คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 120

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7092/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการสหภาพแรงงานและการไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรี
ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 91เป็นกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่าคำขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานและร่างข้อบังคับเมื่อแรกจัดตั้งสหภาพแรงงานไม่ถูกต้องก็ให้นายทะเบียนมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนและให้สิทธิผู้ขอจดทะเบียนอุทธรณ์คำสั่งต่อรัฐมนตรีได้ มาตรา 106เป็นกรณีนายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้กรรมการผู้ใดผู้หนึ่งหรือคณะกรรมการของสหภาพแรงงานออกจากตำแหน่ง และมาตรา 107 ให้สิทธิกรรมการผู้นั้นหรือคณะกรรมการอุทธรณ์คำสั่งต่อรัฐมนตรีได้ ซึ่งกรณีตามมาตรา 91,106 และ 107ไม่ใช่การนำรายชื่อคณะกรรมการไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ส่วนมาตรา 93 แม้จะเป็นกรณีนำรายชื่อคณะกรรมการไปขอจดทะเบียน ต่อนายทะเบียน แต่เป็นรายชื่อคณะกรรมการที่ได้รับเลือก จากที่ประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกหลังจากจดทะเบียนสหภาพแรงงาน แต่กรณีนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการซึ่งพ้นตำแหน่ง ไปตามข้อบังคับ และเป็นการนำรายชื่อคณะกรรมการที่ได้รับ เลือกตั้งใหม่ไปขอจดทะเบียน แต่การขอจดทะเบียนรายชื่อ คณะกรรมการทั้งสองกรณีดังกล่าว มาตรา 93 ไม่ได้กำหนดขั้นตอน ไว้ดังเช่นที่กำหนดไว้ตามมาตรา 91 และ 107 ทั้งไม่มีมาตราใด กำหนดขั้นตอนไว้ให้ผู้ยื่นคำขออุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียน ต่อรัฐมนตรีได้ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่ง ไม่รับจดทะเบียนต่อรัฐมนตรีและรัฐมนตรีไม่มีหน้าที่ ต้องสั่งอุทธรณ์ของโจทก์ การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคม จำเลยไม่สั่งอุทธรณ์ของโจทก์ กรณียังถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิโจทก์ย่อมไม่มีอำนาจ ฟ้องจำเลย จึงชอบที่ศาลแรงงานจะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องโจทก์ เฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7092/2541 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนสหภาพแรงงาน: สิทธิและอำนาจฟ้องคดี
ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 91 เป็นกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่าคำขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานและร่างข้อบังคับเมื่อแรกจัดตั้งสหภาพแรงงานไม่ถูกต้อง ก็ให้นายทะเบียนมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนและให้สิทธิผู้ขอจดทะเบียนอุทธรณ์คำสั่งต่อรัฐมนตรีได้ มาตรา 106 เป็นกรณีนายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้กรรมการผู้ใดผู้หนึ่งหรือคณะกรรมการของสหภาพแรงงานออกจากตำแหน่ง และมาตรา107 ให้สิทธิกรรมการผู้นั้นหรือคณะกรรมการอุทธรณ์คำสั่งต่อรัฐมนตรีได้ ซึ่งกรณีตามมาตรา 91, 106 และ 107 ไม่ใช่การนำรายชื่อคณะกรรมการไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ส่วนมาตรา 93 แม้จะเป็นกรณีนำรายชื่อคณะกรรมการไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน แต่เป็นรายชื่อคณะกรรมการที่ได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกหลังจากจดทะเบียนสหภาพแรงงาน แต่กรณีนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการซึ่งพ้นตำแหน่งไปตามข้อบังคับ และเป็นการนำรายชื่อคณะกรรมการที่ได้รับเลือกตั้งใหม่ไปขอจดทะเบียน แต่การขอจดทะเบียนรายชื่อคณะกรรมการทั้งสองกรณีดังกล่าวมาตรา 93 ไม่ได้กำหนดขั้นตอนไว้ดังเช่นที่กำหนดไว้ตามมาตรา 91 และ 107ทั้งไม่มีมาตราใดกำหนดขั้นตอนไว้ให้ผู้ยื่นคำขออุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนต่อรัฐมนตรีได้ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนต่อรัฐมนตรีและรัฐมนตรีไม่มีหน้าที่ต้องสั่งอุทธรณ์ของโจทก์ การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม จำเลยไม่สั่งอุทธรณ์ของโจทก์ กรณียังถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิโจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย จึงชอบที่ศาลแรงงานจะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องโจทก์เฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3843/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนกรรมการบริหารสภาองค์การลูกจ้างฯ การแก้ไขข้อบังคับ และสิทธิสมาชิกที่ชอบด้วยกฎหมาย
อุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสี่ในประเด็นที่ว่า จำเลยรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย ตามคำขอของ จ. ฉบับลงวันที่ 16 มีนาคม2535 ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นประเด็นตามคำฟ้องของโจทก์ที่ 4 ที่ขอให้บังคับจำเลยเพิกถอนการรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับดังกล่าว โดยโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3ไม่ได้ฟ้อง และขอให้บังคับจำเลยในประเด็นนี้ด้วยอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสี่ในส่วนที่เป็นอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1ถึงที่ 3 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31 การจดทะเบียนคณะกรรมการบริหารของสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย เป็นเพียงวิธีการทางกฎหมายเพื่อให้ปรากฏหลักฐานทางทะเบียนเท่านั้น และตามข้อบังคับสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย ข้อ 19ก็กำหนดไว้เพียงว่า ให้คณะกรรมการบริหารมาจากการเลือกตั้งจากผู้แทนสมาชิกในที่ประชุมใหญ่ ไม่มีข้อกำหนดให้ต้องนำรายชื่อคณะกรรมการบริหารไปจดทะเบียน ดังนั้นแม้จะไม่ได้นำรายชื่อคณะกรรมการบริหารไปจดทะเบียน ก็ถือได้ว่าเป็นคณะกรรมการบริหารที่ชอบด้วยกฎหมาย มีอำนาจพิจารณารับสมาชิกของสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย และสมาชิกดังกล่าวมีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดประชุมใหญ่วิสามัญทั้งมีสิทธิเข้าร่วมประชุมแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับได้มติที่ให้แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับจึงเป็นมติที่ชอบด้วยกฎหมาย