คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 ม. 54

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4783/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตร: การประดิษฐ์ที่ไม่ใหม่ การพิจารณาความแตกต่างจากงานที่ปรากฏก่อนหน้า
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรของจำเลยที่ 1 โดยกล่าวอ้างว่าการประดิษฐ์ที่มีส่วนประกอบของกวาวเครือมีการเปิดเผยสาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่เผยแพร่มาตั้งแต่ปี 2474 ก่อนวันที่จำเลยที่ 1 ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์จึงไม่ใช่การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ นอกจากนี้การประดิษฐ์ดังกล่าวยังไม่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น เพราะองค์ประกอบสมุนไพรจากกวาวเครือเป็นส่วนประกอบพื้นๆ ธรรมดาที่บุคคลอื่นและโจทก์ใช้หรือผลิตกันอยู่ทั่วไป ทั้งไม่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรืออื่นๆ ได้ คงถือเป็นเพียงการผสมสมุนไพร จึงไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้ คำฟ้องดังกล่าวเป็นที่เข้าใจแล้วว่า สิทธิบัตรพิพาทไม่สมบูรณ์เพราะเหตุใด การที่โจทก์ไม่ได้ระบุว่าเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ดังกล่าวมีชื่อว่าอะไร เปิดเผยสาระสำคัญอย่างไร เผยแพร่ที่ไหนอย่างไร บุคคลทั่วไปรวมทั้งโจทก์นำสมุนไพรกวาวเครือไปผสมกับสารอะไรในอัตราส่วนเท่าใด มีขั้นตอนการผลิตอย่างไร ล้วนเป็นเพียงรายละเอียดซึ่งโจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ประกอบธุรกิจจำหน่ายและผลิตยาและเครื่องสำอางซึ่งผลิตจากสมุนไพรกวาวเครือ ต่อมาเมื่อประมาณเดือนสิงหาคม 2542 จำเลยที่ 1 ประกาศในหนังสือพิมพ์ให้ผู้ผลิต ขาย มีไว้เพื่อขาย และเสนอขายผลิตภัณฑ์จากกวาวเครือที่มีลักษณะเช่นเดียวกัน หรือคล้ายกันกับองค์ประกอบสมุนไพรจากกวาวเครือของจำเลยที่ 1 ยุติการกระทำและเรียกคืนผลิตภัณฑ์จากท้องตลาด จึงเป็นกรณีที่โจทก์ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรกวาวเครือเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งหากสิทธิบัตรพิพาทมีผลสมบูรณ์ จำเลยที่ 1 ย่อมจะมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรดังกล่าวและมีสิทธิห้ามบุคคลอื่นรวมทั้งโจทก์ในการประกอบการค้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกวาวเครือได้ ทั้งนี้ โดยพิจารณาจากข้อถือสิทธิที่ระบุไว้ในสิทธิบัตรพิพาทเป็นสำคัญ โจทก์ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรได้ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคสอง โดยโจทก์ไม่ต้องบรรยายฟ้องในรายละเอียดว่า โจทก์ผลิตและจำหน่ายหรือมีไว้ซึ่งสินค้าดังกล่าวตั้งแต่เมื่อใด
ตำรายาหัวกวาวเครือของหลวงอนุสารสุนทรพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ปี 2474 ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะยื่นคำขอรับสิทธิบัตร ทั้งถือว่าได้มีการเปิดเผยข้อมูลที่ปรากฏในตำราดังกล่าวต่อสาธารณชนด้วยเพราะประชาชนทั่วไปย่อมสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เปิดเผยดังกล่าวได้โดยชอบแล้ว กรณีไม่จำต้องพิจารณาถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพื้นที่ที่มีการเผยแพร่ และจำนวนของเอกสารที่พิมพ์เผยแพร่เมื่อเทียบเคียงกับจำนวนประชากรของประเทศ
สาระสำคัญของสิทธิบัตรพิพาทอยู่ที่ส่วนผสมของสมุนไพรจากกวาวเครือกับส่วนประกอบจากน้ำนมและผลิตภัณฑ์จากนมสัตว์ส่วนประกอบอื่นๆ นอกจากนี้อาจจะมีอยู่ด้วยหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ได้ เมื่อตำรายาหัวกวาวเครือของหลวงอนุสารสุนทรที่มีการพิมพ์เผยแพร่มาก่อนได้กล่าวถึงการนำกวาวเครือมาผสมกับนมสัตว์ ปั้นเป็นลูกกลอนใช้รับประทาน ซึ่งหากพิจารณาว่าใช้อัตราส่วนผสมอย่างละร้อยละ 50 ไม่ว่าจะมีสารประกอบอื่นในจำนวนที่น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับส่วนผสมดังกล่าวหรือไม่ ก็จะมีลักษณะเดียวกับข้อถือสิทธิของการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรพิพาทนั่นเอง การประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรพิพาทจึงไม่อาจนับเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เพราะมีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดไว้ก่อนแล้ว ทั้งลำพังการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของผลิตภัณฑ์ ก็ไม่ได้ส่งผลให้การประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรพิพาทเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่และมีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรวัสดุรองรับแรงกระแทก: การประดิษฐ์ที่ไม่เป็นของใหม่ ทำให้สิทธิบัตรไม่สมบูรณ์และเพิกถอนได้
การประดิษฐ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วยลักษณะการประดิษฐ์ 3 ข้อ คือ เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น และสามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม ทั้งนี้ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 จะขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า การประดิษฐ์วัสดุรองรับแรงกระแทกบนหัวเสาเข็มตามสิทธิบัตรของจำเลยไม่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ การประดิษฐ์ของจำเลยจึงไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้ สิทธิบัตรของจำเลยย่อมไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์และเพิกถอนได้ตามมาตรา 54

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรวัสดุรองรับแรงกระแทก: ไม่อินโนเวต-ใช้แล้วก่อนขอรับสิทธิบัตร ศาลฎีกายืนเพิกถอน
จำเลยมีเหตุอันสมควรที่จะเชื่อว่าได้มีการละเมิดสิทธิบัตรของจำเลย การที่จำเลยร้องทุกข์เพื่อให้ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์เป็นการขอรับความคุ้มครองเพื่อให้มีการบังคับตามสิทธิบัตรที่จำเลยได้รับอยู่เป็นการใช้สิทธิโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนเจ้าพนักงานตำรวจจะดำเนินการแก่โจทก์อย่างไรต่อไปเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานตำรวจการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายหรือใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันจะเป็นการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และมาตรา 421
การประดิษฐ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วย (1) เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่(2) เป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นสูงขึ้น และ (3) เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 5 เมื่อการประดิษฐ์วัสดุรองรับแรงกระแทกบนหัวเสาเข็มตามสิทธิบัตรของจำเลยไม่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ จึงไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้ สิทธิบัตรของจำเลยที่ได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 5 จึงเป็นสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์และเพิกถอนได้ตามมาตรา 54

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรวัสดุรองรับแรงกระแทก: การประดิษฐ์ไม่ใหม่ ใช้แล้วในไทยก่อนขอจดทะเบียน
เมื่อมีเหตุอันสมควรที่จำเลยจะเชื่อว่าได้มีการละเมิดสิทธิบัตรของจำเลย การที่จำเลยใช้วิธีการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ เป็นการขอรับความคุ้มครองเพื่อให้มีการบังคับตามสิทธิบัตรที่จำเลยได้รับอยู่เป็นการใช้สิทธิโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนเจ้าพนักงานตำรวจจะดำเนินการแก่โจทก์อย่างไรต่อไปเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานตำรวจ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายหรือใช้สิทธิ ซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันจะเป็นการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และมาตรา 421
การประดิษฐ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วย (1) เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่(2) เป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นสูงขึ้น และ (3) เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตรฯ การประดิษฐ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้จึงต้องประกอบด้วยลักษณะการประดิษฐ์ทั้ง 3 ข้อ จะขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้ เมื่อการประดิษฐ์วัสดุรองรับแรงกระแทกบนหัวเสาเข็มตามสิทธิบัตรของจำเลยไม่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่แล้ว การประดิษฐ์ของจำเลยจึงไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้สิทธิบัตรของจำเลยได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์ และเพิกถอนได้ตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 873/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองชั่วคราวในคดีละเมิดสิทธิบัตร: ขอบเขตการห้ามดำเนินคดีอาญาและการวางเงื่อนไขเพื่อป้องกันความเสียหาย
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรการประดิษฐ์วัสดุรองรับแรงกระแทกบนหัวเสาเข็มที่เจ้าพนักงานออกให้แก่จำเลย โดยอ้างว่าสิทธิบัตรนั้นได้ออกไปโดยไม่ชอบ การที่จำเลยนำเจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปยึดวัสดุรองรับแรงกระแทกบนหัวเสาเข็มที่โจทก์ใช้งานอยู่ในระหว่างพิจารณา ทั้ง ๆ ที่ก่อนฟ้องได้นำเจ้าพนักงานตำรวจยึดวัสดุรองรับแรงกระแทกบนหัวเสาเข็มอันอื่นไปเป็นพยานหลักฐานบ้างแล้ว ถือได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ได้ โจทก์จึงขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยนำเจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปตรวจค้นและยึดวัสดุรองรับกระแทกบนหัวเสาเข็มของโจทก์ในสถานที่ก่อสร้างที่โจทก์รับเหมาตอกเสาเข็มก่อนพิพากษาได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 255 (2)
การที่ศาลจะมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโดยห้ามจำเลยดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรของจำเลยเพื่อนำชี้ให้เจ้าพนักงานตำรวจเข้าทำการตรวจค้นและยึดวัสดุรองรับแรงกระแทกบนหัวเสาเข็มของโจทก์ อาจทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนไปได้ว่าศาลมีคำสั่งห้ามจำเลยไม่ให้ดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรของจำเลยได้ ทั้ง ๆ ที่สิทธิบัตรของจำเลยยังไม่ถูกเพิกถอน และสิทธิในการดำเนินคดียังคงเป็นของจำเลยตราบเท่าที่สิทธิบัตรยังไม่ถูกเพิกถอน และศาลไม่อาจห้ามการกระทำใด ๆ ในการดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ที่จำเลยได้ดำเนินการไปแล้วได้ ศาลจึงชอบ ที่จะมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยนำเจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปทำการตรวจค้นและยึดวัสดุรองรับแรงกระแทกบนหัวเสาเข็มของโจทก์ในสถานที่ก่อสร้างก่อนพิพากษาเท่านั้น แต่ไม่ห้ามจำเลยดำเนินคดีอาญาในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรของจำเลย
เมื่อจำเลยอาจได้รับความเสียหายในอนาคตจากการใช้วิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาของโจทก์ด้วยเหตุที่โจทก์เป็นฝ่ายละเมิดสิทธิตามสิทธิบัตรของจำเลย ศาลจึงกำหนดเงื่อนไขในคำสั่งโดยให้โจทก์ทำบัญชีการใช้วัสดุรองรับแรงกระแทกบนหัวเสาเข็มของโจทก์เสนอศาลทุกเดือนนับแต่เดือนที่มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวและให้โจทก์วางเงินประกันต่อศาลเพื่อประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่จำเลยในกรณีที่ปรากฏต่อมาภายหลังว่าสิทธิบัตรของจำเลยเป็นสิทธิบัตรที่สมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5459/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรไม่สมบูรณ์: การประดิษฐ์ไม่ใหม่-ขาดขั้นสูง, จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบละเมิด
จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันผลิตและมีไว้เพื่อขายเครื่องกรองน้ำ(ชนิดใช้สารกรอง) อันเป็นผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ซึ่งมีโจทก์ร่วมเป็นผู้ทรงสิทธิบัตร จำเลยที่ 1 ได้เคยฟ้องโจทก์ร่วมเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ฉบับเดียวกันนี้เป็นคดีแพ่ง ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยวินิจฉัยว่าการออกสิทธิบัตรการประดิษฐ์ให้แก่โจทก์ร่วม ไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 เป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 54 วรรคแรก จำเลยที่ 1ย่อมยกขึ้นกล่าวอ้างได้ตามมาตรา 54 วรรคสอง
การประดิษฐ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้จะต้องเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ซึ่งต้องไม่ใช่งานที่ปรากฏอยู่แล้ว คำว่า งานที่ปรากฏอยู่แล้วมีอยู่หลายกรณีด้วยกันคือมีการจดสิทธิบัตรไว้แล้ว เป็นงานที่ใช้หรือแพร่หลายอยู่แล้วก่อนยื่นคำขอ หรือเป็นงานที่เปิดเผยต่อสาธารณชนโฆษณาในสิ่งพิมพ์ หากสิ่งประดิษฐ์ใดมีลักษณะ 3 ประการที่กล่าวมา จะไม่ถือว่าเป็นสิ่งใหม่
ก่อนหน้าที่โจทก์ร่วมจะไปขอจดทะเบียนสิทธิบัตรเครื่องกรองน้ำที่พิพาท เครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรของโจทก์ร่วมได้มีแพร่หลายอยู่แล้ว เมื่อโจทก์ร่วมไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าการประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรของโจทก์ร่วมแตกต่างจากการประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำที่แพร่หลายอยู่ก่อนนั้นอย่างไร กรณีจึงยังไม่แน่ชัดว่าการประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำของโจทก์ร่วมเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ซึ่งเข้ากฎเกณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้ นอกจากนี้เครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่พิพาทของโจทก์ร่วมอันมีวิธีการทำงานโดยการปล่อยให้น้ำไหลจากท่อน้ำในถังกรองที่ 1ผ่านสารกรองต่างๆ ที่ใส่ไว้เป็นชั้นๆ โดยน้ำจากสารกรองชั้นสุดท้ายจะไหลผ่านท่อน้ำรูปตัวแอลไปสู่ด้านบนของถังกรองที่ 2 แล้วไหลผ่านสารกรองในถังกรองที่ 2 ที่จัดเรียงเป็นชั้นๆ จนถึงชั้นสุดท้าย หลังจากนั้นน้ำจะไหลออกจากปลายท่อซึ่งมีก๊อกสำหรับเปิดน้ำใช้ ซึ่งหลักการทำงานของเครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่พิพาทดังกล่าวนั้น เป็นหลักการทำงานที่อาศัยหลักของแรงดันน้ำ ขับดันให้น้ำไหลไปตามท่อที่วางไว้ภายในถังกรอง ประกอบกับหลักการไหลจากที่สูงไปยังที่ต่ำของน้ำเพื่อให้น้ำไหลผ่านสารกรองด้านบนสุดไปยังสารกรองที่อยู่ด้านล่างสุด อันเป็นหลักการอย่างธรรมดาสามัญที่บุคคลทั่ว ๆ ไปย่อมทราบดีอยู่แล้ว
คดีแพ่งเรื่องก่อนเป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ได้พิพาทกันในคดีแพ่งเกี่ยวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์เดียวกันกับในคดีนี้ โดยศาลฎีกาในคดีดังกล่าวนั้นวินิจฉัยไว้ว่า สิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่สิทธิบัตร 422 นั้นไม่สมบูรณ์แม้ว่าคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีแพ่งจะผูกพันคู่ความในคดีดังกล่าวเฉพาะในทางแพ่งก็ตาม แต่ศาลย่อมจะนำคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวมาชั่งน้ำหนักประกอบพยานหลักฐานของคู่ความในคดีอาญาได้
สิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่สิทธิบัตร 422 ของโจทก์ร่วมมิใช่การประดิษฐ์ที่ไม่เป็นที่ประจักษ์โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับงานประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำ จึงมิใช่การประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนที่สูงขึ้น เมื่อสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์ร่วมดังกล่าวไม่สมบูรณ์ การกระทำของจำเลยทั้งสองในการผลิตและมีไว้เพื่อขายเครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรของโจทก์ร่วม จึงไม่เป็นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5459/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรไม่สมบูรณ์ เครื่องกรองน้ำที่แพร่หลายก่อน การผลิตไม่เป็นความผิด
จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันผลิตและมีไว้เพื่อขายเครื่องกรองน้ำ (ชนิดใช้สารกรอง) อันเป็นผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ซึ่งมีโจทก์ร่วมเป็นผู้ทรงสิทธิบัตร จำเลยที่ 1 ได้เคย ฟ้องโจทก์ร่วมเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ฉบับเดียวกันนี้เป็นคดีแพ่ง ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด โดยวินิจฉัยว่าการออกสิทธิบัตรการประดิษฐ์ให้แก่โจทก์ร่วม ไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 เป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 54 วรรคแรก จำเลยที่ 1 ย่อมยกขึ้นกล่าวอ้างได้ตามมาตรา 54 วรรคสอง การประดิษฐ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้จะต้องเป็นการประดิษฐ์ ขึ้นใหม่ซึ่งต้องไม่ใช่งานที่ปรากฏอยู่แล้ว คำว่า งานที่ปรากฏ อยู่แล้วมีอยู่หลายกรณีด้วยกันคือมีการจดสิทธิบัตรไว้แล้ว เป็นงานที่ใช้หรือแพร่หลายอยู่แล้วก่อนยื่นคำขอ หรือเป็นงานที่ เปิดเผยต่อสาธารณชนโฆษณาในสิ่งพิมพ์ หากสิ่งประดิษฐ์ใด มีลักษณะ 3 ประการที่กล่าวมา จะไม่ถือว่าเป็นสิ่งใหม่ ก่อนหน้าที่โจทก์ร่วมจะไปขอจดทะเบียนสิทธิบัตรเครื่องกรองน้ำ ที่พิพาท เครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรของโจทก์ร่วมได้มี แพร่หลายอยู่แล้ว เมื่อโจทก์ร่วมไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า การประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรของโจทก์ร่วมแตกต่าง จากการประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำที่แพร่หลายอยู่ก่อนนั้นอย่างไร กรณีจึงยังไม่แน่ชัดว่าการประดิษฐ์เครื่อง กรอง น้ำ ของ โจทก์ร่วม เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ซึ่งเข้ากฎเกณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตร การประดิษฐ์ได้ นอกจากนี้เครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ที่พิพาทของโจทก์ร่วมอันมีวิธีการทำงานโดยการปล่อยให้น้ำไหล จากท่อน้ำในถังกรองที่ 1 ผ่านสารกรองต่าง ๆ ที่ใส่ไว้ เป็นชั้น ๆ โดยน้ำจากสารกรองชั้นสุดท้ายจะไหลผ่านท่อน้ำ รูปตัวแอลไปสู่ด้านบนของถังกรองที่ 2 แล้วไหลผ่านสารกรองในถังกรองที่ 2 ที่จัดเรียงเป็นชั้น ๆ จนถึงชั้นสุดท้ายหลังจากนั้นน้ำจะไหลออกจากปลายท่อซึ่งมีก๊อกสำหรับเปิดน้ำใช้ ซึ่งหลักการทำงานของเครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ที่พิพาทดังกล่าวนั้น เป็นหลักการทำงานที่อาศัยหลักของแรงดันน้ำ ขับดันให้น้ำไหลไปตามท่อที่วางไว้ภายในถังกรอง ประกอบกับ หลักการไหลจากที่สูงไปยังที่ต่ำของน้ำเพื่อให้น้ำไหลผ่านสารกรอง ด้านบนสุดไปยังสารกรองที่อยู่ด้านล่างสุด อันเป็นหลักการอย่างธรรมดาสามัญที่บุคคลทั่ว ๆ ไปย่อมทราบดีอยู่แล้ว คดีแพ่งเรื่องก่อนเป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1ได้พิพาทกันในคดีแพ่งเกี่ยวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์เดียวกันกับในคดีนี้ โดยศาลฎีกาในคดีดังกล่าวนั้นวินิจฉัยไว้ว่าสิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่สิทธิบัตร 422 นั้นไม่สมบูรณ์แม้ว่าคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีแพ่งจะผูกพันคู่ความในคดีดังกล่าว เฉพาะในทางแพ่งก็ตาม แต่ศาลย่อมจะนำคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว มาชั่งน้ำหนักประกอบพยานหลักฐานของคู่ความในคดีอาญาได้ สิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่สิทธิบัตร 422 ของโจทก์ร่วมมิใช่การประดิษฐ์ที่ไม่เป็นที่ประจักษ์โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับงานประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำ จึงมิใช่การประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนที่สูงขึ้น เมื่อสิทธิบัตร การประดิษฐ์ของโจทก์ร่วมดังกล่าวไม่สมบูรณ์ การกระทำของ จำเลยทั้งสองในการผลิตและมีไว้เพื่อขายเครื่องกรองน้ำ ตามสิทธิบัตรของโจทก์ร่วม จึงไม่เป็นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7377/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์เนื่องจากขาดขั้นการประดิษฐ์สูง และการฟ้องซ้ำ
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลยโดยโจทก์ทั้งสองอ้างว่าสิทธิบัตรดังกล่าวของจำเลยเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์เพราะขัดต่อ พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 5 และปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองซึ่งได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ใบม่านเหล็กบังตาสำหรับประตูเหล็กยืดได้ถูกจำเลยอาศัยสิทธิบัตรการประดิษฐ์ดังกล่าวของจำเลยฟ้องเป็นคดีแพ่งและคดีอาญาหลายเรื่องว่า โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ละเมิดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ม่านเล็กบังตาชนิดติดกับประตูเหล็กยึดและพับได้ของจำเลยและให้ยกคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ใบม่านบังตาสำหรับประตูเหล็กยึดของโจทก์ที่ 2 ผลิตภัณฑ์ของจำเลยกับผลิตภัณฑ์ที่โจทก์ที่ 2 ออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกัน จึงถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าวของจำเลยได้ตามบทบัญญัติมาตรา 54 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522
ตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 31 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตรของจำเลยนั้น เมื่ออธิบดีกรมทะเบียนการค้าได้มีคำสั่งให้ประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตรตามมาตรา 28 แล้ว บุคคลที่เห็นว่าตนมีสิทธิรับสิทธิบัตรดีกว่าผู้ขอรับสิทธิบัตรหรือเห็นว่าคำขอรับสิทธิบัตรนั้นไม่ชอบด้วยมาตรา 5 มาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 หรือมาตรา 14 มีสิทธิยื่นคำคัดค้านต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ภายใน 180 วัน นับแต่วันประกาศโฆษณาตามมาตรา 28การคัดค้านดังกล่าวเป็นเพียงกระบวนการเพื่อประกอบการพิจารณาของอธิบดีกรมทะเบียนการค้าว่าผู้ขอรับสิทธิบัตรเป็นผู้มีสิทธิรับสิทธิบัตรและจะสั่งให้รับจดทะเบียนการประดิษฐ์และออกสิทธิบัตรให้แก่ผู้ขอรับสิทธิบัตรนั้นหรือไม่ แต่หากสิทธิบัตรที่อธิบดีกรมทะเบียนการค้าสั่งให้รับจดทะเบียนการประดิษฐ์และออกให้ไปนั้นได้ออกไปโดยไม่ชอบตามมาตรา 5 มาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 หรือมาตรา 14แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 แล้ว มาตรา 54 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวก็ให้ถือว่าสิทธิบัตรนั้นไม่สมบูรณ์ และบุคคลผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรนั้นได้ตามมาตรา 54 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. นั้น ดังนั้นเมื่อโจทก์ทั้งสองซึ่งถือได้ว่าเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในสิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ 261 ของจำเลยเห็นว่า สิทธิบัตรดังกล่าวของจำเลยไม่สมบูรณ์เพราะขัดต่อมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 แม้โจทก์ทั้งสองมิได้ยื่นคำคัดค้านคำขอรับสิทธิบัตรของจำเลยภายใน 180 วัน นับแต่วันประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตรนั้น โจทก์ทั้งสองก็มีอำนาจฟ้อง การที่โจทก์ทั้งสองมิได้ยื่นคำคัดค้านคำขอรับสิทธิบัตรของจำเลยตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 31จึงหาได้ตัดสิทธิของโจทก์ทั้งสองที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรของจำเลยตามที่ได้รับความคุ้นครองอยู่ในมาตรา 54 วรรคสองไม่
คดีแพ่งหมายเลขดำที่ 13183/2530 ของศาลแพ่งเป็นกรณีที่จำเลยฟ้องโจทก์ที่ 2 และพวกขอให้ศาลยกคำวินิจฉัยของคณะกรรมการสิทธิบัตรที่วินิจฉัยว่าคำขอรับสิทธิบัตรของโจทก์ที่ 2 เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ไม่เหมือนหรือลอกเลียนแบบผลิตภัณฑ์ของผู้ใดและให้ยกคำขอรับสิทธิบัตรของโจทก์ที่ 2 ซึ่งคดีดังกล่าวมีประเด็นข้อพิพาทว่า แบบผลิตภัณฑ์ของโจทก์ที่ 2 เหมือนหรือลอกเลียนแบบผลิตภัณฑ๎ม่านเหล็กบังตาตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลยหรือไม่ ส่วนคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2923/2529 ของศาลชั้นต้น เป็นกรณีที่โจทก์ที่ 1 และพวกฟ้องจำเลยฐานละเมิดเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยไปร้องทุกข์กล่าวโทษเป็นคดีอาญาว่าโจทก์ที่ 1 และพวกกระทำความผิดอาญาละเมิดสิทธิบัตรของจำเลยและคดีอาญานั้นถึงที่สุดโดยพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้อง ทำให้โจทก์ที่ 1 กับพวกเสียหาย ซึ่งมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 1 และพวกเช่นนั้นหรือไม่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีทั้งสองดังกล่าวจึงเป(นคนละประเด็นกันกับประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้ ซึ่งมีประเด็นว่าสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลยเป็นสิทธิบุตรที่ไม่สมบูรณ์และโจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรนั้นได้หรือไม่ ประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงมิใช่ประเด็นที่ศาลใน 2 คดีก่อนได้วินิจฉัยไว้โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องของโจทก์ทั้งสองคดีนี้จึงไม่ฟ้องซ้ำกันกับคดีแพ่งทั้งสองดังกล่าว
ข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลยเมื่อเปรียบเทียบกับข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของประเทศอังกฤษแล้ว ปรากฏว่าข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรของจำเลยและข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรของประเทศอังกฤษดังกล่าวต่างมีข้อถือสิทธิเป็นสิ่งประดิษฐ์ในม่านแบบยืดและพับได้ ซึ่งปลายม่านทั้งสองด้านม้วนเป็นรูปก้นหอย ด้านหนึ่งม้วนตามเข็มนาฬิกา อีกด้านหนึ่งม้วนทวนเข็มนาฬิกาเหมือนกัน แผ่นใบม่านสวมสอดเข้าด้วยกันในลักษณะสามารถยืดออกและพับได้ โดยมีข้อแตกต่างกัน คือ ปลายใบม่านของการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของประเทศอังกฤษหักมุมทั้งสองด้าน ส่วนปลายใบม่านของการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของจำเลยหักเป็นมุมด้านเดียว ซึ่งข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นข้อแตกต่างเพียงเล็กน้อย ทั้งไม่ปรากฏว่าการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของจำเลยใช้งานได้ดีกว่าการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของประเทศอังกฤษเพราะข้อถือสิทธิที่แตกต่างกันดังกล่าวอย่างไร ดังนี้การประดิษฐ์ใบม่านเหล็กบังตาชนิดติดกับประตูเหล็กแบบยืดและพับได้ ตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลยมิใช่การประดิษฐ์ที่ไม่เป็นที่ประจักษ์โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับงานประเภทนั้น อันจะถือว่าเป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้นได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 จำเลยย่อมไม่อาจขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ดังกล่าวได้ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลยจึงเป็นสิทธิบุตรที่ได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 5 (2) อันเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียชอบที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรนั้นได้ตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคสอง
ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลชอบที่จะไม่รับฟังพยานเอกสาร ที่โจทก์ทั้งสองนำสืบถึงสิทธิบัตรของประเทศอังกฤษ เพราะเอกสารดังกล่าวเป็นเพียงสำเนาซึ่งจำเลยได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าวไว้แล้วนั้นจำเลยมิได้กล่าวไว้ในฟ้องอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรของจำเลยโดยอ้างว่า สิทธิบัตรของจำเลยได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตรพ.ศ.2522 เป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้กรม-ทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ เพิกถอนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลย หากกรมทะเบียนการค้าไม่ดำเนินการ ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคสอง ซึ่งเมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนสิทธิบัตรของจำเลยเช่นนั้นแล้ว กรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์ จะต้องไปดำเนินการเพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าวของจำเลยตามพระราชบัญญัตินั้นต่อไป หาใช่เป็นการพิพากษาบังคับกรมทะเบียนการค้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีตามที่จำเลยฎีกาไม่ เพียงแต่ศาลล่างทั้งสองใช้ถ้อยคำคลาดเคลื่อนไปเท่านั้น ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คดีนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความ 10,000 บาท แทนโจทก์นั้นจึงไม่ชอบ เพราะตาราง 6 ท้ายป.วิ.พ. ได้กำหนดอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลชั้นต้นสำหรับคดีไม่มีทุนทรัพย์ไว้เพียง 1,500 บาท ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5939/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์: ศาลฎีกายกประเด็นข้อกฎหมายความต่างหมวดสิทธิบัตรการประดิษฐ์และออกแบบ
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเรื่องการเพิกถอนสิทธิบัตรการประดิษฐ์โดยอาศัยบทบัญญัติในหมวด2แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตรพ.ศ.2522แต่สิทธิบัตรพิพาทที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนเป็นสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติเรื่องการเพิกถอนสิทธิบัตรที่ออกไปโดยไม่ชอบไว้ในหมวด3เป็นบทกฎหมายต่างหมวดกันหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าจะเพิกถอนสิทธิบัตรการประดิษฐ์กับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้หรือไม่ได้มีข้อบัญญัติแตกต่างกันหลายประการคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ยังคลาดเคลื่อนไม่ตรงกับประเด็นตามที่โจทก์ฟ้องปัญหาดังกล่าวนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นกล่าวได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5),246และมาตรา247วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5939/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยผิดหมวดกฎหมาย
ตามคำฟ้องโจทก์มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาว่า การออกแบบผลิตภัณฑ์โครงสำหรับยึดหลอดนีออนที่จำเลยนำไปขอรับสิทธิบัตรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522มาตรา 56 หรือไม่ หากฟังได้ว่าไม่ใช่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ สิทธิบัตรพิพาทที่จำเลยได้รับมาก็ออกโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 56 ศาลย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนสิทธิบัตรพิพาทได้ตามมาตรา 64 แต่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า ผลิตภัณฑ์ที่จำเลยขอรับสิทธิบัตรไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่หรือเป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นประดิษฐ์สูงขึ้นและไม่เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม การได้รับสิทธิบัตรพิพาทของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนได้ตามมาตรา 54 ดังนี้ ศาลอุทธรณ์ไปวินิจฉัยเรื่องการเพิกถอนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ซึ่งเป็นการวินิจฉัยโดยอาศัยบทบัญญัติในหมวด 2 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 แต่สิทธิบัตรพิพาทที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนเป็นสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติเรื่องการเพิกถอนสิทธิบัตรที่ออกไปโดยไม่ชอบไว้ในหมวด 3 เป็นบทกฎหมายต่างหมวดกันหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าจะเพิกถอนสิทธิบัตรการประดิษฐ์กับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้หรือไม่ได้ มีข้อบัญญัติแตกต่างกันหลายประการ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ยังคลาดเคลื่อนไม่ตรงกับประเด็นตามที่โจทก์ฟ้อง ปัญหาดังกล่าวนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่าย-ใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นกล่าวได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246และ 247 คดีนี้แม้คู่ความจะสืบพยานมาเสร็จสิ้นแล้ว แต่เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาล เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควร ก็ชอบที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีใหม่ทั้งหมดได้
of 2