พบผลลัพธ์ทั้งหมด 198 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14968/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน: การลงทุนด้วยแรงงาน การแบ่งผลกำไร และการเลิกห้าง
โจทก์เป็นผู้จัดล็อกพื้นที่ในตลาดเพื่อให้ผู้ค้าเช่าแผงขายสินค้าและจัดทำบัญชีเพื่อประโยชน์ในการประกอบกิจการค้านั้น ดังนี้ ย่อมเท่ากับว่าโจทก์ได้ร่วมลงทุนหรือลงหุ้นเป็นแรงงานแล้ว เข้าลักษณะเป็นสัญญาห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 และ 1025 ที่บัญญัติว่า สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนคือ สัญญาซึ่งบุคคลสองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น ซึ่งสิ่งที่นำมาลงหุ้นนั้นจะเป็นเงิน หรือทรัพย์สินสิ่งอื่น หรือแรงงานก็ได้ ตามมาตรา 1026 วรรคสอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นหุ้นส่วนกับจำเลยในการประกอบกิจการค้าตลาดนัด แต่จำเลยไม่แบ่งผลกำไรให้โจทก์ ทั้งมีพฤติการณ์กีดกันไม่ให้โจทก์เข้าเกี่ยวข้องในกิจการที่เข้าหุ้นกัน โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาหุ้นส่วนและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ระบุขอให้ศาลพิพากษาให้เลิกหุ้นส่วนสามัญและให้มีการชำระบัญชี ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ห้างเลิกกัน โดยระบุวันที่เลิกอันเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่ได้ความว่าห้างดังกล่าวเลิกกันเมื่อใด จึงยังอยู่ในขอบเขตแห่งคำขอ เพียงแต่ระบุวันที่ห้างเลิกให้ชัดเจนเพื่อประโยชน์ในการชำระบัญชีเท่านั้น ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอแต่อย่างใด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นหุ้นส่วนกับจำเลยในการประกอบกิจการค้าตลาดนัด แต่จำเลยไม่แบ่งผลกำไรให้โจทก์ ทั้งมีพฤติการณ์กีดกันไม่ให้โจทก์เข้าเกี่ยวข้องในกิจการที่เข้าหุ้นกัน โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาหุ้นส่วนและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ระบุขอให้ศาลพิพากษาให้เลิกหุ้นส่วนสามัญและให้มีการชำระบัญชี ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ห้างเลิกกัน โดยระบุวันที่เลิกอันเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่ได้ความว่าห้างดังกล่าวเลิกกันเมื่อใด จึงยังอยู่ในขอบเขตแห่งคำขอ เพียงแต่ระบุวันที่ห้างเลิกให้ชัดเจนเพื่อประโยชน์ในการชำระบัญชีเท่านั้น ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14968/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน: การลงทุนด้วยแรงงานและการแบ่งผลกำไร, การเลิกหุ้นส่วนและการชำระบัญชี
เอกสารตามที่โจทก์อ้างมีข้อความที่แสดงว่าเป็นการสรุปรายได้ของตลาดนัดและแบ่งปันผลกำไรในแต่ละช่วงของปี ทั้งมีลายมือชื่อโจทก์และจำเลยลงไว้ ซึ่งหากจำเลยดำเนินกิจการดังกล่าวเพียงลำพังคนเดียวแล้วก็ไม่จำเป็นจะต้องทำสรุปรายได้และส่วนแบ่งหุ้นส่วนเพื่อแบ่งปันผลกำไรแต่อย่างใดเพราะย่อมเป็นรายได้ของจำเลยแต่ผู้เดียว อีกทั้งเอกสารที่มีลายมือชื่อของจำเลยลงไว้ก็มีข้อความระบุชัดแจ้งว่าเป็นเอกสารสรุปส่วนแบ่งหุ้นในแต่ละเดือน โดยมียอดรายรับของตลาดนัดทุกตลาดที่มีการดำเนินกิจการอยู่ สอดคล้องกับทางนำสืบของโจทก์ที่อ้างว่า มีการลงทุนร่วมกันระหว่างโจทก์กับจำเลย และจะแบ่งปันผลกำไรกันภายหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว ทั้งโจทก์ยังมีเช็คซึ่งจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายให้แก่โจทก์ โดยหมายเลขเช็คและจำนวนเงินตรงตามที่ระบุไว้ในสรุปบัญชีรับจ่ายสนับสนุนว่าเป็นเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายเพื่อแบ่งผลกำไรจากการดำเนินกิจการตลาดนัดให้แก่โจทก์ พฤติการณ์ของโจทก์ที่มีส่วนเข้ามาดูแลในกิจการตลาดนัดและยังได้รับส่วนแบ่งผลกำไรภายหลังหักรายรับรายจ่ายของกิจการดังกล่าวมาข้างต้นเช่นนี้ แสดงว่าโจทก์และจำเลยต่างตกลงเข้าหุ้นส่วนกันทำกิจการตลาดนัด แม้ไม่ปรากฏว่ามีการจัดทำข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้นำเงินหรือทรัพย์สินใด ๆ มาลงหุ้น แต่ได้ความว่าโจทก์เป็นผู้จัดล็อกพื้นที่ในตลาดเพื่อให้ผู้ค้าเช่าแผงขายสินค้าและจัดทำบัญชีเพื่อประโยชน์ในการประกอบกิจการค้านั้น ดังนี้ ย่อมเท่ากับว่าโจทก์ได้ร่วมลงทุนหรือลงหุ้นเป็นแรงงานแล้วเข้าลักษณะเป็นสัญญาห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 และ 1025 ที่บัญญัติว่า สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนคือสัญญาซึ่งบุคคลสองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น ซึ่งสิ่งที่นำมาลงหุ้นนั้นจะเป็นเงิน หรือทรัพย์สินสิ่งอื่น หรือแรงงานก็ได้ตามมาตรา 1026 วรรคสอง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์กับจำเลยตกลงเป็นหุ้นส่วนในการประกอบกิจการเช่าพื้นที่มาจัดทำเป็นตลาดนัดให้ผู้ค้าเช่าขายสินค้า
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นหุ้นส่วนกับจำเลยในการประกอบกิจการค้าตลาดนัด แต่จำเลยไม่แบ่งผลกำไรให้โจทก์ ทั้งมีพฤติการณ์กีดกันไม่ให้โจทก์เข้าเกี่ยวข้องในกิจการที่เข้าหุ้นกัน โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาหุ้นส่วน และคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ระบุขอให้ศาลพิพากษาให้เลิกหุ้นส่วนสามัญและให้มีการชำระบัญชี ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ห้างเลิกกัน โดยระบุวันที่เลิกอันเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่ได้ความว่าห้างดังกล่าวเลิกกันเมื่อใด จึงยังอยู่ในขอบเขตแห่งคำขอเพียงแต่ระบุวันที่ห้างเลิกให้ชัดเจนเพื่อประโยชน์ในการชำระบัญชีเท่านั้นไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอแต่อย่างใด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นหุ้นส่วนกับจำเลยในการประกอบกิจการค้าตลาดนัด แต่จำเลยไม่แบ่งผลกำไรให้โจทก์ ทั้งมีพฤติการณ์กีดกันไม่ให้โจทก์เข้าเกี่ยวข้องในกิจการที่เข้าหุ้นกัน โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาหุ้นส่วน และคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ระบุขอให้ศาลพิพากษาให้เลิกหุ้นส่วนสามัญและให้มีการชำระบัญชี ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ห้างเลิกกัน โดยระบุวันที่เลิกอันเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่ได้ความว่าห้างดังกล่าวเลิกกันเมื่อใด จึงยังอยู่ในขอบเขตแห่งคำขอเพียงแต่ระบุวันที่ห้างเลิกให้ชัดเจนเพื่อประโยชน์ในการชำระบัญชีเท่านั้นไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14860/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนทรัพย์เพื่อการล้มละลาย: การสันนิษฐานการฉ้อฉลและการยกให้โดยเสน่หา
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 ถ้านิติกรรมที่ขอเพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา 113 นั้น เกิดขึ้นภายในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้น หรือเป็นการทำให้โดยเสน่หาหรือเป็นการที่ลูกหนี้ได้รับค่าตอบแทนน้อยเกินสมควร ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นการกระทำที่ลูกหนี้และผู้ที่ได้ลาภงอกแต่การนั้นรู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบ จำเลยเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ตามคำพิพากษา ของศาลแพ่ง โดยก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลาบังคับคดีแพ่งและก่อนโจทก์นำมูลหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยให้ล้มละลาย จำเลยได้จดทะเบียนการให้โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านบุตรของจำเลย การโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทดังกล่าวเป็นนิติกรรมที่กระทำภายในระยะเวลา 1 ปี ก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลายและเป็นการทำให้โดยเสน่หา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นการกระทำที่ลูกหนี้จำเลยและผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นรู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ต้องเสียเปรียบ จำเลยและผู้คัดค้านมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวตามมาตรา 114
การที่ผู้คัดค้านเป็นบุตรซึ่งเป็นญาติใกล้ชิดกับจำเลยกล่าวอ้างว่า ก่อนรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทได้นำเงินมาชำระหนี้เจ้าหนี้อื่นแทนจำเลยมารดาของตนเพื่อปลดภาระจำนอง แสดงว่าผู้คัดค้านย่อมทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยไม่สามารถชำระหนี้เจ้าหนี้ได้และจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว การที่บุตรชำระหนี้แทนมารดาเป็นหน้าที่ทางศีลธรรมประการหนึ่ง ไม่มีสิทธิได้รับคืนทรัพย์แต่ประการใด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 408 (3) นิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้านจึงเป็นการยกให้โดยเสน่หาตามที่ระบุไว้ในสารบัญจดทะเบียน มิอาจรับฟังเป็นอื่นได้ ทั้งในชั้นพิจารณาทนายผู้คัดค้านแถลงไม่ติดใจนำพยานเข้าไต่สวน จึงไม่มีข้อเท็จจริงใดนำมาหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ การที่จำเลยทำนิติกรรมยกกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านบุตรของจำเลยโดยเสน่หาในขณะที่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยไม่เพียงพอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ พฤติการณ์ฟังได้ว่า จำเลยและผู้คัดค้านรู้อยู่ว่าการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทดังกล่าวเป็นทางให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เสียเปรียบอันเป็นการกระทำโดยการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237
การที่ผู้คัดค้านเป็นบุตรซึ่งเป็นญาติใกล้ชิดกับจำเลยกล่าวอ้างว่า ก่อนรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทได้นำเงินมาชำระหนี้เจ้าหนี้อื่นแทนจำเลยมารดาของตนเพื่อปลดภาระจำนอง แสดงว่าผู้คัดค้านย่อมทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยไม่สามารถชำระหนี้เจ้าหนี้ได้และจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว การที่บุตรชำระหนี้แทนมารดาเป็นหน้าที่ทางศีลธรรมประการหนึ่ง ไม่มีสิทธิได้รับคืนทรัพย์แต่ประการใด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 408 (3) นิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้านจึงเป็นการยกให้โดยเสน่หาตามที่ระบุไว้ในสารบัญจดทะเบียน มิอาจรับฟังเป็นอื่นได้ ทั้งในชั้นพิจารณาทนายผู้คัดค้านแถลงไม่ติดใจนำพยานเข้าไต่สวน จึงไม่มีข้อเท็จจริงใดนำมาหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ การที่จำเลยทำนิติกรรมยกกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านบุตรของจำเลยโดยเสน่หาในขณะที่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยไม่เพียงพอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ พฤติการณ์ฟังได้ว่า จำเลยและผู้คัดค้านรู้อยู่ว่าการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทดังกล่าวเป็นทางให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เสียเปรียบอันเป็นการกระทำโดยการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14780/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเช่าซื้อ: สัญญาเลิกกันแล้วฟ้องเกิน 10 ปี ฟ้องขาดอายุความ
โจทก์รับโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โจทก์ฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนหากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ตลอดเวลาที่จำเลยทั้งสองยังคงครอบครองใช้ประโยชน์ในรถยนต์ที่เช่าซื้ออยู่เป็นการอ้างสัญญาเช่าซื้อเป็นหลักแห่งข้อหา และเป็นการสืบสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อจากเจ้าหนี้เดิมผ่านเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ การเรียกทรัพย์คืนและเรียกค่าเสียหายเมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
โจทก์อ้างในอุทธรณ์ว่า การที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนเป็นการใช้สิทธิแห่งเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่จะติดตามเอาทรัพย์สินจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 นั้น ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิติดตามเอารถยนต์คืนจากจำเลยทั้งสองได้อันเป็นการใช้สิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดวันที่ 23 มีนาคม 2534 และตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 11 ระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดสองงวดติดต่อกัน สัญญาเช่าซื้อเลิกกันทันที สัญญาเช่าซื้อจึงเลิกกัน โจทก์นำคดีมาฟ้องโดยอ้างสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2547 เกินกว่า 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
โจทก์อ้างในอุทธรณ์ว่า การที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนเป็นการใช้สิทธิแห่งเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่จะติดตามเอาทรัพย์สินจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 นั้น ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิติดตามเอารถยนต์คืนจากจำเลยทั้งสองได้อันเป็นการใช้สิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดวันที่ 23 มีนาคม 2534 และตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 11 ระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดสองงวดติดต่อกัน สัญญาเช่าซื้อเลิกกันทันที สัญญาเช่าซื้อจึงเลิกกัน โจทก์นำคดีมาฟ้องโดยอ้างสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2547 เกินกว่า 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14516/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องผู้จัดการมรดกรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ: ต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับจากรู้ถึงการเสียชีวิตของลูกหนี้
โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเรียกร้องอันมีต่อ อ. เจ้ามรดก ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ. ซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายในการจัดการมรดกโดยทั่วไปหรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกดังกล่าวให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ที่เจ้ามรดกทำไว้กับโจทก์ซึ่งต้องฟ้องภายในกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม หาได้เป็นกรณีที่โจทก์ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ที่ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ไม่ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์ในคดีหมายเลขดำที่ 7824/2550 หมายเลขแดงที่ 2979/2551 ของศาลชั้นต้นที่นำมาผูกรวมกับคดีนี้ว่า โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้กองมรดกรู้ถึงความตายของ อ. ตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2549 เมื่อนับแต่วันดังกล่าวจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 26 มิถุนายน 2551 จึงพ้นกำหนด 1 ปี คดีเป็นอันขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14426/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นความคุ้มครองประกันภัยรถยนต์กรณีรถหายจากบุคคลที่ได้รับมอบหมายเช่า การตีความขอบเขตความเสี่ยง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นคู่สัญญากับจำเลยผู้รับประกันภัยโดยตรง โจทก์ในฐานะคู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้และเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในส่วนนี้ คงอุทธรณ์เฉพาะในปัญหาว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ เพราะโจทก์ยินยอมให้นำรถยนต์ออกให้เช่า เมื่อรถยนต์สูญหายจึงเข้าเงื่อนไขข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องจึงเป็นอันยุติแล้ว จำเลยจะยกขึ้นฎีกาอีกหาได้ไม่ ฎีกาในปัญหานี้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (ที่ใช้บังคับในขณะยื่นฟ้อง) เห็นว่า ที่โจทก์ขอเปลี่ยนแปลงการใช้รถยนต์จากการใช้ส่วนบุคคลเป็นการใช้เพื่อการพาณิชย์ตามใบสลักหลังเอาประกันภัยรถยนต์นั้น จำเลยเรียกเก็บเบี้ยประกันภัยเพิ่มขึ้นเนื่องจากการใช้รถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีความเสี่ยงภัยมากกว่าการใช้ส่วนบุคคล ซึ่งในใบสลักหลังเอาประกันภัยรถยนต์ มีข้อความระบุว่า 1. ให้ยกเลิกรายการใช้รถยนต์เดิม และใช้รถยนต์ตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายนี้แทน 2. ให้ปรับเบี้ยประกันภัยให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายนี้ การเปลี่ยนแปลงนี้มีผลบังคับเฉพาะต่อรถยนต์ที่ระบุไว้ข้างต้น เงื่อนไขและสัญญาประกันภัยข้ออื่นๆ ไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น ผลบังคับของเงื่อนไขความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย จึงยังเป็นเช่นเดิม เพียงแต่การใช้รถยนต์ตามที่ระบุในตารางกรมธรรม์ประกันภัยเปลี่ยนแปลงจากการใช้ส่วนบุคคลเป็นการใช้เพื่อการพาณิชย์ หากเกิดความเสียหายต่อรถยนต์ เช่น รถยนต์เกิดอุบัติเหตุในขณะนำรถไปใช้เพื่อการพาณิชย์ จำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายต่อรถยนต์ให้แก่โจทก์ ส่วนเงื่อนไขความคุ้มครองกรณีรถยนต์สูญหายยังต้องเป็นไปตามกรมธรรม์ประกันภัยในหมวดการคุ้มครองรถยนต์สูญหาย ไฟไหม้ ที่ระบุการยกเว้นความรับผิดของจำเลย ตามข้อ 5.1 ว่า ยกเว้นไม่คุ้มครองความสูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์โดยบุคคลได้รับมอบหมายหรือครอบครองรถยนต์ตามสัญญาเช่า สัญญาเช่าซื้อ หรือสัญญาจำนำ หรือโดยบุคคลที่จะกระทำสัญญาดังกล่าวข้างต้น ซึ่งเงื่อนไขความคุ้มครองในหมวดนี้ยังคงมีผลบังคับโดยหาได้ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงการใช้รถยนต์จากการใช้ส่วนบุคคลเป็นการใช้เพื่อการพาณิชย์แต่อย่างใดไม่
การที่โจทก์ยินยอมให้ ป. นำรถยนต์ออกให้เช่า โดยโจทก์กับ ป. มีข้อตกลงแบ่งผลประโยชน์จากค่าเช่ารถยนต์ที่ได้รับ เช่นนี้ โจทก์เป็นผู้มอบการครอบครองรถยนต์เพื่อนำออกให้เช่าผ่าน ป. เมื่อ ศ. ทำสัญญาเช่ารถยนต์กับ ป. ซึ่งเป็นบุคคลที่โจทก์มอบหมาย ก็เท่ากับโจทก์มอบการครอบครองรถยนต์แก่ ศ. โดยการดำเนินการของ ป. นั่นเอง เหตุที่รถยนต์สูญหายมาจากการที่ ศ. ผู้เช่า ไม่ส่งคืนรถยนต์ จึงเป็นการยักยอกทรัพย์โดยบุคคลที่ครอบครองรถยนต์ตามสัญญาเช่า ย่อมเข้าเงื่อนไขการยกเว้นความรับผิดตามข้อ 5.1 ดังกล่าว
การที่โจทก์ยินยอมให้ ป. นำรถยนต์ออกให้เช่า โดยโจทก์กับ ป. มีข้อตกลงแบ่งผลประโยชน์จากค่าเช่ารถยนต์ที่ได้รับ เช่นนี้ โจทก์เป็นผู้มอบการครอบครองรถยนต์เพื่อนำออกให้เช่าผ่าน ป. เมื่อ ศ. ทำสัญญาเช่ารถยนต์กับ ป. ซึ่งเป็นบุคคลที่โจทก์มอบหมาย ก็เท่ากับโจทก์มอบการครอบครองรถยนต์แก่ ศ. โดยการดำเนินการของ ป. นั่นเอง เหตุที่รถยนต์สูญหายมาจากการที่ ศ. ผู้เช่า ไม่ส่งคืนรถยนต์ จึงเป็นการยักยอกทรัพย์โดยบุคคลที่ครอบครองรถยนต์ตามสัญญาเช่า ย่อมเข้าเงื่อนไขการยกเว้นความรับผิดตามข้อ 5.1 ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14324/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยการส่งมอบทรัพย์คืน สัญญาเลิกกันเมื่อส่งมอบรถคืน แม้มีเจรจาขายสิทธิใหม่
จำเลยเป็นฝ่ายเริ่มต้นติดต่อกับโจทก์เพื่อคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อ แสดงให้เห็นจุดประสงค์ของจำเลยที่ต้องการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเท่านั้น เมื่อโจทก์ได้รับการติดต่อก็ตกลงและนัดหมายรับรถยนต์ที่เช่าซื้อไปคืนโดยมอบหมายให้ ส. ตัวแทนโจทก์ การที่จำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่ ส. จึงเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อด้วยการส่งมอบทรัพย์คืนแก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 573 สัญญาเช่าซื้อเป็นอันเลิกกันนับแต่วันดังกล่าวแล้ว แม้ต่อมาจำเลยจะตกลงขายสิทธิการเช่าซื้อให้ ส. ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหลังจากสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว เมื่อจำเลยมิได้ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อและไม่ปรากฏว่าขณะเลิกสัญญาจำเลยมีหน้าที่ต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างไร จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14217/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของนายจ้าง ตัวการ และลูกจ้าง/ตัวแทน จากการกระทำละเมิดในการซ่อมแซมเรือ
โจทก์ได้บรรยายให้เห็นว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัย เรือ พ. จากบริษัท อ. จำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองอู่ต่อเรือ จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการเรือ พ. มีหน้าที่ดูแลรักษาและซ่อมแซมเรือและเข้าร่วมซ่อมแซมเรือกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับจ้างซ่อมแซมเรือ พ. จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และ/หรือเป็นบุคคลที่จำเลยที่ 1 และ/หรือจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดหาทำการว่าจ้าง วาน ใช้ หรือได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 และ/หรือจำเลยที่ 2 ให้ดำเนินการซ่อมแซมเรือ จำเลยทั้งสามร่วมกันทำละเมิดต่อเจ้าของเรือ พ. โดยจำเลยที่ 3 กระทำโดยประมาททำให้เกิดเพลิงลุกไหม้เรือ พ. จนได้รับความเสียหาย เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาที่โจทก์อาศัยเป็นหลักในการกล่าวหาเพื่อขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรับผิดต่อโจทก์ ทั้งโจทก์ยืนยันว่าเหตุละเมิดเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ในทางการที่จ้างหรือได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 และ/หรือที่ 2 หากพิจารณาข้อเท็จจริงแล้วได้ความตามฟ้อง จำเลยที่ 1 และ/หรือที่ 2 ย่อมต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ ไม่ว่าในฐานะตัวการตัวแทนหรือนายจ้างลูกจ้าง เนื่องจาก ป.พ.พ. มาตรา 427 ให้นำมาตรา 425 และ 426 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดของนายจ้างเพื่อผลละเมิดของลูกจ้างซึ่งกระทำไปในทางการที่จ้างบังคับแก่กรณีตัวการตัวแทนโดยอนุโลม ทั้งจำเลยที่ 1 และ/หรือที่ 2 อาจต้องร่วมรับผิดทั้งการกระทำละเมิดและการกระทำผิดสัญญาจ้างซ่อมแซมเรือที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในคราวเดียวกัน ที่โจทก์บรรยายฟ้องมาจึงไม่ได้ขัดแย้งกัน ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14208/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขอรถยนต์คืนจากสัญญาเช่าซื้อที่เป็นโมฆะ ศาลฎีกาตัดสินว่าเป็นการพิพากษาเกินคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อเนื่องจากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา ข้อเท็จจริงฟังยุติว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นโมฆะ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ คดีไม่มีประเด็นว่าจำเลยที่ 1 ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ในเรื่องลาภมิควรได้หรือไม่เพราะโจทก์ไม่ได้กล่าวมาในคำฟ้อง ซึ่งต้องไปว่ากล่าวกันอีกต่างหาก ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่า เมื่อสัญญาเช่าซื้อเป็นโมฆะ โจทก์ย่อมอาศัยอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ติดตามเอารถยนต์ที่เช่าซื้อคืนจากจำเลยที่ 1 ได้ โดยถือว่าจำเลยที่ 1 ตกอยู่ในฐานะทุจริตนับแต่เวลาที่โจทก์เรียกรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 415 วรรคสอง แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องโจทก์ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14208/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำฟ้องในคดีเช่าซื้อ: สัญญาเป็นโมฆะ ไม่สามารถเรียกคืนทรัพย์ตามสัญญาได้
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์เพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาตามสัญญาเช่าซื้อ เมื่อสัญญาเช่าซื้อเป็นโมฆะ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อได้ คดีจึงไม่มีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ในเรื่องลาภมิควรได้หรือไม่เพราะโจทก์ไม่ได้กล่าวมาในคำฟ้อง แม้สัญญาเช่าซื้อเป็นโมฆะ จำเลยที่ 1 อาจจะไม่มีสิทธิยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อไว้ก็ตาม แต่เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาตามลักษณะลาภมิควรได้ ซึ่งต้องไปว่ากล่าวกันอีกต่างหาก ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่า เมื่อสัญญาเช่าซื้อเป็นโมฆะ จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อไว้ต่อไป โจทก์ย่อมอาศัยอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ติดตามเอารถยนต์ที่เช่าซื้อคืนจากจำเลยที่ 1 ได้ โดยถือว่าจำเลยที่ 1 ตกอยู่ในฐานะทุจริตนับแต่เวลาที่โจทก์เรียกรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 415 วรรคสอง แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดีหากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคารถแทนนั้น จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องโจทก์ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง