คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชาติชาย กริชชาญชัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3091/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราเด็กโดยการใช้ปาก การพิจารณาหลักฐานพยาน และการใช้กฎหมายที่ใช้บังคับ ณ ขณะกระทำความผิด
แม้ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ตามคำฟ้องว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ด้วยการสอดใส่อวัยวะเพศของตนเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 2 แต่ได้ความว่าจำเลยนำอวัยวะเพศของตนใส่เข้าไปในปากของผู้เสียหายที่ 2 อันเป็นการกระทำเพื่อสนองความใคร่ของจำเลยโดยการใช้อวัยวะเพศของตนล่วงลํ้าช่องปากของผู้เสียหายที่ 2 การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2714/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การในคดีอาญาต้องมีเหตุสมควร และความผิดพรากเด็กกับกระทำชำเราเป็นคนละกรรม
จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การได้ต่อเมื่อมีเหตุอันสมควร ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคสอง เท่านั้น มิใช่ตามอำเภอใจของจำเลย อีกทั้งเป็นดุลพินิจของศาลที่เห็นสมควรจึงอนุญาตให้แก้ไขได้ การที่ก่อนอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยขอถอนคำให้การเดิมที่ให้การรับสารภาพ โดยขอให้การใหม่เป็นให้การปฏิเสธว่าได้กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 จริง โดยสำคัญผิดในเรื่องอายุของผู้เสียหายที่ 2 จำเลยไม่ทราบมาก่อนว่าผู้เสียหายที่ 2 อายุยังไม่เกิน 15 ปี คำให้การดังกล่าวของจำเลยหาทำให้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด อีกทั้งในวันสืบพยานโจทก์เมื่อโจทก์นำผู้เสียหายที่ 2 เข้าเบิกความต่อหน้าจำเลยในช่วงเช้า ผู้เสียหายที่ 2 เบิกความตอบศาลว่าผู้เสียหายที่ 2 อายุ 13 ปี จำเลยย่อมต้องทราบแล้วว่า ผู้เสียหายที่ 2 อายุยังไม่เกิน 15 ปี ก่อนเริ่มสืบพยานโจทก์ต่อในช่วงบ่าย จำเลยขอถอนคำให้การเดิมเป็นให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการ ซึ่งแสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาในความผิดฐานดังกล่าวตามที่โจทก์ฟ้องแล้ว จึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การ
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร จำเลยมีเจตนากระทำต่อผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาของผู้เสียหายที่ 2 ส่วนความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี จำเลยมีเจตนากระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ดังนั้น เจตนาในการกระทำความผิดเป็นคนละเจตนาแตกต่างกันและเป็นความผิดต่างฐานกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6518/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความบังคับคดีประกันภัย: การชำระหนี้หลังหมดอายุความและสิทธิการคืนเงิน
ฎีกาของผู้ประกันเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 5 เกี่ยวกับการบังคับตามสัญญาประกัน โดยศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยว่า การที่ผู้ประกันนำเงิน 500,000 บาท มาชำระตามสัญญาประกันในวันที่ 15 มิถุนายน 2561 ทั้งที่ผู้ประกันอ้างในคำร้องฉบับลงวันที่ 7 มิถุนายน 2561 ว่า ศาลชั้นต้นสิ้นสิทธิในการบังคับคดีเพราะไม่บังคับคดีภายใน 10 ปี จึงเป็นเรื่องที่ผู้ประกันชำระหนี้โดยรู้ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จึงไม่มีสิทธิรับเงินดังกล่าวคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 โดยศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีคำพิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของผู้ประกัน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ดังกล่าว ย่อมเป็นที่สุด ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4818/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: คำวินิจฉัยคณะกรรมการชี้ขาดอำนาจศาลเป็นที่สุด โจทก์ไม่อาจคัดค้านหรือแก้ไขคำฟ้องหลังมีคำวินิจฉัย
แม้โจทก์ทั้งสิบฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้น และศาลชั้นต้นรับฟ้องของโจทก์ทั้งสิบไว้พิจารณา แต่เมื่อต่อมามีคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลว่าเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกา หรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด กรณีนี้ตามมาตรา 10 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 บัญญัติความว่า คำวินิจฉัยของคณะกรรมการที่เกี่ยวกับเขตอำนาจศาลให้เป็นที่สุด และตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติความว่า ถ้าคณะกรรมการได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าคดีอยู่ในอำนาจของอีกศาลหนึ่ง ให้ศาลที่รับฟ้องสั่งโอนคดีหรือสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่ความไปฟ้องศาลที่มีเขตอำนาจ ดังนี้ เมื่อมีคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลดังกล่าวแล้ว คดีนี้จึงดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปในศาลชั้นต้นได้เฉพาะการโอนคดีหรือการจำหน่ายคดีตามมาตรา 11 ดังกล่าวเท่านั้น โจทก์ทั้งสิบจึงไม่อาจยื่นคำแถลงคัดค้านคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 44/2560 และไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องต่อศาลชั้นต้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องทั้งสองฉบับอันเป็นการไม่รับคำร้องไว้วินิจฉัย จึงชอบแล้ว และกรณีเช่นนี้ โจทก์ทั้งสิบไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องของโจทก์ทั้งสิบ ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสิบจึงไม่ชอบ และศาลอุทธรณ์ภาค 5 ต้องพิพากษายกอุทธรณ์เสีย และโจทก์ที่ 6 ถึงที่ 10 ไม่มีสิทธิฎีกาต่อมาอีกด้วย ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 892-893/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดก 1 ปี: การครอบครองทรัพย์สินโดยทายาท และผลของการไม่ฟ้องคดีภายในกำหนด
คดีนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า โจทก์ทั้งสามฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของ ข. พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 แต่ข้อนี้จำเลยทั้งสามให้การว่า โจทก์ทั้งสามฟ้องเรียกทรัพย์มรดกเกินกว่า 1 ปี นับแต่ ข. ถึงแก่ความตาย คดีโจทก์ทั้งสามขาดอายุความ เป็นการให้การต่อสู้เรื่องอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง กับให้การว่า โจทก์ทั้งสามฟ้องคดีเกินกว่า 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง คดีโจทก์ทั้งสามขาดอายุความ เป็นการอ้างอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าคดีโจทก์ทั้งสามขาดอายุความเนื่องจากฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 10 ปี อันเป็นอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสี่ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 แม้โจทก์ทั้งสามไม่ฎีกาในข้อนี้ แต่ปัญหาเกี่ยวกับการวินิจฉัยนอกประเด็นเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8935/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาเตรียมการกระทำผิดยาเสพติด แม้ยังไม่ได้ครอบครอง แต่ถือเป็นความพยายามกระทำผิดได้
พฤติการณ์ที่ ก. กับจำเลยเดินทางร่วมกันไปค้นหาเมทแอมเฟตามีนบริเวณที่เกิดเหตุ บ่งชี้ได้ว่า ก. กับจำเลยมีเจตนาที่จะกระทำความผิดทางอาญามาตั้งแต่แรกและถือว่า ก. กับจำเลยลงมือกระทำความผิดแล้ว แต่การที่ชายไม่ทราบชื่อนำเมทแอมเฟตามีนไปซุกซ่อนไว้บริเวณโคนต้นไม้แล้วโทรศัพท์แจ้งให้ ก. กับจำเลยทราบ จากนั้นเจ้าพนักงานตำรวจพา ก. กับจำเลยไปตรวจค้นบริเวณดังกล่าวจึงพบเมทแอมเฟตามีน จำเลยกับพวกจึงยังไม่ได้เข้าไปยึดถือครอบครองเมทแอมเฟตามีนของกลางเพราะถูกเจ้าพนักงานตำรวจมาพบเห็นและจับกุมได้เสียก่อน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพยายามกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8385/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการฟ้องคดีใหม่หลังประนีประนอมยอมความ ศาลฎีกาไม่รับคำร้องสอด ให้ฟ้องคดีใหม่
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินพิพาทเนื้อที่ 14 ไร่ 35 ตารางวา ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านและฟ้องแย้งว่าผู้ร้องไม่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ ขอให้ยกคำร้องและพิพากษาให้ผู้ร้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายทรัพย์สินพร้อมบริวารออกไปจากที่ดินของผู้คัดค้าน ส่วนผู้ร้องสอดทั้งสิบห้ายื่นคำร้องสอดขอเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามอ้างว่าผู้ร้องครอบครองทำประโยชน์ที่ดินมีเนื้อที่เพียง 2 งานเศษ ส่วนที่เหลือผู้ร้องสอดทั้งสิบห้าและชาวบ้านร่วมกันเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ขอให้พิพากษาให้ผู้ร้องสอดทั้งสิบห้าได้กรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนดังกล่าวโดยการครอบครองปรปักษ์ จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องสอดทั้งสิบห้ากล่าวอ้างว่า ที่ดินพิพาทส่วนที่เกินเนื้อที่ 2 งานเศษ ที่ผู้ร้องอ้างว่าได้กรรมสิทธิ์เป็นที่ดินที่ผู้ร้องสอดทั้งสิบห้าได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ จึงมีข้อพิพาทโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดินระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านและเป็นกรณีที่ผู้ร้องสอดทั้งสิบห้าโต้แย้งกรรมสิทธิ์ทั้งกับผู้ร้องและผู้คัดค้านในที่ดินส่วนดังกล่าว ผู้ร้องสอดทั้งสิบห้าจึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท จำเป็นต้องเข้ามาในคดีเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตน ผู้ร้องสอดทั้งสิบห้าจึงร้องสอดได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) แต่เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องและผู้คัดค้านตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยผู้ร้องตกลงรื้อถอนและขนย้ายทรัพย์สินพร้อมทั้งบริวารออกจากที่ดินพิพาท ผู้ร้องยอมออกจากที่ดินพิพาทแล้ว และศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอม หากศาลฎีกาจะมีคำสั่งย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องสอดทั้งสิบห้าเข้ามาเป็นคู่ความในคดี แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาใหม่ทั้งหมดก็จะทำให้คดีต้องล่าช้าไม่เป็นประโยชน์แก่คู่กรณี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเห็นสมควรให้ผู้ร้องสอดทั้งสิบห้าไปฟ้องเป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5119/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความร้องทุกข์นอกเหนือเจตนาผู้แทนบริษัท และความชอบธรรมในการฟ้องคดีอาญา
โจทก์ร่วมเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ความประสงค์หรือเจตนาย่อมแสดงออกโดยผู้แทนของนิติบุคคล ตาม ป.พ.พ. มาตรา 70 แม้โจทก์ร่วมจะทำหนังสือมอบอำนาจให้ ร. ผู้รับมอบอำนาจไปร้องทุกข์ ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 กับพวกได้โดยมิได้ระบุข้อหาความผิดไว้ แต่การมอบอำนาจให้ไปร้องทุกข์แทนโจทก์ร่วมซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคล ผู้รับมอบอำนาจก็ต้องทำให้ถูกต้องตามข้อบังคับหรือเจตนาที่ผู้แทนนิติบุคคลให้ไว้ เมื่อปรากฏว่าตามรายงานการประชุมของโจทก์ร่วม ที่ประชุมมีมติให้แจ้งความร้องทุกข์แก่จำเลยที่ 1 กับพวกในข้อหาบุกรุกเท่านั้น มิได้มีมติให้ดำเนินคดีในข้อหาทำให้เสียทรัพย์ด้วย การที่ ร. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ร่วมไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 กับพวกในความผิดข้อหาทำให้เสียทรัพย์ จึงเป็นการกระทำนอกเหนือจากเจตนาของโจทก์ร่วม การแจ้งความร้องทุกข์ดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์ร่วมถือว่าโจทก์ร่วมไม่ได้ร้องทุกข์ในความผิดข้อหาทำให้เสียทรัพย์ การสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงไม่ชอบ พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ในข้อหาทำให้เสียทรัพย์ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120, 121

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3988/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาโอนสิทธิเรียกร้องเลิกกันโดยปริยายเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ผู้รับโอนไม่มีสิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้
คดีนี้ โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่าว่าจ้างตามใบแจ้งหนี้ที่จำเลยที่ 1 มีต่อจำเลยที่ 5 แก่โจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องระบุว่า จำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์เป็นผู้เรียกเก็บหนี้จากลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 คือจำเลยที่ 5 หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ผู้รับโอนภายในกำหนด สัญญานี้เป็นอันยกเลิกโดยปริยายทันที เมื่อปรากฏว่าถึงกำหนดชำระงานที่จำเลยที่ 1 ทำให้แก่จำเลยที่ 5 ชำรุดบกพร่อง ต้องแก้ไขความชำรุดบกพร่อง จำเลยที่ 5 จึงไม่ได้ชำระเงินในวันที่ครบกำหนดตามใบวางบิล จึงถือว่าสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงถูกยกเลิกไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะบังคับตามสิทธิเรียกร้องแก่จำเลยที่ 5 และเมื่อภายหลังจำเลยที่ 1 แก้ไขความชำรุดบกพร่องของงานแล้ว จำเลยที่ 5 ชำระเงินแก่จำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ทั้งการที่สัญญาโอนสิทธิเรียกร้องเลิกกันโดยปริยายดังกล่าว มิได้เกิดจากการผิดสัญญาของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 997/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนประกันภัยรถยนต์: การประเมินความรับผิด, การคำนวณดอกเบี้ย, และขอบเขตความคุ้มครอง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยรถบรรทุกและรถพ่วงคันที่ ด. เป็นผู้ขับ รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถกรณีที่ ช. เสียชีวิตทำให้โจทก์ขาดไร้อุปการะ ซึ่งข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ด. ขับรถบรรทุกและรถพ่วงด้วยความประมาทชนรถจักรยานยนต์คันที่ ช. ขับเป็นเหตุให้ ช. ถึงแก่ความตาย โดย ช. ผู้ตายมีส่วนประมาทด้วย แต่ ด. มีส่วนประมาทมากกว่า เมื่อตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ข้อ 3.1.3 ระบุว่า ในกรณีเสียชีวิต บริษัทจะจ่ายเต็มตามจำนวนเงินคุ้มครองสูงสุด 200,000 บาท ต่อหนึ่งคน ดังนั้น เมื่อ ช. เป็นผู้ประสบภัยที่ ด. จะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายเพราะเหตุที่ ด. เป็นฝ่ายประมาทมากกว่า ช. จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยรถบรรทุกและรถพ่วงที่ ด. เป็นผู้ขับไว้จากนายจ้างของ ด. จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มตามจำนวนเงินคุ้มครองตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฉบับละ 200,000 บาท รวมเป็น 400,000 บาท
of 5