญาด้วย จึงไม่มีผลผูกพันจำเลย เมื่อจำเลยไม่ใช่คู่สัญญาในสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยจึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญากับโจทก์ สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมไม่ผูกพันจำเลยเพราะไม่ใช่คู่ความในคดีดังกล่าว โจทก์ไม่สามารถนำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวมาฟ้องจำเลยให้รับผิดได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกขึ้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ 264 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7631/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมจากการลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญากู้ยืม การฟ้องเรียกหนี้จากลูกหนี้ร่วมที่ไม่ใช่คู่ความเดิมไม่เป็นฟ้องซ้ำ
สามีจำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโดยมีจำเลยซึ่งเป็นภริยาลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญา จึงถือได้ว่าจำเลยได้ให้สัตยาบันในการทำสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว หนี้กู้ยืมเงินจึงเป็นหนี้ร่วมของสามีจำเลยและจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490 (4) โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิฟ้องลูกหนี้ทุกคนพร้อมกันให้ลูกหนี้ชำระหนี้เป็นส่วน ๆ หรือจะฟ้องลูกหนี้ทีละคนจนกว่าจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนก็ได้ตามมาตรา 291
คดีก่อนโจทก์ฟ้องสามีจำเลยให้ชำระหนี้กู้ยืมเงิน โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยในคดีดังกล่าวด้วย สามีจำเลยซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนกับจำเลยคดีนี้จึงไม่ได้เป็นคู่ความเดียวกัน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ฟ้องสามีจำเลยให้ชำระหนี้กู้ยืมเงินตามสัญญากู้ยืมเงิน ต่อมาโจทก์กับสามีจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอมและคดีถึงที่สุดแล้ว ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวของโจทก์ระงับสิ้นไปโดยโจทก์ได้ถือสิทธิใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 การที่สามีจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ โดยจำเลยไม่ได้ร่วมด้วย จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยประกอบกับจำเลยไม่ใช่คู่สัญญาในสัญญาประนีประนอมยอมความจึงฟ้องให้จำเลยรับผิดไม่ได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องสามีจำเลยให้ชำระหนี้กู้ยืมเงิน โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยในคดีดังกล่าวด้วย สามีจำเลยซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนกับจำเลยคดีนี้จึงไม่ได้เป็นคู่ความเดียวกัน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ฟ้องสามีจำเลยให้ชำระหนี้กู้ยืมเงินตามสัญญากู้ยืมเงิน ต่อมาโจทก์กับสามีจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอมและคดีถึงที่สุดแล้ว ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวของโจทก์ระงับสิ้นไปโดยโจทก์ได้ถือสิทธิใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 การที่สามีจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ โดยจำเลยไม่ได้ร่วมด้วย จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยประกอบกับจำเลยไม่ใช่คู่สัญญาในสัญญาประนีประนอมยอมความจึงฟ้องให้จำเลยรับผิดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7625/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้จากการซื้อขายสินค้าล่วงหน้า vs. สัญญากู้ยืม: หนี้ไม่มีมูลหากเป็นหนี้บริษัทต่อบริษัท
บริษัท ส. ที่โจทก์เป็นกรรมการได้มอบเงินให้บริษัท ซ. ที่จำเลยเป็นกรรมการเป็นค่าสินค้าที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยล่วงหน้า เงินจำนวนดังกล่าวไม่ใช่หนี้ตามข้อตกลงในฐานะส่วนตัวของโจทก์กับจำเลย แต่เป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท ส. กับจำเลยในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท ซ. ต่อมาบริษัท ซ. จะต้องคืนเงินแก่บริษัท ส. แต่ได้ทำในรูปสัญญากู้ยืมที่จำเลยลงลายมือชื่อรับผิดต่อโจทก์ หนี้ที่จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์จึงเป็นหนี้ที่บริษัท ซ. มีต่อบริษัท ส. ไม่ใช่เป็นหนี้ของจำเลยในฐานะส่วนตัว สัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่มีมูลหนี้ต่อกัน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยไม่ได้นำสืบว่าหนี้กู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดจากการแปลงหนี้ ทั้งจำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้กู้ยืมเงินโจทก์ จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์โดยไม่มีเจตนาผูกพันตามสัญญา จึงรับฟังไม่ได้ว่าหนี้กู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดจากการแปลงหนี้ตามที่โจทก์อ้าง กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่า โจทก์จำต้องกล่าวในฟ้องถึงการแปลงหนี้ด้วยหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยไม่ได้นำสืบว่าหนี้กู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดจากการแปลงหนี้ ทั้งจำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้กู้ยืมเงินโจทก์ จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์โดยไม่มีเจตนาผูกพันตามสัญญา จึงรับฟังไม่ได้ว่าหนี้กู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดจากการแปลงหนี้ตามที่โจทก์อ้าง กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่า โจทก์จำต้องกล่าวในฟ้องถึงการแปลงหนี้ด้วยหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7624/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ต้องมีข้อตกลงระงับหนี้เดิม มิฉะนั้นหนี้เดิมยังคงอยู่
หนังสือรับชำระหนี้แทนลูกหนี้ของ บ. ที่ทำให้ไว้แก่โจทก์ เป็นกรณีที่ บ. ซึ่งมิได้เป็นลูกหนี้ผูกพันตนเข้าชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 แทนต่อโจทก์ แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์เจ้าหนี้ตกลงให้หนี้ของจำเลยที่ 1 ระงับไป จึงไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ หนี้ของจำเลยที่ 1 จึงไม่ระงับสิ้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7618/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าของงานเมื่อสัญญาเลิกกัน การหักกลบลค่าปรับ และค่าฤชาธรรมเนียม
เมื่อสัญญาเลิกกัน คู่สัญญาต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะเดิม การกำหนดค่าของงานที่จะต้องชดใช้แก่กัน จึงมิใช่เป็นค่าตอบแทนหรือค่าเสียหาย แต่เป็นหนทางหนึ่งที่จะสามารถทำให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิมได้ ส่วนค่าของงานที่จะชดใช้แก่กันนั้น ก็ต้องพิจารณาจากมูลค่าของงานที่โจทก์ทำให้แก่จำเลยตามความเป็นจริง จะยึดเอาค่าจ้างที่จะต้องชำระตามงวดงานที่กำหนดไว้ในสัญญาที่เลิกกันแล้วมาเป็นหลักเกณฑ์อีกไม่ได้ เพราะค่าจ้างที่กำหนดให้ชำระตามสัญญานั้นอาจมีการกำหนดสิ่งที่มิใช่ค่าของงานลงไปด้วย
ที่โจทก์และจำเลยตกลงกันว่า จะใช้เงินจำนวนหนึ่ง เมื่อไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควร ถือเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
ความรับผิดในชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียม ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจให้ฝ่ายใดเป็นผู้เสียก็ได้ โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดี
ที่โจทก์และจำเลยตกลงกันว่า จะใช้เงินจำนวนหนึ่ง เมื่อไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควร ถือเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
ความรับผิดในชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียม ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจให้ฝ่ายใดเป็นผู้เสียก็ได้ โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7618/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างเหมา, ค่าปรับ, การหักค่าเสียหายจากค่าจ้าง, และการชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียม
เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว กฎหมายบังคับให้คู่สัญญาต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะเดิม การกำหนดค่าของงานที่จะต้องชดใช้แก่กัน มิใช่เป็นค่าตอบแทนหรือค่าเสียหาย แต่เป็นหนทางหนึ่งที่จะสามารถทำให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิมได้ ส่วนค่าของงานที่จะชดใช้แก่กันนั้น ก็ต้องพิจารณาจากมูลค่างานที่โจทก์ทำให้แก่จำเลยตามความจริง จะยึดเอาค่าจ้างที่จะต้องชำระตามงวดที่กำหนดไว้ในสัญญาที่เลิกกันแล้วมาเป็นหลักเกณฑ์อีกไม่ได้ เพราะค่าจ้างที่กำหนดให้ชำระแก่กันตามสัญญานั้นอาจมีการกำหนดสิ่งที่มิใช่ค่าของงานลงไปด้วย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสี่ บัญญัติว่า การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นหากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่ และในสัญญาจ้าง ข้อ 20 กำหนดให้จำเลยสามารถเรียกค่าปรับในกรณีที่โจทก์ส่งมอบงานล่าช้าในอัตราวันละ 31,880 บาท แม้จำเลยจะบอกเลิกสัญญากับโจทก์แล้วก็ตาม ดังนั้น โจทก์จึงต้องเสียค่าปรับกรณีส่งมอบงานล่าช้าแก่จำเลย และต้องนำมาหักจากค่าของงานที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ แต่การที่โจทก์จำเลยตกลงกันว่า จะใช้เงินจำนวนหนึ่ง เมื่อไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควรก็ดี ถือเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรตามมาตรา 383
หนังสือค้ำประกันในวงเงินจำนวน 900,000 บาท เป็นหนังสือค้ำประกันที่โจทก์นำมอบให้แก่จำเลย เพื่อเป็นการปฏิบัติตามสัญญา รวมถึงการประกันความชำรุดเสียหายของงานจ้างที่อาจจะเกิดขึ้นภายใน 2 ปี นับแต่วันส่งมอบงาน หากไม่มีความเสียหายหรือโจทก์ได้ชำระค่าเสียหายแก่จำเลยครบถ้วนแล้ว จำเลยจึงจะคืนหนังสือค้ำประกันแก่โจทก์ ทั้งจำเลยยังมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องให้ธนาคารใช้เงินแก่จำเลยตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าว จึงถือว่าจำเลยริบเงิน 900,000 บาท มาเป็นการชำระค่าเสียหายแก่จำเลยแล้วไม่ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสี่ บัญญัติว่า การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นหากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่ และในสัญญาจ้าง ข้อ 20 กำหนดให้จำเลยสามารถเรียกค่าปรับในกรณีที่โจทก์ส่งมอบงานล่าช้าในอัตราวันละ 31,880 บาท แม้จำเลยจะบอกเลิกสัญญากับโจทก์แล้วก็ตาม ดังนั้น โจทก์จึงต้องเสียค่าปรับกรณีส่งมอบงานล่าช้าแก่จำเลย และต้องนำมาหักจากค่าของงานที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ แต่การที่โจทก์จำเลยตกลงกันว่า จะใช้เงินจำนวนหนึ่ง เมื่อไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควรก็ดี ถือเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรตามมาตรา 383
หนังสือค้ำประกันในวงเงินจำนวน 900,000 บาท เป็นหนังสือค้ำประกันที่โจทก์นำมอบให้แก่จำเลย เพื่อเป็นการปฏิบัติตามสัญญา รวมถึงการประกันความชำรุดเสียหายของงานจ้างที่อาจจะเกิดขึ้นภายใน 2 ปี นับแต่วันส่งมอบงาน หากไม่มีความเสียหายหรือโจทก์ได้ชำระค่าเสียหายแก่จำเลยครบถ้วนแล้ว จำเลยจึงจะคืนหนังสือค้ำประกันแก่โจทก์ ทั้งจำเลยยังมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องให้ธนาคารใช้เงินแก่จำเลยตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าว จึงถือว่าจำเลยริบเงิน 900,000 บาท มาเป็นการชำระค่าเสียหายแก่จำเลยแล้วไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7090/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเฉลี่ยทรัพย์จากทรัพย์สินของลูกหนี้ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ศาลอนุญาตได้
การยื่นขอเฉลี่ยทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 ไม่จำต้องขอเฉลี่ยต่อทรัพย์ที่เป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนั้นโดยตรง สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่มีต่อบุคคลภายนอกถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินของจำเลย เมื่อโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่มีต่อบุคคลภายนอกจนต่อมาบุคคลภายนอกถูกบังคับคดี ป.วิ.พ. มาตรา 312 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ดำเนินการต่อบุคคลภายนอกเสมือนหนึ่งว่าบุคคลนั้นเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดิน 3 แปลงของบุคคลภายนอกย่อมถือว่าบุคคลภายนอกมีสถานะเช่นเดียวกับจำเลย ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าเฉลี่ยในทรัพย์ของบุคคลภายนอกที่ถูกโจทก์นำยึดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6862/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับจำนองที่ดินหลังแบ่งแยก: แม้แบ่งแยกโฉนดจำนองยังคงครอบคลุมทุกแปลง
คำฟ้องโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญากู้เงินโจทก์ โดยจำเลยที่ 3 นำที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 68776 ที่พิพาท (ปัจจุบันได้แบ่งแยกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 103578, 103579 และ 103580) มาจดทะเบียนจำนองไว้ต่อโจทก์ และคำขอบังคับตามคำขอท้ายฟ้องข้อ 2 โจทก์ขอให้บังคับจำนองโฉนดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินชำระหนี้โจทก์ ปัญหาการแบ่งแยกโฉนดที่ดินพิพาท จึงเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่รับวินิจฉัยอ้างว่าโจทก์เพิ่งหยิบยกและส่งสำเนาโฉนดที่ดินพิพาทฉบับที่มีการแยกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 103578, 103579 และ 103580 ในชั้นอุทธรณ์จึงไม่ชอบ
ภายหลังจำเลยที่ 1 และที่ 3 จำนองที่ดินพิพาทแล้วมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินที่พิพาทออกเป็นแปลงย่อยอีก 3 แปลง ซึ่งที่ดินที่แบ่งแยก บุคคลใดรับโอนไปผู้รับจำนองติดตามไปบังคับจำนองได้ เพราะเป็นทรัพย์สินซึ่งจำนองอยู่เดิม แม้จะแบ่งออกเป็นหลายส่วนจำนองยังครอบไปถึงส่วนเหล่านั้นหมดทุกส่วน นอกจากนี้ไม่ปรากฏว่าที่ดินโฉนดที่ดินพิพาทโจทก์ผู้รับจำนองยินยอมจดทะเบียนปลอดจำนอง
เมื่อคำขอท้ายฟ้องข้อ 2 เป็นคำขอให้บังคับจำนองที่ดินโฉนดที่ดินที่พิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบังคับจำนองที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 68776 ที่พิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 717
ภายหลังจำเลยที่ 1 และที่ 3 จำนองที่ดินพิพาทแล้วมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินที่พิพาทออกเป็นแปลงย่อยอีก 3 แปลง ซึ่งที่ดินที่แบ่งแยก บุคคลใดรับโอนไปผู้รับจำนองติดตามไปบังคับจำนองได้ เพราะเป็นทรัพย์สินซึ่งจำนองอยู่เดิม แม้จะแบ่งออกเป็นหลายส่วนจำนองยังครอบไปถึงส่วนเหล่านั้นหมดทุกส่วน นอกจากนี้ไม่ปรากฏว่าที่ดินโฉนดที่ดินพิพาทโจทก์ผู้รับจำนองยินยอมจดทะเบียนปลอดจำนอง
เมื่อคำขอท้ายฟ้องข้อ 2 เป็นคำขอให้บังคับจำนองที่ดินโฉนดที่ดินที่พิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบังคับจำนองที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 68776 ที่พิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 717