คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ศรีอัมพร ศาลิคุปต์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 205 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19706/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำที่ไม่ถึงขั้นดูหมิ่นเจ้าพนักงานหรือศาล แม้มีการร้องเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมการปฏิบัติหน้าที่
จำเลยไม่ได้ยืนยันว่าโจทก์ร่วมทุจริต เพียงแต่สงสัยในพฤติการณ์ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้พิพากษาในคดีที่จำเลยถูกผู้อื่นฟ้องที่มีคำสั่งให้งดชี้สองสถานกับงดสืบพยานในคดีนั้น แม้ว่าเป็นอำนาจและดุลพินิจของโจทก์ร่วม แต่ก็เป็นการใช้ดุลพินิจและอำนาจที่คลาดเคลื่อน เพราะหลังจากนั้นศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้ยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งโจทก์ร่วมเป็นองค์คณะ และย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานโจทก์และจำเลย และที่โจทก์ร่วมสั่งไม่รับอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ก็มีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงไว้แล้ว นอกจากนี้จำเลยยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2554 เวลา 10.50 นาฬิกา แต่โจทก์ร่วมไม่ได้สั่งอุทธรณ์ในวันดังกล่าว ต่อมาโจทก์ร่วมสั่งรับอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยประทับตรายางวันเดือนปี คือ เมษายน 2554 แต่มีการลบวันที่ซึ่งน่าจะเป็นวันที่ 27 และเขียนด้วยลายมือโจทก์ร่วมเป็นวันที่ 30 การที่จำเลยไปพบ ส. ซึ่งรับราชการในตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาภาค 7 ที่โจทก์ร่วมรับราชการอยู่ในเขตอำนาจเพียงประสงค์จะให้ ส. ดูแลผู้พิพากษาในภาคให้มากกว่านี้ ไม่ได้ไปพบในลักษณะที่ว่าจะให้ตั้งกรรมการสอบสวนโจทก์ร่วม แม้ตามบันทึกเรื่องราวที่จำเลยมอบให้ ส. จะมีข้อความเกินเลยไปบ้าง แต่ก็มีลักษณะเป็นการปรับทุกข์และระบายความทุกข์กับ ส. ที่ดูแลผู้พิพากษาภายในภาค 7 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่หรือเพราะได้กระทำการตามหน้าที่ และดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาหรือพิพากษาคดีตาม ป.อ. มาตรา 136 และ 198

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18952/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดถือโฉนดที่ดินเป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้: สิทธิที่บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา
โจทก์เป็นผู้ครอบครองโฉนดที่ดินพิพาททั้งสามฉบับโดยจำเลยที่ 2 มอบให้ยึดถือเป็นประกันเงินกู้ตามสัญญากู้ยืมเงิน โจทก์จึงมีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินไว้เป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้คืน อันเป็นบุคคลสิทธิบังคับกันได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ในฐานะคู่สัญญาต่อกัน แม้การที่โจทก์ยึดถือโฉนดที่ดินพิพาททั้งสามฉบับเป็นประกันเงินกู้ที่โจทก์จะได้รับคืนซึ่งไม่ได้เป็นคุณแก่โจทก์เกี่ยวด้วยโฉนดพิพาททั้งสามฉบับ กรณีจึงหาใช่สิทธิยึดหน่วงตาม ป.พ.พ. มาตรา 241 ซึ่งหมายถึง การที่ผู้ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นและมีหนี้อันเป็นคุณแก่ผู้ครอบครองเกี่ยวด้วยทรัพย์สินที่ครอบครองนั้นก็ตาม แต่โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินพิพาททั้งสามฉบับเป็นประกันจนกว่าจะได้รับชำระหนี้คืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18462/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นเพื่อชักจูงบุคคลทั่วไปให้ซื้อขายหุ้นอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์
ความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 243 (2) เป็นการกระทำที่มีเจตนาทำการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในลักษณะต่อเนื่องกัน อันเป็นผลทำให้การซื้อขายหลักทรัพย์นั้นผิดไปจากสภาพปกติของตลาด และการกระทำดังกล่าวได้กระทำไปเพื่อชักจูงให้บุคคลทั่วไปทำการซื้อหรือขายหลักทรัพย์นั้น พฤติการณ์ในลักษณะต่าง ๆ ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ร่วมกันทำการซื้อขายหุ้นธนาคาร น. ในช่วงเกิดเหตุ จนทำให้มีปริมาณในการซื้อขายหุ้นดังกล่าวเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว และมีระดับราคาเพิ่มสูงขึ้นโดยไม่มีข้อมูลหรือปัจจัยใดมาสนับสนุนให้มีการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ได้ ทั้งราคาหุ้นดังกล่าวก็เพิ่มสูงขึ้น แต่ไม่มีข้อมูลใดที่จะส่งผลให้การซื้อขายหุ้นเปลี่ยนแปลงเพิ่มสูงขึ้นได้เช่นกัน เมื่อเปรียบเทียบกับหุ้นของธนาคารอื่นที่มีสินทรัพย์และผลประกอบการระดับเดียวกัน การซื้อขายหุ้นนี้จึงเป็นการซื้อขายหุ้นที่ผิดไปจากสภาพปกติของตลาดอันเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้ว นอกจากนี้ การที่จำเลยที่ 2 มีคำสั่งซื้อหุ้นอันมีลักษณะเป็นการชี้นำนักลงทุนทั่วไปว่ามีนักลงทุนจำนวนมากสนใจซื้อหุ้นดังกล่าวจนทำให้ราคาเพิ่มสูงขึ้น หรือพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่มีการส่งคำสั่งซื้อโดยใช้คำสั่งย่อยคำสั่งละ 10,000 หุ้น ก็เป็นไปตามความต้องการของจำเลยที่ 1 หรือที่ 2 เพื่อให้นักลงทุนทั่วไปเข้าใจว่ามีนักลงทุนเป็นจำนวนมากสนใจซื้อหุ้นดังกล่าว จนมีนักลงทุนทั่วไปซื้อหุ้นนี้จนมีราคาสูงขึ้นในวันนั้น ๆ ซึ่งหากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องการซื้อหุ้นดังกล่าวไว้เก็งกำไรจริง ย่อมต้องเข้าซื้อหุ้นขณะที่มีราคาถูกแล้วรอไว้ขายเมื่อราคาปรับตัวสูงขึ้นตามกลไกของตลาด พฤติการณ์ในการซื้อขายหุ้นดังกล่าวของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในขณะเกิดเหตุ หาใช่เป็นการซื้อเพื่อเก็งกำไรตามที่นักลงทุนทั่วไปปฏิบัติกัน จึงเป็นการซื้อขายในลักษณะต่อเนื่องกัน เป็นผลให้การซื้อขายหุ้นดังกล่าวผิดไปจากสภาพปกติของตลาดเพื่อชักจูงให้บุคคลทั่วไปทำการซื้อหรือขายหุ้นดังกล่าว อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติฉบับนี้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18460/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์: การซื้อขายที่ดิน แม้ไม่มีสัญญาซื้อขาย และการครอบครองอย่างเปิดเผยต่อเนื่อง
เดิมจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 โจทก์เป็นบุตรเจ้าของที่ดินพิพาทซึ่งถึงแก่ความตายแล้วฟ้องเป็นคดีนี้ขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว พอจะแปลความหมายได้ว่า โจทก์ประสงค์ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากเจ้าของที่ดินพิพาท และครอบครองโดยความสงบ โดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลากว่าสิบปีแล้ว จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะขอให้คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17766/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต: การกระทำที่เป็นธุรกิจจัดหางาน แม้มีการเรียกค่าบริการล่วงหน้า
พฤติการณ์ที่จำเลยให้คำมั่นแก่ผู้เสียหายว่าจะจัดหาลูกจ้าง 60 คน ภายใน 1 เดือน เพื่อเป็นคนงานตัดอ้อยในไร่อ้อยของผู้เสียหายซึ่งอยู่ต่างท้องที่กับที่อยู่ของคนงาน จึงเป็นเรื่องที่ต้องมีการติดต่อประสานงานและบริหารจัดการเพื่อรวบรวมและรับสมัครคนงานภายในเวลาที่จำกัดและต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ซึ่งนอกจากจำเลยจะต้องผูกพันรับผิดชอบต่อผู้เสียหายแล้ว ยังต้องตระหนักถึงความเสียหายหรือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้สมัครทำงานอีกด้วย แม้จะไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เรียกหรือรับค่าบริการตอบแทนในส่วนนี้ด้วยหรือไม่ก็ตาม รูปคดีน่าเชื่อว่าจำเลยมีเจตนาจัดหางานให้แก่คนหางานโดยหวังผลประโยชน์ตอบแทนมิใช่การกระทำให้เปล่า การกระทำของจำเลยจึงเป็นการประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานหรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนให้ประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานทำงานในประเทศ จำเลยจึงมีความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานทำงานในประเทศ โดยไม่ได้รับใบอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17584/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้ที่ไม่ได้ถูกทำร้ายโดยตรง: กรณีผู้ตายสมัครใจวิวาท
ผู้ตายสมัครใจทะเลาะวิวาทกับจำเลย จ. มารดาผู้ตายจึงไม่ใช่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย ที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคหนึ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16640/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีซ่องโจร: ความผิดต่อรัฐ vs. ความเสียหายส่วนบุคคล
ความผิดฐานซ่องโจรเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ลักษณะ 5 ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน ซึ่งบัญญัติไว้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม ความสงบสุข และความปลอดภัยของประชาชนโดยส่วนรวม มิใช่บัญญัติไว้เพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะเจาะจงเป็นส่วนตัว ดังนั้น ความผิดฐานซ่องโจรถือว่าเป็นการกระทำต่อรัฐโดยตรง รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย โจทก์ซึ่งเป็นราษฎรจึงไม่ใช่บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดโดยตรง มิใช่ผู้เสียหายนิตินัย ไม่มีอำนาจฟ้องคดีได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16469/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของรวมเรียกแบ่งทรัพย์สิน: วัตถุประสงค์ใช้ประโยชน์ร่วมกันไม่ถาวร & เหตุผลความจำเป็น
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1363 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ มีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้ เว้นแต่จะมีนิติกรรมขัดอยู่ หรือถ้าวัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมกันนั้นมีลักษณะเป็นการถาวรก็เรียกให้แบ่งไม่ได้" และวรรคสามบัญญัติว่า "ท่านว่าเจ้าของรวมจะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรไม่ได้" ตามข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ว. โจทก์และจำเลยทั้งสองมีข้อตกลงกันว่าการซื้อที่ดินและอาคารพาณิชย์พิพาทนี้ห้ามแบ่งแยกกัน แม้จะได้ความจาก ว. ที่ตอบคำถามค้านทนายจำเลยทั้งสองว่า ว. ต้องการให้โจทก์มีที่ทำกินในอาคารพาณิชย์พิพาทร่วมกับจำเลยทั้งสองไปเรื่อย ๆ แต่ ว. เป็นเพียงผู้ออกเงินชำระค่าที่ดินมิใช่เจ้าของรวม จึงถือไม่ได้ว่าเป็นวัตถุประสงค์ของเจ้าของรวมให้ใช้ประโยชน์ร่วมกันอันมีลักษณะเป็นการถาวร การที่จำเลยที่ 2 ยังเป็นผู้เยาว์ก็มิใช่ข้อห้ามแบ่งแยกและไม่ใช่กรณีไม่เป็นโอกาสอันควรแต่อย่างใด เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่อาจทำกิจการค้าต่อไปได้ และการที่จะให้ผู้อื่นเช่าก็เกิดปัญหากับจำเลยทั้งสองถึงขั้นตกลงกันไม่ได้ จะให้จำเลยทั้งสองครอบครองโดยให้ประโยชน์ตอบแทนแก่โจทก์ก็เกิดปัญหาเรื่องจำนวนค่าตอบแทน การถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันต่อไปย่อมไม่เกิดประโยชน์ การที่โจทก์ต้องการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจึงเป็นสิทธิของโจทก์และมีความเหมาะสม โจทก์จึงเรียกให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินและอาคารพาณิชย์พิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16405/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในความผิดอาญา: การกระทำอันเป็นกรรมเดียวกัน แม้โจทก์ต่างกัน สิทธิฟ้องระงับเมื่อมีคำพิพากษาแล้ว
จำเลยที่ 1 ถูกศาลในคดีก่อนพิพากษาลงโทษฐานแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงานตาม ป.อ. มาตรา 137 ปรากฏว่าวัน เวลา และการกระทำอันเป็นมูลเหตุแห่งความผิดที่จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องในคดีก่อนกับคดีนี้ เป็นวัน เวลา และการกระทำอันเป็นมูลเหตุแห่งความผิดลักษณะอย่างเดียวกัน ถึงแม้ว่าโจทก์คดีนี้จะบรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 โดยอ้างความผิดตามมาตรา 267 เพิ่มเข้ามาอีกด้วยก็ตาม แต่โจทก์ก็บรรยายฟ้องและนำสืบเกี่ยวกับการไต่สวนมูลฟ้องถึงการกระทำของจำเลยที่ 1 ในลักษณะอย่างเดียวกันกับคดีก่อน การกระทำของจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนกับคดีนี้จึงเป็นกรรมเดียวกัน และที่จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องคดีนี้ในข้อหาแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงานตามมาตรา 137 และข้อหาแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการตามมาตรา 267 ก็ล้วนเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันโดยเจตนาและความมุ่งหมายอย่างเดียวกันที่จะให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทยอมรับการจดทะเบียนการเปลี่ยนแปลงกรรมการและอำนาจการลงนามของกรรมการ การกระทำของจำเลยที่ 1 ในทั้งสองข้อหาดังกล่าวจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท มิใช่ความผิดหลายกรรมต่างกัน
แม้คดีก่อนมี ย. เป็นโจทก์ ซึ่งเป็นคนละคนกับโจทก์คดีนี้ก็ตาม แต่โจทก์ทั้งสองคดีต่างฟ้องจำเลยในการกระทำอย่างเดียวกัน เมื่อคดีก่อนศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ในการกระทำอันเดียวกันนั้นเสร็จสิ้นแล้ว โจทก์ในคดีนี้จะนำการกระทำอันเดียวกันของจำเลยที่ 1 มาฟ้องเพื่อให้ศาลลงโทษจำเลยที่ 1 ซ้ำอีกนั้นไม่อาจกระทำได้ เพราะผู้ที่กระทำความผิดกรรมเดียวกันไม่จำต้องถูกลงโทษซ้ำสองครั้ง
แม้ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้จะยังไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะคดีก่อนยังมิได้มีคำพิพากษา แต่เมื่อคดีก่อนพิจารณาเสร็จและศาลมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว นับตั้งแต่นั้นมาย่อมเป็นผลให้สิทธิในการดำเนินคดีอาญาของโจทก์ในคดีนี้ย่อมต้องสิ้นสุดลงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเพื่อขอให้ศาลลงโทษจำเลยที่ 1 อีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16298/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาจากคำให้การเท็จต่อ กกต. ทำให้เสียสิทธิทางการเมือง
เหตุที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำวินิจฉัยให้เพิกถอนการเลือกตั้งตามฟ้องและทำการเลือกตั้งใหม่สืบเนื่องจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 ไปให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ส่วนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งเพียงแต่ผูกพันเพื่อให้การเลือกตั้งในคราวดังกล่าวต้องถูกเพิกถอนไปเท่านั้นแต่หาได้เป็นเด็ดขาดจนห้ามมิให้มีการดำเนินคดีแก่ผู้ที่ไปให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งจนเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้สมัครในเขตเลือกตั้งดังกล่าวต้องเสียหาย ทั้งมาตรา 135 แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 กำหนดให้ผู้สมัครในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายโดยตรงและมีอำนาจฟ้องคดีได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) และ 28 (2)
of 21