พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9839/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดค่าเสียหายจากการเลือกตั้งใหม่ กรณีถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง: จำเลยมีสิทธิปฏิเสธความรับผิดและนำสืบพยานหลักฐานได้
การฟ้องให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ถูกเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งรับผิดค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งใหม่ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 99 วรรคหนึ่ง นั้น เป็นการฟ้องให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งรับผิดในทางแพ่งที่มีเหตุมาจากที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งฝ่าฝืนมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้คณะกรรมการเลือกตั้งมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและให้เลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 97 วรรคหนึ่ง หากแปลความมาตรา 99 วรรคหนึ่ง ว่าผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งต้องรับผิดเด็ดขาดโดยไม่คำนึงถึงเหตุที่นำไปสู่การเลือกตั้งใหม่ว่าเกิดจากการกระทำของผู้นั้นหรือไม่ ย่อมเป็นการใช้กฎหมายที่ไม่คำนึงถึงความถูกต้อง เมื่อจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธความรับผิดและต่อสู้ว่าทั้งสองไม่เคยให้เงินหรือทรัพย์สินเพื่อจูงใจให้บุคคลใดมาลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง คดีจึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า จำเลยได้กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือไม่ จำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธินำสืบปฏิเสธความรับผิดตามประเด็นตามคำให้การได้ การที่จำเลยทั้งสองนำสืบโดยอ้างคำพิพากษาในคดีอาญาจึงเป็นการนำสืบปฏิเสธความรับผิดตามประเด็นที่จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ไว้ และศาลย่อมใช้ดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวประกอบการพิจารณาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9328/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบรรณาธิการในความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องมีเจตนาโดยตรงต่อโจทก์
จำเลยที่ 2 เป็นบรรณาธิการ ซึ่งหมายถึงผู้รับผิดชอบในการเผยแพร่ข้อความในหนังสือพิมพ์ การที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดฐานดูหมิ่นและหมิ่นประมาทตาม ป.อ. จะต้องได้ความว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาที่จะกระทำการดังกล่าวต่อโจทก์โดยตรง ซึ่งสอดคล้องกับหมายเหตุท้าย พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 ที่บัญญัติว่า เหตุที่ให้มีกฎหมายว่าด้วยการจดแจ้งการพิมพ์เพื่อวางหลักเกณฑ์ในการรับจดแจ้งการพิมพ์เป็นหลักฐานให้ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบของประชาชนที่ได้รับความเสียหายในการฟ้องร้องดำเนินคดี ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบรรณาธิการมีเจตนาร่วมกับผู้เขียนหรือผู้ประพันธ์ในการกระทำความผิดดังกล่าวต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8771/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการฟ้องคดีความผิด พ.ร.บ.เสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ สงวนไว้สำหรับรัฐเท่านั้น เอกชนผู้เสนอราคมิใช่ผู้เสียหาย
ความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา 3, 7, 12 รัฐเท่านั้นที่จะเป็นผู้เสียหายในการฟ้องคดีต่อผู้กระทำความผิด โจทก์ซึ่งเป็นผู้เข้าร่วมเสนอราคาซึ่งเป็นเอกชนมิได้อยู่ในฐานะผู้เสียหายที่จะฟ้องร้องคดีเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7008/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉีกบัตรเลือกตั้งเป็นความผิดตามกฎหมาย แม้การเลือกตั้งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการใช้สิทธิโดยสันติวิธีต้องไม่ขัดกฎหมาย
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 2 เมษายน 2549 เป็นการเลือกตั้งอันมีเหตุจากพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2549 และบทบัญญัติในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว กำหนดให้วันที่ 2 เมษายน 2549 เป็นวันเลือกตั้ง เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งได้จัดให้มีการเลือกตั้งในวันดังกล่าว และจำเลยได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง แต่เมื่อจำเลยได้รับบัตรเลือกตั้งทั้งสองฉบับแล้วเดินเข้าไปในคูหาและกาเครื่องหมายลงในบัตรเลือกตั้งทั้งสองฉบับแล้ว จากนั้นได้ออกมาชูมือขึ้นพร้อมทั้งฉีกบัตรเลือกตั้งทั้งสองฉบับ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดสำเร็จขณะที่ฉีกบัตรเลือกตั้งตาม ป.อ. มาตรา 358 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 108 ที่ใช้บังคับอยู่ในวันดังกล่าว และผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ว่าการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หามีผลต่อการกระทำความผิดของจำเลยแต่อย่างใดไม่ ส่วนข้อโต้แย้งของจำเลยในส่วนที่ว่า การใช้สิทธิตามกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นการใช้สิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีตามมาตรา 65 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 นั้น เห็นว่า การใช้สิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีดังกล่าวจะต้องเป็นการกระทำที่มิได้ล่วงละเมิดบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ได้บัญญัติไว้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5548/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าใช้จ่ายหาเสียงเลือกตั้ง: จำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายทั้งหมด แม้จะได้รับจากบุคคลอื่น
รถยนต์ที่ อ. นำมาแล่นหาเสียง โดย ค. ผู้สมัครในทีมเดียวกับจำเลยเป็นผู้ว่าจ้างมาหาเสียงให้จำเลยและทีมงาน มีแผ่นป้ายหาเสียงของจำเลยและทีมงานติดตั้งอยู่ และเมื่อมีค่าใช้จ่ายในการที่ อ. นำรถยนต์แล่นหาเสียง ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อว่าจ้างของ ค. หรือจำเลยเป็นผู้ว่าจ้างเอง จำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการว่าจ้างตามกฎหมาย แม้ว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวเมื่อนำมารวมกับบัญชีค่าใช้จ่ายที่จำเลยได้ยื่นไว้แล้วจะมีจำนวนไม่เกินตามที่กฎหมายกำหนดก็ตาม การที่จำเลยไม่ยื่นรายการค่าใช้จ่ายดังกล่าวจึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 55 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15171/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของสถานศึกษาและเจ้าหน้าที่ต่อความเสียหายจากทรัพย์สินยืมใช้ราชการอันเกิดจากความประมาทเลินเล่อ
ส. นักการภารโรงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโรงเรียนจำเลยที่ 5 ที่ให้เก็บเครื่องตัดหญ้าคันเกิดเหตุไว้ในห้องสมุดทุกครั้งที่ใช้งานเสร็จมาโดยตลอด จำเลยที่ 4 เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นสถานศึกษา จึงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและมีอำนาจหน้าที่บริหารกิจการของสถานศึกษาหรือส่วนราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการและของสถานศึกษาหรือส่วนราชการ ประสานการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา รวมทั้งควบคุมดูแลบุคลากร การเงิน การพัสดุ สถานที่ และทรัพย์สินอื่นของสถานการศึกษาหรือส่วนราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ เป็นผู้แทนของสถานศึกษาหรือส่วนราชการในกิจการทั่วไป รวมทั้งการจัดทำนิติกรรมสัญญาราชการของสถานศึกษาหรือส่วนราชการตามวงเงินงบประมาณที่สถานศึกษาหรือส่วนราชการตามวงเงินงบประมาณที่สถานศึกษาหรือส่วนราชการได้รับตามที่ได้รับมอบอำนาจตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 มาตรา 39 (1) (2) และ (3) แม้เครื่องตัดหญ้าคันเกิดเหตุจะมิใช่ทรัพย์สินของทางราชการ แต่ก็เป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้อำนวยการโรงเรียนจำเลยที่ 5 ยืมมาใช้ในราชการ จำเลยที่ 4 และที่ 5 จึงจำต้องสงวนทรัพย์สินซึ่งยืมไปเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 644 การที่จำเลยที่ 4 ปล่อยปละละเลยการบริหารกิจการของสถานศึกษาและไม่ควบคุมดูแลบุคลากรในสถานศึกษาให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการหรือของสถานศึกษา จึงเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 4 เมื่อความประมาทเลินเล่อนั้นก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 4 ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 จำเลยที่ 4 ยืมเครื่องตัดหญ้าคันเกิดเหตุมาใช้ราชการ แต่ไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 มาตรา 39 จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จึงเป็นการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ จำเลยที่ 5 และที่ 6 ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จำเลยที่ 4 อยู่ในสังกัดจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งละเมิดตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13362/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์มูลหนี้เช็ค: จำเลยปฏิเสธ จำเลยมีหน้าที่พิสูจน์การมีอยู่จริงและบังคับได้ของหนี้
เมื่อจำเลยปฏิเสธว่าการสั่งจ่ายเช็คพิพาทมิใช่เพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงจะครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 เมื่อพยานโจทก์ทราบเรื่องภายหลังจากที่ได้รับมอบหมายจากโจทก์ให้นำเช็คไปขึ้นเงินแล้ว ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเท่านั้น แสดงว่าพยานโจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องและไม่รู้เห็นเหตุการณ์ขณะจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทมอบให้โจทก์ รวมถึงรายละเอียดมูลหนี้ของเช็คพิพาท แต่พยานทราบเรื่องดังกล่าวจากการบอกเล่าของโจทก์ในภายหลัง พยานมิได้รู้เห็นข้อเท็จจริงที่เบิกความด้วยตนเองจึงเป็นเพียงพยานบอกเล่าซึ่งไม่มีน้ำหนักในการรับฟัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7760/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์โดยไม่ได้รับอนุญาต และการปรับบทกฎหมายอาญาตามประกาศคณะปฏิวัติ
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายองค์ประกอบความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9 ไว้ชัดเจนว่า จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน ทั้งนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต ต่อมากิ่งอำเภอเกาะจันทร์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินดังกล่าวภายใน 30 วัน แต่จำเลยเพิกเฉย ต่อมากิ่งอำเภอเกาะจันทร์ได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่พักอาศัยภายใน 7 วัน จำเลยได้รับคำสั่งแล้วไม่ดำเนินการรื้อถอน ถือได้ว่าโจทก์บรรยายถึงการกระทำผิดของจำเลยครบถ้วนแล้วตามมาตรา 9 และมาตรา 108 แล้ว แม้คำฟ้องโจทก์ระบุวันกระทำผิดของจำเลยคือ ต้นปี 2514 อันเป็นวันก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 มีผลบังคับ ซึ่งต้องปรับบทตามมาตรา 108 ก็ตามและคำฟ้องของโจทก์ได้อ้างมาตรา 108 ทวิ มิได้อ้างมาตรา 108 มาก็ตาม กรณีถือได้ว่าโจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า
ธ. ช่างรังวัดที่ดินก่อนทำการรังวัดไปตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องและคำนวณตามหลักวิชาช่างแล้วก็ยืนยันว่าที่ดินที่จำเลยยึดถือครอบครองอยู่ในเขตที่ดินสาธารณประโยชน์ และได้ความจาก ด. ปลัดกิ่งอำเภอเกาะจันทร์ว่า ในปี 2540 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ต้องการสร้างที่ว่าการกิ่งอำเภอเกาะจันทร์ตรงบริเวณที่ดินที่จำเลยยึดถือครอบครองได้ให้เงินจำนวน 20,000 บาท แก่จำเลยเป็นค่าวัชพืชที่จำเลยทำการเกษตรไว้และให้จำเลยออกจากที่ดิน ซึ่งจำเลยเบิกความรับว่าทางราชการได้ให้เงินไว้ตามจำนวนดังกล่าวจริง ได้มีการทำบันทึกในการรับเงินไว้ ข้อความในเอกสารดังกล่าวระบุว่า ที่ดินที่ทางราชการจะทำการก่อสร้างที่ว่าการกิ่งอำเภอเกาะจันทร์ซึ่งจำเลยครอบครองอยู่เป็นที่สาธารณประโยชน์ การที่จำเลยนำสืบบ่ายเบี่ยงว่าที่ดินที่จำเลยครอบครองอยู่นอกเขตที่ดินสาธารณประโยชน์หนองหูช้างเป็นข้ออ้างที่เลื่อนลอยไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะ จึงไม่ผิดตาม ป.อ. มาตรา 368 ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปอีก และเมื่อการกระทำความผิดของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 108 ศาลจึงไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทเพราะกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจไว้
ธ. ช่างรังวัดที่ดินก่อนทำการรังวัดไปตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องและคำนวณตามหลักวิชาช่างแล้วก็ยืนยันว่าที่ดินที่จำเลยยึดถือครอบครองอยู่ในเขตที่ดินสาธารณประโยชน์ และได้ความจาก ด. ปลัดกิ่งอำเภอเกาะจันทร์ว่า ในปี 2540 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ต้องการสร้างที่ว่าการกิ่งอำเภอเกาะจันทร์ตรงบริเวณที่ดินที่จำเลยยึดถือครอบครองได้ให้เงินจำนวน 20,000 บาท แก่จำเลยเป็นค่าวัชพืชที่จำเลยทำการเกษตรไว้และให้จำเลยออกจากที่ดิน ซึ่งจำเลยเบิกความรับว่าทางราชการได้ให้เงินไว้ตามจำนวนดังกล่าวจริง ได้มีการทำบันทึกในการรับเงินไว้ ข้อความในเอกสารดังกล่าวระบุว่า ที่ดินที่ทางราชการจะทำการก่อสร้างที่ว่าการกิ่งอำเภอเกาะจันทร์ซึ่งจำเลยครอบครองอยู่เป็นที่สาธารณประโยชน์ การที่จำเลยนำสืบบ่ายเบี่ยงว่าที่ดินที่จำเลยครอบครองอยู่นอกเขตที่ดินสาธารณประโยชน์หนองหูช้างเป็นข้ออ้างที่เลื่อนลอยไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะ จึงไม่ผิดตาม ป.อ. มาตรา 368 ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปอีก และเมื่อการกระทำความผิดของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 108 ศาลจึงไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทเพราะกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7479/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุก: การเข้าไปในบ้านผู้อื่นโดยไม่มีเจตนาบุกรุก และการไม่ออกทันทีหลังถูกไล่
แม้ได้ความตามทางนำสืบของโจทก์ว่า จำเลยขับรถจักรยานยนต์เข้าไปจอดในบริเวณบ้านของผู้เสียหายและสอบถามหาผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายออกจากห้องครัวมา จำเลยสอบถามเรื่องไก่ของจำเลยที่หายไปและให้ผู้เสียหายดูแลคนงานของผู้เสียหายให้ดี ๆ จนเกิดการโต้เถียงกัน ผู้เสียหายไล่ให้จำเลยออกจากบ้าน จำเลยยังไม่ยอมออก จากนั้นประมาณ 3 ถึง 4 นาที จำเลยจึงเดินไปที่รถจักรยานยนต์ของจำเลย ขับออกไปจากบ้านผู้เสียหาย แต่เมื่อพิจารณาลักษณะและสภาพที่ตั้งบ้านของผู้เสียหาย เป็นบ้านชั้นเดียว มีเสารั้วปูนปักรั้วล้อมรอบและขึงด้วยลวดหนามเว้นช่องทางเข้าบ้านไว้ ไม่มีประตูกั้น ถนนหน้าบ้านผู้เสียหายไม่ได้หวงกั้น บุคคลใดจะเข้าออกก็ได้และเป็นการสะดวกแสดงว่าผู้เสียหายมิได้หวงห้ามในการที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์เข้าไปในบริเวณบ้านของผู้เสียหาย และที่จำเลยเข้าไปสอบถามเกี่ยวกับเรื่องไก่ที่หายไปนั้น ถือได้ว่าจำเลยมีเหตุอันสมควรที่จะเข้าไปเพื่อสอบถามผู้เสียหาย เมื่อเกิดมีการโต้เถียงกันและผู้เสียหายไล่จำเลยออกไป แม้จำเลยยังไม่ออกไปทันที แต่หลังจากนั้นไม่นานเพียงประมาณ 3 ถึง 4 นาที จำเลยก็เดินไปที่รถจักรยานยนต์แล้วขับออกไปจากบ้านจำเลย พฤติการณ์ดังกล่าวนั้น ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้นเมื่อผู้มีสิทธิที่จะห้ามมิได้เข้าไปได้ไล่ให้ออก อันจะเป็นความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5988/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง, การชดใช้ค่าเสียหายจากการเลือกตั้งใหม่, และอำนาจฟ้องของ กกต.
การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา จัดให้มีขึ้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2549 ต่อมามีผู้ร้องคัดค้านและคณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีคำวินิจฉัยสั่งการ ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2549 ซึ่งช่วงระยะเวลาดังกล่าว พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 มีผลใช้บังคับ แม้ต่อมาจะมี พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 ออกมาใช้บังคับ ซึ่งได้กำหนดสัดส่วนองค์ประชุมของคณะกรรมการการเลือกตั้งในมาตรา 8 แตกต่างไปจากกฎหมายฉบับเดิมก็ตาม ศาลจะหยิบยกกฎหมายฉบับที่แก้ไขใหม่ดังกล่าวมาปรับแก่คดีนี้ไม่ได้
ข้อความตามมาตรา 8 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 บัญญัติว่า การประชุมของคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องมีกรรมการการเลือกตั้งมาประชุมไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการการเลือกตั้งทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม หมายถึงจำนวนคนไม่ใช่สัดส่วนที่คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ดังนั้น เมื่อขณะลงมติมีคณะกรรมการการเลือกตั้ง 3 คน และกรรมการการเลือกตั้งทั้งสามคนได้ลงมติให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจำเลยและให้มีการเลือกตั้งใหม่ จึงเป็นการลงคะแนนไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการตามนัยแห่งกฎหมายข้างต้นแล้ว
การฟ้องผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งให้รับผิดค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 99 วรรคหนึ่ง นั้น เป็นการฟ้องให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งรับผิดในทางแพ่งที่มีเหตุมาจากการที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งฝ่าฝืนมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและให้เลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 97 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยจะถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาดังกล่าวด้วยก็ตาม กรณีมิใช่เป็นเรื่องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ที่ศาลจะต้องถือข้อเท็จจริงตามปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา เพียงแต่ว่าเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธความรับผิดว่าไม่เคยกระทำการฝ่าฝืนมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและมีการเลือกตั้งใหม่ จำเลยย่อมมีสิทธินำสืบปฏิเสธความรับผิดตามคำให้การได้ และมีสิทธิอ้างคำพิพากษาในคดีอาญาเป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ และศาลย่อมใช้ดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวประกอบได้ แต่พยานหลักฐานดังกล่าวจะมีน้ำหนักให้รับฟังได้ประการใดหรือไม่เป็นกรณีที่ต้องพิจารณาตามหลักเรื่องภาระการพิสูจน์และการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน
มาตรา 99 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 บัญญัติว่า ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งให้มีการการเลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 56 หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง...ผู้กระทำการฝ่าฝืน มาตรา 56 หรือผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนั้นต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามจำนวนที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด ซึ่งต้องไม่เกินค่าใช้จ่ายในการให้มีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งมีความหมายอยู่ในตัวว่าเมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้ผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งต้องชำระ คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงมีอำนาจในการยื่นฟ้องเพื่อบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่ง
ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลในทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางปกครองโดยได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง จึงต้องคืนค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดแก่โจทก์
ข้อความตามมาตรา 8 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 บัญญัติว่า การประชุมของคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องมีกรรมการการเลือกตั้งมาประชุมไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการการเลือกตั้งทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม หมายถึงจำนวนคนไม่ใช่สัดส่วนที่คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ดังนั้น เมื่อขณะลงมติมีคณะกรรมการการเลือกตั้ง 3 คน และกรรมการการเลือกตั้งทั้งสามคนได้ลงมติให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจำเลยและให้มีการเลือกตั้งใหม่ จึงเป็นการลงคะแนนไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการตามนัยแห่งกฎหมายข้างต้นแล้ว
การฟ้องผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งให้รับผิดค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 99 วรรคหนึ่ง นั้น เป็นการฟ้องให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งรับผิดในทางแพ่งที่มีเหตุมาจากการที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งฝ่าฝืนมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและให้เลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 97 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยจะถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาดังกล่าวด้วยก็ตาม กรณีมิใช่เป็นเรื่องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ที่ศาลจะต้องถือข้อเท็จจริงตามปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา เพียงแต่ว่าเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธความรับผิดว่าไม่เคยกระทำการฝ่าฝืนมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและมีการเลือกตั้งใหม่ จำเลยย่อมมีสิทธินำสืบปฏิเสธความรับผิดตามคำให้การได้ และมีสิทธิอ้างคำพิพากษาในคดีอาญาเป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ และศาลย่อมใช้ดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวประกอบได้ แต่พยานหลักฐานดังกล่าวจะมีน้ำหนักให้รับฟังได้ประการใดหรือไม่เป็นกรณีที่ต้องพิจารณาตามหลักเรื่องภาระการพิสูจน์และการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน
มาตรา 99 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 บัญญัติว่า ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งให้มีการการเลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 56 หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง...ผู้กระทำการฝ่าฝืน มาตรา 56 หรือผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนั้นต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามจำนวนที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด ซึ่งต้องไม่เกินค่าใช้จ่ายในการให้มีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งมีความหมายอยู่ในตัวว่าเมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้ผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งต้องชำระ คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงมีอำนาจในการยื่นฟ้องเพื่อบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่ง
ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลในทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางปกครองโดยได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง จึงต้องคืนค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดแก่โจทก์