พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4058/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเลิกกิจการร่วมค้า: จำเลยในฐานะกรรมการบริษัทคู่สัญญา ไม่ใช่คู่กรณีโดยตรง
กิจการร่วมค้า ค. จัดตั้งขึ้นโดยโจทก์กับบริษัท พ. ส่วนจำเลยเป็นเพียงกรรมการคนหนึ่งซึ่งมีอำนาจกระทำการแทนบริษัท พ. เท่านั้น สัญญากิจการร่วมค้าจึงผูกพันเฉพาะบริษัท พ. ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหาก หาผูกพันจำเลยไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยขอให้เลิกกิจการร่วมค้า ค. และชำระบัญชี แม้บริษัท พ. ได้จดทะเบียนเลิกบริษัท และเสร็จการชำระบัญชี และผู้ชำระบัญชีบริษัท พ. ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย ก็ไม่เป็นเหตุที่จะทำให้โจทก์ฟ้องจำเลยได้ ส่วนที่โจทก์ขอให้จำเลยลงชื่อในเอกสารขอเบิกเงินของกิจการร่วมค้า ค. ตามบัญชีกระแสรายวันและบัญชีเงินฝากรวม 3 บัญชี ร่วมกับโจทก์ในนามของกิจการร่วมค้า ค. ตลอดจนลงชื่อในเอกสารขอปิดบัญชีทั้งสามบัญชีดังกล่าวกับธนาคาร ฮ. ก็เป็นเรื่องการขอจัดการทรัพย์สินที่สืบเนื่องมาจากการขอเลิกกิจการร่วมค้า ค. อันถือได้ว่าเป็นการขอชำระบัญชีนั่นเอง โจทก์จึงฟ้องขอให้บังคับจำเลยไม่ได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4047/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระบุเวลาในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ที่ไม่ได้ทำต่อหน้าคู่ความ
ป.วิ.พ. มาตรา 48 (3) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของศาลต้องจดแจ้งสถานที่ วัน เวลา ที่ศาลนั่งพิจารณาหรือดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา แต่กระบวนพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่ได้กระทำต่อหน้าคู่ความ และต้องส่งรายงานกระบวนพิจารณาให้ศาลชั้นต้นทำการอ่านแทน ศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงไม่ต้องระบุเวลาไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาในช่องที่ผู้พิพากษาออกนั่งพิจารณาคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3792/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: กำหนดเวลาชำระหนี้เป็นสาระสำคัญ การบังคับคดีชอบด้วยกฎหมาย
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสอง ได้กำหนดเวลาชำระหนี้แต่ละงวดไว้แน่นอนตามวันแห่งปฏิทิน ซึ่งหากจำเลยทั้งสองผิดนัดการชำระหนี้งวดใดงวดหนึ่งถือว่าจำเลยทั้งสองผิดนัดการชำระหนี้ทุกงวด ยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันที แสดงให้เห็นเจตนาของคู่สัญญาที่ประสงค์ให้ถือเอาเวลาชำระหนี้ที่กำหนดไว้เป็นสาระสำคัญ และศาลชั้นต้นได้พิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว จึงผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคแรก แม้โจทก์จะรับชำระหนี้งวดที่ 1 ถึงงวดที่ 4 ซึ่งชำระไม่ตรงตามกำหนด โดยโจทก์ไม่คิดดอกเบี้ยผิดนัดจากจำเลยทั้งสองก็เป็นเรื่องที่โจทก์ยังไม่ประสงค์จะบังคับคดีในขณะนั้นเท่านั้น ไม่ทำให้จำเลยทั้งสองพ้นจากความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้งวดต่อไปให้ตรงตามกำหนด เมื่อจำเลยทั้งสองยังคงชำระหนี้งวดที่ 5 ไม่ตรงตามกำหนดอีก จึงเป็นผู้ผิดนัด
จำเลยทั้งสองผิดนัดชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้บังคับคดีด้วยการยึดที่ดินของจำเลยที่ 2 มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 แม้โจทก์จะทราบมาก่อนว่าที่ดินดังกล่าวจำเลยที่ 2 ได้เสนอขายต่อสหกรณ์ออมทรัพย์ครูสุพรรณบุรี จำกัด และคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูสุพรรณบุรี จำกัด มีมติให้ซื้อจากจำเลยที่ 2 แล้ว ก็ไม่เป็นการใช้สิทธิบังคับคดีโดยไม่สุจริต
จำเลยทั้งสองผิดนัดชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้บังคับคดีด้วยการยึดที่ดินของจำเลยที่ 2 มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 แม้โจทก์จะทราบมาก่อนว่าที่ดินดังกล่าวจำเลยที่ 2 ได้เสนอขายต่อสหกรณ์ออมทรัพย์ครูสุพรรณบุรี จำกัด และคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูสุพรรณบุรี จำกัด มีมติให้ซื้อจากจำเลยที่ 2 แล้ว ก็ไม่เป็นการใช้สิทธิบังคับคดีโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3348/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนการใช้ที่ดินเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์หลังการประกาศเดินสายไฟฟ้า: ผู้รับโอนมีสิทธิได้รับค่าทดแทน
แม้โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทมาจาก ค. ภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 ประกาศกำหนดเขตเดินสายไฟฟ้าก็ตาม แต่การจ่ายเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินของจำเลยที่ 1 ในกรณีนี้ มิได้มีกฎหมายใด ๆ บัญญัติห้ามมิให้จ่ายแก่ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากเจ้าของเดิมที่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินอยู่ก่อนแต่ยังไม่ได้รับอย่างใด สิทธิเรียกร้องเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินของ ค. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินในขณะที่จำเลยที่ 1 ประกาศกำหนดเขตเดินสายไฟฟ้ามิได้เป็นสิทธิเฉพาะตัวที่จะไม่ตกทอดไปยังผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินรายใหม่ นอกจากนั้นไม่ปรากฏว่า ค. ใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลเรียกเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 ทวิ วรรคหนึ่งมาก่อน ฉะนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้จ่ายเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ใด หรือได้นำเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินไปวางไว้ต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคาร อ. แม้โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทมาภายหลังจากจำเลยที่ 1 ประกาศกำหนดเขตเดินสายไฟฟ้าก็ตามก็ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินอยู่ในปัจจุบันเป็นผู้มีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3348/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนการใช้ที่ดินตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฯ พิจารณาจากราคาที่ดินจริงและปัจจัยอื่นประกอบ
สิทธิเรียกร้องเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินของ ค. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินในขณะที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 ประกาศกำหนดเขตเดินสายไฟฟ้ามิได้เป็นสิทธิเฉพาะตัวที่จะไม่ตกทอดไปยังผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินรายใหม่ ทั้ง ค. มิได้ใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลเรียกเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2511 มาตรา 30 ทวิ วรรคหนึ่ง มาก่อนฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้จ่ายเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินให้แก่ผู้ใดหรือได้นำเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินไปวางไว้ต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสิน แม้โจทก์จะซื้อที่ดินมาจาก ค.ภายหลังจากจำเลยที่ 1 ประกาศกำหนดเขตเดินสายไฟฟ้า ก็ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินอยู่ในปัจจุบันเป็นผู้มีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง
การที่จะกำหนดและจ่ายเงินทดแทนการใช้ที่ดินตามความเป็นธรรมตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2511 มาตรา 30 ต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ในทำนองเดียวกันกับที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) เพื่อใช้เป็นฐานในการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือผู้ทรงสิทธิอื่นด้วย
การที่จะกำหนดและจ่ายเงินทดแทนการใช้ที่ดินตามความเป็นธรรมตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2511 มาตรา 30 ต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ในทำนองเดียวกันกับที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) เพื่อใช้เป็นฐานในการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือผู้ทรงสิทธิอื่นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2742/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม – การยกเหตุใหม่ในชั้นฎีกาหลังศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัย
ฎีกาของจำเลยที่ 2 เป็นฎีกาทำนองปฏิเสธว่ามิได้กระทำความผิด เมื่อคดีนี้จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำความผิดตามฟ้อง แม้จำเลยที่ 2 ได้ยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่วินิจฉัย จำเลยก็ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่าศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่วินิจฉัยนั้นไม่ชอบอย่างไร ฎีกาของจำเลยที่ 2 จึงมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2236/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเบิกเงินเดือนซ้ำซ้อนจากสองหน่วยงานโดยเจตนาทุจริต มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147
หลังจากจำเลยยื่นฎีกาว่ามิได้กระทำความผิดตามฟ้องและขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย จำเลยยื่นคำร้องขอให้การรับสารภาพในชั้นฎีกา แต่ในคำร้องขอให้การรับสารภาพมีข้อความว่า มูลเหตุที่จำเลยกระทำความผิดเกิดขึ้นเนื่องจากจำเลยย้ายสถานที่ทำงานใหม่และเป็นหน่วยงานใหม่ จึงเข้าใจว่าจำเลยมีสิทธิเบิกเงินเดือนได้ในที่ทำงานใหม่ และไม่ทราบว่าสามีจำเลยเบิกเงินเดือนของจำเลยจากที่ทำการปกครองจังหวัดขอนแก่นด้วย จึงเท่ากับจำเลยยังปฏิเสธต่อสู้คดีอยู่ และไม่อาจถือว่าการที่จำเลยยื่นคำร้องนี้เป็นการยื่นคำร้องขอถอนฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 202 ประกอบมาตรา 225
พ.ร.ฎ.ระเบียนพนักงานส่วนตำบล พ.ศ.2539 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การโอนข้าราชการ...มาบรรจุเป็นพนักงานส่วนตำบลอาจทำได้ถ้าเจ้าตัวสมัครใจโดยองค์การบริหารส่วนตำบลที่จะรับโอนทำความตกลงกับ...หรือหน่วยงานต้นสังกัดแล้วรายงานประธาน อ.ก.ท. จังหวัดเพื่อพิจารณาเสนอความเห็นไปยัง ก.ท. เมื่อ ก.ท. อนุมัติแล้ว ให้โอนและบรรจุได้ ทั้งนี้จะบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับใดและจะรับเงินเดือนเท่าใดให้ ก.ท. เป็นผู้พิจารณากำหนด..." แสดงว่าการจะรับโอนบรรจุและแต่งตั้งจำเลยให้ดำรงตำแหน่งใดและรับเงินเดือนเท่าใดในองค์การบริหารส่วนตำบลท่าพระต้องให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาง (ก.ท.) เป็นผู้อนุมัติและพิจารณา ดังนี้ เมื่อยังไม่มีหนังสือแจ้งการรับโอนจากคณะกรรมการพนักงานเทศบาล จำเลยจึงยังคงดำรงตำแหน่งเดิมอยู่ที่ทำการปกครองอำเภอหนองเรือ เพียงแต่ถูกยืมตัวไปปฏิบัติหน้าที่โดยยังไม่ขาดจากต้นสังกัดเดิม
จำเลยมาช่วยราชการที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าพระ โดยยังไม่ขาดจากตำแหน่งเดิมที่อำเภอหนองเรือ จึงต้องรับเงินเดือนจากต้นสังกัดเดิม กลับตั้งฎีกาเบิกเงินเดือนของจำเลย ณ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าพระอีก อันเป็นการเบิกซ้ำซ้อนรวม 7 เดือน แล้วเบียดบังไปเป็นประโยชน์ส่วนตน การกระทำของจำเลยเข้าลักษณะเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่รักษาทรัพย์แล้วเบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตนโดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147
พ.ร.ฎ.ระเบียนพนักงานส่วนตำบล พ.ศ.2539 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การโอนข้าราชการ...มาบรรจุเป็นพนักงานส่วนตำบลอาจทำได้ถ้าเจ้าตัวสมัครใจโดยองค์การบริหารส่วนตำบลที่จะรับโอนทำความตกลงกับ...หรือหน่วยงานต้นสังกัดแล้วรายงานประธาน อ.ก.ท. จังหวัดเพื่อพิจารณาเสนอความเห็นไปยัง ก.ท. เมื่อ ก.ท. อนุมัติแล้ว ให้โอนและบรรจุได้ ทั้งนี้จะบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับใดและจะรับเงินเดือนเท่าใดให้ ก.ท. เป็นผู้พิจารณากำหนด..." แสดงว่าการจะรับโอนบรรจุและแต่งตั้งจำเลยให้ดำรงตำแหน่งใดและรับเงินเดือนเท่าใดในองค์การบริหารส่วนตำบลท่าพระต้องให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาง (ก.ท.) เป็นผู้อนุมัติและพิจารณา ดังนี้ เมื่อยังไม่มีหนังสือแจ้งการรับโอนจากคณะกรรมการพนักงานเทศบาล จำเลยจึงยังคงดำรงตำแหน่งเดิมอยู่ที่ทำการปกครองอำเภอหนองเรือ เพียงแต่ถูกยืมตัวไปปฏิบัติหน้าที่โดยยังไม่ขาดจากต้นสังกัดเดิม
จำเลยมาช่วยราชการที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าพระ โดยยังไม่ขาดจากตำแหน่งเดิมที่อำเภอหนองเรือ จึงต้องรับเงินเดือนจากต้นสังกัดเดิม กลับตั้งฎีกาเบิกเงินเดือนของจำเลย ณ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าพระอีก อันเป็นการเบิกซ้ำซ้อนรวม 7 เดือน แล้วเบียดบังไปเป็นประโยชน์ส่วนตน การกระทำของจำเลยเข้าลักษณะเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่รักษาทรัพย์แล้วเบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตนโดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดหลายกรรมต่างกัน ลักทรัพย์และใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ ศาลฎีกาแก้ไขโทษและรอการลงโทษ
จำเลยลักบัตรอิเล็กทรอนิกส์ไปจากผู้เสียหายแล้วนำไปลักเงินของผู้เสียหายโดยผ่านเครื่องฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ ทรัพย์ที่จำเลยลักเป็นทรัพย์คนละประเภทและเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมต่างวาระ และอาศัยเจตนาแตกต่างแยกจากกันได้ ดังนั้น การลักบัตรอิเล็กทรอนิกส์ไปจากผู้เสียหายกับลักเงินของผู้เสียหายโดยใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์เบิกถอนเงินผ่านเครื่องฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติในแต่ละครั้งจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าการกระทำแต่ละครั้งดังกล่าวเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 269/5 ประกอบมาตรา 269/7 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด และโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มโทษ ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจำเลยรวม 14 กระทง ได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต: โจทก์ต้องพิสูจน์การไม่มีใบอนุญาตจำเลย
โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ชัดแจ้งว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนและไม่มีใบอนุญาตให้พาอาวุธปืนติดตัวไปในที่เกิดเหตุ เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบ จึงไม่อาจฟังลงโทษจำเลยทั้งสองฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและฐานพกพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรได้ คงลงโทษได้เพียงในความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และเป็นความผิดต่างกรรมกับความผิดฐานพาอาวุธมีดไปในเมือง หมู่บ้าน และทางสาธารณะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 275/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีพรากผู้เยาว์และข่มขืนกระทำชำเรา จำเป็นต้องมีพยานหลักฐานที่หนักแน่นและสอดคล้องกัน
โจทก์อ้างส่งวิดีโอเทปบันทึกภาพถ่ายระหว่างการสอบสวนผู้เสียหายที่ 1 และที่ 3 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพันตำรวจตรี ม. ได้สอบคำให้การของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 3 โดยชอบต่อหน้าพนักงานอัยการและนักจิตวิทยา ซึ่งศาลมีอำนาจรับฟังสื่อภาพและเสียงคำให้การของพยานปากผู้เสียหายที่ 1 และที่ 3 ได้เสมือนผู้เสียหายที่ 1 และที่ 3 ซึ่งต่างเป็นเด็กมาเบิกความในชั้นพิจารณาของศาลตาม ป.วิ.อ. 172 ตรี วรรคสี่ แต่โจทก์จะต้องมีพยานหลักฐานอย่างอื่นประกอบด้วยจึงจะทำให้พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักมั่นคงว่าจำเลยร่วมเป็นคนร้ายได้