คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 681

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 106 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 284/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันรวมถึงหนี้ในอนาคต สิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันต้องพิจารณาร่วมกัน แม้เช็คขาดอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กู้เงินไป 700,000 บาท จำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 1 นำ เช็คของลูกค้า 6 ฉบับเป็นเงิน 242,239 บาท มาชำระหนี้ โจทก์นำไปชำระหนี้แก่ ธ. ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ธ. นำเช็คมาคืน โจทก์ได้ชำระเงินตามเช็คทั้ง 6 ฉบับไปแล้ว จำเลยที่ 1 ยังเป็นหนี้โจทก์อยู่ 242,239 บาท ดังนี้ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ ดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องโดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันส่วนที่โจทก์บรรยายถึงเช็ค 6 ฉบับมาด้วย ก็เพื่อแสดงให้เห็นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 นำเช็คมาชำระหนี้เงินกู้ยืมแล้วโจทก์ยังไม่ได้รับเงินเท่านั้น ฉะนั้นการวินิจฉัยว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ จึงต้องวินิจฉัยตามมูลหนี้ที่โจทก์ฟ้อง คือสัญญากู้ยืมและค้ำประกันจะนำอายุความเรื่องเช็คมาวินิจฉัยว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความไม่ได้ เพราะเป็นการนอกประเด็นตามคำฟ้อง
สัญญาค้ำประกันที่ค้ำประกันรวมถึงหนี้ในอนาคตด้วยนั้น มีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 681
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยโดยมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ เป็นการผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 284/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเช็คไม่ตัดสิทธิผู้ค้ำประกันตามสัญญากู้ยืมและค้ำประกัน ศาลต้องวินิจฉัยมูลหนี้หลัก
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กู้เงินไป 700,000 บาทจำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 1 นำ เช็คของลูกค้า 6 ฉบับเป็นเงิน 242,239 บาท มาชำระหนี้ โจทก์นำไปชำระหนี้แก่ ธ.ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ธ. นำเช็คมาคืน โจทก์ได้ชำระเงินตามเช็คทั้ง 6 ฉบับไปแล้ว จำเลยที่ 1 ยังเป็นหนี้โจทก์อยู่ 242,239 บาท ดังนี้ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ ดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องโดยอาศัยมูลหนี้ ตามสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกัน ส่วนที่โจทก์บรรยายถึง เช็ค 6 ฉบับมาด้วย ก็เพื่อแสดงให้เห็นพฤติการณ์ที่จำเลย ที่ 1 นำเช็คมาชำระหนี้เงินกู้ยืมแล้วโจทก์ยังไม่ได้รับเงินเท่านั้น ฉะนั้นการวินิจฉัยว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ จึงต้องวินิจฉัยตามมูลหนี้ที่โจทก์ฟ้อง คือสัญญากู้ยืม และค้ำประกันจะนำอายุความเรื่องเช็คมาวินิจฉัยว่าคดีของ โจทก์ขาดอายุความไม่ได้ เพราะเป็นการนอกประเด็นตามคำฟ้อง
สัญญาค้ำประกันที่ค้ำประกันรวมถึงหนี้ในอนาคตด้วยนั้น มีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 681
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยโดยมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ เป็นการผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1045/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันความรับผิดของลูกหนี้ทุจริตยักยอกเงินธนาคาร ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามสัญญา
จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานธนาคารโจทก์จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์จำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นผลสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ทุจริตยักยอกเงินที่ผู้จัดการธนาคารสั่งให้จำเลยที่ 1 ไปรับเงินฝากจากลูกค้าซึ่งการรับเงินดังกล่าวเป็นการที่จำเลยที่ 1 รับไว้แทนโจทก์และจำเลยที่ 1 มีหน้าที่นำมามอบให้พนักงานธนาคารโจทก์เพื่อนำเข้าบัญชีของลูกค้าซึ่งต่อมาโจทก์ได้ชดใช้เงินดังกล่าวให้แก่ลูกค้าไปแล้วดังนี้ แม้ขณะจำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้โจทก์ยังมิได้ใช้เงินให้แก่ลูกค้าก็ตามโจทก์ก็มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันได้
สัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 เข้าทำงานที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อโจทก์มีข้อความว่าถ้าธนาคารโจทก์รับจำเลยที่ 1 เข้าทำงานไม่ว่าในหน้าที่หรือตำแหน่งใดแล้วหากจำเลยที่ 1 ปฏิบัติงานบกพร่องต่อหน้าที่หรือประมาทเลินเล่อหรือกระทำการทุจริตหรือก่อหนี้สินผูกพันกับธนาคารโจทก์อันทำให้ธนาคารโจทก์ได้รับความเสียหายไม่ว่ากรณีใดที่กล่าวมาจำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ธนาคารโจทก์โดยตรงและทันทีทุกกรณีภายในวงเงินไม่เกิน 50,000 บาท ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นพนักงานขับรถยนต์ของธนาคารโจทก์แต่เมื่อโจทก์มอบหมายให้จำเลยที่ 1 ไปรับเงินจากลูกค้าเพื่อนำฝากเข้าบัญชีของลูกค้าจำเลยที่ 1 ก็มีหน้าที่จะต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวมาฝากเข้าบัญชีลูกค้าเมื่อจำเลยที่ 1 ทุจริตยักยอกเงินนั้นไปจำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดต่อธนาคารตามสัญญาค้ำประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2458/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกันในดอกเบี้ยค้างชำระก่อนสัญญาจำนอง
ลูกหนี้ค้างชำระหนี้อยู่ก่อนผู้จำนองเข้าทำสัญญาจำนองค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในดอกเบี้ยจำนวนเงินที่ค้างอยู่ก่อนคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่เข้าค้ำประกันนั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ที่ขัดต่อกฎกระทรวงบริษัทประกันชีวิตเป็นโมฆะ ผู้กู้ต้องคืนเงิน แม้ฟ้องเรียกทรัพย์คืนได้
กฎกระทรวงฉบับที่ 5 ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2510 ข้อ 7 ว่า "การให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัทโดยมีผู้ค้ำประกันนั้น บริษัทจะให้กู้ยืมได้ไม่เกินร้อยละสองของราคาสินทรัพย์ของบริษัทตามบัญชีงบดุลที่มีอยู่ในวันสิ้นปีบัญชีครั้งสุดท้าย จำนวนที่ให้กู้ยืมแต่ละรายต้องไม่เกินหกเท่าของจำนวนเงินเดือนที่พนักงานผู้นั้นได้รับจากบริษัทในเดือนสุดท้ายก่อนที่จะให้กู้ยืม และไม่เกินสองหมื่นบาท..............." ฉะนั้น การที่บริษัทโจทก์ให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานของบริษัทโจทก์กู้ยืมเงินเป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท จึงขัดต่อกฎกระทรวงดังกล่าว สัญญากู้ระหว่างบริษัทโจทก์และจำเลยจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับ จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดด้วย แต่จำเลยที่ 1 รับเงินไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นการทำให้โจทก์เสียเปรียบ จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ที่ขัดต่อกฎกระทรวงออกตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิตเป็นโมฆะ ผู้กู้ต้องคืนเงิน
กฎกระทรวงฉบับที่ 5 ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2510 ข้อ 7 ว่า 'การให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัทโดยมีผู้ค้ำประกันนั้น บริษัทจะให้กู้ยืมได้ไม่เกินร้อยละ สองของราคาสินทรัพย์ของบริษัทตามบัญชีงบดุลที่มีอยู่ในวันสิ้นปีบัญชีครั้งสุดท้าย จำนวนเงินที่ให้กู้ยืมแต่ละรายต้องไม่เกินหกเท่าของจำนวนเงินเดือนที่พนักงานผู้นั้นได้รับจากบริษัทในเดือนสุดท้ายก่อนเดือนที่จะให้กู้ยืม และไม่เกินสองหมื่นบาท ' ฉะนั้น การที่บริษัทโจทก์ให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานของบริษัทโจทก์กู้ยืมเงินเป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท นั้น จึงขัดต่อกฎกระทรวงดังกล่าว สัญญากู้ระหว่างบริษัทโจทก์และจำเลยจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับ จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดด้วยแต่จำเลยที่ 1 รับเงินไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นการทำให้โจทก์เสียเปรียบ จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2479/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกันจากความประมาทของผู้ขับรถ การยินยอมให้ผู้ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ถือเป็นความประมาท
จำเลยที่ 4 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานขับรถยนต์ของโจทก์ไว้ต่อโจทก์ว่า ในระหว่างที่จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานของโจทก์ หากปฏิบัติงานด้วยความประมาทหรือเจตนาทุจริต หรือทุจริตต่อหน้าที่ ยักยอก ฉ้อโกง อันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 4 ยินยอมใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ดังนี้ การที่ผู้จัดการโจทก์ได้มีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 ขับรถยนต์พาจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานของโจทก์ทำหน้าที่เคลีย์ริ่งไปแลกเงินที่กระทรวงการคลัง เมื่อขับรถไประหว่างทาง จำเลยที่ 2 ได้แวะไปถ่ายอุจจาระเสีย แล้วยินยอมให้จำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีหน้าที่ขับรถยนต์และไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์นั้นไปตามลำพัง เป็นเหตุให้ชนรถผู้อื่นที่จอดอยู่ข้างทางโดยประมาทและทำให้โจทก์เสียหาย ย่อมถือว่าจำเลยที่ 2 ขาดความระมัดระวังตามวิสัยของปกติชน จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์โดยตรง จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2479/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ประมาทในการปฏิบัติหน้าที่ ทำให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าหนี้
จำเลยที่ 4 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานขับรถยนต์ของโจทก์ไว้ต่อโจทก์ว่า ในระหว่างที่จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานของโจทก์ หากปฏิบัติงานด้วยความประมาทหรือเจตนาทุจริต หรือทุจริตต่อหน้าที่ ยักยอก ฉ้อโกงอันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 4 ยินยอมใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ดังนี้ การที่ผู้จัดการโจทก์ได้มีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 ขับรถยนต์พาจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานของโจทก์ทำหน้าที่เคลียริ่งไปแลกเงินที่กระทรวงการคลัง เมื่อขับรถไประหว่างทางจำเลยที่ 2 ได้แวะไปถ่ายอุจจาระเสีย แล้วยินยอมให้จำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีหน้าที่ขับรถยนต์และไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ขับรถยนต์นั้นไปตามลำพังเป็นเหตุให้ไปชนรถผู้อื่นที่จอดอยู่ข้างทางโดยประมาทและทำให้โจทก์เสียหาย ย่อมถือว่าจำเลยที่ 2 ขาดความระมัดระวังตามวิสัยของปกติชน จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์โดยตรง จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันเบิกเงินเกินบัญชี ความรับผิดของผู้ค้ำประกันต่อหนี้เดิมและหนี้ในอนาคต ข้อตกลงดอกเบี้ยทบต้น
จำเลยที่ 2 เข้าเป็นผู้ค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 และสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 ระบุชัดว่าเป็นการกู้เบิกเงินเกินบัญชีและค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีจากบัญชีกระแสรายวันเลขที่ 715 ซึ่งจำเลยที่ 1 เปิดไว้กับธนาคารโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้เบิกเงินตามสัญญาที่ทำไว้โดยวิธีเดินสะพัดจากบัญชีกระแสรายวันดังกล่าว บัญชีนั้นจะเป็นบัญชีชื่อของจำเลยที่ 1 เป็นส่วนตัว หรือเป็นบัญชีของบริษัทที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการ เป็นผู้เปิดไว้ในนามของบริษัท จึงไม่ใช่ข้อสำคัญ และไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด
แม้จำเลยที่ 1 จะเบิกเงินเกินบัญชีอยู่ก่อนแล้วก่อนทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกัน แต่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกันจำนวนเงินที่เบิกคือ ตามบัญชีกระแสรายวันเลขที่ 715 การเบิกเงินเกินบัญชีย่อมหมายถึงการเบิกจากบัญชีเงินฝากของลูกหนี้ที่เป็นหนี้ธนาคารอยู่ทั้งหมด จำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาค้ำประกันหนี้ดังกล่าว จึงเป็นการค้ำประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 มีอยู่แล้วและจะมีขึ้นในอนาคต ทั้งนี้จำกัดในวงเงินและระยะเวลาตามสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้ธนาคารโจทก์จะให้จำเลยรับรองหนี้เดิมนั้นหรือไม่ จึงไม่เป็นข้อสำคัญ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยที่1 ซึ่งมีอยู่ก่อนเข้าทำสัญญาค้ำประกันนั้นด้วย
ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ มีข้อความว่าถ้าธนาคารโจทก์จะต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก ให้ถือว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมด้วยทุกครั้งไป โดยธนาคารไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบก่อน เป็นความยินยอมของจำเลยที่ 2 โดยสมัครใจยอมค้ำประกันต่อไปอีกเอง จึงใช้บังคับได้ และไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด
การคิดดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดเมื่อยังไม่มีการหักทอนบัญชีต่อกัน ดอกเบี้ยทบต้นจึงยังคงคิดคำนวณกันได้ต่อไป จนถึงวันที่หักทอนบัญชี และมีการผิดนัดแล้ว จึงจะคิดคำนวณดอกเบี้ยทบต้นต่อไปอีกไม่ได้ คงคิดได้แต่ดอกเบี้ยอัตราตามสัญญา โดยวิธีคิดดอกเบี้ยธรรมดาจากเงินต้นซึ่งรวมดอกเบี้ยทบต้นสำหรับระยะเวลาก่อนผิดนัดเป็นเงินต้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันเบิกเงินเกินบัญชี: ความรับผิดของผู้ค้ำประกันครอบคลุมหนี้เดิมและดอกเบี้ยทบต้นตามประเพณี
จำเลยที่ 2 เข้าเป็นผู้ค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 และสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 ระบุชัดว่าเป็นการกู้เบิกเงินเกินบัญชีและค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีจากบัญชีกระแสรายวันเลขที่ 715 ซึ่งจำเลยที่ 1เปิดไว้กับธนาคารโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้เบิกเงินตามสัญญาที่ทำไว้โดยวิธีเดินสะพัดจากบัญชีกระแสรายวันดังกล่าว บัญชีนั้นจะเป็นบัญชีชื่อของจำเลยที่ 1 เป็นส่วนตัว หรือเป็นบัญชีของบริษัทที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการ เป็นผู้เปิดไว้ในนามของบริษัทจึงไม่ใช่ข้อสำคัญ และไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด
แม้จำเลยที่ 1 จะเบิกเงินเกินบัญชีอยู่ก่อนแล้วก่อนทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกันแต่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกันจำนวนเงินที่เบิกคือ ตามบัญชีกระแสรายวันเลขที่ 715 การเบิกเงินเกินบัญชีย่อมหมายถึงการเบิกจากบัญชีเงินฝากของลูกหนี้ที่เป็นหนี้ธนาคารอยู่ทั้งหมด จำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาค้ำประกันหนี้ดังกล่าวจึงเป็นการค้ำประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 มีอยู่แล้วและจะมีขึ้นในอนาคต ทั้งนี้จำกัดในวงเงินและระยะเวลาตามสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้ ธนาคารโจทก์จะให้จำเลยรับรองหนี้เดิมนั้นหรือไม่จึงไม่เป็นข้อสำคัญ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยที่1ซึ่งมีอยู่ก่อนเข้าทำสัญญาค้ำประกันนั้นด้วย
ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ มีข้อความว่าถ้าธนาคารโจทก์จะต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกให้ถือว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมด้วยทุกครั้งไป โดยธนาคารไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบก่อน เป็นความยินยอมของจำเลยที่ 2 โดยสมัครใจยอมค้ำประกันต่อไปอีกเอง จึงใช้บังคับได้ และไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด
การคิดดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดเมื่อยังไม่มีการหักทอนบัญชีต่อกัน ดอกเบี้ยทบต้นจึงยังคงคิดคำนวณกันได้ต่อไป จนถึงวันที่หักทอนบัญชี และมีการผิดนัดแล้วจึงจะคิดคำนวณดอกเบี้ยทบต้นต่อไปอีกไม่ได้ คงคิดได้แต่ดอกเบี้ยอัตราตามสัญญา โดยวิธีคิดดอกเบี้ยธรรมดาจากเงินต้นซึ่งรวมดอกเบี้ยทบต้นสำหรับระยะเวลาก่อนผิดนัดเป็นเงินต้นด้วย
of 11