พบผลลัพธ์ทั้งหมด 205 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10625/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระหนี้บัตรเครดิต โจทก์มีสิทธิฟ้องได้ แม้จะไม่ได้บอกเลิกสัญญา
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตแล้วผิดนัดไม่ชำระหนี้ จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธว่ามิได้ผิดนัด คงให้การแต่เพียงว่าสัญญาบัตรเครดิตระหว่างโจทก์กับจำเลยยังคงมีผลบังคับ เนื่องจากโจทก์มิได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และบอกเลิกสัญญา โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่การเลิกสัญญากับการผิดนัดเป็นคนละเรื่องคนละกรณีกัน กล่าวคือ หนี้ที่เกิดจากมูลสัญญา เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 หรืออาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตาม มาตรา 386 ถึง มาตรา 388 ก็ได้ แล้วแต่เจ้าหนี้จะเลือก หาได้หมายความว่าหากโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยมีสิทธิไม่ต้องชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่โจทก์ไม่ ดังนั้น เมื่อหนี้ที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้มีกำหนดเวลาแน่นอนตามวันแห่งปฏิทิน การที่จำเลยมิได้ชำระตามกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนหรือบอกกล่าวอีกตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคสอง อันเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าวโดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อนฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10167/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลำดับเจ้าหนี้จำนอง: ศาลอนุญาตให้เจ้าหนี้จำนองได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญได้ แม้ไม่มีการสืบพยานเพิ่มเติม
คดีสืบเนื่องจากศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ แต่จำเลยทั้งสามไม่ชำระหนี้ โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 2 เป็นที่ดิน 3 แปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้าง และอยู่ระหว่างรอขายทอดตลาด ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จำนองตามลำดับที่จดทะเบียนไว้ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้ว มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จำนองตามลำดับที่จดทะเบียนไว้ ก่อนเจ้าหนี้สามัญอื่น
วันนัดไต่สวนคำร้อง ผู้ร้องและโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลเดียวกันมาศาล จำเลยทั้งสามทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลและไม่ยื่นคำคัดค้าน โจทก์ยื่นคำแถลงไม่คัดค้านคำร้องของผู้ร้อง ศาลชั้นต้นสอบทนายผู้ร้องแล้วแถลงว่า ทรัพย์จำนองที่โจทก์นำยึดยังไม่ได้ขายทอดตลาด ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และเป็นเจ้าหนี้จำนองในทรัพย์ที่โจทก์นำยึด โดยทนายผู้ร้องส่งเอกสารเกี่ยวกับหลักฐานการเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมและเจ้าหนี้จำนอง ซึ่งศาลชั้นต้นจดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งที่ศาลย่อมมีอำนาจกระทำได้ และถือว่าเป็นการไต่สวนโดยเปิดโอกาสให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งได้คัดค้านก่อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 21 (1) แล้ว แม้หากให้ผู้ร้องนำพยานเข้าสืบในการไต่สวนก็ไม่ได้ข้อเท็จจริงแตกต่างนอกเหนือจากการสอบทนายผู้ร้อง และไม่อาจทำให้ประเด็นที่มีคำสั่งตามคำร้องเปลี่ยนแปลงไป ศาลย่อมมีอำนาจนำข้อเท็จจริงที่ได้จากการสอบทนายผู้ร้องมารับฟังประกอบในการใช้ดุลพินิจเพื่อมีคำสั่งตามที่เห็นสมควรได้ โดยไม่จำต้องทำการสืบพยานผู้ร้องก่อน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญอื่นจึงชอบแล้ว
วันนัดไต่สวนคำร้อง ผู้ร้องและโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลเดียวกันมาศาล จำเลยทั้งสามทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลและไม่ยื่นคำคัดค้าน โจทก์ยื่นคำแถลงไม่คัดค้านคำร้องของผู้ร้อง ศาลชั้นต้นสอบทนายผู้ร้องแล้วแถลงว่า ทรัพย์จำนองที่โจทก์นำยึดยังไม่ได้ขายทอดตลาด ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และเป็นเจ้าหนี้จำนองในทรัพย์ที่โจทก์นำยึด โดยทนายผู้ร้องส่งเอกสารเกี่ยวกับหลักฐานการเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมและเจ้าหนี้จำนอง ซึ่งศาลชั้นต้นจดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งที่ศาลย่อมมีอำนาจกระทำได้ และถือว่าเป็นการไต่สวนโดยเปิดโอกาสให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งได้คัดค้านก่อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 21 (1) แล้ว แม้หากให้ผู้ร้องนำพยานเข้าสืบในการไต่สวนก็ไม่ได้ข้อเท็จจริงแตกต่างนอกเหนือจากการสอบทนายผู้ร้อง และไม่อาจทำให้ประเด็นที่มีคำสั่งตามคำร้องเปลี่ยนแปลงไป ศาลย่อมมีอำนาจนำข้อเท็จจริงที่ได้จากการสอบทนายผู้ร้องมารับฟังประกอบในการใช้ดุลพินิจเพื่อมีคำสั่งตามที่เห็นสมควรได้ โดยไม่จำต้องทำการสืบพยานผู้ร้องก่อน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญอื่นจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10057/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อนุญาโตตุลาการต้องผูกพันตามคำวินิจฉัยศาลที่ถึงที่สุด การวินิจฉัยตามคำพิพากษาศาลล่างที่ยังไม่ถึงที่สุดขัดต่อเจตนาคู่ความ
ในการดำเนินกระบวนการของอนุญาโตตุลาการนี้ เป็นอนุญาโตตุลาการ สำนักงานอนุญาโตตุลาการ สมาคมประกันวินาศภัย ซึ่งมีข้อบังคับสมาคมประกันวินาศภัยว่าด้วยอนุญาโตตุลาการข้อ 22 ว่า "อนุญาโตตุลาการต้องวินิจฉัยชี้ขาดไปตามหลักกฎหมายและความยุติธรรม และบันทึกข้อตกลงต่างๆ ที่คู่พิพาทมีต่อกัน" ดังนั้น อนุญาโตตุลาการจึงต้องชี้ขาดไปตามข้อบังคับดังกล่าว เมื่อคู่ความตกลงให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยโดยอนุโลมตามคำวินิจฉัยของศาล อนุญาโตตุลาการจึงต้องผูกพันวินิจฉัยไปตามคำวินิจฉัยของศาลตามที่คู่ความตกลงกัน ซึ่งแม้ตามรายงานลงวันที่ 1 มิถุนายน 2543 จะไม่ได้ระบุให้ชัดแจ้งว่าคำวินิจฉัยของศาลนั้นต้องถึงที่สุดแล้ว แต่ในกรณีที่คำพิพากษาของศาลต่างชั้นกันมีผลแตกต่างกันนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 146 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ถือตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่สูงกว่า การที่อนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดโดยถือตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดมีนบุรีซึ่งยังไม่ถึงที่สุด จึงอาจขัดต่อผลของคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาที่เป็นศาลสูงกว่า และตามกฎหมายกำหนดให้เป็นคำพิพากษาที่จะต้องถือตาม จึงย่อมต้องแปลความตามความมุ่งหมายหรือเจตนาอันแท้จริงของคู่ความว่าคำวินิจฉัยของศาลดังกล่าวหมายถึงคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดแล้ว คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ให้ถือเอาผลของคำพิพากษาศาลล่างที่อาจไม่มีผลให้ถือตาม จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่มิได้เป็นไปตามที่คู่ความได้ตกลงกัน ซึ่งเป็นเหตุให้ศาล ทำคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 43 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10048/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ฟ้องคดีอาญาและการคำนวณโทษปรับที่ถูกต้องตามกฎหมาย
เดิมโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 530 เม็ด น้ำหนัก 20.188 กรัม ต่อมาโจทก์ขอแก้ฟ้องว่าเมทแอมเฟตามีนคำนวณสารบริสุทธิ์ 20.188 กรัม เพื่อให้ตรงตามรายงานการตรวจพิสูจน์ จำเลยทั้งสองรับสารภาพว่าร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 530 เม็ด น้ำหนัก 20.188 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่ปฏิเสธว่าไม่ได้ร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 20.188 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยทั้งสามจึงมิได้หลงต่อสู้ การขอแก้ฟ้องจึงไม่ทำให้จำเลยทั้งสามเสียเปรียบ
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน ลงโทษปรับจำเลยทั้งสามคนละ 1,000,000 บาท ลดโทษให้คนละหนึ่งในสาม คงปรับคนละ 666,666 บาท เป็นการคำนวณที่ไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องปรับคนละ 666,666.66 บาท ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาไม่อาจลงโทษปรับจำเลยทั้งสามคนละ 666,666.66 บาท ได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสาม ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน ลงโทษปรับจำเลยทั้งสามคนละ 1,000,000 บาท ลดโทษให้คนละหนึ่งในสาม คงปรับคนละ 666,666 บาท เป็นการคำนวณที่ไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องปรับคนละ 666,666.66 บาท ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาไม่อาจลงโทษปรับจำเลยทั้งสามคนละ 666,666.66 บาท ได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสาม ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9844/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษพยายามปล้นทรัพย์: ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำคุกให้เหมาะสมกับกรอบกฎหมาย
โทษตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสี่ ประกอบมาตรา 340 ตรี เมื่อเป็นความผิดฐานพยายาม ศาลอาจกำหนดโทษจำเลยได้ 33 ปี 4 เดือน หรือกำหนดจากกรอบระวางโทษได้ตั้งแต่ 15 ถึง 20 ปี ศาลล่างทั้งสองกำหนดโทษจำคุกจำเลย 30 ปีนั้น ไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขและกำหนดโทษจำเลยเสียใหม่ให้เหมาะสมกับพฤติการณ์แห่งคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9823/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาไม่มีรูปแบบ, ผิดสัญญา, อายุความ 10 ปี, การชดเชยค่าขนส่ง, สิทธิเรียกร้อง
การเข้าร่วมโครงการของจำเลยทั้งสองเป็นการเข้าทำสัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยทั้งสองในลักษณะสัญญาไม่มีรูปแบบซึ่งเงื่อนไขในสัญญาดังกล่าวกำหนดให้จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ขนส่งมันสำปะหลังไปยังผู้ส่งออกตามที่ได้ขึ้นทะเบียนผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังรับอนุญาตปี 2540 เท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นเงื่อนไขของสัญญาที่เป็นสาระสำคัญ การที่จำเลยทั้งสองขนส่งมันสำปะหลังไปยังบริษัท อ. ซึ่งมิใช่ผู้ส่งออกตามทะเบียนผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังรับอนุญาตปี 2540 กรณีถือว่าจำเลยทั้งสองกระทำผิดสัญญาเพราะการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่นำมันสำปะหลังอัดเม็ดไปส่งให้บริษัทที่มิใช่ผู้ส่งออกตามทะเบียนผู้ส่งออก ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังรับอนุญาตปี 2540 ทำให้ปริมาณมันสำปะหลังยังคงหมุนเวียนอยู่ในตลาดภายในประเทศทำให้ราคาขายมันสำปะหลังไม่เพิ่มสูงขึ้นตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาลและการที่จำเลยทั้งสองรับเงินชดเชยค่าขนส่งจากโจทก์ทั้งสองทั้งสองครั้งไปโดยไม่ถูกต้องนั้น จำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิรับเงินชดเชยค่าขนส่งดังกล่าวจากโจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่รับไปจากโจทก์ทั้งสองพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด กรณีการฟ้องเรียกเงินคืนของโจทก์ทั้งสองมิใช่การเรียกคืนในฐานะลาภมิควรได้แต่เป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาซึ่งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความบัญญัติไว้เป็นกรณีพิเศษจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ดังนั้นอายุความในคดีนี้จึงมีระยะเวลา 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตามสัญญา เมื่อโจทก์ที่ 2 มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 นำเงินดังกล่าวมาคืน และจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือดังกล่าวในวันที่ 29 เมษายน 2541 โจทก์ทั้งสองนำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2546 จึงเป็นระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9761/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการยินยอมให้จำนองทรัพย์สินรวม และผลผูกพันตามกฎหมาย
ป.พ.พ. มาตรา 1361 บัญญัติว่า "เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ จะจำหน่ายส่วนของตนหรือจำนอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพันก็ได้ แต่ตัวทรัพย์สินนั้นจะจำหน่าย จำนำ จำนอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพันได้ ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน" แม้ผู้ร้องจะเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาททั้งสองแปลง 1 ใน 7 ส่วน แต่จากการไต่สวนข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของจ่าสิบเอก บ.จดทะเบียนใส่ชื่อของจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเพียงคนเดียว และนำที่ดินดังกล่าวไปจำนองเพื่อประกันหนี้ไว้แก่โจทก์ ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องและบรรดาทายาทอื่นของจ่าสิบเอก บ.โต้แย้งคัดค้านแต่อย่างใด ทั้งผู้ร้องและพี่น้องคนอื่นซึ่งเป็นบุตรของจำเลยยังเคยเจรจากับโจทก์ว่าไม่คิดจะโกงโจทก์ และภายหลังโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้แล้ว ผู้ร้องยังมีส่วนเจรจากับโจทก์โดยขอให้โจทก์ยอมลดยอดหนี้ให้แก่จำเลย จนจำเลยและโจทก์ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และเมื่อมีการยึดที่ดินดังกล่าวออกขายทอดตลาด ผู้ร้องยังได้ไปดูแลการขายทอดตลาดแทนจำเลยอีกด้วย แสดงว่าตลอดระยะเวลาประมาณ 20 ปี นับแต่จำเลยนำที่ดินพิพาททั้งสองแปลงไปจำนองไว้แก่โจทก์ ผู้ร้องรู้มาโดยตลอด แต่ไม่เคยโต้แย้งหรือคัดค้าน แสดงว่าผู้ร้องมีเจตนาให้จำเลยแสดงตนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแต่ผู้เดียวและยินยอมให้จำเลยจำนองที่ดินพิพาทได้ การจำนองผูกพันผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอกันส่วนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงออกจากการขายทอดตลาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9544/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้และผลกระทบต่อสิทธิจำนอง: เจ้าหนี้มีสิทธิปลดจำนองเมื่อหนี้ระงับ และไม่ถือเป็นการละเมิดต่อผู้ค้ำประกัน
เมื่อหนี้ตามสัญญาจำนองที่ได้ประกันหนี้ไว้ระงับไป สัญญาจำนองจึงระงับสิ้นไปด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 (1) ด้วยเหตุนี้จำเลยในฐานะผู้รับจำนองจึงไม่อาจหน่วงเหนี่ยวถือสิทธิใดๆ ในสัญญาจำนองและทรัพย์สินที่จำนองไว้ได้อีก การที่จำเลยปลดจำนองให้แก่ อ. และ ว. ซึ่งเป็นการกระทำไปตามหน้าที่ของเจ้าหนี้ผู้ที่ได้รับชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว ย่อมต้องคืนทรัพย์ซึ่งเป็นหลักประกันการชำระหนี้แก่เจ้าของทรัพย์ การที่จำเลยจดทะเบียนปลดจำนองจึงเป็นการดำเนินการไปตามหน้าที่ของเจ้าหนี้ผู้ได้รับชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว ที่พึงต้องคืนหลักประกันการชำระหนี้ดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงหาเป็นละเมิดต่อโจทก์ไม่ และหาเป็นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันไม่อาจเข้ารับช่วงในสิทธิจำนองที่ได้ให้ไว้แก่เจ้าหนี้ตามมาตรา 697 ไม่ เพราะบทบัญญัติมาตราดังกล่าวเป็นกรณีที่เจ้าหนี้กระทำให้สิทธิ บุริมสิทธิหรือจำนองที่มีเพื่อประโยชน์ในการได้รับชำระหนี้ลดน้อยลง อันเป็นการกระทำก่อนการได้รับชำระหนี้จนครบ โจทก์จึงจะอ้างว่าจำเลยทำให้เสื่อมสิทธิในการเข้าสวมสิทธิจำนองของตนเพื่อไล่เบี้ยต่อ อ. และ ว. หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9396/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงทางแพ่งมีผลผูกพันหรือไม่ เมื่อเกิดจากเจตนาลวงและทำภายหลังการตกลงที่ไม่เรียกร้องค่าเสียหาย
หลังจากรถกระบะของโจทก์ที่ 1 เฉี่ยวชนกับรถกระบะของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้รถทั้งสองคันได้รับความเสียหาย ทั้งฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยต่างยอมรับว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทของทั้งสองฝ่าย และต่างไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายต่อกัน ตามบันทึกการตกลงค่าเสียหายทางแพ่ง ในวันเดียวกันโจทก์ทั้งสองกับจำเลยทั้งสองทำบันทึกข้อตกลงขึ้นอีก 1 ฉบับ โดยมีสาระสำคัญว่า ฝ่ายจำเลยรับว่าจะซื้อรถยนต์คันใหม่ให้แก่ฝ่ายโจทก์แล้วให้ฝ่ายโจทก์โอนกรรมสิทธิ์รถยนต์หมายเลขทะเบียน ก - 1146 อุดรธานี (ป้ายแดง) ให้แก่ฝ่ายจำเลย ตามบันทึกการตกลงของคู่กรณีทางแพ่ง ซึ่งทำขึ้นก่อนบันทึกการตกลงของคู่กรณีทางแพ่ง ทั้งฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยต่างยอมรับว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทของทั้งสองฝ่าย และต่างไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายต่อกัน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดอันใดที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองอันสืบเนื่องมาจากเหตุรถยนต์ทั้งสองคันเฉี่ยวชนกันอีก เมื่อตัวแทนของบริษัทผู้รับประกันภัยมาร้องขอให้ทำบันทึกการตกลงของคู่กรณีทางแพ่ง อ้างว่าเพื่อช่วยเหลือโจทก์ทั้งสอง บันทึกการตกลงของคู่กรณีทางแพ่ง คู่สัญญามีเจตนาลวงเพื่อนำไปเป็นหลักฐานให้บริษัทประกันภัยซ่อมรถยนต์ให้แก่โจทก์ที่ 1 บันทึกการตกลงดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง จำเลยทั้งสองจึงไม่จำต้องรับผิดตามบันทึกการตกลงของคู่กรณีทางแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9359/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกที่ดินวัด: วัดมีอำนาจฟ้องเองได้ ไม่ต้องผ่านสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
โจทก์เป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 และเป็นเจ้าของที่ดินธรณีสงฆ์ที่พิพาท จำเลยเช่าที่ดินของโจทก์บางส่วนเพื่อปลูกบ้านอยู่อาศัย เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและให้จำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินพิพาทแล้ว จำเลยมิได้ปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท เท่ากับจำเลยยอมรับอำนาจการจัดการที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์ที่เช่าของโจทก์มาตั้งแต่แรก เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยเช่าที่ดินต่อไป จำเลยยังคงครอบครองและไม่ยอมขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาท จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
การฟ้องคดีเพื่อขับไล่ผู้ที่อยู่ในที่ดินของวัดโจทก์ไม่ได้อยู่ในบังคับที่จะต้องให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นผู้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 40 เพราะบทบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติมีหน้าที่ดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติกลางได้แก่ทรัพย์สินของพระศาสนาซึ่งมิใช่ของวัดใดวัดหนึ่งเท่านั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
การฟ้องคดีเพื่อขับไล่ผู้ที่อยู่ในที่ดินของวัดโจทก์ไม่ได้อยู่ในบังคับที่จะต้องให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นผู้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 40 เพราะบทบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติมีหน้าที่ดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติกลางได้แก่ทรัพย์สินของพระศาสนาซึ่งมิใช่ของวัดใดวัดหนึ่งเท่านั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลย