คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อธิป จิตต์สำเริง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14777/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์สินตัดทายาทโดยธรรม แม้ผู้คัดค้านเป็นบุตรที่ผู้ตายรับรอง ก็ไม่มีสิทธิในมรดก
พินัยกรรมระบุยกทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ตายให้แก่บุตรทั้งสาม คือ เด็กหญิง บ. เด็กชาย ฉ. และเด็กหญิง ก. ดังนั้นแม้จะฟังว่า ผู้คัดค้านเป็นบุตรของผู้ตายที่ผู้ตายรับรองแล้วอันถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 ซึ่งมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายตามมาตรา 1629 (1) ก็ตาม ผู้คัดค้านก็ถูกตัดมิให้รับมรดก ตามมาตรา 1608 วรรคสอง ผู้คัดค้านจึงไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียอันจะมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านและร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก ตามมาตรา 1713 และ 1727 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8457/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน: กรณีสัญญาเช่าทรัพย์สินและผลกระทบต่อการยกเว้นภาษี
กรณีที่การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ไม่พอใจคำชี้ขาดเนื่องจากเห็นว่าไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ไม่ใช่กรณีที่ กทท. ไม่พอใจคำชี้ขาดเนื่องจากเห็นว่าจำนวนพื้นที่ประเมินไว้สูงเกินสมควร ซึ่งต้องนำเรื่องเสนอ ครม. เพื่อพิจารณาตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 31 วรรคท้าย โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในฐานะเป็นผู้ชำระค่าภาษีแทน กทท. ย่อมมีอำนาจฟ้องในประเด็นนี้ได้
สัญญาเช่านอกจากจะอนุญาตให้โจทก์เข้าบริหารประกอบการท่าเทียบเรือแล้ว ยังให้สิทธิโจทก์ใช้ทรัพย์สินของ กทท. โดย กทท. มีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับท่าเทียบเรือบี 1 ให้แก่โจทก์ใช้ประโยชน์และพัฒนาท่าเทียบเรือ โดยโจทก์ต้องจ่ายค่าตอบแทน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เป็นการเช่าทรัพย์สินด้วย กทท. จึงไม่ได้รับการยกเว้นภาษีตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.การท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน และหาก กทท. ไม่พอใจคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 เนื่องจากเห็นว่าจำนวนเงินซึ่งประเมินไว้สูงเกินสมควร กทท. จะต้องนำเรื่องเสนอ ครม. เพื่อพิจารณาภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำชี้ขาดตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 31 วรรคท้าย เมื่อ กทท. ได้นำคำชี้ขาดเสนอ ครม. ภายในสามสิบวันแล้ว แต่ ครม. ยังไม่มีมติ กทท. จึงไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียจึงต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของ มาตรา 31 วรรคท้าย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7068/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละมรดกโดยการแสดงเจตนายินยอมให้ผู้รับมรดกโอนทรัพย์ การแสดงเจตนาถือเป็นการประนีประนอมยอมความ
ป.พ.พ. มาตรา 1613 บัญญัติว่า การสละมรดกนั้นจะทำแต่เพียงบางส่วนหรือทำโดยมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาไม่ได้ สัญญาประนีประนอมแบ่งมรดกระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุว่า จำเลยตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกบ้าน 4 หลังซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินที่เช่าจากวัดกับเงินอีก 10,000 บาท ให้โจทก์ โจทก์ยอมรับส่วนแบ่งดังกล่าว ไม่ติดใจเรียกร้องทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดจากจำเลยอีก เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นอกจากบ้าน 4 หลังดังกล่าวแล้ว ยังมีบ้านอีก 7 หลังซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินที่เช่าจากวัดกับที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกอีกส่วนหนึ่ง แต่สัญญาดังกล่าวไม่ได้กล่าวถึง หากเป็นการสละมรดกก็เป็นการสละเพียงบางส่วน จึงถือไม่ได้ว่าสัญญาประนีประนอมแบ่งมรดกดังกล่าวเป็นการสละมรดก และโจทก์มิได้สละสิทธิในที่ดินพิพาท อย่างไรก็ดีข้อเท็จจริงได้ความว่า หลังจากจำเลยไปยื่นคำขอรับโอนทรัพย์มรดกบ้าน 7 หลังแล้วได้ยื่นคำขอจดทะเบียนรับโอนทรัพย์มรดกที่ดินพิพาท โดยโจทก์แสดงเจตนาให้ความยินยอมแก่จำเลยในการรับโอนทรัพย์มรดกที่ดินพิพาทดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดิน พฤติการณ์ดังกล่าวเท่ากับเป็นการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในการสละมรดกถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 ตอนท้าย และมาตรา 850 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5812/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มทุนโดยมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นเพื่อชำระหนี้ก่อนเลิกกิจการ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินและรายได้จากกิจการ
แม้โจทก์สามารถออกหุ้นเพิ่มทุนโดยมีราคาสูงกว่ามูลค่าหุ้นที่ตั้งไว้ได้และส่วนล้ำมูลค่าหุ้นต้องนำไปบวกทบเข้าในทุนสำรองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1105 และมาตรา 1202 ก็ตาม แต่การกระทำของโจทก์ที่มีการสร้างขั้นตอนที่ซับซ้อนขึ้นมาก่อนที่จะมีการทำสัญญาปลดเปลื้องและชดใช้หนี้เป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อให้เงินที่โจทก์จะได้จากบริษัท อ. หลุดพ้นจากนิยามคำว่า เงินได้พึงประเมินหรือรายได้เนื่องจากการประกอบกิจการ เป็นผลให้ไม่เกิดภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลจากเงินจำนวนดังกล่าว ซึ่งท้ายที่สุดแล้วเงินจำนวนดังกล่าวที่โจทก์ได้รับจากบริษัท อ. จะถูกนำไปชำระหนี้ให้แก่ธนาคารเจ้าหนี้ของโจทก์ก่อนที่โจทก์จะเลิกกิจการ โดยไม่มีลักษณะเป็นการออกหุ้นเพิ่มทุน เพื่อให้กิจการของบริษัทดำเนินต่อไปได้ พฤติการณ์ของโจทก์แสดงให้เห็นว่า สัญญาปลดเปลื้องและชดใช้หนี้ถูกทำขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีให้แก่จำเลย โจทก์จึงไม่ได้ออกหุ้นเพิ่มทุนแบบมีส่วนเกินมูลค่าหุ้นตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาปลดเปลื้องหรือชดใช้หนี้ซึ่งเป็นการเพิ่มทุนเพื่อการประกอบธุรกิจตามปกติ แต่เป็นการทำสัญญาปลดเปลื้องหรือชดใช้หนี้เป็นไปตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของโจทก์ตามแนวทางที่ น. ที่ปรึกษากฎหมายของโจทก์วางแผนไว้ ดังนั้น เงิน 906,296,000 บาท ที่โจทก์ได้รับจากบริษัท อ. โดยอ้างว่าเป็นส่วนล้ำมูลค่าหุ้นจึงมีลักษณะเป็นเงินให้เปล่าหรือเงินช่วยเหลือแก่โจทก์ที่ได้รับจากบริษัท อ. ถือเป็นเงินได้พึงประเมินและเป็นรายได้เนื่องจากกิจการที่โจทก์ต้องนำมารวมคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21793/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดก: ผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย หากทำโดยสุจริตและเพื่อประโยชน์ของกองมรดก
โจทก์ที่ 1 ขอให้ ป. เป็นผู้จัดการมรดกของ ช. สามีตน ศาลแพ่งได้มีคำสั่งตั้ง ป. เป็นผู้จัดการมรดกไม่มีพินัยกรรม ป. มีหน้าที่รวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันระหว่างทายาท เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2517 ศาลแพ่งมีคำสั่งตั้ง ป. เป็นผู้จัดการมรดกเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2518 โดยโจทก์ที่ 1 ร้องขอต่อศาล แสดงว่าโจทก์ที่ 1 ประสงค์จะตั้งผู้จัดการมรดกโดยเร็วเพื่อนำทรัพย์มรดกของ ป. มาแบ่งปันกันระหว่างทายาท ป. ขายที่ดินเฉพาะส่วนของ ช. ในโฉนดเลขที่ 4134 ให้จำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2518 จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยืนยันว่าก่อนที่จะตกลงซื้อขายที่ดิน ป. พาโจทก์ที่ 1 ไปหาจำเลยที่ 2 ที่บ้านปรึกษาระหว่างพี่น้องในเรื่องการขายที่ดิน น่าเชื่อว่าโจทก์ที่ 1 ทราบถึงเรื่องการซื้อขายที่ดินระหว่าง ป. กับจำเลยที่ 2 ก่อนแล้ว การขายที่ดินเฉพาะส่วนของ ช. ในที่ดินโฉนดเลขที่ 4134 ทำการซื้อขายโดยเปิดเผย สุจริตและเสียค่าตอบแทนโดยมีการซื้อขายในราคา 500,000 บาท เท่ากับราคาที่ได้ระบุเอาไว้ในคำสั่งของศาลแพ่งขณะตั้ง ป. เป็นผู้จัดการมรดกและมีพยานรู้เห็นในการทำสัญญาสองคน ทั้งในท้ายสัญญาขายที่ดินเฉพาะส่วนตามเอกสารหมาย ล.2 ป. ยังให้ถ้อยคำตามที่มีการบันทึกไว้ด้วยว่า ป. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. มีความจำเป็นขายที่ดินส่วนนี้เพื่อนำเงินไปแบ่งปันให้แก่ทายาทของ ช. เป็นความจริง เห็นได้ว่าการซื้อขายเป็นไปโดยสุจริตปราศจากการฉ้อฉลหลอกลวง และ ป. มิได้มีส่วนได้เสียกระทำการอันเป็นปฏิปักษ์แก่กองมรดกแต่ประการใด
ป. ขายที่ดินเฉพาะส่วนของ ช. ซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 และ พ. ผู้เยาว์ให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ช. จึงตกอยู่ในอำนาจหน้าที่ของ ป. ที่จะต้องจัดการแบ่งปันแก่ทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 และ 1736 วรรคสอง ไม่ใช่เรื่องผู้ใช้อำนาจปกครองทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ที่จะต้องขออนุญาตจากศาลตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574 แต่อย่างใด การทำนิติกรรมโอนขายที่ดินเฉพาะส่วนที่เป็นมรดกของ ช. ระหว่าง ป. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. กับจำเลยที่ 2 มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12110/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันทำร้ายผู้อื่นถึงแก่ความตาย: ไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่ และขอบเขตความรับผิดชอบของผู้ร่วมกระทำ
ทางนำสืบของโจทก์ไม่ได้ความว่า จำเลยที่ 3 กับพวกร่วมกันวางแผนจะฆ่าผู้ตายมาก่อน อีกทั้งขณะที่จำเลยที่ 3 กับพวกวิ่งไล่ผู้ตายไปนั้น ก็ไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดถืออาวุธ การที่จำเลยที่ 3 กับพวกฆ่าผู้ตายจนถึงแก่ความตายจึงเป็นเหตุการณ์เฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นทันทีทันใดในช่วงเวลานั้น ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 กับพวกฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11193/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดฐานชักชวนเข้าสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ และการพิสูจน์การดำเนินกิจการโดยมิได้จดทะเบียน
ความผิดฐานร่วมกันชักชวนให้ผู้ใดเข้าเป็นสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งยังไม่ได้จดทะเบียนตาม พ.ร.บ.การฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ.2517 มาตรา 29 นั้น ต้องเป็นการชักชวน ชี้ช่อง หรือจัดการโดยวิธีใด ๆ ที่คล้ายคลึงกัน ให้ผู้ใดเข้าเป็นสมาชิกในสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งยังมิได้จดทะเบียนโดยถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องในข้อ ก. ว่า เมื่อระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2541 ถึงวันที่ 22 กันยายน 2541 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยทั้งสองร่วมกันดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์ในนามชมรมผู้สูงอายุมวลชน อำเภอนาเชือก และสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ร่วมมิตร อำเภอนาเชือก โดยมิได้จดทะเบียนเป็นสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ตามกฎหมาย และบรรยายฟ้องในข้อ ข. ว่า เมื่อระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2541 ถึงวันที่ 26 มกราคม 2542 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยทั้งสองโดยทุจริตหลอกลวง บ. ผู้เสียหายที่ 1 กับพวกรวม 59 คน และประชาชนทั่วไปด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งว่าจำเลยทั้งสองได้จัดตั้งชมรมผู้สูงอายุมวลชน อำเภอนาเชือก และสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ร่วมมิตร อำเภอนาเชือก ซึ่งได้จดทะเบียนให้ดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์ได้ตามกฎหมาย หากผู้เสียหายทั้ง 59 คน และประชาชนโดยทั่วไปประสงค์จะสมัครเป็นสมาชิกสมาคมจะต้องเสียเงินเป็นค่าสมัครเริ่มต้น 100 บาท ค่าบำรุงสมาคม จำนวน 400 บาท และค่าสงเคราะห์ศพของสมาชิกล่วงหน้าศพละ 20 บาท เมื่อสมาชิกถึงแก่ความตายหลังเข้าเป็นสมาชิกแล้ว 180 วัน ผู้รับประโยชน์จะได้รับเงินผลประโยชน์รายละ 100,000 บาท อันเป็นความเท็จ ความจริงแล้วจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาที่จะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อสมาชิกถึงแก่ความตายแต่อย่างใด ข้อความในฟ้องข้อ ก. จึงเป็นการบรรยายตามองค์ประกอบความผิดฐานดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์โดยมิได้จดทะเบียนเป็นสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์หรือขึ้นทะเบียนการฌาปนกิจสงเคราะห์ตามมาตรา 50 แห่ง พ.ร.บ.การฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ.2517 เพราะการดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์อาจเป็นการดำเนินการอื่นที่มิใช่การชักชวน ชี้ช่อง หรือจัดการให้ผู้ใดเข้าเป็นสมาชิก อันเป็นองค์ประกอบความผิดของความผิดฐานร่วมกันชักชวนให้ผู้ใดเข้าเป็นสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งยังไม่ได้จดทะเบียน ส่วนข้อความในฟ้องข้อ ข. โจทก์บรรยายฟ้องรวมการกระทำของจำเลยทั้งสองตั้งแต่ก่อนการจดทะเบียนสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ร่วมมิตร อำเภอนาเชือก และหลังจากจดทะเบียนเป็นสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์แล้วโดยมุ่งถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดว่าเป็นการหลอกลวงว่าจะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์หากผู้เป็นสมาชิกถึงแก่ความตายอันเป็นความเท็จ จึงมิได้แบ่งแยกว่าเป็นการกระทำก่อนหรือหลังการจดทะเบียนเป็นสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์หรือไม่ เห็นได้ว่าเป็นการบรรยายข้อเท็จจริงซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 วรรคแรก ประกอบมาตรา 341 เป็นข้อสำคัญ เพราะการกระทำความผิดฐานร่วมกันชักชวนให้ผู้ใดเข้าเป็นสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งยังไม่ได้จดทะเบียนต้องเป็นการกระทำก่อนการจดทะเบียนเป็นสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์เท่านั้น การที่โจทก์บรรยายฟ้องโดยรวมการกระทำทั้งก่อนและหลังการจดทะเบียนเป็นสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ จึงมิได้แสดงข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ พอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ย่อมไม่อาจถือได้ว่าเป็นการบรรยายฟ้องความผิดตาม พ.ร.บ.การฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ.2517 มาตรา 29 มาด้วยดังที่โจทก์ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10242/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามสิทธิเรียกร้องทางแพ่งที่เกี่ยวเนื่องจากคดีอาญา ศาลต้องยึดตามข้อเท็จจริงที่ศาลอาญาพิพากษาถึงที่สุด
การฟ้องขอให้ศาลบังคับตามสิทธิเรียกร้องในทางแพ่งที่เกี่ยวเนื่องมาจากการกระทำความผิดอาญา การพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ซึ่งหมายถึงข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นโดยตรงที่เป็นประเด็นสำคัญและศาลต้องฟังยุติมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว มิใช่ประเด็นปลีกย่อย
คดีแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาเพียงว่า จำเลยได้บุกรุกที่ดินพิพาทจริง ส่วนปัญหาว่าจำเลยบุกรุกเป็นเนื้อที่เท่าใด เป็นข้อปลีกย่อยที่จะต้องนำสืบรายละเอียดกันในชั้นพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5232/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าโดยบันดาลโทสะ และอำนาจในการฟ้องเรียกค่าเสียหายของผู้ก่อเหตุ
เมื่อโจทก์ร่วมเป็นฝ่ายก่อเหตุโดยด่าว่ามารดาจำเลยด้วยถ้อยคำรุนแรงและพูดท้าทายจำเลยเป็นทำนองให้ไปต่อสู้กันในที่เกิดเหตุ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำเพราะถูกโจทก์ร่วมข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม อันเป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ ดังนี้โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้ก่อให้จำเลยกระทำความผิด และไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยสำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ม. ผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ร่วมย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนโจทก์ร่วมได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) และไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการกับยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 และ มาตรา 44/1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5216/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษจำคุกเป็นกักขังและการห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการลงโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นลงโทษกักขังจำเลยแทนโทษจำคุก มีกำหนด 1 เดือน จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย คดีจึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 2 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
of 11