พบผลลัพธ์ทั้งหมด 106 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงยกเว้นดอกเบี้ยทบต้นหลังเลิกสัญญาเดินสะพัดเป็นโมฆะ, สัญญาค้ำประกันมีผลใช้บังคับ
บทบัญญัติของกฎหมายเรื่องการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราหรือการคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่กรณีจะทำความตกลงยกเว้นหาได้ไม่ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีข้อหนึ่งมีข้อความว่า "เมื่อมีการหักทอนบัญชีเดินสะพัดและธนาคารได้เรียกร้องให้ลูกค้าชำระหนี้แล้ว ลูกค้าก็ยังคงยอมรับผิดชำระดอกเบี้ยทบต้นตามจำนวนที่ปรากฏในบัญชีเดินสะพัดจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่ธนาคาร...และขอสละสิทธิที่จะยกข้อต่อสู้ในเรื่องการคิดดอกเบี้ยทบต้นนับแต่วันผิดนัดขึ้นเป็นข้อต่อสู้ธนาคารด้วย"เป็นข้อสัญญาที่ตกลงยกเว้นบทกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลใช้บังคับ ดังนั้น เมื่อหักทอนบัญชีและเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว หากยังมีหนี้ต่อกับธนาคารโจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องเพียงดอกเบี้ยธรรมดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีข้อความว่า การเบิกเกินบัญชีจะมากหรือน้อยกว่าจำนวนที่ตกลงกันไว้ก็ได้สุดแต่ธนาคารโจทก์จะพิจารณาเห็นสมควรไม่ใช่สัญญาที่มีเงื่อนไข ใช้บังคับได้ สัญญาค้ำประกันที่ไม่ระบุจำนวนหนี้ของลูกหนี้ก็มีผลใช้บังคับได้เมื่อหนี้ที่ค้ำประกันสมบูรณ์ ยกเว้นเรื่องการคิดดอกเบี้ยทบต้นหลังจากบัญชีเดินสะพัดได้เลิกแล้วเท่านั้น ผู้ค้ำประกันจึงต้องผูกพันตามสัญญาค้ำประกัน โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งหกร่วมกันชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นผู้ค้ำประกัน เป็นการฟ้องให้ชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 1 และที่ 3 เท่านั้นที่ฎีกา เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยทุกคนต้องรับผิดน้อยกว่าที่ศาลอุทธรณ์กำหนด ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงยกเว้นกฎหมายดอกเบี้ยทบต้นเป็นโมฆะ สัญญาค้ำประกันมีผลใช้ได้เมื่อหนี้สมบูรณ์
บทบัญญัติของกฎหมายเรื่องการเรียกดอกเบี้ย เกินอัตรา หรือการคิดดอกเบี้ย ทบต้นเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่กรณีจะทำความตกลง ยกเว้นหาได้ไม่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีข้อหนึ่งมีข้อความว่า "ลูกค้าขอให้สัญญาว่าเมื่อมีการหักทอนบัญชีเดินสะพัดและธนาคารได้ เรียกร้องให้ลูกค้าชำระหนี้แล้ว ลูกค้าก็ยังคงยอมรับชำระดอกเบี้ย ทบต้นตาม จำนวนที่ปรากฏในบัญชีเดินสะพัดจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่ธนาคาร... และขอสละสิทธิที่จะยกข้อต่อสู้ในเรื่องการคิดดอกเบี้ย ทบต้นนับแต่วันผิดนัดขึ้นเป็นข้อต่อสู้ธนาคารด้วย" เป็นข้อสัญญาที่ตกลง ยกเว้นบทกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงตก เป็นโมฆะไม่มีผลใช้ บังคับ ดังนั้น เมื่อหักทอนบัญชีและเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว หากยังมีหนี้ต่อ กันธนาคารโจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องเพียงดอกเบี้ย ธรรมดาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีข้อความว่า การเบิกเกินบัญชีจะมากหรือน้อยกว่าจำนวนที่ตกลง กันไว้ก็ได้ สุดแต่ ธนาคารโจทก์จะพิจารณาเห็นสมควร ไม่ใช่สัญญาที่มีเงื่อนไข ใช้ บังคับได้ สัญญาค้ำประกันที่ไม่ระบุจำนวนหนี้ของลูกหนี้ก็มีผลใช้ บังคับได้ เมื่อหนี้ที่ค้ำประกันสมบูรณ์ ยกเว้นเรื่องการคิดดอกเบี้ย ทบต้นหลังจากบัญชีเดินสะพัดได้ เลิกแล้วเท่านั้น ผู้ค้ำประกันจึงต้อง ผูกพันตาม สัญญาค้ำประกัน โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งหกร่วมกันชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1เป็นผู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 2 ถึง ที่ 6 เป็นผู้ค้ำประกันเป็นการฟ้องให้ชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 1 และที่ 3เท่านั้นที่ฎีกา เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยทุกคนต้อง รับผิดน้อยกว่าที่ศาลอุทธรณ์กำหนด ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึง จำเลยอื่นที่มิได้ฎีกาด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2515/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันเฉพาะตัว ไม่เป็นหนี้ร่วมตาม ม.1490 สิทธิร้องขอกันส่วนในทรัพย์สิน
การที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์เพื่อการปฏิบัติงานและเพื่อความเสียหายอันเกิดจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรทำงานกับโจทก์โดยที่ผู้ร้องผู้เป็นมารดาของจำเลยที่ 1และเป็นภริยาของจำเลยที่ 2 ไม่คัดค้าน แต่ผู้ร้องมิได้เป็นคู่สัญญาหรือยินยอมด้วย กรณีเป็นการเฉพาะตัวของจำเลยที่ 2ผู้ค้ำประกันโดยตรง ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการอันจำเป็นในครอบครัวหรือเกี่ยวข้องกับสินสมรสหรือเกิดจากการงานที่ผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ทำด้วยกัน จึงไม่เป็นหนี้ร่วมตามนัย มาตรา 1490 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ร้องไม่ต้องผูกพันในมูลหนี้เรียกทรัพย์คืนและค้ำประกันที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 และมีสิทธิร้องขอกันส่วนในที่พิพาทกึ่งหนึ่งในฐานะผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2515/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภริยาไม่ต้องรับผิดในหนี้ค้ำประกันที่สามีทำเป็นการส่วนตัว แม้จะไม่ได้คัดค้าน
การที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์เพื่อการปฏิบัติงานและเพื่อความเสียหายอันเกิดจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรทำงานกับโจทก์ โดยที่ผู้ร้องผู้เป็นมารดาของจำเลยที่ 1 และเป็นภริยาของจำเลยที่ 2 ไม่คัดค้าน แต่ผู้ร้องมิได้เป็นคู่สัญญาหรือยินยอมด้วย กรณีเป็นการเฉพาะตัวของจำเลยที่2 ผู้ค้ำประกันโดยตรง ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการอันจำเป็นในครอบครัว หรือเกี่ยวข้องกับสินสมรสหรือเกิดจากการงานที่ผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ทำด้วยกัน จึงไม่เป็นหนี้ร่วมตามนัยมาตรา 1490 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ร้องไม่ต้องผูกพันในมูลหนี้เรียกทรัพย์คืนและค้ำประกันที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1ที่ 2 และมีสิทธิร้องขอกันส่วนในที่พิพาทกึ่งหนึ่งในฐานะผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2109/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันตามสัญญาของหุ้นส่วนผู้จัดการ แม้ไม่มีตราสำคัญ การค้ำประกัน
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1นำตั๋วสัญญาใช้เงินไปขายลดแก่โจทก์ในนามจำเลยที่ 1 โดยไม่ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ในสัญญาขายลดตั๋วเงิน มีจำเลยที่3 ทำสัญญาค้ำประกันไว้ด้วยจำเลยที่ 1 ได้รับเงินไปจากโจทก์ตามสัญญาแล้ว และเมื่อครบกำหนดตามตั๋วสัญญาใช้เงิน จำเลยที่ 1ใช้เงินแก่โจทก์บางส่วน ดังนี้ แสดงว่าจำเลยที่ 2 ลงชื่อในสัญญาขายลดตั๋วเงินดังกล่าวในฐานะกระทำการแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องผูกพันตามสัญญานั้น จำเลยที่ 3 ผู้ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2109/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันตามสัญญาขายลดตั๋วเงิน แม้ไม่มีตราสำคัญของนิติบุคคล เมื่อมีการรับเงินและชำระหนี้บางส่วน
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1นำตั๋วสัญญาใช้เงินไปขายลดแก่โจทก์ในนามจำเลยที่ 1 โดยไม่ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ในสัญญาขายลดตั๋วเงิน มีจำเลยที่ 3ทำสัญญาค้ำประกันไว้ด้วย จำเลยที่ 1 ได้รับเงินไปจากโจทก์ตามสัญญาแล้ว และเมื่อครบกำหนดตามตั๋วสัญญาใช้เงิน จำเลยที่ 1ใช้เงินแก่โจทก์บางส่วน ดังนี้แสดงว่าจำเลยที่ 2 ลงชื่อในสัญญาขายลดตั๋วเงินดังกล่าวในฐานะกระทำการแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1ต้องผูกพันตามสัญญานั้น จำเลยที่ 3 ผู้ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2109/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันตามสัญญาซื้อลดตั๋วเงินของห้างหุ้นส่วน โดยหุ้นส่วนผู้จัดการลงนามแทน แม้ไม่มีตราสำคัญ
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1นำตั๋วสัญญาใช้เงินไปขายลดแก่โจทก์ในนามจำเลยที่ 1 โดยไม่ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ในสัญญาขายลดตั๋วเงิน มีจำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันไว้ด้วยจำเลยที่ 1 ได้รับเงินไปจากโจทก์ตามสัญญาแล้ว และเมื่อครบกำหนดตามตั๋วสัญญาใช้เงิน จำเลยที่ 1ใช้เงินแก่โจทก์บางส่วน ดังนี้ แสดงว่าจำเลยที่ 2 ลงชื่อในสัญญาขายลดตั๋วเงินดังกล่าวในฐานะกระทำการแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องผูกพันตามสัญญานั้น จำเลยที่ 3 ผู้ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 449/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาชดใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา แม้ไม่ใช่หมั้น
โจทก์ผู้เยาว์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำชำเราโดยความสมัครใจซึ่งแม้ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อบิดาโจทก์ทราบเรื่องได้ไปร้องเรียนต่อกำนันท้องที่ จำเลยที่ 1 ก็ได้ทำสัญญากับโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 จะจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ หากผิดสัญญายินยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 50,000 บาทและจำเลยที่ 2 ได้ลงชื่อเป็นผู้ค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาของจำเลยที่ 1 ด้วย ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ แม้มิใช่เป็นกรณีผิดสัญญาหมั้น โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญาได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 449/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาชดใช้ค่าเสียหายจากการไม่จดทะเบียนสมรส แม้ไม่ใช่สัญญาหมั้น ก็มีผลผูกพันตามกฎหมาย
โจทก์ผู้เยาว์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำชำเราโดยความสมัครใจซึ่งแม้ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อบิดาโจทก์ทราบเรื่องได้ไปร้องเรียนต่อกำนันท้องที่ จำเลยที่ 1 ก็ได้ทำสัญญากับโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 จะจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ หากผิดสัญญายินยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 50,000 บาท และจำเลยที่ 2ได้ลงชื่อเป็นผู้ค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาของจำเลยที่ 1 ด้วยต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ แม้มิใช่เป็นกรณีผิดสัญญาหมั้น โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3347/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการผ่อนเวลาหนี้ต่อผู้ค้ำประกัน และขอบเขตความรับผิดชอบของลูกหนี้ร่วม
ปัญหาว่าโจทก์ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้จำเลยที่1ทำให้ผู้ค้ำประกันจำเลยที่3หลุดพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา700แม้สัญญาค้ำประกันจะมีข้อความให้ถือว่าจำเลยที่3รู้เห็นยินยอมด้วยในการผ่อนเวลาก็เป็นข้อสำคัญที่พิมพ์ไว้ล่วงหน้าไม่ได้เป็นเจตนาอันแท้จริงของคู่กรณีจึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา113และมาตรา368นั้นจำเลยที่3มิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย หนังสือสัญญาค้ำประกันมีข้อความว่าผู้ค้ำประกันตกลงยินยอมชำระหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยรวมทั้งอุปกรณ์แห่งหนี้ทั้งสิ้นตามสินเชื่อดังกล่าวข้างต้นให้แก่ธนาคารเป็นจำนวนเงินไม่เกิน100,000บาทโดยยอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมเป็นการค้ำประกันอย่างจำกัดจำนวนโดยเมื่อรวมต้นเงินดอกเบี้ยและอุปกรณ์แห่งหนี้เข้าด้วยกันแล้วผู้ค้ำประกันจะรับผิดไม่เกิน100,000บาทข้อความที่ว่ายอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมหมายถึงในจำนวนเงิน100,000บาทจะรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากข้อความตอนต้นไม่อย่างไรก็ดีหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้เงินจำเลยที่3ต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีระหว่างผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคหนึ่งเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามจำเลยที่3เมื่อใดจำเลยที่3จึงต้องเสียดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดแก่โจทก์นับแต่วันฟ้อง.