คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เกษม เกษมปัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 198 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7917/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุบรรเทาโทษทางอาญา: การขาดความระมัดระวังของผู้เสียหายกับการข่มขืน, การพิจารณาข้อเท็จจริงและขอบเขตการแก้ไขโทษ
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการขาดความระมัดระวังของผู้เสียหายซึ่งถือว่ามีเหตุอื่นอันเป็นเหตุบรรเทาโทษ จึงลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 และศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนมานั้น เห็นว่า การที่ผู้เสียหายเป็นพนักงานธนาคาร จำต้องทำยอดลูกค้าบัตรเครดิตให้ได้ตามที่ธนาคารกำหนด จึงยอมไปเที่ยวและร่วมรับประทานอาหารกับจำเลยเพราะผู้เสียหายเคยรับปากจำเลยไว้ จึงไม่อยากเสียคำพูดกับลูกค้า และในที่สุดยอมขึ้นไปที่ห้องพักบนอพาร์ตเมนต์ที่เกิดเหตุตามคำคะยั้นคะยอของจำเลยเป็นเหตุให้ถูกจำเลยใช้อาวุธปืนพูดขู่เข็ญและใช้กำลังบังคับข่มขืนกระทำชำเราจนสำเร็จความใคร่นั้น พฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดของจำเลยดังกล่าว หาใช่กรณีที่จะถือได้ว่าสาเหตุแห่งการกระทำความผิดของจำเลยมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการขาดความระมัดระวังตัวของผู้เสียหาย อันจะถือว่ามีเหตุอื่นที่ศาลเห็นว่ามีเหตุอันควรปรานีลักษณะทำนองเดียวกับเหตุอื่น ๆ ที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 78 ไม่ อย่างไรก็ตามเมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อนี้ ศาลฎีกาก็ไม่อาจพิพากษาแก้เป็นไม่ลดโทษให้แก่จำเลยตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7363/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นภาษีเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกรณีเกษียณอายุ: การตีความ 'สิ้นสุดสัญญาจ้าง' และข้อยกเว้นตามประกาศกรมสรรพากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการสำหรับกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 151) และ (ฉบับที่ 158) ตามลำดับ กำหนดว่า ข้อ 1 (1) กรณีเกษียณอายุ ลูกจ้างผู้นั้นต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปี บริบูรณ์ ซึ่งออกจากงานเพราะครบกำหนดหรือสิ้นกำหนดเวลาทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ดังนี้ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ดังกล่าว มิได้มีบทบังคับเด็ดขาดว่ากรณีเกษียณอายุจะต้องเป็นกำหนดเวลาทำงานที่มีอยู่แล้วตั้งแต่เวลาที่ลูกจ้างเริ่มเข้าทำงาน จึงไม่อาจขยายความให้เป็นผลร้ายแก่ผู้เสียภาษีอากรได้ กรณีของโจทก์แม้ตามข้อบังคับธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการพนักงาน พ.ศ.2546 จะกำหนดเวลาการจ้างแรงงานไว้ในข้อ 6.6 คือ พนักงานพ้นจากตำแหน่งเพราะครบเกษียณอายุ คือให้พนักงานผู้มีอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์ พ้นจากตำแหน่งในวันที่ 1 ตุลาคม หลังจากที่พนักงานผู้นั้นมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ก็ตาม แต่การที่โจทก์ออกจากงานก่อนกำหนดดังกล่าวตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ พ 42/2547 เรื่อง การออกจากงานโดยความเห็นชอบร่วมกัน พ.ศ.2547 ถึง 2550 นั้น เป็นการเลิกสัญญาจ้างกันโดยความตกลงของทั้งสองฝ่ายที่เป็นลายลักษณ์อักษรในภายหลังอันมีผลให้กำหนดเวลาทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดลง ทั้งมิใช่เป็นการทำข้อตกลงให้โจทก์ลาออกในกรณีปกติตามข้อบังคับธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการพนักงาน พ.ศ.2546 ข้อ 6.6 (2) จึงถือได้ว่าโจทก์ออกจากงานเพราะสิ้นกำหนดเวลาทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ตามหลักเกณฑ์กรณีเกษียณอายุในข้อ 1 (1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) ดังกล่าวแล้ว เมื่อขณะออกจากงานโจทก์มีอายุ 56 ปี และเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี เงินได้ที่โจทก์ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพย่อมได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6631/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาจ้างนักร้อง: เขตอำนาจศาล, หลักฐานสัญญา, สัญญาไม่เป็นธรรม, และดอกเบี้ย
แม้ขณะทำสัญญาจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดชัยนาท และลงลายมือชื่อในสัญญาที่อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาทก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความจากคำเบิกความของโจทก์ว่า โจทก์ลงลายมือชื่อในสัญญาที่ห้องบันทึกเสียงจาตุรงค์ จึงถือว่ามูลคดีนี้เกิดขึ้นที่ห้องบันทึกเสียงจาตุรงค์อีกแห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4(1) การที่โจทก์เสนอคำฟ้องคดีต่อศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
เมื่อจำเลยให้การยอมรับว่าทำสัญญาว่าจ้างร้องเพลงตามฟ้องจริง โดยมิได้ปฏิเสธถึงความถูกต้องของข้อความในสัญญา เพียงแต่ต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดเพราะสัญญาเลิกกันแล้ว จำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เท่านั้น จึงต้องฟังว่าจำเลยยอมรับว่าได้ทำสัญญาว่าจ้างร้องเพลงกับโจทก์โดยไม่จำต้องอาศัยหนังสือสัญญาจ้างเป็นหลักฐานในคดีแม้สัญญาจะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ไม่ต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 จึงรับฟังเป็นหลักฐานได้ และตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวมิได้บัญญัติว่าต้องปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์เมื่อใด เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าหนังสือมอบอำนาจมีการปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์แล้ว หนังสือมอบอำนาจจึงใช้บังคับได้
สัญญาว่าจ้างร้องเพลงระบุว่าโจทก์มีหน้าที่บันทึกเสียง จัดทำแผ่นเสียง แถบบันทึกเสียงคอมแพกดิสก์ วีดิโอ หรือโสตทัศนวัสดุอื่นใดทุกชนิด รวมทั้งมีหน้าที่โฆษณาประชาสัมพันธ์และเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการผลิต ค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อชื่อเสียงของจำเลยเองทั้งหมด โจทก์จึงต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากและมีโอกาสเสี่ยงต่อการลงทุน ซึ่งต่างกับจำเลยซึ่งเพียงแต่ลงทุนแรงกายเป็นหลักเท่านั้น การที่สัญญาดังกล่าวจะระบุให้โจทก์ได้สิทธิและผลประโยชน์ตอบแทนจากรายได้ของจำเลยบางส่วนในกำหนด 5 ปี นับว่าเป็นระยะเวลาพอสมควรซึ่งหลังจากสิ้นสุดสัญญา จำเลยสามารถแสวงหารายได้จากการมีชื่อเสียงของตนได้เอง หาใช่เป็นการตัดการประกอบอาชีพของจำเลยทั้งหมดเสียทีเดียว ทั้งจำเลยก็สมัครใจทำสัญญาโดยยอมรับค่าตอบแทนที่โจทก์กำหนดให้ สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาที่รักษาสิทธิและประโยชน์ของคู่กรณีในเชิงการประกอบธุรกิจโดยชอบจึงไม่เป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยชำระดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 ซึ่งเป็นวันผิดนัดก่อนฟ้องคดี จึงเป็นการเกินคำขอ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6237/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยจากเหตุเวนคืนที่ดิน โจทก์มีสิทธิเรียกเงินคืนจากลูกหนี้ร่วมกัน
ในขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและสัญญาจ้างพัฒนาที่ดินและก่อสร้างบ้าน โจทก์และจำเลยทั้งสี่ต่างทราบดีอยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่จะถูกเวนคืนเพื่อทำถนนเพียงแต่ยังไม่มีการสำรวจแนวเขตถนนที่แน่นอน เมื่อภายหลังมีการประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงผ่านที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสี่จึงไม่สามารถส่งมอบที่ดินพร้อมบ้านแก่โจทก์เพื่อได้ใช้ประโยชน์ตามสัญญา การชำระหนี้ย่อมตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดอันจะโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมิได้ จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกันย่อมไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตอบแทนตาม ป.พ.พ. มาตา 372 วรรคแรก โจทก์มีสิทธิเรียกเงินที่ชำระคืนจากจำเลยทั้งสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5584/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองจากการขายทอดตลาด: สิทธิของเจ้าหนี้มีประกัน และขอบเขตการบังคับชำระหนี้เกินทรัพย์ประกัน
จำเลยเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดในคดีแพ่งโดยติดจำนองย่อมมีฐานะเป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง หาทำให้มีฐานะเป็นผู้จำนองไม่ จำเลยมีสิทธิไถ่ถอนจำนองโดยเสนอรับใช้เงินเป็นจำนวนอันสมควรกับราคาทรัพย์สินนั้น หากโจทก์ไม่ยอมรับก็ต้องฟ้องต่อศาลภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันมีคำเสนอ เพื่อให้ศาลพิพากษาสั่งขายทอดตลาดตาม ป.พ.พ. มาตรา 738 และ 739 แต่ถ้าจำเลยไม่ได้ใช้สิทธิไถ่ถอนจำนองดังกล่าว โดยโจทก์จะบังคับจำนองก็ต้องมีจดหมายบอกกล่าวแก่จำเลยผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองล่วงหน้าหนึ่งเดือนก่อนแล้วจึงจะบังคับจำนองได้ตามมาตรา 735 หากได้เงินสุทธิไม่พอชำระหนี้ โจทก์ก็ชอบที่จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้และผู้จำนองตามคำพิพากษาในคดีแพ่ง อันเนื่องมาจากข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองที่ว่า หากบังคับจำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ ผู้จำนองยอมรับผิดชดใช้หนี้จนครบถ้วน โจทก์จะอาศัยสิทธิความเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งมาฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่เป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองให้รับผิดในฐานะผู้จำนองแก่โจทก์ด้วยหาได้ไม่ แม้โจทก์ฟ้องบังคับจำนองโดยขอให้บังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยในกรณีที่ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ ย่อมเป็นคำขอที่เกินเลยไปกว่าสิทธิที่โจทก์พึงมีพึงได้ตามกฎหมาย และแม้ศาลในคดีแพ่งมีคำพิพากษาไปตามคำขอของโจทก์คำพิพากษาดังกล่าวก็ไม่มีผลผูกพันศาลในคดีล้มละลาย เนื่องจากกฎหมายล้มละลายเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับจำนองมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินซึ่งจำนองที่จำเลยรับโอนจากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 6 แต่โจทก์คงมีสิทธิบังคับจำนองได้เฉพาะจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนองเท่านั้น หากได้เงินสุทธิน้อยกว่าที่ค้างชำระและยังขาดอยู่เท่าใด จำเลยผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองไม่จำต้องรับผิดในหนี้นั้น โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันที่เป็นผู้ต้องห้ามมิให้บังคับการชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยเกินกว่าตัวทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน โจทก์จะฟ้องจำเลยให้ล้มละลายไม่ได้ ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 10 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4928/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยสถานะผู้เสียหายในคดีอาญา: การพิจารณาจากพฤติการณ์การทะเลาะวิวาทและผลกระทบต่อสิทธิการเรียกร้องค่าสินไหม
ในการพิพากษาคดีอาญา หาได้มีบทบัญญัติของกฎหมายใดให้ศาลจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาคดีอื่น เพราะคดีอาญาโจทก์ต้องมีหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงที่กล่าวหานั้น จึงจะฟังลงโทษจำเลยได้ ข้อเท็จจริงในคดีอาญาจะมีผลผูกพันคดีอื่นได้ก็เฉพาะที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 46 เท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นอื่นไม่ผูกพันในคดีนี้ ศาลก็ย่อมวินิจฉัยข้อเท็จจริงในคดีนี้ตามที่ปรากฏในสำนวน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญาของศาลชั้นต้นอื่นแล้ววินิจฉัยว่าโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1 สมัครใจทะเลาะวิวาทกัน โจทก์ร่วมทำร้ายร่างกายจำเลยที่ 1 โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหาย จึงเป็นการไม่ชอบ
of 20