คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปกรณ์ มหรรณพ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 138 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11331/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานบอกเล่าประกอบหลักฐานอื่นได้ หากมีเหตุผล และการรับฟังพยานหลักฐานเกี่ยวกับการชำระหนี้
ป.วิ.พ. มิได้ห้ามโดยเด็ดขาดมิให้รับฟังพยานบอกเล่า หากพยานบอกเล่ากล่าวถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล ศาลย่อมใช้ดุลพินิจรับฟังพยานบอกเล่าประกอบพยานหลักฐานอื่นได้ ว. แม้มิได้เกี่ยวข้องรู้เห็นในการจัดทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี แต่เป็นพนักงานของโจทก์ย่อมสามารถตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำนิติกรรมรายนี้ได้ อันทำให้สามารถทราบที่มาที่ไปของหนี้สินรายนี้จนสามารถเบิกความให้ความกระจ่างในกรณีที่มีความคลุมเครือน่าสงสัยเกี่ยวกับหนี้สินรายนี้ได้ จึงสามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานประกอบพยานหลักฐานอื่นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11076/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การประเมินความประมาทของคู่กรณีและการบังคับคดีค่าฤชาธรรมเนียม
ที่จำเลยทั้งสามฎีกาว่า ย. ขับรถที่โจทก์รับประกันภัยด้วยความเร็วสูงในขณะฝนตก โดยไม่ลดความเร็วลงทั้งที่บริเวณที่เกิดเหตุเป็นทางลงเขาและโค้ง ทำให้รถแหกโค้งเหวี่ยงมาในช่องเดินรถและเฉี่ยวชนรถที่จำเลยที่ 1 ขับ เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทของ ย. และจำเลยที่ 1 ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ค่าเสียหายจึงตกเป็นพับ โจทก์จึงไม่อาจรับช่วงสิทธิมาฟ้องนั้น เป็นฎีกาที่เมื่อพิจารณาฎีกาทั้งฉบับของจำเลยทั้งสามแล้ว กรณีไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงผลตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฎีกาของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นสาระอันควรแก่การพิจารณา ศาลฎีกาไม่รับคดีไว้พิจารณาพิพากษา ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23 วรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ 2,100 บาท โดยไม่ได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมอื่น เป็นการไม่ชอบเพราะคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม แม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใด ก็เป็นหน้าที่ของศาลต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10351/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงลายมือชื่อกรรมการไม่ถือเป็นการแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
พ.ร.บ.บริษัทมหาชน พ.ศ.2535 มาตรา 19 วรรคสอง และมาตรา 31 กล่าวเฉพาะข้อความในหนังสือบริคณห์สนธิเท่านั้นที่หากมีการแก้ไขจะต้องนำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ดังนั้น แม้ลายมือชื่อของนางสาว ส. กรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ จะเปลี่ยนแปลงจากเดิมไปบ้าง แต่ก็ไม่ถือเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิตาม พ.ร.บ.บริษัทมหาชน พ.ศ.2535 มาตรา 19 วรรคสอง และมาตรา 31 กรณีจึงไม่ต้องห้ามตาม มาตรา 8 ที่ว่า ผู้ถือหุ้นหรือบริษัทจะถือเอาประโยชน์จากบุคคลภายนอกจากข้อความหรือรายการใด ๆ ที่ต้องจดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ได้ จนกว่านายทะเบียนจะได้รับจดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว เมื่อนาย ส. กรรมการโจทก์ลงลายมือชื่อร่วมกับนางสาว ส. ซึ่งเป็นกรรมการอีกคนหนึ่งและประทับตราสำคัญของโจทก์ อันเป็นการปฏิบัติตามข้อกำหนดในหนังสือรับรอง การมอบอำนาจของโจทก์ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9530/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้ชี้ขาดเรื่องการรับผิดในคดีรถชน, การขยายเวลาฟ้อง, และการเคลือบคลุมของฟ้อง
จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ฉบับลงวันที่ 18 ธันวาคม 2549 ก่อนสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์ แต่เอกสารดังกล่าวสูญหายไปจากสำนวนความ เป็นเหตุที่ทำให้ศาลชั้นต้นไม่สามารถมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาก่อนสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์ เมื่อจำเลยทั้งสองขอตรวจสำนวนไม่พบคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ฉบับลงวันที่ 18 ธันวาคม 2549 อยู่ในสำนวนความ จึงขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ตามคำร้องฉบับลงวันที่ 12 มกราคม 2550 ศาลชั้นต้นได้ทำการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่แล้ว ปรากฏว่าในวันดังกล่าวจำเลยทั้งสองยังไม่ได้รับเอกสารที่ขอคัดถ่ายไว้ จึงมีเหตุที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้ตามคำร้องฉบับลงวันที่ 12 มกราคม 2550 ที่เสนอเมื่อพ้นกำหนดเวลาได้ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ตามคำร้องของจำเลยทั้งสองจึงชอบแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองด้วยเหตุว่า การไม่ได้รับสำเนาคำพิพากษาที่ขอคัดถ่ายไม่ใช่เหตุสุดวิสัยเป็นเพียงพฤติการณ์พิเศษ ต้องยื่นคำร้องก่อนสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย
ฟ้องโจทก์ทั้งสองมิได้กล่าวอ้างหรือแสดงว่าจำเลยที่ 2 รับประกันภัยค้ำจุนไว้จากผู้ใด และผู้เอาประกันภัยมีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 1 อย่างไร อันจะทำให้ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 ด้วย ฟ้องโจทก์ทั้งสองจึงขาดสาระสำคัญอันเป็นมูลที่จะให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด เท่ากับคำฟ้องโจทก์ทั้งสองมิได้บรรยายข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่จะให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยต้องรับผิด เป็นคำฟ้องที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์ทั้งสองสำหรับจำเลยที่ 2 เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ผู้ตายมีหน้าที่จะต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูโจทก์ที่ 1 ตามกฎหมาย โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสาม โดยไม่ต้องพิจารณาว่า ในขณะนั้นผู้ตายได้อุปการะเลี้ยงดูโจทก์ที่ 1 เป็นเงินเดือนละเท่าใด แม้โจทก์ที่ 1 ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับแหล่งที่มาของเงินได้ของผู้ตาย ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ที่ 1 ตามสมควรได้ เมื่อพิจารณาถึงอายุของโจทก์ที่ 1 ซึ่งขณะเกิดเหตุมีอายุ 53 ปี ส่วนผู้ตายมีอายุ 57 ปี ย่อมเห็นได้ว่า โจทก์ที่ 1 มีโอกาสได้รับอุปการะตามกฎหมายได้ไม่น้อยกว่า 10 ปี ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าขาดไร้อุปการะให้แก่โจทก์ที่ 1 เดือนละ 6,000 บาท เป็นเวลา 10 ปี ถือว่าเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8159/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดฐานใช้เอกสารปลอม และการระบุตัวผู้เสียหายในความผิดฐานปลอมเอกสาร
การใช้เอกสารปลอมเป็นการกระทำอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ฐานหนึ่ง แม้มาตรา 268 วรรคแรก บัญญัติว่า ผู้ใดใช้หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามมาตรา 264 ... ต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ ก็ตาม แต่มิใช่จะถือว่าเป็นความผิดฐานเดียวกันกับความผิดนั้น ๆ เมื่อโจทก์บรรยายการกระทำความผิดในฐานนี้มาในคำฟ้อง แต่คำขอท้ายฟ้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ. เฉพาะมาตรา 264 มิได้ระบุมาตรา 268 ด้วย จะถือว่าความผิดตามฟ้องนั้นรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างเป็นความผิดอยู่ในตัวเอง อันจะทำให้ศาลลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันใช้เอกสารปลอมตามที่พิจารณาได้ความหาได้ไม่ คำฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6)
แม้ บ. เคยทำบันทึกข้อตกลงให้ที่ดินของตนตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หลังจากที่พี่สาวของโจทก์ปลดจำนองแล้ว แต่เมื่อขณะเกิดเหตุกรรมสิทธิ์ในที่ดินยังเป็นของ บ. ความเสียหายเกิดจากการร่วมกันปลอมหนังสือมอบอำนาจ จึงเกิดขึ้นแก่ บ. เท่านั้น โจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานร่วมกันปลอมเอกสาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6927/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลมีอำนาจพิพากษายกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้องได้ หากเห็นว่าคดีไม่มีมูลความผิด
แม้คดีอยู่ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ศาลชั้นต้นก็ต้องพิจารณาว่าคดีโจทก์มีมูลพอที่จะประทับฟ้องหรือไม่ แต่เมื่อศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่มีมูลเป็นความผิดก็ชอบที่จะวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องไปได้เลยดังที่บัญญัติไว้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 167 ซึ่งศาลชั้นต้นได้ไต่สวนพยานหลักฐานโจทก์แล้ววินิจฉัยการกระทำของจำเลยทั้งหกตามที่โจทก์บรรยายฟ้องอันเป็นประเด็นแห่งคดี โดยเห็นว่าจำเลยทั้งหกไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง คดีโจทก์ไม่มีมูลที่จะฟ้องร้องให้จำเลยทั้งหกรับผิด จึงพิพากษายกฟ้องและยกคำขอส่วนแพ่ง จึงเป็นกรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 มิใช่คำสั่งไม่รับคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ที่จะต้องคืนค่าขึ้นศาลทั้งหมดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6557/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินของบริษัทเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระหนี้หลังถูกฟ้องร้องเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.บริษัทจำกัด
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 แม้ขณะจำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 3 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2545 ซึ่งคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นก็ตาม แต่ความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 40 มีองค์ประกอบสำคัญที่ว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของจำเลยที่ 1 โอนให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 โดยมีเจตนาพิเศษเพื่อว่าเมื่อโจทก์ชนะคดีแพ่งแล้ว โจทก์อาจไม่สามารถบังคับชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนจากจำเลยที่ 1 ได้ บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติให้เจ้าหนี้หมายถึงเฉพาะบุคคลผู้ที่ชนะคดีและคดีได้ถึงที่สุดแล้วเท่านั้น หากหมายความถึงเจ้าหนี้ซึ่งจะใช้สิทธิของเจ้าหนี้ที่มีต่อนิติบุคคลดังกล่าวบังคับการชำระหนี้จากนิติบุคคลดังกล่าว ใช้หรือน่าจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ด้วย ดังนี้ คำพิพากษาของศาลที่ให้จำเลยที่ 1 รับผิดในทางแพ่งจึงมิใช่องค์ประกอบความรับผิดในทางอาญา เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของจำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้จำเลยที่ 3 ภายหลังจากที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องและต่อมาศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ถือว่าโจทก์อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลบังคับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 แล้ว การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงครบองค์ประกอบความผิดตามพ.ร.บ.ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5172/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาท: ผู้เสียหายต้องมีส่วนร่วมหรือก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือไม่ และขอบเขตการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต
การที่โจทก์ร่วมไปหาจำเลยที่ห้องพักซึ่งแม้จะได้ความตามที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ร่วมรบกวนการครอบครองห้องพักโดยปกติสุขของจำเลย แต่โจทก์ร่วมก็ไม่ได้บอกให้จำเลยกล่าวถ้อยคำอันเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ร่วม จึงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ร่วมมีส่วนร่วมหรือก่อให้เกิดการกระทำความผิด อันจะเป็นเหตุที่ทำให้โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4936/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การข่มขืนใจและมีอาวุธปืนโดยผิดกฎหมาย: การพิจารณาความผิดหลายกรรมต่างกันและการห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ขณะผู้เสียหายทั้งสองขับรถยนต์ซูบารุรับจ้างตามกันมาในซอยลาดพร้าว 127 เมื่อมาถึงที่เกิดเหตุ จำเลยกับพวกออกมายืนขวางหน้ารถยนต์ผู้เสียหายที่ 1 พูดจาข่มขู่ผู้เสียหายที่ 1 ให้ลงจากรถยนต์พร้อมใช้อาวุธปืนยิงขึ้นฟ้า จากนั้นจำเลยกับพวกไปที่หน้ารถยนต์ผู้เสียหายที่ 2 พูดข่มขู่และกระชากผู้เสียหายที่ 2 ให้ลงจากรถยนต์ ใช้อาวุธปืนจ่อที่เอวผู้เสียหายที่ 2 เช่นนี้ เป็นการกระทำคนละคราว และมีเจตนาแยกจากกันได้ แม้จะเป็นเวลาต่อเนื่องกัน ก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4166/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาและแพ่งของจำเลยที่ 3 ที่ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 และ 2 แม้ผู้เสียหายมิได้อุทธรณ์
แม้ผู้เสียหายทั้งสองซึ่งยื่นคำร้องขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเป็นคำขอในส่วนคดีแพ่ง มิได้อุทธรณ์คำพิพากษาในส่วนความรับผิดของจำเลยที่ 3 ก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 3 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็ต้องวินิจฉัยคดีส่วนแพ่งตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดต่อผู้ร้องทั้งสองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ด้วย ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
of 14