คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 223 ทวิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3365/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นต้องผ่านศาลอุทธรณ์ก่อน ไม่อาจอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรง
การอุทธรณ์คำพิพากษา หรือคำสั่งศาลชั้นต้นในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายมีบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคแรกแล้วว่าให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ จึงจะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ มาอนุโลมบังคับใช้หาได้ไม่ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์คำสั่งยกฟ้องของศาลชั้นต้นโดยตรงมายังศาลฎีกาจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม ประกันภัยรถยนต์ ต้องระบุความสัมพันธ์ผู้ขับขี่-ผู้เอาประกัน เพื่อให้จำเลยรับผิด
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้คู่ความยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าปัญหาที่คู่ความฎีกาข้อหนึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงแต่คดีนี้ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่เหลือต่อไปได้ โดยหาต้องส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดไม่ คำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายว่าผู้ขับรถยนต์คันที่จำเลยรับประกันภัยไว้มีฐานะและนิติสัมพันธ์กับผู้มีชื่อซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยอย่างไรที่จะทำให้ผู้มีชื่อต้องร่วมรับผิดในศาลแห่งละเมิดนั้น โดยเฉพาะผู้ขับรถยนต์ได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยหรือไม่ อันทำให้ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะต้องร่วมรับผิดด้วยจึงไม่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาเป็นฟ้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม ความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย และการอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงต่อศาลฎีกา
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่ปรากฏว่าอุทธรณ์ของจำเลยในปัญหาว่าศาลชั้นต้นฟังพยานหลักฐานไม่ชอบนั้นเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายด้วยและอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรงนั้นจึงหาถูกต้องไม่ แต่เนื่องด้วยคดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 การที่ศาลฎีกาจะส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามมาตรา 223 ทวิ วรรคท้าย จึงหาเป็นประโยชน์ไม่ ชอบที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายอื่นต่อไปทีเดียว ที่จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาว่าศาลชั้นต้นรับฟังพยานหลักฐานไม่ชอบซึ่งศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายนั้นปรากฏว่าจำเลยไม่ได้สืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงฟังข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์ว่าผู้ขับรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยไว้เป็นฝ่ายประมาทชนรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย และกำหนดค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ โดยอาศัยจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบแม้โจทก์จะไม่ได้นำ ส.พยานอีกปากหนึ่งมาสืบด้วยก็ดี และการที่โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนารายวันประจำวันเกี่ยวกับคดีก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วันก็ตาม ก็โดยเหตุที่เป็นเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอกจึงหาต้องส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยไม่ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจรับฟังตามพยานหลักฐานของโจทก์จึงมิใช่การรับฟังพยานหลักฐานโดยขัดต่อกฎหมาย อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นนั่นเอง อันเป็นข้อเท็จจริง แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องในตอนแรกว่า จำเลยได้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากผู้มีชื่อ ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลภายนอกจากการใช้รถที่ก่อความเสียหายขึ้นโดยผู้เอาประกันภัยหรือลูกจ้างหรือโดยความยินยอมของผู้เอาประกันภัยก็ตาม ก็คงเป็นการบรรยายถึงความรับผิดของจำเลยตามกรมธรรม์ประกันภัยเท่านั้น แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่า ผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุที่ขับไปชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยมีฐานะเช่นใด มีนิติสัมพันธ์กับผู้มีชื่อซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยอย่างไรที่จะทำให้ผู้มีชื่อจะต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้น โดยเฉพาะผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยหรือไม่ อันทำให้จำเลยผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะต้องร่วมรับผิดด้วย เช่นนี้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3557/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมตัดมรดก & การตั้งผู้จัดการมรดก: เจตนารมณ์พินัยกรรมสำคัญกว่าข้อตกลงภายหลัง
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้แก่ผู้ร้องเพียงผู้เดียวโดยตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก และในพินัยกรรมได้ระบุตัดผู้คัดค้านมิให้รับมรดกไว้ด้วย ถือว่าเจ้ามรดกแสดงเจตนาชัดแจ้งตัดผู้คัดค้านมิให้รับมรดก ผู้คัดค้านจึงไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ แม้ผู้ร้องและผู้คัดค้านจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเพื่อให้ผู้คัดค้านได้รับทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกบางส่วน และยอมให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกแทนผู้ร้องก็ตาม ก็หาใช่เป็นการสละมรดกหรือสละพินัยกรรมไม่ เพราะการสละมรดกเพียงบางส่วนหรือสละพินัยกรรมเพื่อไม่รับมรดกตามพินัยกรรมเพียงบางส่วนกระทำไม่ได้ เมื่อพินัยกรรมระบุตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกไว้โดยเฉพาะแล้วก็ไม่ชอบที่จะตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกอันเป็นการฝืนเจตนารมณ์ของเจ้ามรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีมูลละเมิด: เริ่มนับจากวันที่รู้ถึงการละเมิด หรือวันที่ทำละเมิด
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 เดิม (มาตรา 193/12)ที่กำหนดให้เริ่มนับอายุความตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปนั้น เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการเริ่มนับอายุความสำหรับการบังคับสิทธิเรียกร้องทั่ว ๆ ไป แต่การเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด มาตรา 448 วรรคแรก บัญญัติไว้โดยเฉพาะว่าสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้นเป็นอันขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิด เมื่อคดีได้ความว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง เรียกเก็บค่าธรรมเนียมล่วงเวลาไม่ครบถ้วนตามกฎหมาย ทำให้โจทก์ขาดรายได้ เหตุเกิดตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน2521 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2523 ดังนั้นมูลละเมิดคดีนี้ย่อมเกิดขึ้นอย่างช้าที่สุดวันที่ 30 เมษายน 2523 แต่โจทก์ฟ้องจำเลยในวันที่15 เมษายน 2534 ซึ่งล่วงพ้นสิบปี นับแต่วันทำละเมิดแล้ว คดีโจทก์ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก จำเลยยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นเป็นข้อต่อสู้ฟ้องโจทก์ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายนี้ได้ตามที่เห็นสมควรตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24โดยไม่จำเป็นต้องให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอเสียก่อน
of 3