พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6336/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาของเด็กและเยาวชน: การพิจารณาในศาลอาญาปกติเมื่อยังไม่มีศาลเยาวชน
ขณะโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2539 ในเขตอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเป็นท้องที่ที่จำเลยมีถิ่นที่อยู่ปกติยังไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัว ทั้งแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัดจันทบุรีซึ่งอยู่ในท้องที่ที่จำเลยกระทำความผิดก็ยังมิได้เปิดทำการ โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นคือศาลจังหวัดจันทบุรีได้ และแม้ในระหว่างการพิจารณาของศาลจังหวัดจันทบุรี จะได้เปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวขึ้นในศาลจังหวัดจันทบุรี แต่ศาลจังหวัดจันทบุรีคงดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้ต่อมาอย่างคดีธรรมดา เท่ากับศาลจังหวัดจันทบุรีเห็นสมควรใช้ดุลพินิจไม่โอนคดีนี้ไปยังแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัดจันทบุรีทั้งให้พิจารณาต่อไปอย่างคดีธรรมดาโดยไม่ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ. 2534 มาตรา 59 กระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษา การอุทธรณ์ฎีกาจึงต้องเป็นไปตาม ป.วิ.อ. ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมมีอำนาจพิพากษาคดีนี้อย่างคดีธรรมดาได้เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2261/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลพิจารณาคดีเยาวชนในพื้นที่ที่ยังไม่มีศาลเยาวชนฯ กรณีที่ศาลธรรมดาพิจารณาได้
จำเลยมีถิ่นที่อยู่และกระทำความผิดที่จังหวัดลพบุรี ซึ่งยังไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวหรือแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 58 (3) ได้กำหนดให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาตาม ป.วิ.อ. มีอำนาจพิจารณาคดีนั้น ศาลจังหวัดลพบุรีจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลย เมื่อคดีนี้ได้พิจารณาโดยศาลจังหวัดลพบุรีซึ่งมิใช่ศาลเยาวชนและครอบครัว การพิจารณาพิพากษาคดีในชั้นอุทธรณ์และฎีกาจึงไม่ต้องพิจารณาโดยแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวของศาลอุทธรณ์ภาค 1 และศาลฎีกา เพราะกรณีดังกล่าวไม่ต้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 121, 123 และ 125
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4481/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของการประกาศ คสช. ต่อการเลือกตั้งสุขาภิบาล และผลของ พ.ร.บ. ยกเลิกประกาศ คสช.
เมื่อคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติประกาศให้เลื่อนการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลทั่วราชอาณาจักรออกไปโดยไม่มีกำหนด จึงเป็นการยกเลิกประกาศจังหวัดภูเก็ตที่ให้เลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลที่โจทก์เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งคนหนึ่ง แม้ต่อมาจะมี พ.ร.บ.ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 19 และฉบับที่ 20 ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534 โดยมาตรา 4 ให้จัดให้มีการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลแทนผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยผลของประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 19 ก็ตาม ก็ได้มีการรับสมัครเลือกตั้งเพื่อดำเนินการตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวซึ่งชอบด้วยกฎหมายมีผลบังคับได้แล้ว