พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4521-4522/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจองสิทธิการเช่า, เหตุสุดวิสัย, การบอกเลิกสัญญา, เบี้ยปรับ, และอำนาจศาลในการวินิจฉัยข้อตกลงที่กระทบต่อสาธารณชน
การที่เกิดเหตุเพลิงไหม้อาคาร พ. ทาวเวอร์ ซึ่งมีโครงสร้างรากฐานเดียวกันกับอาคาร พ. เพลส ที่พิพาทและใช้ใบอนุญาตก่อสร้างฉบับเดียวกัน หลังเกิดเหตุสำนักงานเขตมีคำสั่งห้ามมิให้บุคคลใดใช้หรือเข้าไปในบริเวณที่เกิดเหตุเพลิงไหม้จนกว่าจะมีการตรวจสอบแก้ไข การที่จำเลยไม่สามารถเข้าไปทำการก่อสร้างอาคารในช่วงเวลาที่มีคำสั่งห้ามดังกล่าวจึงเป็นเหตุจำเป็นอันสมควรที่จำเลยไม่สามารถก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่ประมาณไว้ในสัญญาจองสิทธิการเช่าที่ทำกับโจทก์ การที่อาคารพิพาทไม่สามารถก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่ประมาณไว้ในสัญญาจึงถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดของจำเลย ต่อมาหลังจากจำเลยก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์รับมอบห้องพักที่จองไว้และเข้าทำสัญญาจดทะเบียนการเช่าหลายครั้งแต่โจทก์เพิกเฉย จึงต้องถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญากับโจทก์ได้
แม้ข้อตกลงตามสัญญาจองสิทธิการเช่าจะผูกพันโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาแต่ข้อตกลงในส่วนที่เกี่ยวกับเบี้ยปรับกระทบต่อผู้คนจำนวนมากที่เข้าทำสัญญากับจำเลยข้อตกลงดังกล่าวจึงถือเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้โจทก์จะเพิ่งยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยได้
แม้ข้อตกลงตามสัญญาจองสิทธิการเช่าจะผูกพันโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาแต่ข้อตกลงในส่วนที่เกี่ยวกับเบี้ยปรับกระทบต่อผู้คนจำนวนมากที่เข้าทำสัญญากับจำเลยข้อตกลงดังกล่าวจึงถือเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้โจทก์จะเพิ่งยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4521-4522/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจองซื้อขาย - การบอกเลิกสัญญา - เบี้ยปรับ - การคืนเงิน - สิทธิและหน้าที่คู่สัญญา
จำเลยบอกเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่าห้องพักอาศัยในอาคารชุดของจำเลยแก่โจทก์เพราะเหตุโจทก์ผิดสัญญา ทำให้สัญญาเลิกกัน คู่สัญญาจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์และจำเลยตกลงกันว่าถ้าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและจำเลยบอกเลิกสัญญาให้เงินที่โจทก์ชำระมาแล้วทั้งหมดตกเป็นของจำเลยจึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรัตามมาตรา 379 ซึ่งถ้าสูงเกินสมควรศาลมีอำนาจลดลงให้เหลือเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตามมาตรา 383 โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินคืนได้ทั้งหมด จำเลยก็ไม่มีสิทธิริบเอาทั้งหมดเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าจากการผิดสัญญาของโจทก์ทำให้จำเลยได้รับเสียหายไม่น้อยกว่าเบี้ยปรับที่รับไว้
สัญญาจองสิทธิการเช่าห้องพักอาศัยในอาคารชุดของจำเลยผูกพันเฉพาะโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญา แต่ข้อตกลงในส่วนที่เกี่ยวกับเบี้ยปรับกระทบต่อผู้คนจำนวนมากที่เข้าทำสัญญากับจำเลยซึ่งต้องกำหนดไว้ในทำนองเดียวกัน จึงถือเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียกร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะเพิ่งยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยได้
สัญญาจองสิทธิการเช่าห้องพักอาศัยในอาคารชุดของจำเลยผูกพันเฉพาะโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญา แต่ข้อตกลงในส่วนที่เกี่ยวกับเบี้ยปรับกระทบต่อผู้คนจำนวนมากที่เข้าทำสัญญากับจำเลยซึ่งต้องกำหนดไว้ในทำนองเดียวกัน จึงถือเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียกร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะเพิ่งยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3214/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพรากผู้เยาว์ ข่มขืน กระทำชำเรา และการลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบท
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารและฐานพาผู้อื่นไป เพื่อการอนาจาร โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำไปเพื่อการอนาจาร แม้ฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายถึงรายละเอียดว่าจำเลยกระทำอนาจารต่อผู้เสียหายด้วยวิธีการอย่างไร ฟ้องโจทก์ก็สมบูรณ์ เพราะการกระทำเพื่อการอนาจาร เป็นเจตนาพิเศษที่มุ่งประสงค์ที่จะกระทำการอันไม่สมควรในทางเพศต่อร่างกายของผู้อื่น จึงมิใช่การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด อันจะต้องบรรยายมาในฟ้อง ตามป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แต่เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำพยานเข้าสืบได้ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายตามป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 454/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินโดยมิชอบ สิทธิในการฟ้องแย่งการครอบครอง และอายุความ
ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดขึ้นใหม่ว่า โจทก์ที่ 1 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 2 ฟ้องคดีนี้หรือไม่ ถือเป็นการกำหนดประเด็นข้อพิพาทไปตามข้ออ้างข้อเถียงในคำฟ้องและคำให้การของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เพราะประเด็นดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของประเด็นข้อพิพาทเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ที่ 1 ที่กำหนดไว้แต่เดิมนั้นเอง ซึ่งจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ได้นำสืบไปตามข้อต่อสู้ในคำให้การอยู่แล้วนอกจากนี้การกำหนดประเด็นข้อพิพาทขึ้นใหม่ก็กระทำหลังจากคู่ความทั้งสองฝ่ายนำพยานเข้าสืบเกี่ยวกับเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ที่ 1 เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว โดยไม่มีผลต่อการนำสืบและการรับฟังข้อเท็จจริงตามนำสืบของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่จำต้องแจ้งให้คู่ความทราบและไม่จำต้องสืบพยานเพิ่มเติม การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้แต่เดิมขึ้นใหม่ก็เพื่อสะดวกในการวินิจฉัยคดีจึงเป็นการกระทำโดยชอบ
โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การต่อสู้คดีว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยซื้อมาจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ตามคำให้การดังกล่าวเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทมาแต่ต้น จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองที่จะต้องวินิจฉัยเพราะการแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 จะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นมิใช่เป็นที่ดินของตนเอง
โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยทั้งสี่ในฐานะเจ้าของ ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของตนคืนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ไม่ใช่ฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกซึ่งหมายถึงคดีที่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกด้วยกันพิพาทกันด้วยเรื่องสิทธิเรียกร้องส่วนแบ่งทรัพย์มรดก จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754
โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การต่อสู้คดีว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยซื้อมาจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ตามคำให้การดังกล่าวเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทมาแต่ต้น จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองที่จะต้องวินิจฉัยเพราะการแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 จะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นมิใช่เป็นที่ดินของตนเอง
โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยทั้งสี่ในฐานะเจ้าของ ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของตนคืนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ไม่ใช่ฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกซึ่งหมายถึงคดีที่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกด้วยกันพิพาทกันด้วยเรื่องสิทธิเรียกร้องส่วนแบ่งทรัพย์มรดก จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9200/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์: การใช้ยานพาหนะเป็นองค์ประกอบความผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิด หรือการพาททรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นการจับกุม แต่ไม่มีรายละเอียดว่าจำเลยได้ใช้รถจักรยานยนต์ในการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ในลักษณะใด อย่างไร อันถือได้ว่าเป็นการใช้รถจักรยานยนต์ในการกระทำความผิดโดยตรง เพราะความผิดฐานนี้สามารถเป็นความผิดโดยสมบูรณ์ได้โดยหาจำต้องใช้รถจักรยานยนต์ด้วยเสมอไปไม่ การบรรยายฟ้องของโจทก์เช่นนี้จึงเป็นการบรรยายฟ้องเพื่อให้ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ ที่ใช้เฉพาะในการเพิ่มโทษจำเลยทั้งสองเท่านั้น แม้จำเลยทั้งสองจะให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจฟังว่ารถจักรยานยนต์ของกลางเป็นทรัพย์ที่จำเลยทั้งสองใช้ในการกระทำความผิดอันศาลจะมีอำนาจริบได้ ตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยที่ 1 มีสิทธิเรียกขึ้นในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9091/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้บริโภค: การดำเนินคดีโดยพนักงานอัยการและการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 39 บัญญัติว่า ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นสมควรเข้าดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค หรือเมื่อได้รับคำร้องขอจากผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิ ซึ่งคณะกรรมการเห็นว่าการดำเนินคดีนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคเป็นส่วนรวม คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานอัยการโดยความเห็นชอบของอธิบดีกรมอัยการ หรือข้าราชการในสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางนิติศาสตร์เป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเพื่อให้มีหน้าที่ดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาแก่ผู้กระทำการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคในศาล... ในการดำเนินคดีในศาลให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคมีอำนาจฟ้องเรียกทรัพย์สินหรือค่าเสียหายให้แก่ผู้บริโภคที่ร้องขอได้ด้วย และในการนี้ให้ได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง เมื่อข้อเท็จจริงในสำนวนคดีนี้ปรากฏว่าพนักงานอัยการทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคดำเนินคดีแทนโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายให้แก่ผู้บริโภคทั้ง 4 ราย ในการดำเนินคดีนี้ย่อมได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงตามบทบัญญัติดังกล่าวด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8863/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษจากตัวการเป็นผู้สนับสนุนในคดียาเสพติด ศาลฎีกาห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2), 66 วรรคสอง ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 จำคุก 5 ปี และปรับ 400,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2), 66 วรรคสอง ประกอบ ป.อ. มาตรา 86 จำคุก 3 ปี 4 เดือน และปรับ 266,666.66 บาท เท่ากับว่าศาลอุทธรณ์แก้บทที่ลงโทษเฉพาะเกี่ยวกับลักษณะแห่งการกระทำความผิดกับโทษที่ลงแก่จำเลยที่ 2 โดยแก้จากต้องร่วมรับผิดฐานเป็นตัวการตาม ป.อ. มาตรา 83 มาเป็นฐานผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 86 จำคุก 3 ปี 4 เดือน และปรับ 266,666.66 บาท ซึ่งศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ไม่เกินห้าปี เป็นการแก้ไขเล็กน้อย จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8605/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาจ้างเหมาที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแบบก่อสร้างและคู่สัญญาตกลงกันใหม่
โจทก์และจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารคลับเฮาส์โดยโจทก์เริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2542 เรื่อยมาจนถึงวันที่ 22 สิงหาคม 2542 จำเลยที่ 2 ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบแปลนใหม่ผิดไปจากเดิมหลายประการ ซึ่งมีทั้งการเพิ่มเหล็กเพิ่มคอนกรีตและต้องทุบงานที่ก่อสร้างไปแล้วบางส่วนทิ้งเพื่อทำให้ตามแบบที่แก้ไข ทำให้โจทก์ต้องเสียเวลา เนื่องจากขณะนั้นลงมือก่อสร้างไปแล้วเกือบเดือน ทั้งยังต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นโจทก์จึงแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบถึงภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น แต่จำเลยที่ 2 ก็บอกให้โจทก์ทำการก่อสร้างต่อไปย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า การก่อสร้างจะต้องล่าช้าออกไปจนไม่สามารถทำให้เสร็จได้ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 ตามกำหนดเวลาเดิมอย่างแน่นอน ตามพฤติการณ์จึงถือได้ว่า คู่กรณีเจตนาให้มีการเปลี่ยนแปลงในข้อสาระสำคัญแห่งสัญญา โดยมิได้ถือเอากำหนดระยะเวลาเป็นสาระสำคัญอีกต่อไป การทำงานล่าช้ากว่ากำหนดจึงมิใช่ความผิดของโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่อาจบอกเลิกสัญญา โดยอ้างว่าโจทก์ทำงานล่าช้ากว่ากำหนด เว้นแต่จะได้บอกกล่าวโดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรเพื่อให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาเสียก่อน หากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญาแล้วจำเลยที่ 1 จึงชอบที่จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้
โจทก์ได้เสนอราคางานที่เพิ่มเติมต่อจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2542 และแจ้งจำเลยที่ 2 ถึงการขาดสภาพคล่องทางการเงินอันเนื่องมาจากการแก้ไขเพิ่มเติมแบบซึ่งโจทก์ต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไปก่อนขอให้จำเลยที่ 2 หาทางช่วยเหลือโดยจัดสรรเงินให้เพื่อเร่งดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2542 เมื่อจำเลยที่ 2 รับเอกสารดังกล่าวแล้วบอกกว่าจะจัดการให้ภายในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2542 แต่ในที่สุดจำเลยที่ 2 ก็ไม่ชำระการทิ้งงานของโจทก์จึงเกิดขึ้นเพราะจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าก่อสร้างส่วนที่เพิ่มขึ้นตามแบบแปลนใหม่ทั้งๆ ที่โจทก์ได้ทวงถามแล้ว จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาแต่ฝ่ายเดียว ต้องรับผิดในค่าเสียหายของโจทก์ในส่วนของงานที่เพิ่มเติมและอื่นๆ
โจทก์ได้เสนอราคางานที่เพิ่มเติมต่อจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2542 และแจ้งจำเลยที่ 2 ถึงการขาดสภาพคล่องทางการเงินอันเนื่องมาจากการแก้ไขเพิ่มเติมแบบซึ่งโจทก์ต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไปก่อนขอให้จำเลยที่ 2 หาทางช่วยเหลือโดยจัดสรรเงินให้เพื่อเร่งดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2542 เมื่อจำเลยที่ 2 รับเอกสารดังกล่าวแล้วบอกกว่าจะจัดการให้ภายในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2542 แต่ในที่สุดจำเลยที่ 2 ก็ไม่ชำระการทิ้งงานของโจทก์จึงเกิดขึ้นเพราะจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าก่อสร้างส่วนที่เพิ่มขึ้นตามแบบแปลนใหม่ทั้งๆ ที่โจทก์ได้ทวงถามแล้ว จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาแต่ฝ่ายเดียว ต้องรับผิดในค่าเสียหายของโจทก์ในส่วนของงานที่เพิ่มเติมและอื่นๆ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8605/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขแบบก่อสร้างทำให้สัญญาเดิมเปลี่ยนแปลง สิทธิบอกเลิกสัญญาเกิดขึ้นเมื่อใด
จำเลยที่ 1 ตกลงว่าจ้างโจทก์ให้รับช่วงก่อสร้างอาคารคลับเฮ้าส์ โดยกำหนดแล้วเสร็จภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 ต่อมาโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบแปลนก่อสร้างให้ผิดไปจากเดิมหลายประการ ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าการก่อสร้างจะต้องล่าช้าออกไปจนไม่สามารถทำให้เสร็จได้ภายในวันที่กำหนดอย่างแน่นอน ตามพฤติการณ์จึงถือได้ว่า คู่กรณีมีเจตนาให้มีการเปลี่ยนแปลงในข้อสาระสำคัญแห่งสัญญา โดยมิได้ถือเอากำหนดระยะเวลาเป็นสาระสำคัญอีกต่อไป การทำงานล่าช้ากว่ากำหนดจึงมิใช่ความผิดของโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่อาจบอกเลิกสัญญาโดยอ้างเหตุว่าโจทก์ทำงานล่าช้ากว่ากำหนด เว้นแต่จะได้บอกกล่าวโดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรเพื่อให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาเสียก่อน หากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญาแล้วจำเลยที่ 1 จึงชอบที่จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 การบอกเลิกสัญญาของจำเลยที่ 1 โดยไม่บอกกล่าวก่อนจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8552/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกถอนเงินด้วยบัตร ATM ที่ผิดพลาด: จำเลยครอบครองเงินโดยไม่เจตนา ทำให้เป็นการรับของโจร ไม่ใช่ลักทรัพย์
เมื่อโจทก์ไม่บรรยายฟ้องให้ชัดแจ้งว่า บัตรเอทีเอ็มที่จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เบิกถอนเงินไปนั้นเป็นของบุคคลอื่น ก็ต้องฟังว่าเป็นบัตรเอทีเอ็มของจำเลยคนใดคนหนึ่งหรือเป็นของจำเลยทั้งสองเอง และยังต้องรับฟังต่อไปอีกว่า สาเหตุที่จำเลยทั้งสองสามารถใช้บัตรเอทีเอ็มดังกล่าวเบิกถอนเงินออกไปได้นั้น เป็นเพราะมีเงินตามจำนวนที่จำเลยทั้งสองร่วมเบิกถอนโอนเข้าบัญชีของจำเลยทั้งสองโดยการผิดพลาด ข้อเท็จจริงตามฟ้องที่โจทก์บรรยายมาดังกล่าวย่อมถือได้ว่าเงินจำนวนที่จำเลยเบิกถอนไปนั้น ได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งสองเพราะโจทก์ร่วมส่งมอบให้โดยสำคัญผิด การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคสอง หาใช่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้องไม่ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยทั้งสองจะให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดตามฟ้องและมิได้ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและลงโทษจำเลยทั้งสองให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
1/1
1/1