คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 681

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 106 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3347/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผ่อนเวลาหนี้โดยโจทก์ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิด และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญา
ปัญหาว่า โจทก์ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้จำเลยที่ 1 ทำให้ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 3 หลุดพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 แม้สัญญาค้ำประกันจะมีข้อความให้ถือว่าจำเลยที่ 3 รู้เห็นยินยอมด้วยในการผ่อนเวลาก็เป็นข้อสำคัญที่พิมพ์ไว้ล่วงหน้า ไม่ได้เป็นเจตนาอันแท้จริงของคู่กรณี จึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 113 และมาตรา 368 นั้น จำเลยที่ 3 มิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
หนังสือสัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า ผู้ค้ำประกันตกลงยินยอมชำระหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยรวมทั้งอุปกรณ์แห่งหนี้ทั้งสิ้นตามสินเชื่อดังกล่าวข้างต้นให้แก่ธนาคารเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 100,000 บาท โดยยอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมเป็นการค้ำประกันอย่างจำกัดจำนวนโดยเมื่อรวมต้นเงินดอกเบี้ยและอุปกรณ์แห่งหนี้เข้าด้วยกันแล้ว ผู้ค้ำประกันจะรับผิดไม่เกิน 100,000 บาท ข้อความที่ว่ายอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วม หมายถึงในจำนวนเงิน 100,000 บาท จะรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากข้อความตอนต้นไม่ อย่างไรก็ดีหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้เงิน จำเลยที่ 3 ต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีระหว่างผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามจำเลยที่ 3 เมื่อใด จำเลยที่ 3 จึงต้องเสียดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดแก่โจทก์นับแต่วันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2757/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชดใช้ทุนการศึกษา: การหนีราชการถือเป็นการผิดสัญญา และเงินเดือนระหว่างทุนนำมาคำนวณค่าปรับได้
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้าราชการสังกัดกองทัพอากาศ และได้รับทุนให้เดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ โดยทำสัญญาไว้ว่าจะกลับมารับราชการโดยไม่ลาออกหรือโอนไปรับราชการที่อื่นตามระยะเวลาที่กำหนดนั้น หากปรากฏว่าจำเลยที่ 1 หนีราชการไปก่อนครบกำหนดระยะเวลา และกองทัพอากาศได้ปลดจำเลยที่ 1 ออกจากราชการเนื่องจากเหตุดังกล่าว ดังนี้ ถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา เพราะคำว่า หนีราชการ เป็นถ้อยคำที่แสดงบ่งชัดให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่ามีเจตนาที่จะไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการ จึงจะอ้างว่ากองทัพอากาศปลดจำเลยที่ 1 ออกเอง อันไม่เป็นการผิดสัญญาหาได้ไม่
เงินเดือนที่จำเลยที่ 1 ได้รับในระหว่างไปศึกษาต่างประเทศนั้น อยู่ในความหมายของคำว่า เงินรายเดือนที่ทางราชการได้จ่ายให้เนื่องในการเดินทางและศึกษา ตามข้อสัญญาที่จำเลยที่ 1 ทำให้ไว้แก่โจทก์และยอมชดใช้ในกรณีผิดสัญญา จึงนำเงินเดือนมารวมคำนวณคิดเป็นค่าปรับได้
การที่จำเลยที่ 1 ได้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ 2 ครั้งในระหว่างที่ปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศยังไม่ครบกำหนดระยะเวลา โดยมีข้อสัญญาว่าจะยอมปฏิบัติราชการชดใช้ทุนที่ไปศึกษาต่อต่างประเทศต่อจากสัญญาฉบับอื่นนั้น จำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศก่อน จากนั้นจึงนับระยะเวลาการปฏิบัติราชการเพื่อชดใช้ทุนในการไปศึกษาต่อต่างประเทศครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ต่อจากระยะเวลาที่ครบกำหนดการปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศตามลำดับ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในหนี้คนละจำนวน จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงควรรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตามส่วนที่ตนต้องรับผิดตามฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2757/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชดใช้ทุนการศึกษา, การหนีราชการ, และความรับผิดร่วมในหนี้
จำเลยที่1ซึ่งเป็นข้าราชการสังกัดกองทัพอากาศและได้รับทุนให้เดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศโดยทำสัญญาไว้ว่าจะกลับมารับราชการโดยไม่ลาออกหรือโอนไปรับราชการที่อื่นตามระยะเวลาที่กำหนดนั้นหากปรากฏว่าจำเลยที่1หนีราชการไปก่อนครบกำหนดระยะเวลาและกองทัพอากาศได้ปลดจำเลยที่1ออกจากราชการเนื่องจากเหตุดังกล่าวดังนี้ถือว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาเพราะคำว่าหนีราชการเป็นถ้อยคำที่แสดงบ่งชัดให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่ามีเจตนาที่จะไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการจึงจะอ้างว่ากองทัพอากาศปลดจำเลยที่1ออกเองอันไม่เป็นการผิดสัญญาหาได้ไม่ เงินเดือนที่จำเลยที่1ได้รับในระหว่างไปศึกษาต่างประเทศนั้นอยู่ในความหมายของคำว่าเงินรายเดือนที่ทางราชการได้จ่ายให้เนื่องในการเดินทางและศึกษาตามข้อสัญญาที่จำเลยที่1ทำให้ไว้แก่โจทก์และยอมชดใช้ในกรณีผิดสัญญาจึงนำเงินเดือนมารวมคำนวณคิดเป็นค่าปรับได้ การที่จำเลยที่1ได้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ2ครั้งในระหว่างที่ปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศยังไม่ครบกำหนดระยะเวลาโดยมีข้อสัญญาว่าจะยอมปฏิบัติราชการชดใช้ทุนที่ไปศึกษาต่อต่างประเทศต่อจากสัญญาฉบับอื่นนั้นจำเลยที่1จะต้องปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศก่อนจากนั้นจึงนับระยะเวลาการปฏิบัติราชการเพื่อชดใช้ทุนในการไปศึกษาต่อต่างประเทศครั้งที่1และครั้งที่2 ต่อจากระยะเวลาที่ครบกำหนดการปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศตามลำดับ โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่2ที่3รับผิดร่วมกับจำเลยที่1ในหนี้คนละจำนวนจำเลยที่2ที่3จึงควรรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตามส่วนที่ตนต้องรับผิดตามฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1721/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการค้ำประกันและความรับผิดในสัญญา
จำเลยที่3ได้ทำหนังสือรับรองต่อโจทก์ว่าในการที่จำเลยที่1เข้าทำงานในตำแหน่งคนงานกับโจทก์นั้นหากจำเลยที่1ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหายจำเลยที่3จะชดใช้ความเสียหายให้ต่อมาโจทก์ได้ให้จำเลยที่1ไปทำงานตำแหน่งพนักงานเก็บเงินในห้องอาหารและได้ให้จำเลยที่4เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่1แสดงว่าเป็นการค้ำประกันเพราะจำเลยที่1เปลี่ยนตำแหน่งการปฏิบัติระหว่างโจทก์และจำเลยที่1ที่3และที่4ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยที่3ต้องผูกพันตามหนังสือรับรองต่อไปเมื่อจำเลยที่1ยักยอกเงินของโจทก์ไปจำเลยที่3ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4951/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงินเพื่อประกันความเสียหายที่ยังไม่แน่นอน ไม่ถือเป็นเหตุให้เกิดหนี้ที่แท้จริง ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
โจทก์ให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินตามฟ้องไว้เพื่อประกันความเสียหาย ในการที่โจทก์ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ซึ่งเช่าซื้อโทรทัศน์สีจากบุคคลอื่น จำเลยที่ 1 ไม่ได้รับเงินไปจากโจทก์เลย ขณะทำสัญญากู้เป็นเวลา หลังค้ำประกันการเช่าซื้อไม่นานความเสียหายจากการค้ำประกันการเช่าซื้อ ยังไม่เกิดขึ้นและยังคำนวณไม่ได้ จึงเป็นหนี้ที่ยังไม่แน่นอนไม่อาจนำมาเป็นมูลหนี้ในสัญญากู้เงินได้ ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่1กู้เงินโจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันการกู้จึงไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4951/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้เพื่อประกันความเสียหายจากการค้ำประกันเช่าซื้อ: สัญญาไม่สมบูรณ์เมื่อยังไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น
โจทก์ให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินตามฟ้องไว้เพื่อประกันความเสียหาย ในการที่โจทก์ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ซึ่งเช่าซื้อโทรทัศน์สีจากบุคคลอื่น จำเลยที่ 1 ไม่ได้รับเงินไปจากโจทก์เลย ขณะทำสัญญากู้เป็นเวลา หลังค้ำประกันการเช่าซื้อไม่นานความเสียหายจากการค้ำประกันการเช่าซื้อ ยังไม่เกิดขึ้นและยังคำนวณไม่ได้ จึงเป็นหนี้ที่ยังไม่แน่นอนไม่อาจนำมา เป็นมูลหนี้ในสัญญากู้เงินได้ ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่1กู้เงินโจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันการกู้จึงไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3397/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตสัญญาจำนอง: การคุ้มครองหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลัง และหลักการตีความสัญญาที่เป็นคุณแก่ผู้เสีย
ขณะจำเลยที่ 4 ที่ 5 ทำสัญญาจำนองที่ดินและสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองที่ดินกับโจทก์เพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เฉพาะหนี้ตาม สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเท่านั้น ส่วนหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คยังไม่เกิดขึ้น เพราะจำเลยที่ 1เพิ่งทำสัญญาขายลดเช็คกับโจทก์ในภายหลัง อีกทั้งข้อความตามสัญญาต่อท้าย สัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันมีข้อความว่าประกันเงินที่เบิกไปจากผู้รับจำนองเกินกว่ายอดเงินในบัญชีหรือเงินที่ เป็นหนี้อยู่ในเวลานี้หรือเป็นต่อไปในภายหน้า ย่อมมี ความหมายถึงหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโดยตรง หาใช่หนี้ตามสัญญาขายลดเช็คหรือหนี้อื่นที่ยังมิได้ เกิดขึ้นแต่อย่างใดไม่ และตามหนังสือสัญญาจำนองก็ระบุถึงหนี้ที่รับจำนองอยู่ในเวลานี้หรือเวลาใดต่อไป ภายหน้า ก็หมายถึงกำหนดเวลา มิได้หมายถึงลักษณะของหนี้ ไม่มีข้อความที่ระบุให้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คหรือ หนี้อย่างอื่นคนละประเภทกันที่จะเกิดมีขึ้นภายหน้า การตีความถึงเจตนาของคู่สัญญาในกรณีที่มีข้อสงสัยเช่นนี้ ท่านให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะต้องเสียในมูลหนี้นั้น ดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 การที่ตีความถึงเจตนา ให้เป็นโทษแก่จำเลยที่ 4 ที่ 5 ซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้จึงขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว ดังนั้นต้องฟัง ว่าสัญญาจำนองที่ดินและสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองที่ดินไม่ได้ ประกันถึงหนี้ที่เกิดจากสัญญาขายลดเช็คซึ่งจำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3397/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการจำนอง: การตีความสัญญาประกันหนี้ที่ยังมิได้เกิดขึ้น โดยคำนึงถึงเจตนาของคู่สัญญาและหลักประมวลกฎหมายแพ่งฯ
ขณะจำเลยที่ 4 ที่ 5 ทำสัญญาจำนองที่ดินและสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองที่ดินกับโจทก์เพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เฉพาะหนี้ตาม สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเท่านั้น ส่วนหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค ยังไม่เกิดขึ้น เพราะจำเลยที่ 1 เพิ่งทำสัญญาขายลดเช็ค กับโจทก์ในภายหลัง อีกทั้งข้อความตามสัญญาต่อท้าย สัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันมีข้อความว่า ประกันเงินที่ เบิกไปจากผู้รับจำนองเกินกว่ายอดเงินในบัญชีหรือเงินที่ เป็นหนี้อยู่ในเวลานี้หรือเป็นต่อไปในภายหน้า ย่อมมี ความหมายถึงหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโดยตรงหาใช่หนี้ตามสัญญาขายลดเช็คหรือหนี้อื่นที่ยังมิได้ เกิดขึ้นแต่อย่างใดไม่ และตามหนังสือสัญญาจำนองก็ ระบุถึงหนี้ที่รับจำนองอยู่ในเวลานี้หรือเวลาใดต่อไป ภายหน้า ก็หมายถึงกำหนดเวลา มิได้หมายถึงลักษณะของหนี้ ไม่มีข้อความที่ระบุให้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คหรือ หนี้อย่างอื่นคนละประเภทกันที่จะเกิดมีขึ้นภายหน้า การตีความถึงเจตนาของคู่สัญญาในกรณีที่มีข้อสงสัยเช่นนี้ ท่านให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะต้อง เสียในมูลหนี้นั้น ดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 การที่ตีความถึงเจตนา ให้เป็นโทษแก่จำเลยที่ 4 ที่ 5 ซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสีย ในมูลหนี้จึงขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว ดังนั้นต้องฟัง ว่าสัญญาจำนองที่ดินและสัญญาต่อ ท้ายสัญญาจำนองที่ดินไม่ได้ ประกันถึงหนี้ที่เกิดจากสัญญาขายลดเช็คซึ่งจำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1869/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันครอบคลุมความเสียหายจากความประมาทในการปฏิบัติงานของลูกจ้างที่เกิดจากละเมิด
จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้แก่โจทก์มีความว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ได้เข้าทำงานในองค์การโจทก์แล้ว ภายหลังได้หลบหลีกหนีหายไป หรือได้ฉ้อโกงยักยอก หรือทำให้ทรัพย์สินของโจทก์ต้องสูญเสียหายไปด้วยประการใด ๆ ก็ดี จำเลยที่ 2 ยินยอมชดใช้หนี้สินหรือความเสียหายแทนจำเลยที่ 1 ต่อมาปรากฏว่าจำเลยที่ 1 พนักงานขับรถยนต์โดยสารของโจทก์ ได้ขับรถยนต์โดยสารของโจทก์ในทางการที่จ้างด้วยความประมาทชน พ. ถึงแก่ความตาย ซึ่งโจทก์ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้นด้วย และโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทายาทผู้ตายไปแล้ว โจทก์จึงชอบที่จะได้ชดใช้จากจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 426 แต่จำเลยที่ 1 ได้หลบหนีไปและไม่ชำระหนี้สินดังกล่าวให้แก่โจทก์ ดังนั้น จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1ในการเข้าทำงานกับโจทก์จึงต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1869/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันครอบคลุมความรับผิดจากละเมิดของลูกจ้างที่เกิดจากการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง
จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้แก่โจทก์มีความว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ได้เข้าทำงานในองค์การโจทก์แล้ว ภายหลังได้หลบหลีกหนีหายไป หรือได้ฉ้อโกงยักยอก หรือทำให้ทรัพย์สินของโจทก์ต้องสูญเสียหายไปด้วยประการใดๆ ก็ดี จำเลยที่ 2 ยินยอมชดใช้หนี้สินหรือความเสียหายแทนจำเลยที่ 1 ต่อมาปรากฏว่าจำเลยที่ 1 พนักงานขับรถยนต์โดยสารของโจทก์ ได้ขับรถยนต์โดยสารของโจทก์ในทางการที่จ้างด้วยความประมาทชน พ. ถึงแก่ความตาย ซึ่งโจทก์ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้นด้วย และโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทายาทผู้ตายไปแล้วโจทก์จึงชอบที่จะได้ชดใช้จากจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 426 แต่จำเลยที่ 1ได้หลบหนีไปและไม่ชำระหนี้สินดังกล่าวให้แก่โจทก์ดังนั้น จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็น ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1ในการเข้าทำงานกับโจทก์จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
of 11