พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6599/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การกระทำของเจ้าหน้าที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จะเกี่ยวข้องกับทางหลวงคู่ขนาน
พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 5 กำหนดว่าถ้าจะต้องดำเนินการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรจะมีมติให้ดำเนินการเวนคืนตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้แทนก็ได้และจะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนไว้ก่อนก็ได้ พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม เขตบางกะปิ เขตห้วยขวาง เขตคลองเตย และเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2533 จึงเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นใช้บังคับตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวได้กำหนดให้จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน โดยมีมติของคณะรัฐมนตรีให้ดำเนินการสร้างทางพิเศษสายรามอินทรา - อาจณรงค์ ทางหลวงคู่ขนานที่กรุงเทพมหานครสร้างก็อยู่ในแนวที่ดินที่จะต้องเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ การที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้สร้างทางพิเศษในรูปทางด่วนและมีถนนคู่ขนานตลอดแนวทางด่วน ทั้งทางด่วนและถนนคู่ขนานหรือทางหลวงคู่ขนานดังกล่าวถือได้ว่าเป็นทางพิเศษตามความหมายในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 ข้อ 1 ด้วย ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวเป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วนโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2534 เพื่อให้จำเลยที่ 1 มีอำนาจเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์นั้น ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ได้มีหนังสือไปยังโจทก์แจ้งการเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์ โจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 แจ้งการวางเงินค่าทดแทนและกำหนดเวลาให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและโจทก์ได้รับหนังสือนั้นแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ดำเนินการตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แล้ว การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงเป็นการกระทำที่มีกฎหมายให้อำนาจให้กระทำได้ และได้กระทำการดังกล่าวภายในกรอบที่กฎหมายได้กำหนดไว้ จำเลยทั้งสี่ย่อมมีอำนาจกระทำได้โดยชอบ
แม้ที่ดินและบ้านของโจทก์จะไม่อยู่ในแนวเขตที่ใช้ก่อสร้างทางพิเศษ โดยอยู่พ้นจากแนวเขต 80 เมตร แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กำหนดแนวเขตและใช้ที่ดินของโจทก์บางส่วนในการเป็นทางระบายน้ำเพื่อสร้างทางหลวง การที่กำหนดให้ที่ดินและบ้านของโจทก์อยู่ในแนวเขตที่จะเวนคืนตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว? พ.ศ. 2533 ตรงบริเวณที่กำหนดไว้เพื่อสร้างทางแยกต่างระดับก็ดี ล้วนเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างทางพิเศษและเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างทางพิเศษสายรามอินทรา - อาจณรงค์ตาม พระราชกฤษฎีกาจึงมิได้อยู่นอกวัตถุประสงค์ของพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนในท้องที่ เขตลาดพร้าว? พ.ศ. 2533
แม้ที่ดินและบ้านของโจทก์จะไม่อยู่ในแนวเขตที่ใช้ก่อสร้างทางพิเศษ โดยอยู่พ้นจากแนวเขต 80 เมตร แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กำหนดแนวเขตและใช้ที่ดินของโจทก์บางส่วนในการเป็นทางระบายน้ำเพื่อสร้างทางหลวง การที่กำหนดให้ที่ดินและบ้านของโจทก์อยู่ในแนวเขตที่จะเวนคืนตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว? พ.ศ. 2533 ตรงบริเวณที่กำหนดไว้เพื่อสร้างทางแยกต่างระดับก็ดี ล้วนเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างทางพิเศษและเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างทางพิเศษสายรามอินทรา - อาจณรงค์ตาม พระราชกฤษฎีกาจึงมิได้อยู่นอกวัตถุประสงค์ของพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนในท้องที่ เขตลาดพร้าว? พ.ศ. 2533
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การตกลงซื้อขายก่อนมีพระราชกฤษฎีกา ทำให้ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทน
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 38400 และ 38401 โดยทราบมาก่อนว่าที่ดินของโจทก์ดังกล่าวอยู่ในบริเวณที่จะถูกทางราชการเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษระบบทางด่วนขั้นที่ 2 สายบางโคล่-แจ้งวัฒนะ เมื่อปรากฏว่าการตกลงซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์ผู้ถูกเวนคืนและการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยเป็นการตกลงซื้อขายที่ดินกันตามธรรมดาด้วยความสมัครใจทั้งของผู้ขายและผู้ซื้อ โดยมีการทำบันทึกข้อตกลงจะซื้อจะขายที่ดินกันก่อนที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในบริเวณเดียวกันจะมีผลใช้บังคับ และโจทก์ทราบดีมาก่อนว่าที่ดินของโจทก์ตามฟ้องอยู่ในเขตถูกเวนคืน การที่ทางราชการได้ที่ดินของโจทก์มาย่อมเป็นการได้มาโดยตกลงในเรื่องการโอนไว้เป็นอย่างอื่น เมื่อมิใช่จำเลยได้มาจากการเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 5 โจทก์ผู้ถูกเวนคืนจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าทดแทนและดอกเบี้ยตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
บันทึกของประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยระบุว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีมติยกอุทธรณ์ของโจทก์และทำบันทึกเพื่อตั้งข้อสังเกตเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อแจ้งให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยพิจารณาให้ความเป็นธรรม โดยมีข้อเสนอว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นควรที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะต้องพิจารณาหาแนวทางให้ความช่วยเหลือแก่โจทก์ โดยจ่ายเงินค่าทดแทนเพิ่มอีกจำนวนหนึ่งโดยเร็วต่อไป และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีบันทึกสั่งการว่า "ให้ทบทวนจ่ายตามคณะกรรมการอุทธรณ์" แต่ต่อมาจำเลยได้ทำบันทึกเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกว่าไม่สามารถที่จะหาทางช่วยเหลือจ่ายเงินค่าทดแทนเพิ่มแก่โจทก์ได้เนื่องจากกรณีของโจทก์เป็นกรณีจัดซื้อที่ดินก่อนพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอปากเกร็ด พ.ศ. 2530 มีผลใช้บังคับ ซึ่งกฎหมายไม่เปิดช่องให้ดำเนินการได้และจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบในเวลาต่อมา ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งในที่สุดในเรื่องนี้ให้จ่ายค่าทดแทนเพิ่มตามเดิม ย่อมรับฟังไม่ได้ว่ามีคำสั่งให้จ่ายเงินแก่โจทก์เพราะบันทึกสั่งการในครั้งแรกเป็นการสั่งให้ทบทวนมิใช่คำสั่งในทางปกครองที่ให้จ่ายเงินทันที
บันทึกของประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยระบุว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีมติยกอุทธรณ์ของโจทก์และทำบันทึกเพื่อตั้งข้อสังเกตเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อแจ้งให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยพิจารณาให้ความเป็นธรรม โดยมีข้อเสนอว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นควรที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะต้องพิจารณาหาแนวทางให้ความช่วยเหลือแก่โจทก์ โดยจ่ายเงินค่าทดแทนเพิ่มอีกจำนวนหนึ่งโดยเร็วต่อไป และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีบันทึกสั่งการว่า "ให้ทบทวนจ่ายตามคณะกรรมการอุทธรณ์" แต่ต่อมาจำเลยได้ทำบันทึกเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกว่าไม่สามารถที่จะหาทางช่วยเหลือจ่ายเงินค่าทดแทนเพิ่มแก่โจทก์ได้เนื่องจากกรณีของโจทก์เป็นกรณีจัดซื้อที่ดินก่อนพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอปากเกร็ด พ.ศ. 2530 มีผลใช้บังคับ ซึ่งกฎหมายไม่เปิดช่องให้ดำเนินการได้และจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบในเวลาต่อมา ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งในที่สุดในเรื่องนี้ให้จ่ายค่าทดแทนเพิ่มตามเดิม ย่อมรับฟังไม่ได้ว่ามีคำสั่งให้จ่ายเงินแก่โจทก์เพราะบันทึกสั่งการในครั้งแรกเป็นการสั่งให้ทบทวนมิใช่คำสั่งในทางปกครองที่ให้จ่ายเงินทันที
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การตกลงซื้อขายก่อนมีผลบังคับพระราชกฤษฎีกา ทำให้ไม่มีสิทธิรับค่าทดแทน
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 38400 และ 38401 โดยทราบมาก่อนว่าที่ดินของโจทก์ดังกล่าวอยู่ในบริเวณที่จะถูกทางราชการเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษระบบทางด่วนขั้นที่ 2 สายบางโคล่-แจ้งวัฒนะ เมื่อปรากฏว่าการตกลงซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์ผู้ถูกเวนคืนและการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยเป็นการตกลงซื้อขายที่ดินกันตามธรรมดาด้วยความสมัครใจทั้งของผู้ขายและผู้ซื้อ โดยมีการทำบันทึกข้อตกลงจะซื้อจะขายที่ดินกันก่อนที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในบริเวณเดียวกันจะมีผลใช้บังคับ และโจทก์ทราบดีมาก่อนว่าที่ดินของโจทก์ตามฟ้องอยู่ในเขตถูกเวนคืน การที่ทางราชการได้ที่ดินของโจทก์มาย่อมเป็นการได้มาโดยตกลงในเรื่องการโอนไว้เป็นอย่างอื่น เมื่อมิใช่จำเลยได้มาจากการเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 5 โจทก์ผู้ถูกเวนคืนจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าทดแทนและดอกเบี้ยตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
บันทึกของประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยระบุว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีมติยกอุทธรณ์ของโจทก์และทำบันทึกเพื่อตั้งข้อสังเกตเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อแจ้งให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยพิจารณาให้ความเป็นธรรม โดยมีข้อเสนอว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นควรที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะต้องพิจารณาหาแนวทางให้ความช่วยเหลือแก่โจทก์ โดยจ่ายเงินค่าทดแทนเพิ่มอีกจำนวนหนึ่งโดยเร็วต่อไป และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีบันทึกสั่งการว่า "ให้ทบทวนจ่ายตามคณะกรรมการอุทธรณ์" แต่ต่อมาจำเลยได้ทำบันทึกเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกว่าไม่สามารถที่จะหาทางช่วยเหลือจ่ายเงินค่าทดแทนเพิ่มแก่โจทก์ได้เนื่องจากกรณีของโจทก์เป็นกรณีจัดซื้อที่ดินก่อนพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอปากเกร็ด พ.ศ. 2530 มีผลใช้บังคับ ซึ่งกฎหมายไม่เปิดช่องให้ดำเนินการได้และจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบในเวลาต่อมา ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งในที่สุดในเรื่องนี้ให้จ่ายค่าทดแทนเพิ่มตามเดิม ย่อมรับฟังไม่ได้ว่ามีคำสั่งให้จ่ายเงินแก่โจทก์เพราะบันทึกสั่งการในครั้งแรกเป็นการสั่งให้ทบทวนมิใช่คำสั่งในทางปกครองที่ให้จ่ายเงินทันที
บันทึกของประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยระบุว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีมติยกอุทธรณ์ของโจทก์และทำบันทึกเพื่อตั้งข้อสังเกตเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อแจ้งให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยพิจารณาให้ความเป็นธรรม โดยมีข้อเสนอว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นควรที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะต้องพิจารณาหาแนวทางให้ความช่วยเหลือแก่โจทก์ โดยจ่ายเงินค่าทดแทนเพิ่มอีกจำนวนหนึ่งโดยเร็วต่อไป และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีบันทึกสั่งการว่า "ให้ทบทวนจ่ายตามคณะกรรมการอุทธรณ์" แต่ต่อมาจำเลยได้ทำบันทึกเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกว่าไม่สามารถที่จะหาทางช่วยเหลือจ่ายเงินค่าทดแทนเพิ่มแก่โจทก์ได้เนื่องจากกรณีของโจทก์เป็นกรณีจัดซื้อที่ดินก่อนพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอปากเกร็ด พ.ศ. 2530 มีผลใช้บังคับ ซึ่งกฎหมายไม่เปิดช่องให้ดำเนินการได้และจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบในเวลาต่อมา ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งในที่สุดในเรื่องนี้ให้จ่ายค่าทดแทนเพิ่มตามเดิม ย่อมรับฟังไม่ได้ว่ามีคำสั่งให้จ่ายเงินแก่โจทก์เพราะบันทึกสั่งการในครั้งแรกเป็นการสั่งให้ทบทวนมิใช่คำสั่งในทางปกครองที่ให้จ่ายเงินทันที
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การซื้อขายก่อนมี พ.ร.ฎ. ทำให้ไม่เกิดสิทธิค่าทดแทนตาม พ.ร.บ.เวนคืน
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 38400 และ 38401โดยทราบมาก่อนว่าที่ดินของโจทก์ดังกล่าวอยู่ในบริเวณที่จะถูกทางราชการเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษระบบทางด่วนขั้นที่ 2 สายบางโคล่ - แจ้งวัฒนะ เมื่อปรากฏว่าการตกลงซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์ผู้ถูกเวนคืน และการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยเป็นการตกลงซื้อขายที่ดินกันตามธรรมดาด้วยความสมัครใจทั้งของผู้ขายและผู้ซื้อ โดยมีการทำบันทึกข้อตกลงจะซื้อจะขายที่ดินกันก่อนที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในบริเวณเดียวกันจะมีผลใช้บังคับ และโจทก์ทราบดีมาก่อนว่าที่ดินของโจทก์ตามฟ้องอยู่ในเขตถูกเวนคืน การที่ทางราชการได้ที่ดินของโจทก์มาย่อมเป็นการได้มาโดยตกลงในเรื่องการโอนไว้เป็นอย่างอื่น เมื่อมิใช่จำเลยได้มาจากการเวนคืนตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 5 โจทก์ผู้ถูกเวนคืนจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าทดแทนและดอกเบี้ยตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว
บันทึกของประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยระบุว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีมติยกอุทธรณ์ของโจทก์และทำบันทึกเพื่อตั้งข้อสังเกตเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อแจ้งให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยพิจารณาให้ความเป็นธรรม โดยมีข้อเสนอว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นควรที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะต้องพิจารณาหาแนวทางให้ความช่วยเหลือแก่โจทก์ โดยจ่ายเงินค่าทดแทนเพิ่มอีกจำนวนหนึ่งโดยเร็วต่อไป และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีบันทึกสั่งการว่า "ให้ทบทวนจ่ายตามคณะกรรมการอุทธรณ์" แต่ต่อมาจำเลยได้ทำบันทึกเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกว่าไม่สามารถที่จะหาทางช่วยเหลือจ่ายเงินค่าทดแทนเพิ่มแก่โจทก์ได้ เนื่องจากกรณีของโจทก์เป็นกรณีจัดซื้อที่ดินก่อน พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอปากเกร็ด...พ.ศ.2530 มีผลใช้บังคับ ซึ่งกฎหมายไม่เปิดช่องให้ดำเนินการได้และจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบในเวลาต่อมา ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งในที่สุดในเรื่องนี้ให้จ่ายค่าทดแทนเพิ่มตามเดิม ย่อมรับฟังไม่ได้ว่ามีคำสั่งให้จ่ายเงินแก่โจทก์เพราะบันทึกสั่งการในครั้งแรกเป็นการสั่งให้ทบทวนมิใช่คำสั่งในทางปกครองที่ให้จ่ายเงินทันที
บันทึกของประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยระบุว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีมติยกอุทธรณ์ของโจทก์และทำบันทึกเพื่อตั้งข้อสังเกตเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อแจ้งให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยพิจารณาให้ความเป็นธรรม โดยมีข้อเสนอว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นควรที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะต้องพิจารณาหาแนวทางให้ความช่วยเหลือแก่โจทก์ โดยจ่ายเงินค่าทดแทนเพิ่มอีกจำนวนหนึ่งโดยเร็วต่อไป และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีบันทึกสั่งการว่า "ให้ทบทวนจ่ายตามคณะกรรมการอุทธรณ์" แต่ต่อมาจำเลยได้ทำบันทึกเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกว่าไม่สามารถที่จะหาทางช่วยเหลือจ่ายเงินค่าทดแทนเพิ่มแก่โจทก์ได้ เนื่องจากกรณีของโจทก์เป็นกรณีจัดซื้อที่ดินก่อน พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอปากเกร็ด...พ.ศ.2530 มีผลใช้บังคับ ซึ่งกฎหมายไม่เปิดช่องให้ดำเนินการได้และจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบในเวลาต่อมา ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งในที่สุดในเรื่องนี้ให้จ่ายค่าทดแทนเพิ่มตามเดิม ย่อมรับฟังไม่ได้ว่ามีคำสั่งให้จ่ายเงินแก่โจทก์เพราะบันทึกสั่งการในครั้งแรกเป็นการสั่งให้ทบทวนมิใช่คำสั่งในทางปกครองที่ให้จ่ายเงินทันที
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8224/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางพิเศษ: อำนาจของฝ่ายปกครองและการคุ้มครองสิทธิของเอกชน
การกระทำของฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายปกครอง แม้มีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิ เสรีภาพ หรือประโยชน์อันชอบธรรมของโจทก์ซึ่งเป็นเอกชน แต่เมื่อเป็นการกระทำที่มีกฎหมายให้อำนาจให้กระทำได้ และได้กระทำการดังกล่าวภายในกรอบที่ รัฐธรรมนูญและกฎหมายได้กำหนดไว้ จำเลยย่อมมีอำนาจกระทำได้ โดยชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่ให้เพิกถอน การกระทำดังกล่าวของจำเลยได้ ขณะเกิดเหตุ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2521 มาตรา 33 วรรคสาม บัญญัติว่าการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภคหรือการอันจำเป็นในการป้องกันประเทศ หรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ หรือเพื่อการผังเมือง หรือเพื่อการพัฒนาการเกษตร หรือการอุตสาหกรรม หรือเพื่อการปฏิรูปที่ดิน หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น และต้องชดใช้ค่าทดแทนภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของตลอดจนผู้ทรงสิทธิ บรรดาที่ได้รับความเสียหายในการเวนคืนนั้น ทั้งนี้ตาม ที่ระบุไว้ในกฎหมาย และมีพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ใช้บังคับมาตรา 5 บัญญัติให้รัฐเมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการใด ๆ อันจำเป็นเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภคหรือการอันจำเป็นในการป้องกันประเทศหรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติหรือเพื่อการผังเมือง หรือเพื่อการพัฒนาการเกษตรหรือการอุตสาหกรรม หรือเพื่อการปฏิรูปที่ดินหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่นถ้ามิได้ตกลงในเรื่องการโอนไว้เป็นอย่างอื่น ให้ดำเนินการเวนคืนตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ส่วนในกรณีที่มีบทบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนไว้ในกฎหมายอื่นโดยเฉพาะแล้ว ถ้าจะต้องดำเนินการเวนคืนเพื่อกิจการตามกฎหมายดังกล่าว เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรจะมีมติให้ดำเนินการเวนคืนตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้แทนก็ได้ และเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการเวนคืนตามวรรคหนึ่งจะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนไว้ก่อนก็ได้ และสำหรับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนต้องระบุความประสงค์ของการเวนคืน เจ้าหน้าที่เวนคืน กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเท่าที่จำเป็น กับให้มีแผนที่หรือแผนผังประเมินเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนและแสดงเขตที่ดินที่อยู่ในบริเวณที่ประเมินนั้น ติดไว้ท้ายพระราชกฤษฎีกานั้น"และสำหรับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่มเขตบางกะปิเขตห้วยขวาง เขตคลองเตย และเขตพระโขนง กรุงเทพมหานครพ.ศ. 2533 ก็ได้ตราขึ้นใช้บังคับตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530ทุกประการ ซึ่งพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ ดังกล่าวได้ระบุความประสงค์ของการเวนคืนไว้ว่า เพื่อประโยชน์สาธารณะในการสร้างทางพิเศษสายรามอินทรา-อาจณรงค์ เพื่ออำนวยความสะดวกและรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภคโดยกำหนด ให้จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน และมีแผนที่แผนผัง ประเมินเขตที่ดินติดไว้ท้ายพระราชกฤษฎีกา โดยมีมติของ คณะรัฐมนตรีให้ดำเนินการสร้างทางดังกล่าว เมื่อปรากฏว่า ทางหลวงคู่ขนานที่กรุงเทพมหานครสร้างซึ่งอยู่ในแนวเขต ที่ดินที่ถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ และประกาศของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ข้อ 1 ได้กำหนดความหมายของ"ทางพิเศษ" ไว้ว่า หมายถึงทางหรือถนนซึ่งจัดสร้างขึ้นใหม่ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้พื้นดิน เหนือพ้นพื้นดิน หรือ พื้นน้ำ เพื่ออำนวยความสะดวกในการจราจรเป็นพิเศษ ดังนั้น การที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้สร้างทางพิเศษในรูป ทางด่วนและมีถนนคู่ขนานตลอดแนวทางด่วน ทั้งทางด่วนและถนนคู่ขนานหรือทางหลวงคู่ขนานดังกล่าวก็ยังถือได้ว่าเป็นทางพิเศษตามความหมายในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290นั้นอยู่นั่นเอง และต่อมาเมื่อได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวเป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีอำนาจเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530ได้ ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งไปยังโจทก์แจ้งการเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์ และโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว กับจำเลยที่ 1 ได้แจ้งการวางเงินค่าทดแทนและกำหนดเวลาให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์ทราบแล้ว ดังนี้จำเลยที่ 1 จึงได้ดำเนินการตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8224/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์โดยชอบด้วยกฎหมาย: อำนาจของรัฐในการดำเนินการเวนคืนเพื่อสาธารณูปโภค
การกระทำของฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายปกครอง แม้มีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิ เสรีภาพ หรือประโยชน์อันชอบธรรมของโจทก์ซึ่งเป็นเอกชน แต่เมื่อเป็นการกระทำที่มีกฎหมายให้อำนาจให้กระทำได้ และได้กระทำการดังกล่าวภายในกรอบที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายได้กำหนดไว้ จำเลยย่อมมีอำนาจกระทำได้โดยชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่ให้เพิกถอนการกระทำดังกล่าวของจำเลยได้
ขณะเกิดเหตุ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521มาตรา 33 วรรคสาม บัญญัติว่า การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภคหรือการอันจำเป็นในการป้องกันประเทศ หรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ หรือเพื่อการผังเมือง หรือเพื่อการพัฒนาการเกษตร หรือการอุตสาหกรรม หรือเพื่อการปฏิรูปที่ดิน หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น และต้องชดใช้ค่าทดแทนภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของตลอดจนผู้ทรงสิทธิบรรดาที่ได้รับความเสียหายในการเวนคืนนั้นทั้งนี้ตามที่ระบุไว้ในกฎหมาย และมี พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 ใช้บังคับ มาตรา 5 บัญญัติให้รัฐเมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการใด ๆ อันจำเป็นเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภคหรือการอันจำเป็นในการป้องกันประเทศหรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติหรือเพื่อการผังเมือง หรือเพื่อการพัฒนาการเกษตรหรือการอุตสาหกรรม หรือเพื่อการปฏิรูปที่ดินหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น ถ้ามิได้ตกลงในเรื่องการโอนไว้เป็นอย่างอื่นให้ดำเนินการเวนคืนตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ส่วนในกรณีที่มีบทบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนไว้ในกฎหมายอื่นโดยเฉพาะแล้ว ถ้าจะต้องดำเนินการเวนคืนเพื่อกิจการตามกฎหมายดังกล่าว เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรจะมีมติให้ดำเนินการเวนคืนตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้แทนก็ได้ และเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการเวนคืนตามวรรคหนึ่งจะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนไว้ก่อนก็ได้ และสำหรับ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนต้องระบุความประสงค์ของการเวนคืน เจ้าหน้าที่เวนคืน กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเท่าที่จำเป็น กับให้มีแผนที่หรือแผนผังประเมินเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนและแสดงเขตที่ดินที่อยู่ในบริเวณที่ประเมินนั้น ติดไว้ท้ายพระราชกฤษฎีกานั้น ..."และสำหรับ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าวเขตบึงกุ่ม เขตบางกะปิ เขตห้วยขวาง เขตคลองเตย และเขตพระโขนง กรุงเทพ-มหานคร พ.ศ.2533 ก็ได้ตราขึ้นใช้บังคับตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ทุกประการ ซึ่ง พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ ดังกล่าวได้ระบุความประสงค์ของการเวนคืนไว้ว่า เพื่อประโยชน์สาธารณะในการสร้างทางพิเศษสายรามอินทรา - อาจณรงค์ เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภคโดยกำหนดให้จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน และมีแผนที่แผนผังประเมินเขตที่ดินติดไว้ท้ายพระราชกฤษฎีกา โดยมีมติของคณะรัฐมนตรีให้ดำเนินการสร้างทางดังกล่าว เมื่อปรากฏว่าทางหลวงคู่ขนานที่กรุงเทพมหานครสร้างซึ่งอยู่ในแนวเขตที่ดินที่ถูกเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ฉบับนี้ และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่290 ข้อ 1 ได้กำหนดความหมายของ "ทางพิเศษ" ไว้ว่า หมายถึงทางหรือถนนซึ่งจัดสร้างขึ้นใหม่ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้พื้นดิน เหนือพ้นพื้นดิน หรือพื้นน้ำ เพื่ออำนวยความสะดวกในการจราจรเป็นพิเศษ... ดังนั้น การที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้สร้างทางพิเศษในรูปทางด่วนและมีถนนคู่ขนานตลอดแนวทางด่วน ทั้งทางด่วนและถนนคู่ขนานหรือทางหลวงคู่ขนานดังกล่าวก็ยังถือได้ว่าเป็นทางพิเศษตามความหมายในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 นั้นอยู่นั่นเอง และต่อมาเมื่อได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวเป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีอำนาจเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530ได้ ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งไปยังโจทก์แจ้งการเข้าครอบครองหรือใช้อสังหา-ริมทรัพย์ และโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว กับจำเลยที่ 1 ได้แจ้งการวางเงินค่าทดแทนและกำหนดเวลาให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ให้โจทก์ทราบแล้ว ดังนี้จำเลยที่ 1 จึงได้ดำเนินการตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 แล้ว
ขณะเกิดเหตุ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521มาตรา 33 วรรคสาม บัญญัติว่า การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภคหรือการอันจำเป็นในการป้องกันประเทศ หรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ หรือเพื่อการผังเมือง หรือเพื่อการพัฒนาการเกษตร หรือการอุตสาหกรรม หรือเพื่อการปฏิรูปที่ดิน หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น และต้องชดใช้ค่าทดแทนภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของตลอดจนผู้ทรงสิทธิบรรดาที่ได้รับความเสียหายในการเวนคืนนั้นทั้งนี้ตามที่ระบุไว้ในกฎหมาย และมี พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 ใช้บังคับ มาตรา 5 บัญญัติให้รัฐเมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการใด ๆ อันจำเป็นเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภคหรือการอันจำเป็นในการป้องกันประเทศหรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติหรือเพื่อการผังเมือง หรือเพื่อการพัฒนาการเกษตรหรือการอุตสาหกรรม หรือเพื่อการปฏิรูปที่ดินหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น ถ้ามิได้ตกลงในเรื่องการโอนไว้เป็นอย่างอื่นให้ดำเนินการเวนคืนตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ส่วนในกรณีที่มีบทบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนไว้ในกฎหมายอื่นโดยเฉพาะแล้ว ถ้าจะต้องดำเนินการเวนคืนเพื่อกิจการตามกฎหมายดังกล่าว เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรจะมีมติให้ดำเนินการเวนคืนตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้แทนก็ได้ และเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการเวนคืนตามวรรคหนึ่งจะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนไว้ก่อนก็ได้ และสำหรับ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนต้องระบุความประสงค์ของการเวนคืน เจ้าหน้าที่เวนคืน กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเท่าที่จำเป็น กับให้มีแผนที่หรือแผนผังประเมินเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนและแสดงเขตที่ดินที่อยู่ในบริเวณที่ประเมินนั้น ติดไว้ท้ายพระราชกฤษฎีกานั้น ..."และสำหรับ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าวเขตบึงกุ่ม เขตบางกะปิ เขตห้วยขวาง เขตคลองเตย และเขตพระโขนง กรุงเทพ-มหานคร พ.ศ.2533 ก็ได้ตราขึ้นใช้บังคับตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ทุกประการ ซึ่ง พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ ดังกล่าวได้ระบุความประสงค์ของการเวนคืนไว้ว่า เพื่อประโยชน์สาธารณะในการสร้างทางพิเศษสายรามอินทรา - อาจณรงค์ เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภคโดยกำหนดให้จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน และมีแผนที่แผนผังประเมินเขตที่ดินติดไว้ท้ายพระราชกฤษฎีกา โดยมีมติของคณะรัฐมนตรีให้ดำเนินการสร้างทางดังกล่าว เมื่อปรากฏว่าทางหลวงคู่ขนานที่กรุงเทพมหานครสร้างซึ่งอยู่ในแนวเขตที่ดินที่ถูกเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ฉบับนี้ และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่290 ข้อ 1 ได้กำหนดความหมายของ "ทางพิเศษ" ไว้ว่า หมายถึงทางหรือถนนซึ่งจัดสร้างขึ้นใหม่ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้พื้นดิน เหนือพ้นพื้นดิน หรือพื้นน้ำ เพื่ออำนวยความสะดวกในการจราจรเป็นพิเศษ... ดังนั้น การที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้สร้างทางพิเศษในรูปทางด่วนและมีถนนคู่ขนานตลอดแนวทางด่วน ทั้งทางด่วนและถนนคู่ขนานหรือทางหลวงคู่ขนานดังกล่าวก็ยังถือได้ว่าเป็นทางพิเศษตามความหมายในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 นั้นอยู่นั่นเอง และต่อมาเมื่อได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวเป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีอำนาจเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530ได้ ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งไปยังโจทก์แจ้งการเข้าครอบครองหรือใช้อสังหา-ริมทรัพย์ และโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว กับจำเลยที่ 1 ได้แจ้งการวางเงินค่าทดแทนและกำหนดเวลาให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ให้โจทก์ทราบแล้ว ดังนี้จำเลยที่ 1 จึงได้ดำเนินการตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5293/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืน: หลักเกณฑ์ประเมินราคาที่ดิน, ผลกระทบราคาที่ดินเหลือ, และการบังคับใช้ย้อนหลัง
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา9 วรรคสี่ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2534 บัญญัติว่า ในการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทน ให้คณะกรรมการกำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 18 มาตรา 21 มาตรา 22 และมาตรา 24 ทั้งนี้ในข้อ 5 ของประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติดังกล่าวบัญญัติว่าบทบัญญัติมาตรา 9 วรรคสี่ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมนั้นให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อ การจ่ายหรือการวางค่าทดแทน การอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับดังกล่าวใช้บังคับด้วย จากบทบัญญัติดังกล่าวย่อมเห็นได้ว่า เมื่อคดีของโจทก์ยังไม่เสร็จเด็ดขาด การกำหนดค่าทดแทนจึงต้องพิจารณาโดยใช้หลักเกณฑ์ทั้ง 5 ประการ ของมาตรา 21 มิใช่เพียงข้อหนึ่งข้อใด
กรณีที่การเวนคืนทำให้ที่ดินที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นต้องบังคับตามหลักการเบื้องต้นที่ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 21 วรรคสอง บัญญัติไว้ กล่าวคือ จะต้องเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่จะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ ส่วนวิธีการคำนวณหาราคาที่สูงขึ้นดังกล่าวเมื่อขณะที่ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาตามที่มาตรา 21 วรรคสี่บัญญัติไว้ออกใช้บังคับก็จะต้องอาศัยหลักเกณฑ์หรือมาตรการที่เห็นว่าเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมเป็นส่วนรวมมาใช้ก่อน หาใช่จะต้องแปลความว่าเมื่อไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณออกใช้บังคับแล้ว จะมิต้องคำนวณราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนและไม่ต้องนำมาหักออกจากค่าทดแทนที่จะต้องจ่ายให้แก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนไม่ ส่วนที่มาตรา 5 แห่ง พ.ร.ฎ. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคาที่สูงขึ้นฯ ดังกล่าวบัญญัติว่า หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคาที่สูงขึ้นไม่ใช้บังคับแก่ที่ดินที่ถูกเวนคืนก่อนที่พระราชกฤษฎีกาจะมีผลบังคับนั้นก็เป็นเพียงทำให้หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคาดังกล่าวไม่มีผลย้อนหลังไปใช้บังคับแก่ที่ดินที่ถูกเวนคืนก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับเท่านั้น มิใช่เป็นเหตุให้จำเลยทั้งสามไม่มีอำนาจคำนวณราคาที่ดินส่วนที่เหลือของโจทก์ว่ามีราคาสูงขึ้นและนำมาหักกับค่าทดแทนที่จะต้องจ่ายแก่โจทก์
กรณีที่การเวนคืนทำให้ที่ดินที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นต้องบังคับตามหลักการเบื้องต้นที่ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 21 วรรคสอง บัญญัติไว้ กล่าวคือ จะต้องเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่จะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ ส่วนวิธีการคำนวณหาราคาที่สูงขึ้นดังกล่าวเมื่อขณะที่ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาตามที่มาตรา 21 วรรคสี่บัญญัติไว้ออกใช้บังคับก็จะต้องอาศัยหลักเกณฑ์หรือมาตรการที่เห็นว่าเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมเป็นส่วนรวมมาใช้ก่อน หาใช่จะต้องแปลความว่าเมื่อไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณออกใช้บังคับแล้ว จะมิต้องคำนวณราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนและไม่ต้องนำมาหักออกจากค่าทดแทนที่จะต้องจ่ายให้แก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนไม่ ส่วนที่มาตรา 5 แห่ง พ.ร.ฎ. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคาที่สูงขึ้นฯ ดังกล่าวบัญญัติว่า หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคาที่สูงขึ้นไม่ใช้บังคับแก่ที่ดินที่ถูกเวนคืนก่อนที่พระราชกฤษฎีกาจะมีผลบังคับนั้นก็เป็นเพียงทำให้หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคาดังกล่าวไม่มีผลย้อนหลังไปใช้บังคับแก่ที่ดินที่ถูกเวนคืนก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับเท่านั้น มิใช่เป็นเหตุให้จำเลยทั้งสามไม่มีอำนาจคำนวณราคาที่ดินส่วนที่เหลือของโจทก์ว่ามีราคาสูงขึ้นและนำมาหักกับค่าทดแทนที่จะต้องจ่ายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4913/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินจะตกเป็นของเจ้าหน้าที่เมื่อมีพระราชบัญญัติเวนคืนใช้บังคับ มิใช่แค่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขต
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530หมวด 1 การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้บัญญัติถึงขั้นตอนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ไว้ ตั้งแต่มาตรา 5 ถึงมาตรา 17 มีใจความโดยย่อดังนี้ คือ มาตรา 5 เมื่อรัฐต้องการจะได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ถ้ามิได้ตกลงในเรื่องการโอนไว้เป็นอย่างอื่นให้ดำเนินการเวนคืนตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการเวนคืน จะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนไว้ก่อนก็ได้ มาตรา 6 บัญญัติว่าข้อความใดบ้างจะต้องระบุในพระราชกฤษฎีกา มาตรา 7 กำหนดให้ปิดประกาศสำเนาพระราชกฤษฎีกาในที่ต่าง ๆ มาตรา 9 เมื่อใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาแล้วให้เจ้าหน้าที่สำรวจเพื่อทราบ "ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอน" แล้วตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ และหากจะมีการซื้อขายก็ให้ปฏิบัติตามมาตรา 10ถึงมาตรา 14 ขั้นตอนต่อไปบัญญัติในมาตรา 15 ว่า เมื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอนแล้วให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวโดยให้ระบุที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นที่ต้องเวนคืนพร้อมทั้งรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายและมีแผนที่หรือแผนผังด้วย และในที่สุดบัญญัติถึงการโอนกรรมสิทธิ์ไว้ในมาตรา 16 ว่า "ให้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนตกเป็นของเจ้าหน้าที่นับแต่วันที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 15 ใช้บังคับ" ฉะนั้น จึงเห็นได้ว่าการได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนยังไม่มีผลทำให้ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ท้ายพระราชกฤษฎีกานั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น ๆตามมาตรา 15 แล้ว กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นจึงจะตกเป็นของเจ้าหน้าที่นับแต่วันที่พระราชบัญญัติเวนคืนดังกล่าวใช้บังคับแต่ในกรณีนี้เพียงแต่ปรากฏว่าที่พิพาทอยู่ในเขตพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ดอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และเขตบางเขน เขตดุสิตเขตพญาไท เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตยานนาวา เขตห้วยขวางเขตบางกะปิ เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2530 เท่านั้นยังไม่ปรากฏว่ามีการออกพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินพิพาทตามมาตรา 15แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530แต่อย่างใด ขณะขายทอดตลาดกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของจำเลยอยู่ ยังไม่ตกเป็นของเจ้าหน้าที่ การขายทอดตลาดไม่ถูกกระทบกระเทือนแต่อย่างใด ไม่อาจจะให้เพิกถอนการขายทอดตลาดตามคำร้องของผู้ร้องได้