พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4308/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันที่ไม่มีรายละเอียดตามกฎหมายตกเป็นโมฆะ แม้ผู้ค้ำประกันจะลงนามโดยไม่มีอำนาจ
หนังสือรับรองการชำระหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 มีข้อความและเจตนาเข้าทำสัญญาอันมีลักษณะเป็นสัญญาค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 วรรคหนึ่ง แต่สัญญาค้ำประกันดังกล่าวได้ทำขึ้นภายหลัง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557 มีผลใช้บังคับ จึงต้องนำ ป.พ.พ. มาตรา 681 และมาตรา 685/1 ที่แก้ไขมาใช้บังคับ เมื่อมูลหนี้ตามคำฟ้องเกิดขึ้นภายหลังการทำสัญญาค้ำประกัน จึงเป็นการประกันมูลหนี้ที่อาจสมบูรณ์ได้ในอนาคต เมื่อเป็นการค้ำประกันลูกหนี้หลายรายรวมกัน โดยไม่มีรายละเอียดระบุจำนวนสูงสุดที่ค้ำประกันในลูกหนี้ในแต่ละราย และระยะเวลาในการก่อหนี้ที่จะค้ำประกันไว้ สัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นบรรดาข้อตกลงเกี่ยวกับการค้ำประกันที่แตกต่างไปจากมาตรา 681 วรรคสอง จึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 685/1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4298/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้อำนวยความสะดวกในการค้ำประกันหนี้ และสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหายจากลูกหนี้
จำเลยที่ 3 ลงชื่อในช่องผู้ค้ำประกันไว้ท้ายสัญญาและเขียนกำกับไว้ในสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนว่าใช้สำหรับประกันถมดินเท่านั้น แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 ยอมผูกพันตนต่อโจทก์เจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ในเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ โดยไม่ได้กำหนดจำนวนเงินที่ค้ำประกันไว้ อันเป็นการค้ำประกันอย่างไม่มีจำกัด จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดรวมถึงดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้นั้นด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 วรรคหนึ่ง และมาตรา 683 เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นฝ่ายผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จำต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามมาตรา 391 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องคืนเงินมัดจำและค่าเสียหายซึ่งโจทก์ต้องเสียไปจากการว่าจ้างผู้อื่นถมดินในราคาที่สูงขึ้น รวมเป็นเงิน 1,379,700 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามมาตรา 391 วรรคสอง และวรรคท้าย แต่ตามสัญญาว่าจ้างเหมางานถมดินและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนไม่มีข้อความตอนใดระบุว่าจำเลยที่ 3 ยอมผูกพันตนโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ความรับผิดของจำเลยที่ 3 จึงมีเฉพาะกรณีหากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ชำระหนี้ จำเลยที่ 3 ต้องชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14516/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องผู้จัดการมรดกรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ: ต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับจากรู้ถึงการเสียชีวิตของลูกหนี้
โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเรียกร้องอันมีต่อ อ. เจ้ามรดก ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ. ซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายในการจัดการมรดกโดยทั่วไปหรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกดังกล่าวให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ที่เจ้ามรดกทำไว้กับโจทก์ซึ่งต้องฟ้องภายในกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม หาได้เป็นกรณีที่โจทก์ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ที่ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ไม่ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์ในคดีหมายเลขดำที่ 7824/2550 หมายเลขแดงที่ 2979/2551 ของศาลชั้นต้นที่นำมาผูกรวมกับคดีนี้ว่า โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้กองมรดกรู้ถึงความตายของ อ. ตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2549 เมื่อนับแต่วันดังกล่าวจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 26 มิถุนายน 2551 จึงพ้นกำหนด 1 ปี คดีเป็นอันขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15904/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน: ความรับผิดจำกัดเฉพาะการทำงานในตำแหน่งเดิมที่ระบุในสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์มีข้อความระบุว่าตามที่โจทก์รับจำเลยที่ 1 ไว้เป็นพนักงานในตำแหน่ง PASSENGER SERVICE หากจำเลยที่ 1 กระทำการใดเป็นการเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่าด้วยประการใดๆ จำเลยที่ 2 จะขอรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ตามความเป็นจริง เป็นกรณี จำเลยที่ 2 ยอมผูกพันตนต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายสำหรับการทำงานในตำแหน่ง PASSENGER SERVICE จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องร่วมชำระหนี้กรณีจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหรือกระทำละเมิดเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ในขณะจำเลยที่ 1 ทำงานในตำแหน่ง PASSENGER SERVICE เท่านั้น
ตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่อาวุโสฝ่ายการพาณิชย์มีอำนาจอนุมัติบัตรโดยสารเครื่องบินราคาพิเศษหรือบัตรโดยสารไม่คิดราคา โจทก์ย้ายตำแหน่งจำเลยที่ 1 ไปทำหน้าที่เลขานุการผู้อำนวยการใหญ่อาวุโสฝ่ายการพาณิชย์ มีหน้าที่ส่งคำสั่งอนุมัติไปให้เจ้าหน้าที่พิมพ์คำสั่งออกบัตรโดยสารราคาพิเศษ หรือรับบัตรโดยสารมาก่อนแล้วให้ผู้โดยสารมารับบัตรและชำระราคาที่จำเลยที่ 1 (จำเลยที่ 1 รับชำระราคาไว้เป็นการฝ่าฝืนระเบียบของโจทก์) เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 สามารถกระทำการทั้งในหน้าที่ตามระเบียบและฝ่าฝืนระเบียบ เป็นการเพิ่มความเสี่ยงภัยและความรับผิดให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันมากขึ้นเกินกว่าที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญาค้ำประกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ทำผิดสัญญาหรือกระทำละเมิดเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานในขณะทำหน้าที่เลขานุการผู้อำนวยการใหญ่อาวุโสฝ่ายการพาณิชย์ ไม่ใช่ในขณะทำงานตำแหน่ง PASSENGER SERVICE จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์
ตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่อาวุโสฝ่ายการพาณิชย์มีอำนาจอนุมัติบัตรโดยสารเครื่องบินราคาพิเศษหรือบัตรโดยสารไม่คิดราคา โจทก์ย้ายตำแหน่งจำเลยที่ 1 ไปทำหน้าที่เลขานุการผู้อำนวยการใหญ่อาวุโสฝ่ายการพาณิชย์ มีหน้าที่ส่งคำสั่งอนุมัติไปให้เจ้าหน้าที่พิมพ์คำสั่งออกบัตรโดยสารราคาพิเศษ หรือรับบัตรโดยสารมาก่อนแล้วให้ผู้โดยสารมารับบัตรและชำระราคาที่จำเลยที่ 1 (จำเลยที่ 1 รับชำระราคาไว้เป็นการฝ่าฝืนระเบียบของโจทก์) เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 สามารถกระทำการทั้งในหน้าที่ตามระเบียบและฝ่าฝืนระเบียบ เป็นการเพิ่มความเสี่ยงภัยและความรับผิดให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันมากขึ้นเกินกว่าที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญาค้ำประกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ทำผิดสัญญาหรือกระทำละเมิดเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานในขณะทำหน้าที่เลขานุการผู้อำนวยการใหญ่อาวุโสฝ่ายการพาณิชย์ ไม่ใช่ในขณะทำงานตำแหน่ง PASSENGER SERVICE จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8286/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน: ความรับผิดจำกัดเฉพาะตำแหน่งเดิม และผลของการเปลี่ยนแปลงความเสี่ยงภัย
ตามสัญญาค้ำประกัน ข้อ 1 ระบุให้จำเลยที่ 2 ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ซึ่งสมัครเข้าทำงานในบริษัทโจทก์ตามใบสมัครงาน ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2525 และข้อ 2 ระบุให้จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์โดยครบถ้วน หากในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ทำงานอยู่กับโจทก์ ถ้าได้กระทำการผิดกฎหมายหรือได้กระทำความเสียหายแก่ทรัพย์สินของโจทก์หรือเป็นหนี้แก่โจทก์ โดยจำเลยที่ 2 ขอสละสิทธิของผู้ค้ำประกันที่มีอยู่ตามกฎหมายในการที่จะขอให้โจทก์เรียกร้องเอาค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ก่อน จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 ยอมผูกพันตนต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้ ในเมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ชำระหนี้ที่ก่อให้เกิดขึ้นสำหรับการทำงานในตำแหน่งที่ระบุไว้ในใบสมัครงาน ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2525 ซึ่งเมื่อพิจารณาใบสมัครงานลงวันที่ 5 ตุลาคม 2525 ระบุว่าจำเลยที่ 1 สมัครงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บุคคล ดังนั้น ความรับผิดที่จำเลยที่ 2 จะต้องชำระหนี้แก่โจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 จะต้องเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์หรือกระทำละเมิดเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ในขณะทำงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่บุคคลตามที่จำเลยที่ 2 ระบุในสัญญาค้ำประกันข้อ 1 ดังกล่าว แม้ว่าตามสัญญาค้ำประกัน ข้อ 4 ระบุว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมและตกลงด้วยว่าหากโจทก์โยกย้าย แต่งตั้ง สับเปลี่ยน หรือถอดถอนจำเลยที่ 1 ไปทำงานกับบริษัทในเครือหรือสำนักงานสาขาแห่งใดให้ถือว่าสัญญาค้ำประกันนี้มีผลบังคับได้เช่นเดิมตลอดไป ก็มีความหมายเพียงว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำความเสียหายแก่โจทก์ในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ทำงานอยู่กับโจทก์หรือบริษัทในเครือของโจทก์ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บุคคลตามที่ค้ำประกันไว้เท่านั้น เมื่อปรากฏว่าปี 2526 โจทก์ให้จำเลยที่ 1 ย้ายจากตำแหน่งเจ้าหน้าที่แผนกบุคคลไปทำหน้าที่พนักงานขาย มีหน้าที่เกี่ยวกับการจำหน่ายรถยนต์ซึ่งรวมถึงการรับจ่ายเงินค่าสินค้าและอื่นๆ อันเป็นการเพิ่มความเสี่ยงภัยและความรับผิดให้แก่จำเลยที่ 2 มากขึ้นเกินกว่าที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกัน ข้อ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ได้อนุมัติการจำหน่ายรถยนต์โดยผิดระเบียบและฝ่าฝืนวิธีการจำหน่าย แล้วทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้แก่โจทก์ในขณะทำหน้าที่พนักงานขายตำแหน่งผู้จัดการแผนกขาย จึงมิใช่กรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างแรงงานหรือกระทำละเมิดเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บุคคล จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2019/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันต้องตีความตามถ้อยคำที่ระบุ หากไม่มีการระบุเหตุการณ์อื่นนอกเหนือจากที่ตกลงกัน จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิด
สัญญาค้ำประกันระบุไว้ว่า เมื่อจำเลยที่ 1 เข้าปฏิบัติงานกับโจทก์แล้วภายหลังทำให้ทรัพย์สินของโจทก์สูญหาย หรือเสียหายด้วยประการใด ๆ ก็ดี ฉ้อโกงหรือยักยอกก็ดี จำเลยที่ 2 ยอมรับชดใช้แทนจำเลยที่ 1 จนครบถ้วน การที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 ไปช่วยเก็บเงินจากลูกค้าให้แก่บริษัท ส. จำเลยที่ 1 เก็บเงินจากลูกค้าของบริษัท ส. แล้วไม่นำไปมอบให้แก่บริษัท ส. ดังนี้ จำเลยที่ 1 มิได้ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์สูญหายหรือเสียหายและจำเลยที่ 1 ก็มิได้ฉ้อโกงหรือยักยอกทรัพย์ของโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว การที่โจทก์ชดใช้เงินแก่บริษัท ส. แทนจำเลยที่ 1 จะถือว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์สูญหายหรือเสียหายตามถ้อยคำในสัญญาค้ำประกันมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2019/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน: ความรับผิดจำกัดตามถ้อยคำในสัญญา การชดใช้หนี้ของบริษัทอื่นไม่ใช่เหตุให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิด
สัญญาค้ำประกันระบุไว้ว่า เมื่อจำเลยที่ 1 เข้าปฏิบัติงานกับโจทก์แล้วภายหลังทำให้ทรัพย์สินของโจทก์สูญหาย หรือเสียหายด้วยประการใดๆ ก็ดี ฉ้อโกงหรือยักยอกก็ดี จำเลยที่ 2 ยอมรับชดใช้แทนจำเลยที่ 1 จนครบถ้วน การที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 ไปช่วยเก็บเงินจากลูกค้าให้แก่บริษัท ส. จำเลยที่ 1 เก็บเงินจากลูกค้าของบริษัท ส. แล้วไม่นำไปมอบให้แก่บริษัท ส. ดังนี้ จำเลยที่ 1 มิได้ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์สูญหายหรือเสียหาย และจำเลยที่ 1 ก็มิได้ฉ้อโกงหรือยักยอกทรัพย์ของโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว การที่โจทก์ชดใช้เงินแก่บริษัท ส. แทนจำเลยที่ 1 จะถือว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์สูญหายหรือเสียหายตามถ้อยคำในสัญญาค้ำประกันมิได้