คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1169 วรรคแรก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องผู้ถือหุ้น: กรณีบริษัทไม่ฟ้องเอง ผู้ถือหุ้นฟ้องแทนทำได้หรือไม่
โจทก์กล่าวมาในฟ้องแต่เพียงว่าตั้งแต่ ป. ถึงแก่ความตายจนถึงปัจจุบันนี้ ยังไม่มีกรรมการบริษัทหรือผู้ถือหุ้นได้เรียกให้ ผู้จัดการมรดกของ ป. ส่งทรัพย์สินต่าง ๆ คืนให้แก่บริษัทตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าบริษัทไม่ยอมฟ้องร้องแต่อย่างใด โจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวหาได้ไม่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้ถือหุ้น: การฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนจากผู้จัดการมรดกกรณีกรรมการกระทำผิด
โจทก์กล่าวมาในฟ้องแต่เพียงว่าตั้งแต่ป. ถึงแก่ความตายจนถึงปัจจุบันนี้ยังไม่มีกรรมการบริษัทหรือผู้ถือหุ้นได้เรียกให้ผู้จัดการมรดกของป.ส่งทรัพย์สินต่างๆคืนให้แก่บริษัทตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าบริษัทไม่ยอมฟ้องร้องแต่อย่างใดโจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวหาได้ไม่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้ถือหุ้น: กรณีบริษัทไม่ฟ้องกรรมการที่ทำให้เกิดความเสียหาย
โจทก์กล่าวมาในฟ้องแต่เพียงว่าตั้งแต่ ป. ถึงแก่ความตายจนถึงปัจจุบันนี้ ยังไม่มีกรรมการบริษัทหรือผู้ถือหุ้นได้เรียกให้ผู้จัดการมรดกของ ป.ส่งทรัพย์สินต่าง ๆ คืนให้แก่บริษัทตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าบริษัทไม่ยอมฟ้องร้องแต่อย่างใด โจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวหาได้ไม่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้ถือหุ้น: กรณีบริษัทไม่ดำเนินการเรียกทรัพย์สินคืนจากผู้จัดการมรดก
โจทก์กล่าวมาในฟ้องแต่เพียงว่าตั้งแต่ ป.ถึงแก่ความตายจนถึงปัจจุบันนี้ ยังไม่มีกรรมการบริษัทหรือผู้ถือหุ้นได้เรียกให้ผู้จัดการมรดกของ ป.ส่งทรัพย์สินต่าง ๆ คืนให้แก่บริษัท ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าบริษัทไม่ยอมฟ้องร้องแต่อย่างใด โจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวหาได้ไม่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1910/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีล้มละลายของผู้ถือหุ้น: กรณีกรรมการยักยอกเงิน
ปกติเมื่อกรรมการผู้ใดทำให้บริษัทเสียหาย บริษัทย่อมเป็นผู้ฟ้องเรียกให้กรรมการผู้นั้นชดใช้ค่าเสียหายแก่บริษัท ส่วนผู้ถือหุ้นจะเป็นผู้ฟ้องตามป.พ.พ. มาตรา 1169 วรรคแรก ต้องเป็นการฟ้องแทนหรือฟ้องเพื่อประโยชน์ของบริษัทเฉพาะกรณีที่บริษัทไม่ยอมฟ้อง และเป็นการฟ้องเพื่อเรียกร้องเอาสินไหมทดแทนเท่านั้น
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่งของบริษัท ก.นำหนี้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งจำเลยในฐานะกรรมการบริษัท ก.ที่ยักยอกเงินของบริษัท ก.และต้องรับผิดต่อบริษัท ก.มาฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลาย หาใช่เป็นกรณีการฟ้องเพื่อเรียกร้องเอาสินไหมทดแทนจากจำเลยแทนหรือฟ้องเพื่อประโยชน์ของบริษัท ก.ไม่ โจทก์ซึ่งเป็นเพียงผู้ถือหุ้นของบริษัท ก.จึงมิได้อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยที่จะฟ้องจำเลยให้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1910/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องล้มละลายของผู้ถือหุ้น: ต้องเป็นการฟ้องแทนหรือเพื่อประโยชน์ของบริษัทเท่านั้น
ปกติเมื่อกรรมการผู้ใดทำให้บริษัทเสียหายบริษัทย่อมเป็นผู้ฟ้องเรียกให้กรรมการผู้นั้นชดใช้ค่าเสียหายแก่บริษัทส่วนผู้ถือหุ้นจะเป็นผู้ฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1169วรรคแรกต้องเป็นการฟ้องแทนหรือฟ้องเพื่อประโยชน์ของบริษัทเฉพาะกรณีที่บริษัทไม่ยอมฟ้องและเป็นการฟ้องเพื่อเรียกร้องเอาสินไหมทดแทนเท่านั้น การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่งของบริษัท ก. นำหนี้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งจำเลยในฐานะกรรมการบริษัท ก. ที่ยักยอกเงินของบริษัท ก. และต้องรับผิดต่อบริษัท ก. มาฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายหาใช่เป็นกรณีการฟ้องเพื่อเรียกร้องเอาสินไหมทดแทนจากจำเลยแทนหรือฟ้องเพื่อประโยชน์ของบริษัท ก. ไม่โจทก์ซึ่งเป็นเพียงผู้ถือหุ้นของบริษัท ก. จึงมิได้อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยที่จะฟ้องจำเลยให้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา9ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1910/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีล้มละลายของผู้ถือหุ้น: ต้องเป็นการฟ้องแทนหรือเพื่อประโยชน์ของบริษัทเท่านั้น
เมื่อบริษัทจดทะเบียนแล้วถือว่าเป็น บุคคลมีสิทธิหน้าที่ต่างหากจาก ผู้ถือหุ้น กรรมการผู้ใดทำให้บริษัทเสียหายบริษัทย่อมเป็นผู้ฟ้องเรียกให้กรรมการผู้นั้นชดใช้ค่าเสียหายแก่บริษัทส่วนผู้ถือหุ้นจะฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1169ต้องเป็นการฟ้องแทนหรือฟ้องเพื่อประโยชน์ของบริษัทเฉพาะกรณีที่บริษัทไม่ยอมฟ้องและเป็นการฟ้องเรียกร้องเอาสินไหมทดแทนเท่านั้นโจทก์ซึ่งเป็นเพียง ผู้ถือหุ้นของบริษัทจึงมิได้อยู่ในฐานะ เจ้าหนี้ของจำเลยที่จะฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4355/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนการจดทะเบียนบริษัท: ผู้ถือหุ้นและนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท
ตามคำฟ้องโจทก์ทั้งสองได้อ้างเหตุเพียงว่า การที่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดรับจดทะเบียนการเพิ่มทุน แก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ และเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทจากโจทก์ที่ 1 เป็น ช.แทนตามคำขอจดทะเบียนนั้น เป็นเพราะนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทหลงเชื่อตามรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ ช.และ ย.ร่วมกันจัดทำขึ้นโดยเป็นความเท็จ ซึ่งความจริงไม่มีการประชุมกันแต่อย่างใด และโจทก์ที่ 1 ก็มิได้ลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท โจทก์ทั้งสองมิได้อ้างว่าการรับจดทะเบียนดังกล่าวเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่ 1 เพราะเหตุนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายในการจดทะเบียนนั้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด ทั้งการทำรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทและนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทก็มิได้เป็นผู้จัดทำรายงานการประชุมดังกล่าว แม้รายงานการประชุมนั้นเป็นรายงานเท็จ ผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ก็มิใช่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยในฐานะนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดดำเนินการเพิกถอนการจดทะเบียนตามคำขอจดทะเบียนดังกล่าวได้ ส่วนโจทก์ที่ 2 เป็นเพียงผู้ถือหุ้นไม่มีอำนาจจัดการ ทำกิจการหรือประกอบกิจการของบริษัท เพราะบริษัทจำกัดกฎหมายให้มีกรรมการจัดการตามข้อบังคับของบริษัทไว้แล้ว กรรมการบริษัทเพียงแต่อยู่ในความครอบงำของที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นทั้งปวง ถ้ากรรมการทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัท บริษัทจะฟ้องร้องเรียกเอาสินไหมทดแทนแก่กรรมการได้ ในกรณีที่บริษัทไม่ยอมฟ้องร้องผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดจะเอาคดีนั้นขึ้นว่าก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1169 วรรคแรก ดังนั้น สิทธิของโจทก์ที่ 2 เกี่ยวกับกิจการของบริษัทจำกัดที่ตนถือหุ้นจึงมีอยู่เพียงการฟ้องร้องกรรมการที่ทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัทเท่านั้น หามีสิทธิฟ้องบุคคลภายนอกเกี่ยวกับกิจการของบริษัทจำกัดไม่ กรณีที่จำเลยปฏิเสธไม่ยอมเพิกถอนการจดทะเบียนตามคำขอจดทะเบียนดังกล่าวหาได้กระทบกระเทือนถึงสิทธิของโจทก์ที่ 2 ไม่ โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4355/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนการจดทะเบียน: โจทก์ต้องมีสิทธิถูกกระทบโดยตรงจากจำเลย
ตามคำฟ้องโจทก์ทั้งสองได้อ้างเหตุเพียงว่า การที่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทรับจดทะเบียนการเพิ่มทุน แก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิและเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัท พ.จำกัดจากโจทก์ที่1เป็นช.แทนตามคำขอจดทะเบียนเอกสารท้ายฟ้องนั้น เป็นเพราะนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทหลงเชื่อตามรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท พ.จำกัดที่ช.และย. ร่วมกันจัดทำขึ้นโดยเป็นความเท็จ ซึ่งความจริงไม่มีการประชุมกันและโจทก์ที่ 1 ก็มิได้ลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัทดังกล่าว ดังนี้ แม้จะฟังว่ารายงานการประชุมนั้นเป็นรายงานเท็จ ผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่ 1ก็มิใช่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยในฐานะนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทดำเนินการเพิกถอนการจดทะเบียนตามคำขอจดทะเบียนเอกสารท้ายฟ้องได้ โจทก์ที่ 2 เป็นเพียงผู้ถือหุ้น สิทธิของโจทก์ที่ 2 เกี่ยวกับกิจการของบริษัทจำกัดจึงมีอยู่เพียงการฟ้องร้องกรรมการที่ทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัทเท่านั้น หามีสิทธิฟ้องบุคคลภายนอกเกี่ยวกับกิจการของบริษัทจำกัดไม่ ดังนั้น กรณีที่จำเลยปฏิเสธไม่ยอมเพิกถอนการจดทะเบียนตามคำขอจดทะเบียนเอกสารท้ายฟ้อง หาได้กระทบกระเทือนถึงสิทธิของโจทก์ที่ 2 ไม่ โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย