คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 ม. 91

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7965/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามให้ทรัพย์สินแก่ผู้เลือกตั้งเพื่อจูงใจลงคะแนน และการครอบครองอาวุธปืน
การที่จำเลยนำธนบัตรของกลางจะไปแจกจ่ายให้แก่ผู้เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยนำธนบัตรและรายชื่อผู้เลือกตั้งของกลางซุกซ่อนไว้ในรถยนต์เกิดเหตุแล่นไปในหมู่บ้านอันเป็นเขตเลือกตั้ง ลักษณะการกระทำดังกล่าวเป็นการดำเนินการลุล่วงไปถึงขั้นตอนสุดท้ายพร้อมที่จะให้ธนบัตรของกลางแก่ผู้เลือกตั้งทันที เพื่อจะจูงใจให้ผู้เลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้รับสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การกระทำดังกล่าวใกล้ชิดต่อความผิดสำเร็จ ถือได้ว่าจำเลยลงมือกระทำความผิดแล้ว แต่กระทำไปไม่ตลอดเพราะถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมเสียก่อน จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามให้ทรัพย์สินแก่ผู้เลือกตั้ง เพื่อจะจูงใจให้ผู้เลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 35 (1) ประกอบ ป.อ. มาตรา 80

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9635/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษทางกฎหมายเลือกตั้งตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่
ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 84 นั้น บทบัญญัติมาตราดังกล่าวถูกยกเลิกแล้วโดย พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 มาตรา 22 และได้บัญญัติบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนมาตรา 35 อยู่ในมาตรา 91 ซึ่งโจทก์มีคำขอมาท้ายฟ้องด้วย จึงเห็นสมควรแก้ไขให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2324/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเลือกตั้ง: ผู้สมัครต้องมีสถานะ ณ เวลาเกิดเหตุ
ตามคำฟ้องโจทก์เพิ่งสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2535 แต่เหตุคดีนี้เกิดเมื่อวันที่19 มกราคม 2535 ดังนั้นขณะเกิดเหตุโจทก์จึงไม่มีฐานะเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งจึงไม่เป็นผู้เสียหายตามความใน พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 93 จัตวาซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 มาตรา 22 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องคดีอาญาของโจทก์ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2324/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้สมัคร ส.ส. ต้องมีฐานะเป็นผู้สมัคร ณ เวลาเกิดเหตุ
ตามคำฟ้องโจทก์เพิ่งสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2535 แต่เหตุคดีนี้เกิดเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2535 ดังนั้นขณะเกิดเหตุโจทก์จึงไม่มีฐานะเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งจึงไม่เป็นผู้เสียหายตามความในพ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 93 จัตวา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2535มาตรา 22 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้
ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องคดีอาญาของโจทก์ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บทลงโทษกฎหมายเลือกตั้ง: การใช้บทกฎหมายที่มีผลต่อจำเลยมากที่สุด แม้กฎหมายจะมีการแก้ไข
บทกำหนดโทษของผู้ที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 35 นั้นปรากฏว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด คือมาตรา 84แตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังกระทำความผิด คือมาตรา 91ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535มาตรา 22 ทั้งนี้เพราะตามมาตรา 84 กำหนดอัตราโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี แต่อัตราโทษตามมาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่ จำคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี ดังนี้เมื่อเปรียบเทียบแล้วจะเห็นได้ว่า มาตรา 91ที่แก้ไขใหม่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 ผู้กระทำความผิดมากกว่าตามมาตรา 84 เดิม ทั้งนี้เพราะตามมาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่ไม่มีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำไว้ จึงต้องใช้มาตรา 91ที่แก้ไขเป็นบทลงโทษแก่จำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยซึ่งศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บทลงโทษทางอาญาที่เปลี่ยนแปลงหลังกระทำผิด: การใช้กฎหมายที่เบากว่าแก่จำเลย
บทกำหนดโทษของผู้ที่ฝ่าฝืน พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 35 นั้น ปรากฎว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด คือมาตรา 84 แตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังกระทำความผิด คือมาตรา 91 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2535 มาตรา 22 ทั้งนี้เพราะตามมาตรา 84 กำหนดอัตราโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี แต่อัตราโทษตามมาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่ จำคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี ดังนี้เมื่อเปรียบเทียบแล้วจะเห็นได้ว่า มาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1ผู้กระทำความผิดมากกว่าตามมาตรา 84 เดิม ทั้งนี้เพราะตามมาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่ไม่มีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำไว้ จึงต้องใช้มาตรา 91 ที่แก้ไขเป็นบทลงโทษแก่จำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ซึ่งศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้