คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิทักษ์ คงจันทร์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมคบเพื่อขอเฉลี่ยทรัพย์โดยไม่สุจริต ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่ชอบ ศาลยกคำร้อง
ผู้ร้องฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งและทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเพื่อจะให้ผู้ร้องเข้ามาขอเฉลี่ยทรัพย์ เป็นการสมคบกับจำเลยเพื่อจะมิให้มีการนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยไปชำระหนี้ให้โจทก์ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ศาลยกคำร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8920/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องขอคืนที่ดิน: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่ที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้นและอุทธรณ์
ตามคำให้การและฟ้องแย้งจำเลยอ้างแต่เพียงว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์ฟ้องเอาที่ดินพิพาทคืนเกิน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองเท่านั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความเรื่องลาภมิควรได้ ศาลชั้นต้นจึงมิได้หยิบยกปัญหาข้อนี้ขึ้นวินิจฉัย แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 จะวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 จำเลยฎีกาต่อมาไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8872/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาบังคับใช้ข้อบัญญัติท้องถิ่น: การเริ่มต้นนับวัน และผลของการระบุวันใช้บังคับผิดพลาด
พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 มาตรา 53 วรรคหนึ่ง หมายความว่า ข้อบัญญัติที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดตราขึ้นในกรณีทั่วไปต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด และมีการประกาศข้อบัญญัตินั้นไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแล้วจนครบกำหนด 15 วัน จึงจะมีผลใช้บังคับได้ แต่มีข้อยกเว้นว่าในกรณีฉุกเฉินหากข้อบัญญัติที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดตราขึ้นโดยมีข้อความระบุให้ใช้บังคับได้ทันทีและได้รับการอนุมัติข้อบัญญัตินั้นจากผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วก็มีผลใช้บังคับได้ในวันที่มีการประกาศ ทั้งนี้ไม่ปรากฏบทบัญญัติอื่นใน พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 กำหนดวิธีการนับวันเริ่มต้นแห่งระยะเวลาประกาศข้อบัญญัติในกรณีทั่วไปไว้ด้วย ทั้งข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี เรื่อง การเก็บภาษีบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2542 มิใช่ข้อบัญญัติที่ตราขึ้นในกรณีฉุกเฉินจึงต้องคำนวณระยะเวลาการปิดประกาศตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง โดยไม่นับวันแรกแห่งระยะเวลาที่ประกาศรวมเข้าด้วยเมื่อมีการประกาศ ณ วันที่ 16 เมษายน 2542 จึงเริ่มต้นนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2542 ซึ่งจะครบกำหนด 15 วัน ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2542 และข้อบัญญัติที่ประกาศนั้นจะมีผลใช้บังคับได้ตั้งแต่วันถัดไปคือวันที่ 2 พฤษภาคม 2542
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี เรื่อง การเก็บภาษีบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2542 มีการนับระยะเวลาการปิดประกาศครบกำหนด 15 วัน ว่าตรงกับวันใดไว้ผิดพลาดจึงมีการระบุข้อความล่วงหน้าให้ข้อบัญญัติใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2542 แต่การประกาศข้อบัญญัติซึ่งระบุวันใช้บังคับผิดพลาดมิใช่เรื่องที่ทำโดยไม่ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ ถือได้ว่าข้อบัญญัติดังกล่าวยังไม่สิ้นผลหรือเป็นโมฆะ เมื่อมีการประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนจังหวัดแล้ว 15 วัน ข้อบัญญัติทั้งหมดยกเว้นข้อ 2 จึงมีผลบังคับใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2542 เป็นต้นไป การกระทำความผิดของจำเลยเกิดขึ้นหลังวันที่ 2 พฤษภาคม 2542 จึงเป็นความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8440/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาในคดีเลือกตั้ง: การประกาศรายชื่อผู้สมัครและการเพิกถอนการสมัคร
การยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยเกี่ยวกับคดีเลือกตั้งตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 มีได้ 2 กรณี คือ กรณีที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาผู้ใดไม่มีชื่อเป็นผู้สมัครในประกาศของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง ผู้สมัครผู้นั้นมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของตนได้ตามมาตรา 39 วรรคหนึ่ง และกรณีที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งได้ประกาศรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาไว้แล้ว แต่ต่อมาก่อนวันเลือกตั้งปรากฏหลักฐานว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้หนึ่งผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งดังกล่าวมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาเพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครผู้นั้นได้ตามมาตรา 40 วรรคหนึ่ง
ผู้ร้องยื่นใบสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 2 และผู้คัดค้านได้ประกาศชื่อผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแล้ว การที่ผู้คัดค้านมีหนังสือถึงผู้ร้องแจ้งว่าผู้ร้องมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในภายหลัง จึงมิใช่กรณีที่ผู้คัดค้านไม่ประกาศชื่อผู้ร้องว่าเป็นผู้มีสิทธิที่จะสมัครรับเลือกตั้งอันจะทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาตามความในมาตรา 39 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 ดังนั้น ตราบใดที่ผู้คัดค้านมิได้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อขอให้เพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้งของผู้ร้องตามความในมาตรา 40 วรรคหนึ่ง ก็ต้องถือว่าผู้ร้องยังคงเป็นผู้ที่ผู้คัดค้านประกาศรายชื่อว่าเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งอยู่ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อให้มีคำวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8424/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดเดินสายไฟฟ้าพาดผ่านที่ดิน: ศาลพิจารณาความเสียหายและสิทธิเรียกค่าทดแทน/โอนกรรมสิทธิ์
โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยในมูลละเมิดที่จำเลยปักเสาไฟฟ้าพาดผ่านที่ดินของโจทก์ทั้งสองเป็นเส้นทแยงมุมโดยจงใจกลั่นแกล้งโจทก์ทั้งสอง เป็นเหตุให้ที่ดินได้รับความเสียหายและเสื่อมประโยชน์ใช้สอยตลอดไป แล้วจำเลยจ่ายเงินค่าทดแทนแก่โจทก์ทั้งสองไม่ตรงและต่ำกว่าความเสียหายจริงที่โจทก์ทั้งสองได้รับ กับมีคำขอให้บังคับจำเลยรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแล้วใช้ราคาพร้อมดอกเบี้ยหรือใช้ค่าทดแทนความเสียหาย จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยมิได้กระทำละเมิดกลั่นแกล้งโจทก์ทั้งสอง คดีจึงมีประเด็นโต้เถียงกันว่าจำเลยกระทำละเมิดโจทก์ทั้งสองและต้องใช้ค่าทดแทนความเสียหายหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ทั้งสองขอให้บังคับจำเลยรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและชำระราคาตามฟ้องได้หรือไม่ ได้รวมถึงประเด็นที่ว่าจำเลยกระทำละเมิดกลั่นแกล้งโจทก์ทั้งสองหรือไม่ไว้ด้วยแล้ว เพราะการจะวินิจฉัยตามข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจำต้องวินิจฉัยก่อนว่า จำเลยกำหนดแนวเขตเดินสายไฟโดยสุจริตหรือไม่ หากปรากฏว่าจำเลยกำหนดแนวเขตเดินสายไฟโดยไม่สุจริต หรือจงใจกลั่นแกล้งเพื่อให้ที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย เสื่อมราคาไม่สามารถใช้สอยได้สมประโยชน์ดังเดิม อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง ก็จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่าโจทก์ทั้งสองมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับซื้อที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์ทั้งสอง หรือเรียกให้ใช้ค่าทดแทนเพิ่มสำหรับที่ดินส่วนที่เหลือทั้งหมดได้หรือไม่เพียงใด ดังนั้น ที่โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ว่า จำเลยกระทำละเมิดกลั่นแกล้งโจทก์ทั้งสองแต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองโดยเห็นว่า อุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทตามฟ้อง จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7089/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ที่ไม่ได้อุทธรณ์ และยืนตามคำพิพากษาเดิมเรื่องโทษ
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมิได้มีเจตนาลักรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายนั้น ซึ่งในชั้นอุทธรณ์จำเลยได้ยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย จำเลยก็ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่าที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยนั้นไม่ชอบแต่อย่างไร การที่จำเลยยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นฎีกาซ้ำอีก ถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกาและเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6899/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ที่ไม่ได้ยกขึ้นสู่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ และยืนตามคำพิพากษาเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานยักยอก จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง แม้จำเลยจะยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย ฎีกาของจำเลยดังกล่าวก็ถือเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5887/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ลงลายมือชื่อในฎีกาทำให้ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ฎีกาของจำเลยไม่มีลายมือชื่อผู้ฎีกา โดยเหตุที่ฎีกาเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตามคำนิยามในมาตรา 1 (3) แห่ง ป.วิ.พ. ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ดังนั้น เมื่อไม่มีลายมือชื่อผู้ฎีกา ฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 158 (7) ประกอบด้วยมาตรา 215 และ 225 แห่ง ป.วิ.อ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5855/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ครอบครองทรัพย์ที่ถูกลักทรัพย์มีสิทธิเป็นผู้เสียหายได้ แม้กรรมสิทธิ์จะยังไม่โอน
คำว่า "ผู้เสียหาย" ในความผิดฐานลักทรัพย์ไม่จำต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ถูกลักไป บุคคลที่เป็นผู้ครอบครองทรัพย์ที่ถูกลักไปก็เป็นผู้เสียหายได้ คดีนี้ได้ความว่าจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วมได้ร่วมกันลักอาหารสัตว์ส่วนหนึ่งในระหว่างทางที่โจทก์ร่วมขนส่งเพื่อส่งมอบให้แก่บริษัท ซ. ผู้ซื้อ ระหว่างการขนส่งอาหารสัตว์ที่บรรทุกในรถยนต์คันเกิดเหตุ อาหารสัตว์เหล่านั้นจึงยังคงอยู่ในความครอบครองของโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมย่อมได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสองเนื่องจากโจทก์ร่วมมีหน้าที่จำต้องส่งมอบอาหารสัตว์ให้ครบจำนวนแก่บริษัท ซ. ผู้ซื้อ โจทก์ร่วมจึงมีฐานะเป็นผู้เสียหายในเหตุคดีนี้อยู่ด้วย ไม่ว่ากรรมสิทธิ์ในอาหารสัตว์ที่โจทก์ร่วมตกลงขายได้โอนไปยังบริษัท ซ. เพราะมีการชั่งน้ำหนักอันเป็นการบ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งตั้งแต่ต้นทางการขนส่งโดยผลของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 460 วรรคแรก แล้วหรือไม่ก็ตาม โจทก์ร่วมจึงมีสิทธิเข้าดำเนินคดีเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้โดยชอบ แม้ขณะเกิดเหตุหากกรรมสิทธิ์ในอาหารสัตว์ดังกล่าวได้โอนไปยังบริษัท ซ. เสียก่อนแล้วโดยผลของกฎหมายอันเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาว่าจำเลยทั้งสองลักทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ซ. ขณะอยู่ในความครอบครองโจทก์ร่วมผู้เป็นนายจ้างของจำเลยทั้งสองซึ่งแตกต่างกับข้อเท็จจริงดั่งที่กล่าวในฟ้องซึ่งบรรยายว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์ของโจทก์ร่วม กรณีก็เป็นข้อแตกต่างที่มิใช่ข้อสาระสำคัญและจำเลยทั้งสองมิได้หลงข้อต่อสู้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 335 (7) (11) วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 83 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5249/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายห้องชุดเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ ถือเป็นการฉ้อฉล เพิกถอนได้
การที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดกับจำเลยที่ 1 โดยก่อนจะมีการทำสัญญาซื้อขายห้องชุดดังกล่าว จำเลยที่ 1 ได้นำเช็คมาแลกเงินสดไปจากจำเลยที่ 2 รวม 10 ฉบับ เป็นเงิน 597,000 บาท ภายหลังจากเช็คถึงกำหนดชำระ จำเลยที่ 2 นำเช็คทั้งสิบฉบับไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยที่ 1 จึงโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดดังกล่าวชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยที่จำเลยที่ 1 ไม่เคยรู้จักจำเลยที่ 2 มาก่อน ซึ่งจำเลยที่ 2 รับเช็คไว้ถึง 10 ฉบับ ทั้งๆ ที่จำเลยที่ 2 ไม่เคยมีอาชีพปล่อยเงินกู้ อีกทั้งไม่เคยรับแลกเช็ค เพิ่งทำครั้งนี้เป็นครั้งแรก การที่จำเลยที่ 2 รับแลกเช็คจากจำเลยที่ 1 จึงผิดปกติวิสัยหลายประการ ประการแรก คือ พฤติการณ์ที่ลุงของจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่กล้าให้จำเลยที่ 1 แลกเช็ค แต่แนะนำให้จำเลยที่ 1 นำเช็คมาแลกเงินสดจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหลานของตนเอง ประการต่อมาเช็คที่จำเลยที่ 1 นำมาแลกเงินสดทั้งสิบฉบับล้วนเป็นเช็คของคนอื่น ไม่ใช่เช็คของจำเลยที่ 1 และเมื่อเช็คแต่ละฉบับถึงกำหนดแทนที่จำเลยที่ 2 จะรีบนำเช็คแต่ละฉบับไปเรียกเก็บเงินทันที กลับปล่อยเวลาล่วงเลยไป จึงเพิ่งนำไปเรียกเก็บเงินพร้อมกัน และต่อมาจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดเพื่อชำระหนี้ตามเช็ค และจำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนจำนองต่อจำเลยที่ 3 ในวันเดียวกัน อีกทั้งจำเลยที่ 2 ยังได้ทำบันทึกว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับโอนห้องชุดดังกล่าวชำระหนี้ตามเช็คทั้งสิบฉบับ รวมเป็นเงิน 597,100 บาท และหนี้ที่เหลือไม่ติดใจเรียกร้องอีกต่อไป ซึ่งการกระทำดังกล่าวขัดต่อเหตุผล เพราะกรรมสิทธิ์ห้องชุดที่จำเลยที่ 2 รับโอนมีราคาประมาณ 400,000 บาท อีกทั้งยังจำนวนแก่จำเลยที่ 3 เป็นประกันหนี้อยู่ประมาณ 270,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 2 รับโอนกรรมสิทธิ์แล้วจึงยังต้องรับภาระชำระหนี้จำนองดังกล่าวด้วย แต่จำเลยที่ 2 กลับทำบันทึกว่า หนี้ที่เหลือไม่ติดใจเรียกร้องอีกต่อไป ทั้งช่วงระยะเวลาที่จำเลยที่ 2 รับแลกเช็คจากจำเลยที่ 1 และทำสัญญารับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด อยู่ในระหว่างเวลาที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้และจำเลยที่ 2 ก็ทราบดีว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากกรรมสิทธิ์ในห้องชุด ดังกล่าว จึงเป็นข้อบ่งชี้ชัดว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดโดยรู้ว่าจะเป็นการให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบเป็นการฉ้อฉลโจทก์
โจทก์ได้ไปตรวจสอบเอกสารกรรมสิทธิ์ห้องชุดที่สำนักงานที่ดิน เขตลาดพร้าว วันที่ 2 มีนาคม 2542 จึงทราบว่าจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้จำเลยที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2541 โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 เมื่อนับแต่วันที่โจทก์ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนคือวันที่ 2 มีนาคม 2542 ถึงวันฟ้อง จึงเป็นระยะเวลาไม่พ้นหนึ่งปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
of 18