คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิทักษ์ คงจันทร์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 770/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะตามมาตรา 92 การคำนวณโทษ และการลงโทษจำคุกหรือปรับ
การเพิ่มโทษตาม ป.อ. มาตรา 92 เป็นการเพิ่มโทษหนึ่งในสามของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดครั้งหลังเมื่อจำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (7) วรรคสอง ประกอบมาตรา 336 ทวิ จึงต้องระวางโทษตามมาตรา 335 วรรคสอง มาคำนวณประกอบกับระวางโทษตามมาตรา 336 ทวิ เพื่อกำหนดโทษสำหรับความผิดในคดีนี้ แล้วจึงเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 92
ความผิดที่จำเลยกระทำกฎหมายกำหนดให้ลงโทษทั้งจำคุกและปรับ ถ้าศาลเห็นสมควรจะลงแต่โทษจำคุกเพียงสถานเดียวก็ได้แต่ลงโทษปรับเพียงสถานเดียวไม่ได้ ตามป.อ. มาตรา 20

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินที่ใช้โดยสะดวกในการกระทำความผิด การพิจารณาความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการกระทำความผิด
การที่ศาลจะมีอำนาจสั่งริบทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) นั้น มีความมุ่งหมายถึงให้ริบตัวทรัพย์สินที่ผู้กระทำความผิดได้ใช้ในการกระทำความผิดนั้น ๆ โดยตรง คือทรัพย์สินนั้นจะต้องเกี่ยวข้องเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำความผิดด้วย ซึ่งต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่อง ๆ ไป สำหรับคดีนี้ โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกลักทรัพย์โดยในการลักทรัพย์ดังกล่าวจำเลยกับพวกได้ใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิด การพาทรัพย์นั้นไป และเพื่อให้พ้นการจับกุม เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง และโจทก์จำเลยไม่ติดใจสืบพยานจึงฟังได้ว่าจำเลยกับพวกใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเพื่อสะดวกแก่การลักทรัพย์ของผู้เสียหาย หรือพาเอาทรัพย์ของผู้เสียหายที่จำเลยลักได้มานั้นไป หรือเพื่อให้จำเลยพ้นจากการจับกุมเท่านั้น รถจักรยานยนต์ของกลางจึงไม่ใช่ทรัพย์ที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์โดยตรงที่ศาลจะมีอำนาจสั่งริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 345/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความระหว่างจำเลยกับผู้เสียหาย ส่งผลให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาของโจทก์ระงับ
คดีความผิดต่อส่วนตัว ในวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ทนายจำเลยแถลงว่าจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้เสียหายและผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยต่อไป ศาลชั้นต้นหมายเรียกผู้เสียหายมาสอบถามหากไม่มาถือว่าผู้เสียหายยอมรับความจริงตามที่ทนายจำเลยแถลง ผู้เสียหายได้รับหมายแล้วไม่มาศาล จึงถือว่าผู้เสียหายกับจำเลยได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความและผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความแก่จำเลยจริง ถือว่าได้มีการทำยอมโดยถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้น สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงเป็นอันระงับไปตามป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 262/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวความผิดเดียว: สิทธิฟ้องระงับเมื่อรับโทษแล้ว
เจ้าพนักงานจับกุมจำเลยพร้อมด้วยทรัพย์ของกลางในคดีก่อนกับคดีนี้ในคราวเดียวกัน แต่ที่แยกฟ้องเพราะทรัพย์ของกลางทั้งสองคดีมีผู้เสียหายสองคน การที่จำเลยมิได้รับทรัพย์ของกลางในคดีนี้กับในคดีก่อนไว้คนละคราวกัน จึงเป็นการกระทำความผิดฐานรับของโจรกรรมเดียว เมื่อคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรแล้ว สิทธิที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้องจำเลยสำหรับความผิดฐานรับของโจรในคดีนี้จึงระงับไปตามป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 170/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพชั้นจับกุม/สอบสวนใช้ประกอบพยานหลักฐานได้หากไม่ขัดแย้ง และศาลรับฟังพยานหลักฐานมั่นคง
คำรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเป็นพยานบอกเล่า แต่ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟัง ศาลนำคำให้การดังกล่าวมาประกอบพยานโจทก์ผู้จับกุมที่ยืนยันถึงการกระทำความผิดของจำเลยโดยชัดแจ้งเพื่อให้น้ำหนักพยานโจทก์มั่นคงโดยปราศจากข้อสงสัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8310/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้อาวุธปืนในสถานศึกษา: พยายามฆ่า, การป้องกันตัว, และความร้ายแรงของการกระทำ
จำเลยใช้อาวุธปืนลูกซองสั้นยิงสวนมาทาง ส. กับพวก แต่กระสุนปืนพลาดไปถูกนักศึกษาหญิงหลายคนได้รับอันตรายแก่กาย จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288, 80, 60 อันเป็นความผิดต่อผลของการกระทำโดยพลาดที่เกิดแก่นักศึกษาหญิงผู้เสียหายทุกคนและมีความผิดตามมาตรา 288, 80 อันเป็นผลของการกระทำที่จำเลยใช้อาวุธปืนลูกซองสั้นยิง ส. กับพวกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8023/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดฐานพรากผู้เยาว์-อนาจาร และหลักการฟ้องคดีอาญาที่ต้องระบุองค์ประกอบความผิดให้ชัดเจน
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยพรากและพาผู้เสียหายที่ 2 ผู้เยาว์อายุ 15 ปีเศษ ซึ่งเป็นบุคคลอายุกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี ไปเสียจากผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นมารดา โดยใช้อุบายหลอกลวงเท่านั้น คำฟ้องโจทก์หาได้บรรยายให้ปรากฏไม่ว่าจำเลยพาผู้เสียหายที่ 2 ไปเพื่อการอนาจาร คำฟ้องของโจทก์จึงบรรยายไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคแรก แม้คำขอท้ายฟ้องโจทก์จะระบุอ้างขอให้ลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวมาด้วย และทางพิจารณาจะฟังได้ว่าจำเลยพาผู้เสียหายที่ 2 ไปเพื่อการอนาจารด้วยก็ตาม แต่ศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 284 วรรคแรก ดังกล่าวได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นกล่าวแก้ในคำแก้ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7241/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบปากคำเด็กผู้เสียหาย: การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ ไม่ทำให้การฟ้องเป็นโมฆะ
ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปีขึ้นไป และเป็นคดีทำร้ายร่างกายเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี กรณีต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ ซึ่งกฎหมายกำหนดว่า ในการถามปากคำเด็กไว้ในฐานะผู้เสียหายให้แยกกระทำเป็นส่วนสัดในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำนั้นด้วย เมื่อปรากฏว่าพนักงานสอบสวนถามปากคำผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กต่อหน้า ร. มารดาผู้เสียหายเท่านั้น โดยไม่ปรากฏว่ามีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำนั้นกับมิได้ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้บันทึกเหตุที่ไม่อาจรอบุคคลอื่นดังกล่าวไว้ในสำนวนการสอบสวนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 133 ทวิ วรรคท้ายด้วย การถามปากคำผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กที่พนักงานสอบสวนได้กระทำไปจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวข้างต้น แต่ก็หามีผลถึงขนาดทำให้การสอบสวนเสียไปทั้งหมด และถือเท่ากับไม่มีการสอบสวนในความผิดนั้นมาก่อนอันจะทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7238/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานข่มขืน กระทำชำเรา และพรากผู้เยาว์ พร้อมประเด็นอายุความสามารถของโจทก์ร่วม
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์โดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วยเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 318 วรรคสาม ตามฟ้องก็ดี ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วยตามมาตรา 319 วรรคแรก ที่พิจารณาได้ความก็ดีมีองค์ประกอบความผิดร่วมกันประการหนึ่งว่า "ผู้ใดพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล..." ซึ่งจะเห็นได้ว่าวัตถุแห่งการกระทำความผิดกฎหมายทั้งสองมาตรานี้ที่กฎหมายมุ่งคุ้มครองคืออำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลนั่นเอง มิใช่ตัวผู้เยาว์ผู้ถูกพราก ดังนั้น ผู้เสียหายคือบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดทั้งสองมาตรานี้ตามมาตรา 2 (4) แห่ง ป.วิ.อ. จึงได้แก่บิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลผู้เยาว์ทั้งสองในขณะที่จำเลยทั้งสามกับพวกร่วมกันกระทำความผิด หาใช่ตัวผู้เยาว์คือโจทก์ร่วมทั้งสองไม่
ขณะที่โจทก์ร่วมทั้งสองยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตนั้น โจทก์ร่วมทั้งสองยังมีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 19 และมาตรา 20 และผู้เสียหายในคดีอาญาซึ่งยังเป็นผู้เยาว์จะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการต้องกระทำโดยผู้มีอำนาจจัดการแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (1) การที่โจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งยังเป็นผู้เยาว์ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ด้วยตนเอง จึงมิได้เป็นไปตามบทบังคับว่าด้วยความสามารถของบุคคลตามกฎหมาย แต่ศาลฎีกาจะยกคำร้องหรือไม่รับพิจารณาเสียทีเดียวยังไม่ได้ ชอบที่ศาลฎีกาจะสั่งแก้ไขข้อบกพร่องเสียก่อนตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 56 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่เมื่อนับอายุของโจทก์ร่วมทั้งสองในขณะที่คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ร่วมทั้งสองมีอายุเกิน 20 ปี พ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นและไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องมีคำสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถของโจทก์ร่วมทั้งสองอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7035/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานข่มขืนและฆ่าเพื่อปกปิดความผิด: ศาลฎีกาแก้ไขโทษฐานความผิดต่างกรรม
การกระทำความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรากับความผิดฐานฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน เป็นความผิดต่างกรรมกัน แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มโทษ ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก อีกกระทงหนึ่งได้ เพราะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 แต่ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้
of 18