คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 107 เดิม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินหลังหย่า: บ้านต่อเติมถือเป็นส่วนควบของที่ดินตกเป็นสินส่วนตัว
บ้านพิพาทหลังเดิมเป็นของบิดาและมารดาผู้ร้อง ต่อมาได้ยกให้แก่ผู้ร้องพร้อมทั้งที่ดินก่อนที่ผู้ร้องจดทะเบียนสมรสกับจำเลย ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง หลังจากนั้นมีการต่อเติมบ้านในลักษณะถาวรติดที่ดิน จึงต้องถือว่าบ้านพิพาทที่ต่อเติมนี้เป็นส่วนควบของที่ดินที่ปลูกบ้านและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 107 เดิม โจทก์จึงยึดบ้านพิพาทเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้โจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านจากการครอบครองปรปักษ์และการยกให้ โดยพิจารณาผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์และจำเลย
หลังจาก ต. มารดาได้ลงชื่อโจทก์จำเลยและ ป. ซึ่งเป็นบุตรทั้งสาม เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินในปี 2511 แล้ว ต.มารดาก็ยังคงครอบครองบ้านพิพาทอย่างเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวต่อไป แม้บ้านพิพาทจะเป็นส่วนควบของที่ดินซึ่งกรรมสิทธิ์ในบ้านจะเป็นของโจทก์จำเลยและ ป. ด้วยโดยผลของกฎหมายและ ต. มารดาไม่ทราบการครอบครองบ้านพิพาทของ ต.มารดาก็เป็นการครอบครองโดยปรปักษ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ในส่วนของโจทก์จำเลยและ ป. ก่อนที่ ต.มารดาจะถึงแก่ความตายได้ยกบ้านพิพาทให้จำเลยซึ่งอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทอยู่แล้ว การที่จำเลยอยู่ในบ้านพิพาทต่อมาจำเลยย่อมครอบครองบ้านพิพาทโดยเจตนาเป็นเจ้าของต่อจาก ต. มารดา เมื่อรวมระยะเวลาครอบครองเกิน10 ปีแล้ว บ้านพิพาทย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่ผู้เดียว