พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนการเวนคืนที่ดิน: ศาลกำหนดจำนวนที่เป็นธรรม แม้คณะกรรมการฯ มิได้กำหนดไว้
โจทก์ได้เช่าที่ดินซึ่งบางส่วนถูกเวนคืนโดยการเช่านั้นมีหลักฐานเป็นหนังสือและจดทะเบียนการเช่าไว้ก่อนวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ และในวันที่เจ้าหน้าที่ได้เข้าครอบครองที่ดินที่ถูกเวนคืนดังกล่าวการเช่าที่ดินนั้นยังไม่ระงับ การที่ที่ดินบางส่วนที่โจทก์เช่าถูกเวนคืนย่อมทำให้โจทก์ขาดประโยชน์แห่งสิทธิการเช่าหรือเสียสิทธิที่จะได้ใช้ที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืนนั้นหาผลประโยชน์อันพึงมีพึงได้โดยชอบนับแต่วันที่เจ้าหน้าที่เข้าครอบครองที่ดินที่เช่าที่ถูกเวนคืนนั้นจนถึงวันครบกำหนดตามสัญญาเช่า ความเสียหายดังกล่าวเป็นความเสียหายจริงโดยเหตุที่ต้องออกจากที่ดินที่ถูกเวนคืน โจทก์ผู้เช่าจึงมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯมาตรา 18(3)
คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ เฉพาะค่าโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างโดยมิได้กำหนดเงินค่าทดแทนในการเช่าให้แก่โจทก์และผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาฯ กับโจทก์ได้ทำบันทึกข้อตกลงยินยอมรับเงินค่าทดแทนโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างกันเมื่อวันที่ 24เมษายน 2540 ซึ่งเป็นกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา 10แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ซึ่งจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนดังกล่าวให้แก่โจทก์ภายใน 120 วัน คือภายในวันที่ 22 สิงหาคม 2540ตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง หากคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนในการเช่าซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับให้แก่โจทก์ด้วยแล้ว ผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาฯ กับโจทก์ก็จะทำข้อตกลงยินยอมรับเงินค่าทดแทนส่วนนี้ในวันเดียวกันกับที่ทำบันทึกข้อตกลงยินยอมฯ และต้องจ่ายเงินค่าทดแทนส่วนนี้ภายในวันที่ 22 สิงหาคม 2540 เช่นกัน แม้คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์แต่เมื่อศาลฎีกาคณะคดีปกครองได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์แล้ว ถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนส่วนนี้เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคท้าย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินแต่ต้องไม่เกินอัตราที่โจทก์ขอในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่าย คือวันที่ 22สิงหาคม 2540
คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ เฉพาะค่าโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างโดยมิได้กำหนดเงินค่าทดแทนในการเช่าให้แก่โจทก์และผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาฯ กับโจทก์ได้ทำบันทึกข้อตกลงยินยอมรับเงินค่าทดแทนโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างกันเมื่อวันที่ 24เมษายน 2540 ซึ่งเป็นกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา 10แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ซึ่งจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนดังกล่าวให้แก่โจทก์ภายใน 120 วัน คือภายในวันที่ 22 สิงหาคม 2540ตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง หากคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนในการเช่าซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับให้แก่โจทก์ด้วยแล้ว ผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาฯ กับโจทก์ก็จะทำข้อตกลงยินยอมรับเงินค่าทดแทนส่วนนี้ในวันเดียวกันกับที่ทำบันทึกข้อตกลงยินยอมฯ และต้องจ่ายเงินค่าทดแทนส่วนนี้ภายในวันที่ 22 สิงหาคม 2540 เช่นกัน แม้คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์แต่เมื่อศาลฎีกาคณะคดีปกครองได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์แล้ว ถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนส่วนนี้เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคท้าย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินแต่ต้องไม่เกินอัตราที่โจทก์ขอในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่าย คือวันที่ 22สิงหาคม 2540
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5684/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: สิทธิในที่ดินสิ้นสุดเมื่อมีการชำระค่าทดแทน แม้จะมีการอุทธรณ์
จำเลยที่ 2 เจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาฯ มอบหมายให้ บ. ซึ่งเป็นผู้อำนวยการสำนักการโยธา ตกลงซื้อขายที่ดินของโจทก์ที่อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนพร้อมกับทำสัญญาซื้อขายและจ่ายเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืน ...(ในกรณีไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน) และโจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนตามที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดให้จากจำเลยแล้ว จึงเป็นการดำเนินการจัดซื้อตามขั้นตอนของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 10 ให้อำนาจไว้ และที่โจทก์ใช้สิทธิอุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนเพิ่มขึ้นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามที่ตนสงวนสิทธิไว้ก็โดยอาศัยพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ให้สิทธิไว้เช่นกัน
การโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 11 วรรคสอง ให้ถือว่าได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตกลงซื้อขายกันได้ตามมาตรา 10 นับแต่วันชำระเงินตามมาตรา 11 วรรคหนึ่งดังนั้น กรรมสิทธิ์ในที่ดินของโจทก์ที่จะต้องเวนคืนตกเป็นของจำเลยนับแต่วันที่โจทก์รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนจากจำเลยแล้วเมื่อที่ดินของโจทก์ได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยภายในเวลาที่พระราชกฤษฎีกาฯ ยังมีผลใช้บังคับอยู่จากการดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ แล้ว ก็ไม่ต้องมีการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาเวนคืนที่ดินของโจทก์อีก ทั้งที่ดินแปลงดังกล่าวได้กลายสภาพเป็นบึงรับน้ำตามโครงการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานครไปแล้ว สภาพของที่ดินจึงเปลี่ยนแปลงไปเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 โจทก์จะอ้างกรรมสิทธิ์เหนือที่ดินและฟ้องเรียกร้องเอาที่ดินคืนมิได้
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 10 วรรคสอง บัญญัติถึงในกรณีที่สามารถตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะถูกเวนคืนตามวรรคหนึ่งได้ แต่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนไว้ด้วย ดังนั้น ที่มาตรา 11 ใช้คำว่า "ในกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา 10" จึงหมายถึงการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้เท่านั้น ส่วนที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนก็ให้ผู้ถูกเวนคืนสงวนสิทธิที่จะอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีไว้เพื่อผู้ถูกเวนคืนที่ยังไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดไว้จะได้ใช้สิทธิอุทธรณ์และฟ้องขอเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นตามขั้นตอนต่อไปของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ
การโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 11 วรรคสอง ให้ถือว่าได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตกลงซื้อขายกันได้ตามมาตรา 10 นับแต่วันชำระเงินตามมาตรา 11 วรรคหนึ่งดังนั้น กรรมสิทธิ์ในที่ดินของโจทก์ที่จะต้องเวนคืนตกเป็นของจำเลยนับแต่วันที่โจทก์รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนจากจำเลยแล้วเมื่อที่ดินของโจทก์ได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยภายในเวลาที่พระราชกฤษฎีกาฯ ยังมีผลใช้บังคับอยู่จากการดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ แล้ว ก็ไม่ต้องมีการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาเวนคืนที่ดินของโจทก์อีก ทั้งที่ดินแปลงดังกล่าวได้กลายสภาพเป็นบึงรับน้ำตามโครงการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานครไปแล้ว สภาพของที่ดินจึงเปลี่ยนแปลงไปเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 โจทก์จะอ้างกรรมสิทธิ์เหนือที่ดินและฟ้องเรียกร้องเอาที่ดินคืนมิได้
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 10 วรรคสอง บัญญัติถึงในกรณีที่สามารถตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะถูกเวนคืนตามวรรคหนึ่งได้ แต่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนไว้ด้วย ดังนั้น ที่มาตรา 11 ใช้คำว่า "ในกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา 10" จึงหมายถึงการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้เท่านั้น ส่วนที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนก็ให้ผู้ถูกเวนคืนสงวนสิทธิที่จะอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีไว้เพื่อผู้ถูกเวนคืนที่ยังไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดไว้จะได้ใช้สิทธิอุทธรณ์และฟ้องขอเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นตามขั้นตอนต่อไปของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7214/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การคำนวณค่าทดแทนที่เหมาะสม (ราคาตลาด, ความเสียหาย, ดอกเบี้ย)
การที่ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีหนังสือเชิญโจทก์ไปติดต่อทำสัญญารับเงินค่าทดแทนนั้นเป็นกรณีที่ผู้ว่าการการทางพิเศษฯ แจ้งให้โจทก์ไปติดต่อทำสัญญาซื้อขาย อสังหาริมทรัพย์ตามความในมาตรา 10 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530เมื่อโจทก์มิได้ไปตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กับจำเลยผู้ว่าการการทางพิเศษฯ จึงมีหนังสือแจ้งการวางเงินค่าทดแทนให้โจทก์ทราบ ถือได้ว่าเป็นหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนตามความ ในมาตรา 25 วรรคหนึ่งโจทก์จึงมีสิทธิจะอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการวางเงินค่าทดแทนดังกล่าว ราคาที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดตารางวาละ 70,000 บาท น่าจะเป็นราคาที่ใกล้เคียงกับราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดในปี 2533 แต่เมื่อพิจารณาสภาพทำเลที่ตั้งที่ดินของโจทก์ปรากฏว่าที่ดินของโจทก์อยู่ติดกับถนนรามอินทรา และอยู่ติดกับซอยเป็นสุขซึ่งสามารถออกสู่ถนนลาดพร้าวและถนนสุขาภิบาล 1 ด้วยแล้วราคาที่ดินของโจทก์ควรมีราคาสูงกว่านั้น โดยน่าจะมีราคาตารางวาละ 75,000 บาท ที่ศาลชั้นต้นกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ในราคาตารางวาละ 90,000 บาทและศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยโดยให้เหตุผลอันเป็นสาระสำคัญประการหนึ่งว่า จำเลยที่ 1 จ่ายเงินให้แก่โจทก์เมื่อปี 2536หลังจากที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว พ.ศ. 2533 จึงกำหนดให้ตารางวาละ 90,000 บาท นั้นไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21(1) ซึ่งให้กำหนดตามราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกามีผลบังคับ ที่ดินของโจทก์ตั้งอยู่ติดถนนรามอินทรา กิจการค้าวัสดุก่อสร้างของโจทก์เป็นการประกอบกิจการขนาดใหญ่พอสมควรมีอาคารใช้ในการประกอบกิจการถึง 3 คูหา และมีโกดังเก็บวัสดุก่อสร้างอีก 1 หลัง น่าเชื่อว่าโจทก์ได้รับประโยชน์เป็นกำไรจากการประกอบการพอสมควร การที่โจทก์ต้องออกจากที่ดินและหยุดการประกอบกิจการค้าขายวัสดุก่อสร้างและต้องเสียทำเลทางการค้าที่ดีไป รวมทั้งสูญเสียผลประโยชน์ ที่ควรจะพึงได้ในเวลาต่อมานั้น ถือได้ว่าโจทก์ได้รับ ความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ ที่ถูกเวนคืน ชอบที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายนั้น ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคท้าย ให้แก่โจทก์ ซึ่งเมื่อพิจารณากิจการ และกำไรที่โจทก์พึงได้จากการค้าขายวัสดุก่อสร้างแล้ว ที่จำเลยทั้งสองกำหนดให้เป็นเงิน 46,636 บาท นั้นยังต่ำไป ควรกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้เพิ่มให้แก่โจทก์อีก 200,000 บาทจึงจะเหมาะสมและเป็นธรรมแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6851/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อเวนคืนเป็นโมฆะ เมื่อพระราชกฤษฎีกาหมดอายุ เจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจ
ขณะทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษนั้นพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตพระโขนง ฯลฯ พ.ศ. 2530 ซึ่งกำหนดให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชกฤษฎีกานี้ ได้สิ้นผลบังคับใช้ไปแล้วเพราะหมดอายุ ฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของผู้ว่าการการทางพิเศษฯ กับฐานะของคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืน ตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจึงสิ้นผลลง ราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่คณะกรรมการชุดนี้กำหนดก็ย่อมสิ้นผลไปด้วยดังนั้นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งผู้ว่าการของจำเลยที่ 2ทำในขณะไม่มีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่แล้ว จึงเป็นการ กระทำโดยปราศจากอำนาจและไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 10 วรรคหนึ่ง ย่อมไม่มีผลใช้บังคับ การกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่จะต้องถูกเวนคืนและจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์จึงต้องดำเนินการใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5645/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดค่าทดแทนที่เป็นธรรมและดอกเบี้ยที่เหมาะสม
ทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนขณะที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตท้องที่ที่จะเวนคืนฉบับหลังซึ่งมีผลใช้บังคับหลังจากฉบับก่อนสิ้นผลบังคับ 2 เดือน โดยอาศัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดินโจทก์ตามที่เคยสำรวจตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตท้องที่ที่จะเวนคืนฉบับก่อนที่หมดอายุแล้วโดยไม่ได้ทำการสำรวจและทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดิน โจทก์ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนฉบับใหม่แต่พระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับและกำหนดเขตท้องที่ที่จะเวนคืนท้องที่เดียวกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าสภาพที่ดินของโจทก์เปลี่ยนแปลงอย่างไร จึงมีอำนาจทำสัญญาซื้อขายที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 10 วรรคหนึ่ง สัญญาซื้อขายที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนชอบด้วยกฎหมาย เมื่อไม่มีการกำหนดค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะจึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 21(1)-(5) สภาพและที่ตั้งของที่ดินโจทก์อยู่ติดถนนซอยเทียมร่วมมิตรห่างจากที่ดินที่โจทก์นำสืบเปรียบเทียบซึ่งอยู่ติดถนนซอยยอดสุวรรณประมาณ 100 เมตรไม่ปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์ว่ามีความเจริญต่างกันอย่างไรและที่ดินที่โจทก์นำมาเปรียบเทียบขายให้แก่ธนาคารพาณิชย์ เพื่อประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ จึงไม่อาจเปรียบเทียบราคากันได้ ที่ดินโจทก์สามารถเข้าออกถนนประชาอุทิศ ถนนพระราม 9และถนนรัชดาภิเษกได้แสดงว่าอยู่ในย่านที่เจริญแล้วแม้กิจการที่จะเวนคืนมาสร้างเป็นกิจการเพื่อสาธารณูปการของรัฐเพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วแก่การจราจร แต่ก็เก็บค่าตอบแทนอันมีลักษณะเป็นการดำเนินธุรกิจอยู่ด้วยสมควรกำหนดค่าตอบแทนที่ดินให้เพิ่มอีก จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยในจำนวนเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นภายใน 120 วันนับแต่วันทำสัญญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสาม ในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ย เงินฝากประเภทประจำของธนาคารออมสิน แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7161/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าทดแทนที่ดินเวนคืน: ราคาตลาด, ดอกเบี้ย, และการปรับแก้คำพิพากษา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534มาตรา 36 วรรคหนึ่ง เป็นบทกฎหมายที่กำหนดแนวทางว่าการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำได้ก็โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะและในกรณีใดบ้าง และต้องชดใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรมภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของ ตามที่ระบุไว้ในกฎหมายส่วนวรรคสองเพียงแต่วางหลักการกว้าง ๆ ว่าการกำหนดค่าทดแทนนั้นต้องกำหนดให้อย่างเป็นธรรม โดยคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติ การได้มาสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์และความเสียหายของผู้ถูกเวนคืน ดังนั้นรายละเอียดของการดำเนินการเวนคืนและการกำหนดค่าทดแทนที่เป็นธรรมจึงต้องเป็นไปตามกฎหมายเฉพาะซึ่งในขณะเกิดกรณีพิพาทคือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 อันเป็นกฎหมายแม่บทเกี่ยวกับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์โดยทั่ว ๆ ไป ซึ่งหลักเกณฑ์สำคัญในการพิจารณากำหนดค่าทดแทนได้กำหนดไว้ในมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) ดังนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองจึงต้องคำนึงถึง (1) ถึง (5)ของมาตราดังกล่าวในวันที่ 22 เมษายน 2531 ซึ่งเป็นวันที่ใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ ประกอบเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสองโดยใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อใช้ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ซึ่งประกาศใช้ตั้งแต่วันที่14 มิถุนายน 2534 จึงไม่ถูกต้อง โจทก์ทั้งสองและจำเลยไม่ได้มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ กันตามมาตรา 10 จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่าย ทั้งทางนำสืบ ของโจทก์ทั้งสองและจำเลยไม่ปรากฏแน่ชัดว่าจำเลยวางเงิน ค่าทดแทนในวันใด แต่พออนุมานได้ว่าก่อนวันที่ 1 พฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ทั้งสองไปทำคำเสนอขอรับเงินค่าทดแทนจึงให้ จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องค่าทดแทนเวนคืน: เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการคืออธิบดีกรมทางหลวง ไม่ใช่ รมต.คมนาคม
พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงจังหวัดสายแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34-บางบ่อ พ.ศ. 2525 กำหนดให้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการ ส่วนจำเลยซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาและตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 10 ผู้ที่ต้องจ่ายค่าทดแทนคือเจ้าหน้าที่หรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ เมื่ออธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่ จึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์ จำเลยเป็นเพียงผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาเท่านั้น ไม่มีหน้าที่จะต้องจ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเรียกเงินค่าทดแทน