พบผลลัพธ์ทั้งหมด 198 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4923/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดอำนาจศาล: สิทธิทนายความ-เงินรางวัล: กฎหมายพิเศษ-ไม่ต้องใช้ ป.วิ.อ. มาตรา 173
บทบัญญัติเรื่องละเมิดอำนาจศาลเป็นกฎหมายพิเศษที่ศาลมีอำนาจค้นหาความจริงได้โดยการไต่สวนและไม่จำต้องกระทำต่อหน้าจำเลยดังเช่นการพิจารณาคดีอาญาทั่วไป กรณีเช่นนี้จึงไม่อาจนำ ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง มาใช้บังคับได้ ศาลจึงไม่จำต้องสอบถามผู้ถูกกล่าวหาเรื่องทนายความและตั้งทนายความให้ผู้ถูกกล่าวหาตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้ศาลชั้นต้นตั้งทนายความให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาในคดีละเมิดอำนาจศาลดังเช่นคดีอาญาทั่วไป และคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมไม่ได้ออกระเบียบให้ทนายความของผู้ถูกกล่าวหาในคดีละเมิดอำนาจศาลมีสิทธิได้รับเงินรางวัลและค่าใช้จ่าย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทนายความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4764/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีไม่มีข้อพิพาทเพิกถอนมติคณะกรรมการสมาคม ต้องมีกฎหมายรองรับเฉพาะเจาะจง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมของคณะกรรมการสมาคมผู้คัดค้าน เป็นการใช้สิทธิทางศาลโดยเสนอคดีเป็นคำร้องขอ อันเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ซึ่งการร้องขอในลักษณะเช่นนี้ ต้องมีกฎหมายสารบัญญัติรับรองให้ยื่นคำร้องขอต่อศาลได้ แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยสมาคม คงมีแต่บัญญัติให้สมาชิกหรือพนักงานอัยการร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนมติในที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกสมาคมตามที่บัญญัติในมาตรา 100 ได้เท่านั้น แต่คดีนี้เป็นการร้องขอเพิกถอนมติที่ประชุมของคณะกรรมการสมาคม มิใช่ขอเพิกถอนมติในที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกสมาคม กรณีจึงไม่มีบทบัญญัติใดรับรองให้สมาชิกสมาคมหรือผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมของคณะกรรมการสมาคมเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท เมื่อผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิโดยคณะกรรมการสมาคมผู้คัดค้าน ก็ต้องใช้สิทธิฟ้องคดีเป็นคดีมีข้อพิพาท แม้ภายหลังมีผู้คัดค้านเข้ามาก็ไม่ทำให้อำนาจการยื่นคำร้องขอที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่ต้นเป็นคำร้องขอที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4382/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับรายวันจากการฝ่าฝืนคำสั่งรื้อถอนอาคาร แม้จะยกอาคารให้เป็นสาธารณสมบัติ ก็ยังต้องชำระจนกว่าจะรื้อถอน
คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้จำเลยชำระค่าปรับรายวันในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคาร วันละ 100 บาท นับแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2552 เป็นต้นไปจนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ซึ่งหมายความว่า จำเลยต้องชำระค่าปรับรายวันในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารจนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 และ 66 ทวิ วรรคสอง ดังนั้น จำเลยจึงต้องชำระค่าปรับวันละ 100 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 42 กล่าวคือ จนกว่าจำเลยจะได้รื้อถอนอาคารพิพาทตามมาตรา 42 แล้ว เมื่อข้อเท็จจริงตามทางไต่สวนไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รื้อถอนอาคารพิพาทแล้ว จำเลยจึงยังคงต้องชำระค่าปรับรายวันตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ต่อไปจนกว่าจะได้รื้อถอนอาคารพิพาท
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจงดการบังคับชำระค่าปรับรายวันเพราะเหตุจำเลยได้ยกอาคารพิพาทให้เป็นสาธารณสมบัติเพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์แล้ว
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจงดการบังคับชำระค่าปรับรายวันเพราะเหตุจำเลยได้ยกอาคารพิพาทให้เป็นสาธารณสมบัติเพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3880/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดช่วงเวลากลางคืนตาม ป.อ. มาตรา 1 (11) เพื่อใช้ในการพิจารณาความผิดฐานลักทรัพย์
ป.อ. มาตรา 1 (11) คำว่า "กลางคืน" หมายความว่า เวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกและพระอาทิตย์ขึ้น โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์ของผู้เสียหายเมื่อระหว่างวันที่ 20 สิงหาคม 2555 เวลากลางคืนหลังเที่ยง ถึงวันที่ 21 สิงหาคม 2555 เวลากลางคืนก่อนเที่ยง เวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ดังนั้น เวลาเกิดเหตุตามฟ้องของโจทก์คือ ตั้งแต่เวลาพระอาทิตย์ตกของวันที่ 20 สิงหาคม 2555 ถึงเวลา 24 นาฬิกา ของวันเดียวกัน และเวลา 0.01 นาฬิกา ของวันที่ 21 สิงหาคม 2555 ไปแล้ว จนถึงเวลาพระอาทิตย์ขึ้นของวันเดียวกัน จึงเป็นเวลากลางคืนของวันที่ 20 และ 21 สิงหาคม 2555 ติดต่อกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ในเวลากลางคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3584/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการลงโทษจำคุกอย่างเดียวตาม ป.อ. มาตรา 20 ไม่จำเป็นต้องระบุในคำพิพากษา
ป.อ. มาตรา 20 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจในกรณีที่ความผิดที่กฎหมายกำหนด ให้ลงโทษจำคุกและปรับ ถ้าศาลเห็นสมควรก็อาจใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสถานเดียว โดยไม่ลงโทษปรับด้วยก็ได้ มิใช่เป็นบทบัญญัติที่กฎหมายบัญญัติเป็นบทความผิดและบทกำหนดโทษ ที่ศาลจะต้องระบุตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (7) แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสถานเดียวโดยไม่ได้อ้าง ป.อ.มาตรา 20 ด้วย ก็ไม่เป็นเหตุให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3115/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัตรเครดิต: การคิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ทำให้สัญญาส่วนนั้นเป็นโมฆะ และจำเลยไม่ต้องรับผิด
ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่โจทก์นำสืบ 2 ฉบับ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 6 (1) และข้อ 8 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ได้ออกข้อกำหนดที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามที่กำหนดในประกาศข้อ 4.4 (4) ว่า การให้บริการเบิกถอนเงินสดผ่านบัตรเครดิต ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใด ๆ รวมกันได้ไม่เกินร้อยละ 3 ของจำนวนเงินสดที่เบิกถอนนั้น และ (5) ว่า ภายใต้ (4) ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตอาจเรียกเก็บดอกเบี้ยในหนี้ค้างชำระหรือดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดชำระหนี้ หรือค่าปรับในการชำระหนี้ล่าช้ากว่ากำหนด หรือค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการอื่นใดจากผู้ถือบัตรหรือผู้บริโภคได้ แต่ดอกเบี้ย ค่าปรับ หรือค่าธรรมเนียมและค่าบริการนั้น เมื่อคำนวณรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 18 และ 20 ต่อปี ตามลำดับ ซึ่งประกาศทั้งสองฉบับดังกล่าวมีความหมายว่า โจทก์มีสิทธิเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการและค่าธรรมเนียมใด ๆ โดยอัตรารวมสูงสุดไม่เกินร้อยละ 18 และ 20 ต่อปี ตามลำดับ แต่ข้อเท็จจริงตามสัญญาการใช้บัตรเครดิต ใบบันทึกยอดหนี้ และคำเบิกความของผู้รับมอบอำนาจช่วงโจทก์ว่า โจทก์อนุมัติวงเงินตามสัญญาบัตรเครดิต 55,000 บาท นั้น คิดค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินตั้งแต่ 25,000 บาท ขึ้นไป คิดอัตราร้อยละ 18 ต่อปี และคิดดอกเบี้ยในยอดเงินที่ค้างชำระอัตราร้อยละ 10 ต่อปี เมื่อรวมอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินเข้าด้วยกันแล้วเกินกว่าอัตราร้อยละ 18 และ 20 ต่อปี ที่ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ทั้งสองฉบับดังกล่าว การคิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมในอัตราดังกล่าวจึงเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย และตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เมื่อข้อสัญญาเกี่ยวกับการคิดดอกเบี้ยของโจทก์ตกเป็นโมฆะ ก็เท่ากับสัญญาบัตรเครดิตมิได้มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันไว้อันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยก่อนผิดนัด และไม่อาจนำเงินที่จำเลยชำระแก่โจทก์มาแล้วไปหักออกจากดอกเบี้ยที่โจทก์ไม่มีสิทธิคิดได้ จึงต้องนำไปชำระต้นเงินทั้งหมด เมื่อปรากฏตามใบแจ้งยอดบัญชีบัตรเครดิตและใบบันทึกรายการยอดหนี้ว่า จำเลยชำระเงินให้แก่โจทก์ไปแล้วเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 183,455 บาท สูงกว่าจำนวนเงินต้นที่จำเลยใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตโจทก์เพียง 130,953.74 บาท จึงถือว่าจำเลยได้ชำระหนี้บัตรเครดิตให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2728/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีหลอกลวงเอาทรัพย์ การพิสูจน์องค์ประกอบความผิดทางอาญาที่ต้องแสดงให้เห็นการได้ทรัพย์สินไปจากผู้ถูกหลอกลวง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 อ้างว่าเป็นตัวแทนของบริษัท ด. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน 3 แปลง ทำสัญญานายหน้ากับโจทก์กับพวกเพื่อให้โจทก์กับพวกทำหน้าที่ชี้ช่องติดต่อหาผู้ซื้อที่ดินดังกล่าว ต่อมาโจทก์กับพวกติดต่อจำเลยที่ 2 ว่าจะซื้อที่ดิน แต่ยังไม่มีการนัดจดทะเบียนโอน จำเลยทั้งสองร่วมกันไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงการจดทะเบียนโอนที่ดินทั้ง 3 แปลง และจำเลยที่ 2 ให้บริษัท จ. ซึ่งมี ธ. เป็นตัวแทนเป็นผู้ซื้อที่ดิน โจทก์กับพวกมีสิทธิได้รับค่านายหน้าตามสัญญาเป็นเงิน 5,560,000บาท แต่จ่ายค่านายหน้าให้โจทก์เพียง 250,000 บาท การให้บริษัท จ. โดย ธ. เป็นผู้ซื้อที่ดินทั้งสามแปลง เพื่อให้ตนได้รับค่านายหน้าทั้งหมดหรือบางส่วน อันเป็นการแสดงตนเป็นคนอื่น และการติดต่อทำสัญญากับโจทก์และพวกให้มีการซื้อขายที่ดินของจำเลยทั้งสอง ก็เป็นการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการร่วมกันหลอกลวงโจทก์ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ ปกปิดข้อความจริงอันควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงได้ไปซึ่งเงินค่านายหน้าของโจทก์ ดังนี้ หากจะฟังว่าจำเลยทั้งสองหลอกลวงโจทก์ตามฟ้องจริง การหลอกลวงเช่นนั้นก็มิได้ทำให้จำเลยทั้งสองได้เงินไปจากโจทก์ซึ่งอ้างว่าถูกหลอกลวงแต่อย่างใด เงินที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองได้ไปนั้นเป็นเพียงเงินค่านายหน้าซึ่งโจทก์ถือว่าตนมีสิทธิจะได้ และจำเลยที่ 1 ไม่ชำระให้เท่านั้น เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องว่ากล่าวกันในทางแพ่ง ทั้งข้อเท็จจริงตามฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองแสดงตนเป็นบุคคลอื่นหรือฉ้อโกงประชาชนแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามฟ้องโจทก์และไม่มีมูลเป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1941/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากผู้พิพากษาลงลายมือชื่อเพียงคนเดียว ทำให้ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณา
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี โดยมีผู้พิพากษาลงลายมือชื่อในคำพิพากษาเพียงคนเดียว เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5) ทั้งนี้เพราะผู้พิพากษาคนเดียวจะพิพากษาลงโทษจำคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งโทษจำคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้ คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายข้างต้น ซึ่งมีผลทำให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ ต้องให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องก่อน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และพ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาล: ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีอำนาจพิจารณารับหรือไม่รับอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น และคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ถือเป็นที่สุด
เมื่อศาลชั้นต้นปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์เป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลนั้นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้ ให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาคำร้องนั้นแล้วมีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นหรือมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ คำสั่งนี้ให้เป็นที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยทำนองว่า คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์ส่งสำเนาคำฟ้องและสำเนาคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องให้แก่ พ. จะไม่ชอบก็เป็นเพียงเหตุผลที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกขึ้นวินิจฉัยเพื่อจะรับอุทธรณ์ของโจทก์หรือไม่เท่านั้น และผลที่สุดศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงเป็นที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1831/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำคุก: ผลของคำพิพากษาที่สั่งให้นับโทษต่อจากโทษอื่น และผลของการแก้โทษ
ป.อ. มาตรา 22 วรรคแรก เป็นบทบัญญัติที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการบังคับโทษจำคุกจำเลยว่าให้เริ่มนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา โดยมีข้อยกเว้นในกรณีที่ศาลจะมีคำพิพากษาเป็นอย่างอื่น ซึ่งวันมีคำพิพากษาตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายถึงวันที่ศาลอ่านคำพิพากษาโดยเปิดเผยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 182 และ 188 โดยคำพิพากษาไม่จำเป็นต้องถึงที่สุด เพราะเมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้วจำเลยย่อมต้องถูกบังคับโทษตามคำพิพากษานั้น แม้ต่อมาภายหลังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาจะแก้โทษจำคุกก็ไม่มีผลต่อวันเริ่มโทษจำคุกแต่อย่างใด คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังแล้ว โดยให้ลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิต และนับโทษจำเลยต่อจากโทษจำคุกจำเลยในคดีอาญาอื่น ย่อมมีความหมายว่าคำพิพากษาได้กล่าวถึงเวลาเริ่มบังคับโทษจำคุกไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น การเริ่มนับโทษจำคุกจำเลยจึงต้องเริ่มนับเมื่อจำเลยได้รับโทษจำคุกในคดีอาญาอื่นครบถ้วนแล้ว แม้ต่อมาศาลฎีกามีคำพิพากษาแก้โทษของจำเลยเหลือเพียง 36 ปี 8 เดือน แต่ก็ยังคงให้นับโทษจำคุกจำเลยต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีอาญาดังกล่าว จึงไม่มีผลต่อวันเริ่มนับโทษจำคุกของจำเลย