พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10626/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความผิดฐานซื้อเสียงเลือกตั้ง จำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายหากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ
การที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายในการจัดการเลือกตั้งใหม่ มิใช่เป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ดังนั้นแม้พนักงานอัยการจะมีคำสั่งไม่ฟ้องจำเลยทั้งสามในคดีอาญาดังกล่าว ข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญาจึงไม่มีผลบังคับให้ศาลที่พิจารณาในคดีส่วนแพ่งจะต้องรับฟัง แต่ศาลในคดีส่วนแพ่งก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวมาประกอบในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในคดีส่วนแพ่งได้
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 มาตรา 113 ที่บัญญัติว่า "ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งหรือศาลฎีกามีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ใดและเป็นเหตุให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ ให้ผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งต้องรับผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งใหม่นั้นด้วย" มิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดว่า ผู้สมัครที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจะต้องรับผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งใหม่เสมอไป พยานหลักฐานในคดีนี้ยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำการใดๆ ที่ทำให้การเลือกตั้งในเขตที่ 1 จังหวัดบุรีรัมย์ มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม จำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่แต่อย่างใด
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 มาตรา 113 ที่บัญญัติว่า "ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งหรือศาลฎีกามีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ใดและเป็นเหตุให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ ให้ผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งต้องรับผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งใหม่นั้นด้วย" มิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดว่า ผู้สมัครที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจะต้องรับผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งใหม่เสมอไป พยานหลักฐานในคดีนี้ยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำการใดๆ ที่ทำให้การเลือกตั้งในเขตที่ 1 จังหวัดบุรีรัมย์ มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม จำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10625/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งจากการถูกเพิกถอนจากตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา และการเลือกตั้งใหม่
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 มาตรา 158 บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาลงโทษผู้ใดฐานกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้และผู้นั้นเป็นผู้กระทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม หรือเป็นผู้กระทำการใดอันเป็นเท็จเพื่อจะแกล้งให้ผู้สมัครถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหรือเพื่อไม่ให้มีการประกาศผลการเลือกตั้งตามมาตรา 140 วรรคสอง อันเป็นเหตุให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ในหน่วยเลือกตั้งหรือเขตเลือกตั้งใด ให้ศาลมีคำพิพากษาว่าผู้นั้นต้องรับผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งใหม่นั้นด้วย..." ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่าผู้ที่กระทำความผิดตามมาตรา 158 จะต้องกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 แต่การที่จำเลยซึ่งได้รับการประกาศผลตามกฎหมายให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาแล้วแต่จงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ จนกระทั่งถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาลงโทษและให้จำเลยพ้นจากตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา อันเป็นผลทำให้ตำแหน่งวุฒิสภาว่างลงและโจทก์ต้องจัดการเลือกตั้งใหม่เป็นกรณีที่จำเลยกระทำการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2552 มาตรา 119 แต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวมิได้เป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 แต่อย่างใด เมื่อกฎหมายได้บัญญัติถึงกรณีที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งใหม่เป็นการเฉพาะดังกล่าวข้างต้นแล้ว การที่จะนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 420 มาใช้บังคับ ก็ต้องได้ความชัดว่า จำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความ กฎหมายกำหนดให้จำเลยยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มิได้มีบทบังคับให้จำเลยต้องยื่นต่อโจทก์ ส่วนการที่โจทก์ต้องเสียงบประมาณจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ก็เป็นผลแห่งคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ให้จำเลยพ้นจากตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา จำเลยมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ที่จะทำให้โจทก์ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการเลือกตั้งใหม่แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10625/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าใช้จ่ายเลือกตั้งใหม่: จำเลยไม่ต้องชดใช้ หากการกระทำผิดไม่ได้เจตนาต่อการเลือกตั้ง
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 มาตรา 158 บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาลงโทษผู้ใดฐานกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้และผู้นั้นเป็นผู้กระทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม หรือเป็นผู้กระทำการใดอันเป็นเท็จเพื่อจะแกล้งให้ผู้สมัครถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหรือเพื่อไม่ให้มีการประกาศผลการเลือกตั้งตามมาตรา 140 วรรคสอง อันเป็นเหตุให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ในหน่วยเลือกตั้งหรือเขตเลือกตั้งใด ให้ศาลมีคำพิพากษาว่าผู้นั้นต้องรับผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งใหม่นั้นด้วย..." ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่าผู้ที่กระทำความผิดตามมาตรา 158 จะต้องกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 แต่การที่จำเลยซึ่งได้รับการประกาศผลตามกฎหมายให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาแล้วแต่จงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ จนกระทั่งถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาลงโทษและให้จำเลยพ้นจากตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา อันเป็นผลทำให้ตำแหน่งวุฒิสภาว่างลงและโจทก์ต้องจัดการเลือกตั้งใหม่ก็ตามซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยกระทำการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 119 แต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวมิได้เป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 แต่อย่างใด เมื่อกฎหมายได้บัญญัติถึงกรณีที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งใหม่เป็นการเฉพาะดังกล่าวข้างต้นแล้ว การที่จะนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 420 มาใช้บังคับ ก็ต้องได้ความชัดว่า จำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความ กฎหมายกำหนดให้จำเลยยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มิได้มีบทบังคับให้จำเลยต้องยื่นต่อโจทก์ ส่วนการที่โจทก์ต้องเสียงบประมาณจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ก็เป็นผลแห่งคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ให้จำเลยพ้นจากตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา จำเลยมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ที่จะทำให้โจทก์ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการเลือกตั้งใหม่แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9751/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาวันที่ 20 มิถุนายน 2556 โจทก์ที่ 1 ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ถึงวันที่ 18 กันยายน 2556 ต่อมาโจทก์ที่ 1 ยื่นอุทธรณ์ฉบับเดียวกับโจทก์ที่ 2 จึงเป็นการยื่นอุทธรณ์มาภายในกำหนดที่ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ชอบแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวแม้โจทก์ที่ 1 ไม่ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1), (2) ประกอบมาตรา 247 แต่เนื่องจากโจทก์ทั้งสองมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี จึงให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยถึงโจทก์ที่ 2 ใหม่ด้วยตามรูปคดี ศาลฎีกาจึงไม่ต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6662/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีขายทอดตลาด: สิทธิของลูกหนี้ในการได้รับเงินส่วนเกิน & ความรับผิดของผู้สู้ราคาสูงสุด
ป.วิ.พ. มาตรา 322 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าเงินรายได้จำนวนสุทธิที่จำหน่ายทรัพย์สินได้มานั้น ไม่ต้องการใช้สำหรับการบังคับคดีต่อไปก็ดี หรือมีเงินเหลืออยู่ภายหลังที่ได้หักค่าฤชาธรรมเนียมและจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ทุกคนเป็นที่พอใจแล้วก็ดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินรายได้จำนวนสุทธิหรือส่วนที่เหลือนั้นให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา..." ดังนั้น หากในการขายทอดตลาดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษามีเงินรายได้จำนวนมากเกินภาระหนี้และค่าใช้จ่ายในการบังคับคดี ลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิได้รับเงินส่วนที่เหลือคืน และเงินที่ผู้สู้ราคาสูงสุดคนเดิมต้องรับผิดชดใช้ส่วนที่ขาดเมื่อมีการขายทอดตลาดใหม่ได้ไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 516 นั้น เป็นรายได้ส่วนหนึ่งของการขายทอดตลาดทรัพย์ของโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีเดิม การที่จำเลยคดีนี้ซึ่งมีหน้าที่ต้องชำระเงินดังกล่าวไม่ยอมชำระ ย่อมทำให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้รับความเสียหาย จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55
แม้ในหนังสือสัญญาซื้อขายที่จำเลยทำกับเจ้าพนักงานบังคับคดีจะมีข้อความระบุว่า หากจำเลยไม่ชำระค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลือตามกำหนด ยอมให้เจ้าพนักงานบังคับคดีริบเงินมัดจำ และเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดต่อไปได้เงินสุทธิต่ำกว่าครั้งก่อนเท่าใด จำเลยยอมรับผิดชดใช้ให้เต็มจำนวนที่จำเลยประมูลไว้ในครั้งก่อน ข้อตกลงดังกล่าวก็เป็นเพียงการนำเงื่อนไขตามหลักกฎหมายข้างต้นมาระบุไว้ในสัญญาเท่านั้น มิได้มีลักษณะเป็นการตกลงกำหนดค่าเสียหายกันไว้ล่วงหน้าแต่อย่างใด ราคาส่วนที่ขาดที่จำเลยต้องรับผิดชำระจึงไม่เป็นเบี้ยปรับที่ศาลจะลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
แม้ในหนังสือสัญญาซื้อขายที่จำเลยทำกับเจ้าพนักงานบังคับคดีจะมีข้อความระบุว่า หากจำเลยไม่ชำระค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลือตามกำหนด ยอมให้เจ้าพนักงานบังคับคดีริบเงินมัดจำ และเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดต่อไปได้เงินสุทธิต่ำกว่าครั้งก่อนเท่าใด จำเลยยอมรับผิดชดใช้ให้เต็มจำนวนที่จำเลยประมูลไว้ในครั้งก่อน ข้อตกลงดังกล่าวก็เป็นเพียงการนำเงื่อนไขตามหลักกฎหมายข้างต้นมาระบุไว้ในสัญญาเท่านั้น มิได้มีลักษณะเป็นการตกลงกำหนดค่าเสียหายกันไว้ล่วงหน้าแต่อย่างใด ราคาส่วนที่ขาดที่จำเลยต้องรับผิดชำระจึงไม่เป็นเบี้ยปรับที่ศาลจะลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6662/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้สู้ราคาที่ไม่ชำระเงินตามสัญญาซื้อขาย และสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา นั้น แม้จำเลยจะเข้าทำสัญญาซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดกับเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ตาม แต่การทำสัญญาดังกล่าวเป็นการดำเนินการบังคับคดีตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้รับชำระหนี้ และปลดเปลื้องภาระหนี้ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อขายทอดตลาดแล้วได้เงินจำนวนมากหรือน้อยย่อมมีผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของเจ้าหนี้และลูกหนี้ตามคำพิพากษาทั้งสิ้น นอกจากนี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 322 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าเงินรายได้จำนวนสุทธิที่จำหน่ายทรัพย์สินได้มานั้นไม่ต้องการใช้สำหรับการบังคับคดีต่อไปก็ดี หรือมีเงินเหลืออยู่ภายหลังที่ได้หักค่าฤชาธรรมเนียมและจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ทุกคนเป็นที่พอใจแล้วก็ดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินรายได้จำนวนสุทธิหรือส่วนที่เหลือนั้นให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา..." ดังนั้น หากในการขายทอดตลาดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษามีเงินรายได้จำนวนมากเกินภาระหนี้และค่าใช้จ่ายในการบังคับคดี ลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิได้รับเงินส่วนที่เหลือคืน และเงินที่ผู้สู้ราคาสูงสุดคนเดิมต้องรับผิดชดใช้ส่วนที่ขาดเมื่อมีการขายทอดตลาดใหม่ได้ไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 516 นั้น เป็นรายได้ส่วนหนึ่งของการขายทอดตลาดทรัพย์ของโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีเดิม การที่จำเลยซึ่งมีหน้าที่ต้องชำระเงินดังกล่าวไม่ยอมชำระ ย่อมทำให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้รับความเสียหาย จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิ ของโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แล้ว แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไม่ฟ้องจำเลย โจทก์ซึ่งได้รับความเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาขายทอดตลาด ก็มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระราคาส่วนที่ขาดพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดชำระได้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 516 บัญญัติว่า "ถ้าผู้สู้ราคาสูงสุดละเลยเสียไม่ใช้ราคาไซร้ ท่านให้ผู้ทอดตลาดเอาทรัพย์สินนั้นออกขายอีกซ้ำหนึ่ง ถ้าและได้เงินเป็นจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิม ผู้สู้ราคาเดิมคนนั้นต้องรับผิดในส่วนที่ขาด" การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้สู้ราคาคนเดิมต้องรับผิดชำระราคาส่วนที่ขาดจึงเป็นความรับผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ซึ่งกำหนดจำนวนไว้แน่นอนแล้วว่าเป็นส่วนต่างระหว่างราคาที่ผู้สู้ราคาคนเดิมเสนอกับราคาที่ขายได้ในครั้งหลัง แม้ในหนังสือสัญญาซื้อขายที่จำเลยทำกับเจ้าพนักงานบังคับคดีจะมีข้อความระบุว่า หากจำเลยไม่ชำระค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลือตามกำหนด ยอมให้เจ้าพนักงานบังคับคดีริบเงินมัดจำ และเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดต่อไปได้เงินสุทธิต่ำกว่าครั้งก่อนเท่าใด จำเลยยอมรับผิดชดใช้ให้เต็มจำนวนที่จำเลยประมูลไว้ในครั้งก่อน ข้อตกลงดังกล่าวก็เป็นเพียงการนำเงื่อนไขตามหลักกฎหมายข้างต้นมาระบุไว้ในสัญญาเท่านั้น มิได้มีลักษณะเป็นการตกลงกำหนดค่าเสียหายกันไว้ล่วงหน้าแต่อย่างใด ราคาส่วนที่ขาดที่จำเลยต้องรับผิดชำระจึงไม่เป็นเบี้ยปรับที่ศาลจะลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 278 บัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้มีอำนาจในฐานเป็นผู้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะรับชำระหนี้ กับมีอำนาจยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้และนำออกขายทอดตลาดได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงเป็นผู้มีอำนาจรับเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไว้ก่อนที่จะนำมาจัดสรรชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าหนี้อื่นของโจทก์กรณีมีการขอใช้สิทธิรับชำระหนี้จากการบังคับคดีนี้ และค่าใช้จ่ายในการบังคับคดีต่อไป ซึ่งเงินค่าส่วนขาดราคาที่จำเลยต้องรับผิดชำระนี้ เป็นเงินได้ส่วนหนึ่งที่เกิดจากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงเป็นผู้มีอำนาจรับชำระไว้ก่อน หากมีเงินเหลือจากการจัดสรรชำระหนี้ตามคำพิพากษาและค่าใช้จ่ายแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจึงจะมีสิทธิรับไป
เงินมัดจำ 50,000 บาท ที่จำเลยวางไว้ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นเงินของจำเลยคดีนี้ที่จะต้องถูกริบเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา จึงถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าขาดราคาที่จำเลยต้องรับผิดชำระ ซึ่งต้องนำไปหักออกจากจำนวนที่โจทก์เรียกมาตามฟ้อง 450,000 บาท คงเหลือเงินที่จำเลยต้องรับผิดจำนวน 400,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้เป็นต้นไป
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 516 บัญญัติว่า "ถ้าผู้สู้ราคาสูงสุดละเลยเสียไม่ใช้ราคาไซร้ ท่านให้ผู้ทอดตลาดเอาทรัพย์สินนั้นออกขายอีกซ้ำหนึ่ง ถ้าและได้เงินเป็นจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิม ผู้สู้ราคาเดิมคนนั้นต้องรับผิดในส่วนที่ขาด" การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้สู้ราคาคนเดิมต้องรับผิดชำระราคาส่วนที่ขาดจึงเป็นความรับผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ซึ่งกำหนดจำนวนไว้แน่นอนแล้วว่าเป็นส่วนต่างระหว่างราคาที่ผู้สู้ราคาคนเดิมเสนอกับราคาที่ขายได้ในครั้งหลัง แม้ในหนังสือสัญญาซื้อขายที่จำเลยทำกับเจ้าพนักงานบังคับคดีจะมีข้อความระบุว่า หากจำเลยไม่ชำระค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลือตามกำหนด ยอมให้เจ้าพนักงานบังคับคดีริบเงินมัดจำ และเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดต่อไปได้เงินสุทธิต่ำกว่าครั้งก่อนเท่าใด จำเลยยอมรับผิดชดใช้ให้เต็มจำนวนที่จำเลยประมูลไว้ในครั้งก่อน ข้อตกลงดังกล่าวก็เป็นเพียงการนำเงื่อนไขตามหลักกฎหมายข้างต้นมาระบุไว้ในสัญญาเท่านั้น มิได้มีลักษณะเป็นการตกลงกำหนดค่าเสียหายกันไว้ล่วงหน้าแต่อย่างใด ราคาส่วนที่ขาดที่จำเลยต้องรับผิดชำระจึงไม่เป็นเบี้ยปรับที่ศาลจะลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 278 บัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้มีอำนาจในฐานเป็นผู้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะรับชำระหนี้ กับมีอำนาจยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้และนำออกขายทอดตลาดได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงเป็นผู้มีอำนาจรับเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไว้ก่อนที่จะนำมาจัดสรรชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าหนี้อื่นของโจทก์กรณีมีการขอใช้สิทธิรับชำระหนี้จากการบังคับคดีนี้ และค่าใช้จ่ายในการบังคับคดีต่อไป ซึ่งเงินค่าส่วนขาดราคาที่จำเลยต้องรับผิดชำระนี้ เป็นเงินได้ส่วนหนึ่งที่เกิดจากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงเป็นผู้มีอำนาจรับชำระไว้ก่อน หากมีเงินเหลือจากการจัดสรรชำระหนี้ตามคำพิพากษาและค่าใช้จ่ายแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจึงจะมีสิทธิรับไป
เงินมัดจำ 50,000 บาท ที่จำเลยวางไว้ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นเงินของจำเลยคดีนี้ที่จะต้องถูกริบเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา จึงถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าขาดราคาที่จำเลยต้องรับผิดชำระ ซึ่งต้องนำไปหักออกจากจำนวนที่โจทก์เรียกมาตามฟ้อง 450,000 บาท คงเหลือเงินที่จำเลยต้องรับผิดจำนวน 400,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5962/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: สิทธิในการรับเงินค่าทดแทนต้องฟ้องคดีมีข้อพิพาทเมื่อมีข้อโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์
เหตุที่ผู้ร้องทั้งห้าไม่สามารถทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนทั้งสามแปลงและรับเงินค่าทดแทน สืบเนื่องจากผู้คัดค้านอ้างว่าตนเป็นเจ้าของที่ดินทั้งสามแปลง เจ้าพนักงานจึงได้นำเงินค่าทดแทนฝากไว้กับธนาคารออมสิน ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการนำเงินค่าทดแทนไปวางต่อศาล หรือสำนักงานวางทรัพย์ หรือฝากไว้กับธนาคารออมสิน ตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2532 ข้อ 9 ซึ่งกำหนดว่า ...ในกรณีที่การวางเงินค่าทดแทนเนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่อาจจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนรายได้ตาม มาตรา 28 วรรคสอง หรือมาตรา 29 เจ้าหน้าที่จะดำเนินการเบิกจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้ก็ต่อเมื่อ ... (2) มีคำพิพากษาถึงที่สุดมาแสดง ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่อาจตกลงกันได้ ซึ่งการที่ผู้ร้องทั้งห้าจะใช้สิทธิในทางศาล ป.วิ.พ. มาตรา 55 บัญญัติไว้ว่า "เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลใดตามกฎหมายแพ่ง หรือบุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล บุคคลนั้นชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจได้ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแพ่งและประมวลกฎหมายนี้" ดังนั้น เมื่อการที่ผู้ร้องทั้งห้าไม่สามารถเข้าทำสัญญาซื้อขายและรับเงินค่าทดแทนสืบเนื่องมาจากการโต้แย้งคัดค้านของผู้คัดค้าน ผู้ร้องทั้งห้าจึงต้องฟ้องผู้คัดค้านเป็นคดีมีข้อพิพาท ผู้ร้องทั้งห้าจะเสนอคดีเป็นคำร้องฝ่ายเดียวเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องทั้งห้าเข้าทำสัญญาซื้อขายและรับเงินค่าทดแทนที่เจ้าพนักงานฝากไว้กับธนาคารออมสินหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5962/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ผู้มีสิทธิรับเงินค่าทดแทนต้องฟ้องคดีมีข้อพิพาทเมื่อมีข้อโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์
ผู้ร้องทั้งห้าไม่สามารถเข้าทำสัญญาซื้อขายและรับเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืน เพราะผู้คัดค้านโต้แย้งคัดค้านว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของผู้คัดค้านทั้งหมด ดังนี้ ผู้ร้องทั้งห้าจึงต้องฟ้องผู้คัดค้านเป็นคดีมีข้อพิพาท ผู้ร้องทั้งห้าไม่มีสิทธิเสนอคดีเป็นคำร้องขอฝ่ายเดียวเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องทั้งห้าเข้าทำสัญญาซื้อขายและรับเงินค่าทดแทนที่เจ้าพนักงานฝากไว้กับธนาคารออมสิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5272/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดค่าเสียหายเลือกตั้งใหม่: ผู้ถูกเพิกถอนสิทธิฯ ไม่ต้องรับผิดเด็ดขาด หากไม่ได้กระทำผิด
พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 99 วรรคหนึ่ง มิใช่บทบัญญัติให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งต้องรับผิดเด็ดขาด เพราะการฟ้องผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งให้รับผิดค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งใหม่ เป็นการฟ้องให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งรับผิดในทางแพ่งที่มีเหตุมาจากการที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งกระทำการฝ่าฝืนมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้โจทก์มีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและให้เลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 97 วรรคหนึ่ง การที่จะแปลความมาตรา 99 วรรคหนึ่ง ว่า เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใดผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งคนนั้นจะต้องรับผิดค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งใหม่โดยเด็ดขาด โดยไม่ต้องคำนึงถึงเหตุที่นำไปสู่การเลือกตั้งใหม่ว่าเกิดจากการกระทำของผู้นั้นหรือไม่ ย่อมเป็นการใช้กฎหมายที่ไม่คำนึงถึงความถูกต้อง เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธความรับผิดและต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 57 จึงเป็นประเด็นแห่งคดีที่ศาลมีอำนาจวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4768/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำและผลผูกพันตามคำพิพากษาในคดีเกี่ยวพันกัน
คดีนี้และคดีก่อนมีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกันว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายปฏิบัติผิดสัญญา เมื่อคดีก่อนศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นนี้แล้ว คำฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 แต่คดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด หากในชั้นที่สุดศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยคดีนี้เป็นฝ่ายปฏิบัติผิดสัญญา ผลของคำพิพากษาในคดีก่อนย่อมผูกพันทั้งโจทก์และจำเลยในคดีนี้ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ทำให้คดีนี้ยังมีประเด็นต้องวินิจฉัยต่อไปว่า จำเลยต้องชำระค่าก่อสร้างงวดที่ 7 ถึง 9 แก่โจทก์หรือไม่เพียงใด จึงควรรอฟังผลคดีดังกล่าวให้ถึงที่สุดเสียก่อนแล้วพิพากษาคดีนี้ต่อไป