พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3201/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกและการครอบครองทรัพย์สิน การฟ้องเรียกส่วนแบ่งมรดกพ้นกำหนดอายุความ
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของ ผ. ภายหลังจาก ผ. ถึงแก่ความตายเป็นเวลาถึง 37 ปีเศษ จึงพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เจ้ามรดกตายหรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก ซึ่งต้องห้ามไม่ให้ฟ้องคดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 แต่หากโจทก์ซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งกัน ก็ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 โจทก์จึงต้องนำสืบให้ได้ความโดยแน่ชัดว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งกันและทายาทอื่นได้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์
ทรัพย์มรดกของ ผ. ได้แบ่งปันให้แก่ ร. บ. และ ส. ทายาทของ ผ. และบุคคลทั้งสามเข้าครอบครองที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัดอันเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคแรก ตั้งแต่ 37 ปีเศษมาแล้วจึงถือว่าการแบ่งปันมรดกเสร็จสิ้นแล้วตั้งแต่ 37 ปีเศษดังกล่าว และนับแต่นั้นมาย่อมถือว่าบุคคลทั้งสามครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนไม่ใช่ครอบครองแทนโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเอาส่วนแบ่งมรดกอีก
ทรัพย์มรดกของ ผ. ได้แบ่งปันให้แก่ ร. บ. และ ส. ทายาทของ ผ. และบุคคลทั้งสามเข้าครอบครองที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัดอันเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคแรก ตั้งแต่ 37 ปีเศษมาแล้วจึงถือว่าการแบ่งปันมรดกเสร็จสิ้นแล้วตั้งแต่ 37 ปีเศษดังกล่าว และนับแต่นั้นมาย่อมถือว่าบุคคลทั้งสามครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนไม่ใช่ครอบครองแทนโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเอาส่วนแบ่งมรดกอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4688/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนผู้จัดการมรดกและการตั้งผู้จัดการมรดกใหม่เมื่อมีการแบ่งมรดกแล้วแต่ยังไม่จดทะเบียน
มารดาผู้ร้องและคัดค้านได้แบ่งที่ดินมรดกของบิดาให้ทายาททุกคน ซึ่งรวมทั้งผู้ร้องและผู้คัดค้าน ได้ เข้าครอบครองเป็นสัดส่วนแล้ว เป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดก โดยชอบด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคแรกเมื่อผู้ร้องได้ขายที่ดินมรดกที่ได้รับแบ่งให้ไปแล้วจึงไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดกอีก แม้ต่อมาผู้ร้องได้รับแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้จัดการมรดกของบิดาก็ไม่มีสิทธิจัดการมรดก ดังนั้น เมื่อผู้ร้องขอจะใช้อำนาจผู้จัดการมรดกมาเรียกร้องเอาส่วนแบ่งใหม่ให้ผิดไป จากที่ได้แบ่งปันกันไปแล้ว จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตกระทบกระเทือนสิทธิของผู้คัดค้านและทายาทอื่นซึ่งครอบครองทรัพย์มรดกส่วนของตนอยู่ มีเหตุสมควรให้ศาลถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 แม้มีการแบ่งปันที่ดินมรดกโดยผู้คัดค้านและทายาทอื่นเข้าครอบครองเป็นส่วนสัดแล้วก็ตาม แต่ที่ดินมรดกรายนี้เป็นที่ดินมี น.ส.3 และยังไม่ได้จดทะเบียนแบ่งแยกทั้งเคยมีการไปขอให้เจ้าหน้าที่ที่ดินดำเนินการ แบ่งแยกทะเบียน แต่ได้รับการปฏิเสธที่จะดำเนินการแบ่งแยกทางทะเบียนให้โดยอ้างว่าต้องให้ผู้จัดการมรดกเป็นผู้ขอแบ่งแยกทางทะเบียน กรณีจึงพอถือได้ว่าการจัดการ หรือแบ่งปันมรดกที่ดินของผู้ตายมีเหตุขัดข้องทั้งผู้คัดค้านมีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามที่จะเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718จึงตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกที่ดินของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4688/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: สิทธิของผู้จัดการมรดก & การแบ่งมรดกโดยชอบด้วยกฎหมาย
มารดาผู้ร้องและผู้คัดค้านได้แบ่งที่ดินมรดกของบิดาให้ทายาททุกคน ซึ่งรวมทั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านได้เข้าครอบครองเป็นสัดส่วนแล้ว เป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกโดยชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรรคแรก เมื่อผู้ร้องได้ขายที่ดินมรดกที่ได้รับแบ่งให้ไปแล้ว จึงไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดกอีก แม้ต่อมาผู้ร้องได้รับแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้จัดการมรดกของบิดาก็ไม่มีสิทธิจัดการมรดกดังนั้น เมื่อผู้ร้องจะใช้อำนาจผู้จัดการมรดกมาเรียกร้องเอาส่วนแบ่งใหม่ให้ผิดไปจากที่ได้แบ่งปันกันไปแล้ว จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตกระทบกระเทือนสิทธิของผู้คัดค้านและทายาทอื่นซึ่งครอบครองทรัพย์มรดกส่วนของตนอยู่ มีเหตุสมควรให้ศาลถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727
แม้มีการแบ่งปันที่ดินมรดกโดยผู้คัดค้านและทายาทอื่นเข้าครอบครองเป็นส่วนสัดแล้วก็ตาม แต่ที่ดินมรดกรายนี้เป็นที่ดินมี น.ส.3 และยังไม่ได้จดทะเบียนแบ่งแยก ทั้งเคยมีการไปขอให้เจ้าหน้าที่ที่ดินดำเนินการแบ่งแยกทางทะเบียน แต่ได้รับการปฏิเสธที่จะดำเนินการแบ่งแยกทางทะเบียนให้โดยอ้างว่าต้องให้ผู้จัดการมรดกเป็นผู้ขอแบ่งแยกทางทะเบียน กรณีจึงพอถือได้ว่าการจัดการหรือแบ่งปันมรดกที่ดินของผู้ตายมีเหตุขัดข้อง ทั้งผู้คัดค้านมีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามที่จะเป็นผู้จัดการมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718 จึงตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกที่ดินของผู้ตาย
แม้มีการแบ่งปันที่ดินมรดกโดยผู้คัดค้านและทายาทอื่นเข้าครอบครองเป็นส่วนสัดแล้วก็ตาม แต่ที่ดินมรดกรายนี้เป็นที่ดินมี น.ส.3 และยังไม่ได้จดทะเบียนแบ่งแยก ทั้งเคยมีการไปขอให้เจ้าหน้าที่ที่ดินดำเนินการแบ่งแยกทางทะเบียน แต่ได้รับการปฏิเสธที่จะดำเนินการแบ่งแยกทางทะเบียนให้โดยอ้างว่าต้องให้ผู้จัดการมรดกเป็นผู้ขอแบ่งแยกทางทะเบียน กรณีจึงพอถือได้ว่าการจัดการหรือแบ่งปันมรดกที่ดินของผู้ตายมีเหตุขัดข้อง ทั้งผู้คัดค้านมีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามที่จะเป็นผู้จัดการมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718 จึงตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกที่ดินของผู้ตาย