พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5481/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับผู้กระทำผิดร่วมกันตาม พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย และหลักการปรับรายตัวบุคคลตาม ป.อ.
พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 มาตรา 118 บัญญัติว่า "ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 117? ต้องระวางโทษปรับโดยคำนวณตามพื้นที่ของอาคารหรือสิ่งอื่นใดในอัตราไม่น้อยกว่าตารางเมตรละห้าร้อยบาท แต่ไม่เกินตารางเมตรละหนึ่งหมื่นบาท" ดังนี้ ย่อมเห็นได้ว่าผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.เดินเรือในน่านน้ำไทย ฐานนี้จะต้องถูกลงโทษปรับโดยคำนวณตามพื้นที่ของอาคารหรือสิ่งอื่นใดในอัตราไม่น้อยกว่าตารางเมตรละห้าร้อยบาท แต่ไม่เกินตารางเมตรละหนึ่งหมื่นบาท มิได้มีข้อจำกัดว่าถ้ามีผู้ร่วมกระทำความผิดหลายคนให้ปรับรวมกันตามพื้นที่ของอาคารหรือสิ่งอื่นใด ซึ่ง ป.อ. มาตรา 17 บัญญัติว่า "บทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ให้ใช้ในกรณีความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย เว้นแต่กฎหมายนั้น ๆ จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น" เมื่อ พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทยมิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องลงโทษปรับจำเลยทั้งสองเรียงตามรายตัวบุคคลตาม ป.อ. มาตรา 31 ซึ่งบัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลจะพิพากษาให้ปรับผู้กระทำความผิดหลายคนในความผิดอันเดียวกัน ในกรณีเดียวกัน ให้ศาลลงโทษปรับเรียงตามรายตัวบุคคล" ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับจำเลยทั้งสองเรียงตามรายตัวบุคคลชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9515/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลูกสร้างกีดขวางทางสัญจรในทะเลสาบ: ศาลมีอำนาจสั่งรื้อถอนได้ แม้ไม่มีคำสั่งเจ้าท่า
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยปลูกสร้างอาคารเป็นสะพานทางเดินล่วงล้ำเข้าไปเหนือน้ำในน้ำของทะเลสาบสงขลาอันเป็นทางสัญจรของประชาชนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าท่า ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ. การเดินเรือในน่านน้ำไทย ฯ มาตรา 117 , 118 และให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากทะเลสาบสงขลา ดังนี้ ถือว่าเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว แม้จะมิได้บรรยายฟ้องว่า เจ้าท่ามีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งก็ตาม เพราะ พ.ร.บ. การเดินเรือในน่านน้ำไทย ฯ มาตรา 118 ทวิ ที่แก้ไข เป็นการกำหนดวิธีการรื้อถอนหรือแก้ไขอาคารหรือสิ่งอื่นใดที่ปลูกสร้างขึ้นโดยไม่รับอนุญาตจากเจ้าท่าเท่านั้น ไม่ใช่บทบัญญัติซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดตามฟ้อง เมื่อฟังได้ว่าจำเลยปลูกสร้างกีดขวางทางสัญจรของประชาชน เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 มาตรา 117 ศาลย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาในคดีอาญาคดีนี้ให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองเป็นผู้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่กีดขวางทางสัญจรดังกล่าวออกไปจากทะเลสาบสงขลาได้ตามมาตรา 118 ทวิ วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3521/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: เทศบาลมีหน้าที่ดูแลรักษาพื้นที่สาธารณะ แต่ไม่ถือเป็นผู้เสียหายโดยตรง
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 229,360พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 มาตรา 117,118,119,120 ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 ทวิ เป็นความผิดที่กระทำต่อรัฐเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการที่จะฟ้องขอให้ลงโทษผู้กระทำผิดดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 28(1) และพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11(1)เอกชนจะฟ้องได้ต่อเมื่อได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ แม้โจทก์เป็นเทศบาลเมืองมีหน้าที่ต้องจัดให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 50(2),53 และกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งให้โจทก์มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่อยู่ในเขตเทศบาล ทั้งอธิบดีกรมเจ้าท่าได้มอบอำนาจเจ้าท่าตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 ให้โจทก์ดูแลรักษาลำน้ำในเขตเทศบาล ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดดังกล่าว โจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้อง