พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6353/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณดอกเบี้ยค่าทดแทนที่ดินเพิ่มเติมหลังการรังวัดและข้อผิดพลาดเนื้อที่
การดำเนินการของฝ่ายจำเลย (การทางพิเศษแห่งประเทศไทย) ให้ได้มาซึ่งที่ดินของโจทก์เพื่อสร้างทางพิเศษ สายรามอินทรา-อาจณรงค์ อาศัย พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม เขตบางกะปิ เขตห้วยขวาง เขตคลองเตย และเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2533 เพียงฉบับเดียว แนวเขตที่ดิน ที่จะสร้างทางพิเศษสายนี้ในบริเวณที่ดินของโจทก์ไม่ได้เปลี่ยนแปลงหรือขยายเพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้ใน พ.ร.ฎ.ดังกล่าว ที่ดินของโจทก์ในส่วนที่จะต้องเวนคืนทั้งหมดเป็นที่ดินอยู่ในแนวเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ดังกล่าวและถูกดำเนินการเพื่อเวนคืนเพียงครั้งเดียว โดยฝ่ายจำเลยใช้อำนาจที่มีอยู่ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืน อสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 ตกลงซื้อขายที่ดินของโจทก์ในส่วนที่จะต้องเวนคืนตามสัญญาซื้อขายอสังหา ริมทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เพื่อสร้างทางพิเศษโครงการระบบทางด่วนสาย รามอินทรา-อาจณรงค์ กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน ซึ่งไม่ใช่การตกลงซื้อขายกันตาม ป.พ.พ. แต่เป็นขั้นตอนหนึ่งตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ที่ดินที่จะต้องให้ได้มาเพื่อสร้างทางพิเศษฯ ตามสัญญาซื้อขาย จึงเป็นที่ดินในส่วนที่จะต้องเวนคืนทั้งหมดที่อยู่ในบริเวณที่ที่จะต้องเวนคืนตาม พ.ร.ฎ. ส่วนเนื้อที่ดิน ที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขายฯเป็นการประมาณการของฝ่ายจำเลย แต่เมื่อมีการรังวัดแบ่งแยกที่ดินแล้ว ปรากฏว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่แน่นอนรวมกันแล้วเพิ่มขึ้นจากที่ฝ่ายจำเลยประมาณการไว้ เนื้อที่ดินในส่วนที่เพิ่มขึ้นนี้มีที่มาจากที่ดิน ผืนเดียวกันกับที่ระบุเนื้อที่ไว้ในสัญญาซื้อขายดังกล่าว จำเลยจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจ่ายเงินทดแทนแทน ที่ดินของโจทก์ในส่วนที่จะต้องเวนคืนทั้งหมด รวมทั้งเนื้อที่ดินที่เพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ทำสัญญา ซื้อขายด้วย ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 11 วรรคหนึ่ง และที่โจทก์ได้อุทธรณ์ ต่อรัฐมนตรีขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้น ย่อมถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วนเนื้อที่ที่เพิ่มขึ้นนี้รวมอยู่ด้วยแล้ว เมื่อศาลวินิจฉัยให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนทั้งหมดเพิ่มขึ้นแก่โจทก์ โจทก์ย่อม มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นของเงินค่าทดแทนที่ดินเนื้อที่ที่เพิ่มขึ้นนี้ด้วย นับแต่วันที่ครบ 120 วันจากวันทำสัญญาซื้อขาย อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่าย ตามมาตรา 26 วรรคสาม
ศาลล่างทั้งสองกำหนดวันเริ่มต้นคำนวณดอกเบี้ยนั้นผิดพลาดไป 1 วัน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
ศาลล่างทั้งสองกำหนดวันเริ่มต้นคำนวณดอกเบี้ยนั้นผิดพลาดไป 1 วัน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4913/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินจะตกเป็นของเจ้าหน้าที่เมื่อมีพระราชบัญญัติเวนคืนใช้บังคับ มิใช่แค่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขต
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530หมวด 1 การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้บัญญัติถึงขั้นตอนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ไว้ ตั้งแต่มาตรา 5 ถึงมาตรา 17 มีใจความโดยย่อดังนี้ คือ มาตรา 5 เมื่อรัฐต้องการจะได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ถ้ามิได้ตกลงในเรื่องการโอนไว้เป็นอย่างอื่นให้ดำเนินการเวนคืนตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการเวนคืน จะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนไว้ก่อนก็ได้ มาตรา 6 บัญญัติว่าข้อความใดบ้างจะต้องระบุในพระราชกฤษฎีกา มาตรา 7 กำหนดให้ปิดประกาศสำเนาพระราชกฤษฎีกาในที่ต่าง ๆ มาตรา 9 เมื่อใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาแล้วให้เจ้าหน้าที่สำรวจเพื่อทราบ "ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอน" แล้วตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ และหากจะมีการซื้อขายก็ให้ปฏิบัติตามมาตรา 10ถึงมาตรา 14 ขั้นตอนต่อไปบัญญัติในมาตรา 15 ว่า เมื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอนแล้วให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวโดยให้ระบุที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นที่ต้องเวนคืนพร้อมทั้งรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายและมีแผนที่หรือแผนผังด้วย และในที่สุดบัญญัติถึงการโอนกรรมสิทธิ์ไว้ในมาตรา 16 ว่า "ให้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนตกเป็นของเจ้าหน้าที่นับแต่วันที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 15 ใช้บังคับ" ฉะนั้น จึงเห็นได้ว่าการได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนยังไม่มีผลทำให้ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ท้ายพระราชกฤษฎีกานั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น ๆตามมาตรา 15 แล้ว กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นจึงจะตกเป็นของเจ้าหน้าที่นับแต่วันที่พระราชบัญญัติเวนคืนดังกล่าวใช้บังคับแต่ในกรณีนี้เพียงแต่ปรากฏว่าที่พิพาทอยู่ในเขตพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ดอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และเขตบางเขน เขตดุสิตเขตพญาไท เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตยานนาวา เขตห้วยขวางเขตบางกะปิ เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2530 เท่านั้นยังไม่ปรากฏว่ามีการออกพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินพิพาทตามมาตรา 15แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530แต่อย่างใด ขณะขายทอดตลาดกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของจำเลยอยู่ ยังไม่ตกเป็นของเจ้าหน้าที่ การขายทอดตลาดไม่ถูกกระทบกระเทือนแต่อย่างใด ไม่อาจจะให้เพิกถอนการขายทอดตลาดตามคำร้องของผู้ร้องได้