คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2517

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเครดิตภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าทุนนำเข้า: เงื่อนไขการเสียภาษีการค้าของผู้ขาย
มาตรา17แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายรัษฎากร(ฉบับที่30)พ.ศ.2534เป็นเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเครดิตในการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อบรรเทาภาระภาษีแก่ผู้ประกอบการที่มีสินค้าทุนอยู่ก่อนวันที่1มกราคม2535ที่วรรคท้ายของมาตรา17บัญญัติว่า"ในกรณีที่มีปัญหาในการปฎิบัติและในการวินิจฉัยตามมาตรานี้อธิบดีมีอำนาจวินิจฉัยและคำวินิจฉัยของอธิบดีให้ถือเป็นเป็นที่สุด"หมายความว่ามาตรา17วรรคท้ายได้กำหนดให้อธิบดีกรมสรรพากรเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อขัดข้องในชั้นผู้ที่ผู้ประกอบการขอเครดิตในการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มว่ากรณีเข้าหลักเกณฑ์และถูกวิธีการที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ดังนั้นที่กฎหมายบัญญัติว่าคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับการปฎิบัติงานนี้เป็นที่สุดจึงย่อมต้องหมายความว่าเป็นที่สุดในขั้นตอนของการปฎิบัติงานในชั้นนี้เท่านั้นเพื่อจะได้ดำเนินการตามขั้นตอนอื่นต่อไปหาได้ทำให้ขั้นตอนอื่นที่กฎหมายกำหนดเป็นอันยุติไปด้วยไม่หากจะแปลความมาตรา17วรรคท้ายว่าคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรกรณีนี้เป็นที่สุดไม่สามารถยกขึ้นพิจารณาทบทวนได้อีกจะเป็นการให้อำนาจเด็ดขาดแก่อธิบดีกรมสรรพากรแต่เพียงผู้เดียวและเป็นการทำลายระบบการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรที่กฎหมายบัญญัติไว้ด้วยซึ่งมิใช่เจตนารมณ์ของมาตรา17วรรคท้ายคดีนี้โจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์แสดงว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เองก็เห็นว่าคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรมิได้เป็นที่สุดเพราะมิฉะนั้นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต้องปฎิเสธไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์โดยเหตุผลว่าคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรถึงที่สุดแล้วดังนั้นเมื่อคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์แล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลได้ ตามมาตรา17(4)แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเพียงแต่บัญญัติว่ากรณีที่จะได้รับเครดิตในการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าทุนนั้นต้องเป็นสินค้าทุนที่ผู้ขายมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามหมวด4ในลักษณะ2แห่งประมวลกฎหมายรัษฎากรก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้และไม่ได้รับการยกเว้นภาษีการค้าตามกฎหมายใดๆหาได้บัญญัติว่าเป็นสินค้าทุนที่ผู้ขายมีหน้าที่เสียภาษีการค้าในขณะที่ขายทั้งไม่ได้บัญญัติว่าราคาสินค้าทุนจะต้องไม่รวมดอกเบี้ยกำไรและค่าใช้จ่ายอื่นไว้ด้วยและไม่ได้บัญญัติว่าไม่รวมถึงสินค้าทุนที่ผู้ขายเป็นผู้นำเข้าแต่อย่างใดดังนั้นเมื่อสินค้าทุนที่พิพาทคดีนี้เป็นเครื่องจักรเครื่องมือเครื่องกลและยานพาหนะที่ผู้ขายเป็นผู้นำเข้ามาจากต่างประเทศแล้วขายให้โจทก์มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น345,831,890บาทโดยผู้นำเข้าซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ได้เสียภาษีการค้าไว้แล้วในวันนำเข้าแต่ขณะขายสินค้าดังกล่าวให้แก่โจทก์ผู้นำเข้าไม่ได้เสียภาษีการค้าเพราะมาตรา79ทวิ(1)แห่งประมวลกฎหมายรัษฎากรก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมบัญญัติให้ถือว่าการนำเข้าในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าพิพาทเป็นการขายสินค้าและให้ถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับและตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า(ฉบับที่20)พ.ศ.2517ให้ถือว่าผู้ประกอบการค้าที่เป็นผู้นำเข้าได้ขายสินค้านั้นในวันนำเข้าในราชอาณาจักรอันเป็นบทบัญญัติเลื่อนกำหนดเวลาเกี่ยวกับความรับผิดในการเสียภาษีการค้าให้เร็วขึ้นผู้นำเข้าซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าพิพาทจึงเป็นผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามหมวด4ในลักษณะ2แห่งประมวลกฎหมายรัษฎากรก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่30)พ.ศ.2534ซึ่งผู้นำเข้าต้องเสียภาษีการค้าในอัตราเดียวกันกับการขายโดยผู้ผลิตในประเทศจึงเข้าเงื่อนไขที่จะได้รับเครดิตในการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา17แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งเป็นบทเฉพาะกาลที่มีขึ้นเพื่อบรรเทาภาระภาษีการค้าที่แฝงอยู่ในสินค้าทุนก่อนใช้ภาษีมูลค่าเพิ่ม (วรรคหนึ่งวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่4/2539)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยเครดิตภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าทุนนำเข้า: อำนาจวินิจฉัยอธิบดีกรมสรรพากรเป็นเพียงชั้นแรก ไม่ตัดสิทธิการอุทธรณ์
มาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร(ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 เป็นเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเครดิตในการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อบรรเทาภาระภาษีแก่ผู้ประกอบการที่มีสินค้าทุนอยู่ก่อนวันที่ 1มกราคม 2535 ที่วรรคท้ายของมาตรา 17 บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติและในการวินิจฉัยตามมาตรานี้ อธิบดีมีอำนาจวินิจฉัยและคำวินิจฉัยของอธิบดีให้ถือเป็นที่สุด" หมายความว่า มาตรา 17 วรรคท้าย ได้กำหนดให้อธิบดีกรมสรรพากรเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อขัดข้องในชั้นที่ผู้ประกอบการขอเครดิตในการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มว่ากรณีเข้าหลักเกณฑ์และถูกวิธีการที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ ดังนั้น ที่กฎหมายบัญญัติว่า คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับปัญหาการปฏิบัติงานนี้เป็นที่สุด จึงย่อมต้องหมายความว่าเป็นที่สุดในขั้นตอนของการปฏิบัติงานในชั้นนี้เท่านั้น เพื่อจะได้ดำเนินการตามขั้นตอนอื่นต่อไปหาได้ทำให้ขั้นตอนอื่นที่กฎหมายกำหนดเป็นอันยุติไปด้วยไม่ หากจะแปลความมาตรา 17 วรรคท้ายว่า คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรกรณีนี้เป็นที่สุดไม่สามารถยกขึ้นพิจารณาทบทวนได้อีก จะเป็นการให้อำนาจเด็ดขาดแก่อธิบดีกรมสรรพากรแต่เพียงผู้เดียว และเป็นการทำลายระบบการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรที่กฎหมายบัญญัติไว้ด้วย ซึ่งมิใช่เจตนารมณ์ของมาตรา 17 วรรคท้าย คดีนี้โจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ แสดงว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เองก็เห็นว่า คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรมิได้เป็นที่สุด เพราะมิฉะนั้นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต้องปฏิเสธไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์โดยเหตุผลว่าคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรถึงที่สุดแล้ว ดังนั้น เมื่อคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลได้
ตามมาตรา 17 (4) แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวเพียงแต่บัญญัติว่า กรณีที่จะได้รับเครดิตในการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าทุนนั้น ต้องเป็นสินค้าทุนที่ผู้ขายมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามหมวด 4ในลักษณะ 2 แห่ง ป.รัษฎากรก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.นี้ และไม่ได้รับการยกเว้นภาษีการค้าตามกฎหมายใด ๆ หาได้บัญญัติว่า เป็นสินค้าทุนที่ผู้ขายมีหน้าที่เสียภาษีการค้าในขณะที่ขาย ทั้งไม่ได้บัญญัติว่าราคาสินค้าทุนจะต้องไม่รวมดอกเบี้ย กำไร และค่าใช้จ่ายอื่นไว้ด้วย และไม่ได้บัญญัติว่าไม่รวมถึงสินค้าทุนที่ผู้ขายเป็นผู้นำเข้าแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อสินค้าทุนที่พิพาทคดีนี้เป็นเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องกล และยานพาหนะที่ผู้ขายเป็นผู้นำเข้ามาจากต่างประเทศแล้วขายให้โจทก์ มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 345,831,890 บาทโดยผู้นำเข้าซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ได้เสียภาษีการค้าไว้แล้วในวันนำเข้า แต่ขณะขายสินค้าดังกล่าวให้แก่โจทก์ ผู้นำเข้าไม่ได้เสียภาษีการค้า เพราะมาตรา 79 ทวิ (1) แห่ง ป.รัษฎากรก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมบัญญัติให้ถือว่า การนำเข้าในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าพิพาทเป็นการขายสินค้าและให้ถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับและตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2517 ให้ถือว่าผู้ประกอบการค้าที่เป็นผู้นำเข้าได้ขายสินค้านั้นในวันนำเข้าในราชอาณาจักร อันเป็นบทบัญญัติเลื่อนกำหนดเวลาเกี่ยวกับความรับผิดในการเสียภาษีการค้าให้เร็วขึ้น ผู้นำเข้าซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าพิพาทจึงเป็นผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามหมวด 4ในลักษณะ 2 แห่ง ป.รัษฎากร ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติม โดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 ซึ่งผู้นำเข้าต้องเสียภาษีการค้าในอัตราเดียวกันกับการขายโดยผู้ผลิตในประเทศจึงเข้าเงื่อนไขที่จะได้รับเครดิตในการชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวซึ่งเป็นบทเฉพาะกาลที่มีขึ้นเพื่อบรรเทาภาระภาษีการค้าที่แฝงอยู่ในสินค้าทุนก่อนใช้ภาษีมูลค่าเพิ่ม
(วรรคหนึ่งวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2539)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5614/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ประกอบการค้าประเภท 1 (ก) มีหน้าที่จัดทำบัญชีคุมสินค้า หากไม่ทำ ถือเป็นการขายสินค้า ต้องเสียภาษี
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าตามประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก)โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องทำบัญชีคุมสินค้าตามแบบที่อธิบดีกำหนด แสดงรายการปริมาณสินค้าที่มีอยู่ได้มา และจำหน่ายไปเป็นรายวัน ตามมาตรา83 ทวิ วรรคแรก แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบด้วยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้และภาษีการค้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่1 พฤศจิกายน 2519 เมื่อโจทก์ไม่ทำบัญชีคุมสินค้าดังกล่าวกรณีจึงต้องด้วยมาตรา 79 ทวิ(6) ที่ให้ถือว่าสินค้าที่โจทก์มี โดยไม่ทำบัญชีคุมสินค้านั้นเป็นการขายสินค้าและให้ถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับที่จะต้องเสียภาษีการค้า ตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าที่ส่งสินค้าออกจากราชอาณาจักรเพื่อส่งไปต่างประเทศ โจทก์จึงไม่ใช่"ผู้ส่งออก" โจทก์คงมีฐานะเป็น "ผู้ผลิต" ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 77 กรณีของโจทก์จึงไม่ต้องด้วยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2517และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 18)ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2517 เนื่องจากโจทก์เป็นเพียงผู้ประกอบการค้าที่เป็นผู้ผลิต และสินค้าพิพาทเป็นเพียงสินค้าที่ผลิตเพื่อจะส่งออกเท่านั้น หาใช่สินค้าส่งออกไม่ กรณีของโจทก์จึงไม่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำบัญชีคุมสินค้าตามมาตรา 83 ทวิ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร กรณีที่จะได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีการค้า (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2521 ต้องเป็นกรณีที่ส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักรเท่านั้น แต่กรณีของโจทก์เป็นเรื่องไม่ทำบัญชีคุมสินค้าตามที่กฎหมายบังคับไว้ซึ่งตามบทกฎหมายให้ถือว่าสินค้าที่โจทก์มี โดยไม่ทำบัญชีคุมสินค้านั้นเป็นการขายสินค้า จึงเป็นคนละกรณีกัน เจ้าพนักงานประเมินได้พิจารณาดำเนินการลดเบี้ยปรับให้แล้วคงเรียกเบี้ยปรับจากโจทก์เพียงร้อยละห้าสิบเท่านั้น นับว่าเหมาะสมตามสภาพและพฤติการณ์แห่งกรณีแล้ว จึงไม่มีเหตุจะลดเบี้ยปรับให้น้อยลงอีก ส่วนเงินเพิ่มตามกฎหมายเมื่อไม่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในดุลพินิจของศาล จึงไม่อาจงดหรือลดลงได้