คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เกษม เกษมปัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 198 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14919/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งในคดีอาญา: จำเป็นต้องให้ผู้เสียหายสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความเสียหาย
โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าปลงศพ ค่าใช้จ่ายในการจัดการศพ และค่าขาดไร้อุปการะ โจทก์ร่วมจึงมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 แต่ปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาว่าศาลชั้นต้นไม่ได้ให้โจทก์ร่วมนำพยานเข้าสืบในคดีส่วนแพ่งและโจทก์ร่วมก็ไม่ได้แถลงว่าไม่ติดใจสืบพยานในคดีส่วนแพ่ง แม้ ป.วิ.อ. มาตรา 44/2 บัญญัติว่า "...และเมื่อพนักงานอัยการสืบพยานเสร็จ ศาลจะอนุญาตให้ผู้เสียหายนำพยานเข้าสืบถึงค่าสินไหมทดแทนได้เท่าที่จำเป็น..." ซึ่งกำหนดให้เป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะอนุญาตให้โจทก์ร่วมนำพยานเข้าสืบถึงค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมได้เท่าที่จำเป็นก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวต้องเป็นกรณีที่พนักงานอัยการโจทก์นำสืบเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยและความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์แล้ว เมื่อคดีนี้พนักงานอัยการโจทก์ไม่ได้นำพยานเข้าสืบเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลย เนื่องจากจำเลยให้การรับสารภาพและไม่ใช่คดีที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง เช่นนี้ ศาลชั้นต้นต้องให้โจทก์ร่วมนำพยานเข้าสืบถึงค่าสินไหมทดแทนตามคำร้องของโจทก์ร่วม เมื่อศาลชั้นต้นไม่ดำเนินการดังกล่าวแล้วกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ร่วมโดยวินิจฉัยตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาคดีไปโดยไม่ชอบ จึงต้องยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 ในคดีส่วนแพ่ง แล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ร่วมและจำเลยแล้วพิพากษาในคดีส่วนแพ่งใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13649/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่มีประโยชน์เมื่อคดีถึงที่สุด: การส่งฎีกาให้อัยการสูงสุดเพื่อรับรองไม่กระทบผลคดีที่ศาลฎีกายกคำร้อง
ขณะที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฎีกา เพื่อขอให้ส่งฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไปให้อัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองฎีกา ศาลชั้นต้นยังไม่อ่านคำสั่งของศาลฎีกาที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 อุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา แต่เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งของศาลฎีกาซึ่งมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยทั้งสี่ เท่ากับศาลฎีกามีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 คดีจึงถึงที่สุดแล้ว จึงไม่มีคดีของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่จะให้ยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ ฎีกาจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังกล่าวจึงไม่มีประโยชน์แก่คดีที่จะวินิจฉัยต่อไป ให้จำหน่ายคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13467/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟอกเงิน: ทรัพย์สินจากความผิดมูลฐาน (ยาเสพติด, หนีศุลกากร) ตกเป็นของแผ่นดิน ผู้เกี่ยวข้องสัมพันธ์ต้องพิสูจน์ที่มา
ผู้คัดค้านที่ 1 มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านที่ 1 กระทำความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากรอันเป็นความผิดมูลฐานหนึ่งที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง คงอุทธรณ์เถียงแต่เฉพาะว่าผู้คัดค้านที่ 1 มิได้มีพฤติการณ์เป็นผู้ต้องสงสัยเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ เท่านั้น ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังยุติว่า ผู้คัดค้านที่ 1 กระทำความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร อันเป็นความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2522 มาตรา 3 (7) ซึ่งศาลย่อมมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตามคำร้องตกเป็นของแผ่นดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13357/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความตกไปเนื่องจากคู่ความผ่อนผันและไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้
เมื่อพิจารณาสัญญาประนีประนอมยอมความโดยตลอดแล้ว แสดงให้เห็นเจตนาว่าโจทก์ประสงค์จะนำที่ดินทั้งหมดกลับมาขายด้วยตนเอง แต่ใช้วิธีทยอยไถ่ถอนที่ดินจากธนาคารทีละจำนวน แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า คู่ความทั้งสองฝ่ายผ่อนผันเวลาให้แก่กันเช่นนี้ จะอ้างว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ได้ หากจำเลยทั้งสามผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ชอบที่จะบังคับคดีให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ แต่โจทก์หาได้ดำเนินการไม่ และการที่จำเลยทั้งสามโอนที่ดินให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว ซึ่งที่ดินดังกล่าวถือเป็นสาระสำคัญของข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้การชำระหนี้ของจำเลยทั้งสามเป็นการพ้นวิสัยไปด้วย คู่ความทั้งสองฝ่ายจึงไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาได้ และสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมตกไปไม่มีผลบังคับ เช่นนี้ คู่ความทั้งสองฝ่ายต่างต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13307/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกล่าวหาร่ำรวยผิดปกติ ไม่ใช่หนี้ตาม ป.พ.พ. จึงไม่มีอายุความ
การกล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติไปจากบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่ยื่นเมื่อเข้ารับตำแหน่ง หรือร่ำรวยผิดปกติซึ่งรวมถึงการได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควรสืบเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ซึ่งให้อำนาจคณะกรรมการ ป.ป.ช. ส่งเรื่องให้ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้สั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 75, 80 และมาตรา 81 นั้น ต่างจากหนี้ที่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องแก่เจ้าหนี้ในการที่จะบังคับให้ลูกหนี้กระทำการหรืองดเว้นการอันใดอันหนึ่งเพื่อชำระหนี้ตามมูลแห่งหนี้ที่สามารถบังคับกันได้ตามกฎหมายดังเช่นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยเฉพาะการที่ผู้ร้องขอให้ทรัพย์สินของผู้คัดค้านตกเป็นของแผ่นดินตามคำร้อง แม้เป็นการบังคับเอาจากทรัพย์สินซึ่งอาจเป็นผลให้ผู้คัดค้านต้องสูญเสียทรัพย์สินหากพิสูจน์ได้ว่ามีการได้ซึ่งทรัพย์สินโดยมิชอบตามเงื่อนไขที่กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนด ก็เป็นผลจากการได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยทุจริตหรือประพฤติมิชอบด้วยหน้าที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนมีความมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ประพฤติทุจริตไม่อาจยึดถือทรัพย์สินไว้ได้ต่อไปอันเป็นผลทางกฎหมายที่มิได้ก่อขึ้นจากหนี้อันเป็นมูลเหตุแห่งสิทธิเรียกร้องที่ผู้คัดค้านสามารถยกอายุความขึ้นต่อสู้ และอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ มาตรา 75 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติให้ต้องกล่าวหากรณีร่ำรวยผิดปกติภายในสองปีนับแต่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ และมาตรา 83 ได้บัญญัติให้บังคับคดีแก่ทรัพย์สินของผู้ถูกกล่าวหาภายในสิบปี เป็นบทบัญญัติกำหนดระยะเวลาดำเนินการของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการแจ้งข้อกล่าวหาเพื่อเร่งรัดให้มีการไต่สวนข้อเท็จจริงอันเป็นมูลเหตุตามข้อกล่าวหา ทำนองเดียวกับมาตรา 81 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลภายในเก้าสิบวันนับแต่ได้รับเรื่องจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นการกำหนดหน้าที่เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย หาใช่การใช้สิทธิเรียกร้องที่ต้องกระทำภายในกำหนดอายุความและเพียงการที่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ มาตรา 80 บัญญัติว่า ให้นำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับแก่กรณีตาม (2) (3) (4) โดยอนุโลมก็เป็นการกำหนดถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งไม่ใช่เหตุผลที่ต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความตาม ป.พ.พ. มาใช้บังคับแก่คดีนี้ด้วยแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12994/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีเวนคืนหลังอุทธรณ์ไม่สำเร็จ และการกำหนดค่าทดแทนโดยใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ถูกต้อง
จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินตามจำนวนเนื้อที่ที่เพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 1 ไร่ 49 ตารางวา โดยเจ้าหน้าที่กองจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและเป็นเลขานุการคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นพยานจำเลยเบิกความว่า การรังวัดที่ดินครั้งแรกได้เนื้อที่ 2 งาน 53 ตารางวา เป็นการรังวัดเนื้อที่โดยประมาณยังไม่เด็ดขาดจนกว่าเจ้าหน้าที่กรมที่ดินจะทำการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดิน จนกระทั่งเมื่อทราบเนื้อที่จริงจำเลยจึงมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปทำบันทึกข้อตกลงอีกครั้ง และปรากฏตามสำเนาบันทึกข้อตกลงยินยอมที่จำเลยจัดทำขึ้นมีรายการระบุว่า ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนขอสงวนสิทธิอุทธรณ์เงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีภายใน 60 วัน นับแต่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือให้มารับเงินค่าทดแทน ซึ่งบ่งชี้ได้ว่าการแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินครั้งหลังจำเลยรับรู้ถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์จำนวนเงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีได้ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว แม้โจทก์ไม่ได้ไปทำบันทึกข้อตกลง แต่ยื่นอุทธรณ์การกำหนดค่าทดแทนก่อนถึงกำหนดวันนัดหมาย โดยกระทรวงคมนาคมซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดของจำเลยยังได้มีหนังสือถึงโจทก์ตอบรับการอุทธรณ์ค่าทดแทนแจ้งให้โจทก์ทราบถึงสิทธิในการฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี หากโจทก์ไม่ได้รับแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 60 วัน จึงถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์การกำหนดค่าทดแทนภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จ โจทก์จึงชอบที่จะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง ไม่อาจถือได้ว่าเป็นเพียงการแจ้งจำนวนที่ดินจากการรังวัดทางคณิตศาสตร์โดยไม่มีการเพิ่มเติมจำนวนที่ดินผิดไปจากที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน
การที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 (3) บัญญัติให้ถือราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ดินเป็นข้อที่ต้องคำนึงถึงในการกำหนดจำนวนค่าทดแทนจากการเวนคืน จึงเป็นกรณีที่ต้องใช้เกณฑ์ราคาประเมินที่ดินในวันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับแก่กรณี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12376/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีเจ้าหน้าที่รัฐทุจริต: การส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
แม้ขณะจำเลยกระทำความผิดอยู่ในบังคับใช้ของ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ.2518 ก็ตาม แต่ ศ. เจ้าพนักงานตำรวจกองตรวจคนเข้าเมือง 2 ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลดอนเมืองเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2543 ซึ่งขณะนั้น พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ใช้บังคับแล้ว การสอบสวนจำเลยจึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว เมื่อ พ.ร.บ. นั้นไม่มีมาตราใดบัญญัติให้พนักงานสอบสวนซึ่งรับคำร้องทุกข์ไว้มีอำนาจสอบสวนได้ แต่มาตรา 89 บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีผู้เสียหายได้ร้องทุกข์หรือมีผู้กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมิใช่บุคคลตามมาตรา 66 อันเนื่องมาจากได้กระทำการตามมาตรา 88 ให้พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษเพื่อจะดำเนินการตามบทบัญญัติในหมวดนี้ ในการนี้หากคณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วเห็นว่า เรื่องดังกล่าวมิใช่กรณีตามมาตรา 88 ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ส่งเรื่องกลับไปยังพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินการตาม ป.วิ.อ. ต่อไป" ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลดอนเมืองจึงต้องส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาตามบทบัญญัติดังกล่าว การสอบสวนและแจ้งข้อกล่าวหาแก่จำเลยของคณะอนุกรรมการไต่สวนที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. แต่งตั้งจึงชอบด้วยกฎหมายและการที่พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลดอนเมืองไม่ได้สอบสวน จึงไม่มีผลทำให้การสอบสวนและการฟ้องคดีนี้ของโจทก์เป็นไปโดยไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9379/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับยาเสพติด เนื่องจากจำเลยไม่ได้ยื่นคำร้องขอฎีกาตามขั้นตอนที่กฎหมายวิธีพิจารณาคดียาเสพติดกำหนด
ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2), 66 วรรคสาม การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้แก้ไขหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดนั้น จึงเป็นคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอันอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 ซึ่งมาตรา 18 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์เฉพาะการกระทำซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้เป็นที่สุด และมาตรา 19 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า คู่ความอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ขออนุญาตฎีกาฟัง เพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยก็ได้ เมื่อจำเลยฎีกาโดยไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9264/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดหลายกรรมต่างวันกัน แม้มีเจตนาเดียวกัน ก็ถือเป็นความผิดหลายกระทง
โจทก์บรรยายฟ้องแยกการกระทำความผิดของจำเลยต่างวันเวลากัน ฟ้องของโจทก์จึงประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมาในแต่ละช่วงเวลา เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ย่อมหมายความว่าจำเลยรับว่าได้กระทำความผิดฐานดำเนินการย้ายบุคคลเข้ามาในทะเบียนบ้าน เพื่อประโยชน์ในการเลือกตั้งโดยมิชอบอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามที่โจทก์บรรยายฟ้อง แม้จำเลยจะกระทำความผิดดังกล่าวโดยมีเจตนาประสงค์ต่อผลในการกระทำของตนแต่ละครั้ง เพื่อประโยชน์ในการเลือกตั้งที่จัดให้มีการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จในวันเดียวกันก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมีเจตนากระทำความผิดต่างวันเวลากัน ก็ถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8985/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีมรดก: ต้องฟังข้อเท็จจริงการจัดการมรดกเสร็จสิ้นก่อน
ในการวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง นั้น จำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงให้เป็นยุติเสียก่อนว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกได้จัดการมรดกเสร็จสิ้นแล้วหรือไม่ และเสร็จสิ้นลงเมื่อใด เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การว่าได้เรียกประชุมทายาทเพื่อจัดการมรดกและทายาทตกลงกันว่าให้ที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระหนี้แก่บริษัท ท. ทั้งหมด โดยทายาทอื่นไม่ต้องรับผิดชอบ และต่อมาจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองที่ดินจากบริษัท ท. และจำเลยที่ 1 ได้โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมรดกแล้ว อันเป็นการให้การต่อสู้ว่าโจทก์ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกตามที่โจทก์และทายาทอื่นได้ตกลงกันไว้ ซึ่งหากเป็นความจริงตามคำให้การของจำเลยที่ 1 ก็ถือได้ว่าการจัดการมรดกของจำเลยที่ 1 เสร็จสิ้นลงนับแต่จำเลยที่ 1 ไถ่ถอนจำนองทรัพย์มรดกและโอนที่ดินให้จำเลยที่ 2 เข้าถือกรรมสิทธิ์รวม อันเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกระหว่างทายาท จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวให้ยุติเสียก่อนว่า ได้มีการตกลงกันเช่นนั้นจริงหรือไม่ เพราะหากไม่มีการตกลงกันดังกล่าวไว้ การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินอันเป็นมรดกมาเป็นของตัวเองและจำเลยที่ 2 และโอนไปยังจำเลยที่ 3 นั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกโดยชอบ การครอบครองที่ดินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกจึงถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นและถือไม่ได้ว่าการจัดการมรดกเสร็จสิ้นแล้วตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นด่วนงดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยทั้งสามกับจำเลยร่วมทั้งสิบเอ็ด และวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง และฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขาดอายุความตามมาตรา 1754 และพิพากษายกฟ้องจึงเป็นการไม่ชอบ
of 20