พบผลลัพธ์ทั้งหมด 205 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8974/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความดำเนินคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาท ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท หากเป็นการใช้สิทธิเพื่อปกป้องตนเอง
จำเลยพิพาทสิทธิในที่ดินพิพาทกับ ส. การที่โจทก์เข้าอยู่อาศัยในที่ดินพิพาทโดยได้รับสิทธิจาก ส. โจทก์จึงเป็นผู้สืบสิทธิจาก ส. ซึ่งมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิที่ดินพิพาทอยู่เช่นเดิม แม้ข้อโต้แย้งในปี 2541 ระหว่างจำเลยกับ ส. จะได้ข้อยุติตามคำแนะนำของพนักงานสอบสวนให้คู่กรณีดำเนินการในทางแพ่ง แต่เมื่อยังไม่มีการดำเนินการใดๆ ในการฟ้องคดีแพ่งก็หาได้ทำให้ข้อโต้แย้งถึงสิทธิเหนือที่ดินพิพาทเดิมระงับลงแต่ประการใด ดังนั้น การที่โจทก์เข้าอยู่อาศัยในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ส. จึงต้องถือว่าโจทก์ยังโต้แย้งสิทธิในที่ดินพิพาทกับจำเลยเช่นเดียวกับ ส. การที่จำเลยเข้าแจ้งความเป็นหลักฐานอันเป็นการอ้างสิทธิในที่ดินพิพาทเพื่อดำเนินคดีแก่โจทก์ต่อไป จึงเป็นการใช้สิทธิแห่งตนตามกฎหมายเพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8927/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษายกฟ้องคดีฉ้อโกงเนื่องจากฟ้องไม่ชัดเจนและนอกเหนือจากประเด็นที่ฟ้อง
เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องระบุการกระทำความผิดว่าจำเลยทั้งสามหลอกลวงให้ลงทุนในบริษัท อ. ทำให้ผู้เสียหายที่ 1 เสียหายเป็นเงิน 90,000 บาท แต่ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีส่วนเกี่ยวข้องในการติดต่อรับเงินจากผู้เสียหายที่ 1 จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิด ส่วนการติดต่อชักชวนผู้เสียหายที่ 1 ให้จ่ายเงินจำนวน 1,462,500 บาท เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้บรรยายในฟ้อง เพราะเป็นข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกับคดีนี้ จึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง และโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8904/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์หลังพ้นกำหนด และการฟ้องร้องที่ไม่ชัดเจนในประเด็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์
การที่โจทก์ร่วมขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เมื่อสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้วด้วยเหตุผลว่า ป. โจทก์ร่วมคนเดิมป่วยและถึงแก่ความตายหลังจากศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษา ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์และรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมก็เป็นการสั่งรับอุทธรณ์โดยไม่ชอบ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมจึงชอบแล้ว
เมื่อโจทก์ร่วมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ กรณีต้องถือว่าโจทก์ร่วมมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นในทุกประเด็นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย และไม่มีสิทธิฎีกาในประเด็นดังกล่าว เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเบียดบังยักยอกค่าเช่าที่ดิน มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยยักยอกที่ดิน แม้จะมีคำขอท้ายฟ้องขอให้จำเลยคืนที่ดินแปลงดังกล่าวก็ไม่ถือว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในการกระทำผิดฐานยักยอกที่ดิน โจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยคืนที่ดินดังกล่าว
เมื่อโจทก์ร่วมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ กรณีต้องถือว่าโจทก์ร่วมมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นในทุกประเด็นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย และไม่มีสิทธิฎีกาในประเด็นดังกล่าว เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเบียดบังยักยอกค่าเช่าที่ดิน มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยยักยอกที่ดิน แม้จะมีคำขอท้ายฟ้องขอให้จำเลยคืนที่ดินแปลงดังกล่าวก็ไม่ถือว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในการกระทำผิดฐานยักยอกที่ดิน โจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยคืนที่ดินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7958/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาบุกรุกและการทำร้ายร่างกาย: ศาลฎีกาวินิจฉัยแยกความผิดและพิจารณาเจตนาของผู้กระทำ
จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกบุกรุกเข้าไปในเคหสถานของผู้เสียหายในเวลากลางคืนโดยมีอาวุธ ถือได้ว่าเป็นความผิดสำเร็จไปแล้วกระทงหนึ่ง การที่จำเลยที่ 1 เห็นผู้เสียหายตบหน้าจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 1 จึงใช้โซ่ที่ถือมาตีศีรษะผู้เสียหายไป 1 ครั้ง ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาทำร้ายผู้เสียหายซึ่งเป็นเจตนาที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ แยกต่างหากจากเจตนาบุกรุกในตอนแรกได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6690/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องเพิกถอนคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการเกินกำหนด โดยการยื่นต่อศาลที่ไม่มีอำนาจ และการขยายเวลาตามกฎหมาย
ผู้ร้องได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคสอง ครบถ้วนแล้วด้วยการนำคำร้องขอเพิกถอนคำชี้ขาดยื่นต่อศาลภายในระยะเวลา 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำชี้ขาด เพียงแต่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลาง และศาลปกครองกลางจำหน่ายคดีเพราะเห็นว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง และขณะที่ศาลปกครองกลางจำหน่ายคดีเป็นเวลาที่กำหนดเวลาในการยื่นคำร้องขอต่อศาลตามมาตรา 40 วรรคสองของ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ครบกำหนดไปแล้ว และการจำหน่ายคดีของศาลปกครองกลางก็เนื่องมาจากเหตุผลว่า คดีนี้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมมิได้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลปกครองกลางจึงเป็นคำสั่งอันเนื่องมาจากบทบัญญัติใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 การที่ผู้ร้องนำคดีมาร้องใหม่ภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี จึงเป็นการนำคดีไปร้องเพื่อดำเนินคดีใหม่ต่อศาลที่มีเขตอำนาจ อันเนื่องจากการมีการดำเนินการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว กรณีจึงต้องด้วยมาตรา 13 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6356/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่ชัดเจน ขาดรายละเอียดวันเวลาและปริมาณยาเสพติด ทำให้ศาลไม่สามารถลงโทษจำเลยได้ตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยทั้งห้าร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนและปริมาณไม่ทราบแน่ชัดไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยมิได้ระบุวันที่และเวลาการกระทำความผิดให้แน่นอน ทั้งมิได้ระบุจำนวนและปริมาณของเมทแอมเฟตามีนที่อ้างว่าจำเลยทั้งห้าร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ย่อมทำให้ศาลไม่อาจปรับฐานความผิดและบทลงโทษแก่จำเลยทั้งห้าได้ตามความประสงค์ของโจทก์ที่ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าเนื่องจากความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 บัญญัติฐานความผิดและบทลงโทษตามจำนวนหน่วยการใช้ หรือน้ำหนักสุทธิหรือปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ ดังนั้น คำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งห้ากระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดตลอดจนข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับวันเวลาที่เกิดจากการกระทำนั้นๆ พอสมควรเท่าที่ทำให้จำเลยทั้งห้าเข้าใจข้อหาได้ดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) คำฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6298/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดค่าไฟฟ้าหลังการขายทรัพย์สิน: จำเลยมีหน้าที่ชำระค่าไฟฟ้าต่อเนื่องจนกว่าจะแจ้งยกเลิกหรือโอนการใช้ไฟฟ้า
นับตั้งแต่โจทก์อนุมัติและติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าพร้อมทั้งจ่ายกระแสไฟฟ้าให้จำเลยตั้งแต่ปี 2518 จำเลยยังไม่เคยแจ้งบอกเลิกหรือโอนการใช้ไฟฟ้าแก่ผู้อื่นให้โจทก์ทราบเป็นลายลักษณ์อักษร จำเลยย่อมต้องรับผิดชอบในการชำระค่าไฟฟ้าที่ใช้ไปในบ้านหลังดังกล่าวตลอดไป แม้จำเลยได้ขายบ้านพร้อมที่ดินที่ติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าไปตั้งแต่ปี 2537 ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยไม่ได้บอกเลิกการใช้ไฟฟ้า หากจะมีผู้อื่นครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้ายังถือว่า จำเลยและผู้ครอบครองเป็นผู้รับผิดชอบร่วมกันในการชำระค่าไฟฟ้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5672/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพนักงานเบียดบังทรัพย์และเจตนาหลีกเลี่ยงการออกใบเสร็จรับเงิน การกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระ
แม้จำเลยที่ 1 จะไม่มีหน้าที่โดยตรงในการรับชำระเงินค่าไฟฟ้า แต่ในทางปฏิบัติจะมีคำสั่งด้วยวาจาจากผู้บังคับบัญชาให้พนักงานในแผนกหมุนเวียนช่วยเหลือกันในการปฏิบัติหน้าที่ ถ้าไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ย่อมถือว่าจำเลยที่ 1 มีหน้าที่รับใบเสร็จรับเงินและเงินสดจากผู้ใช้ไฟฟ้าด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 รับเงินค่าใช้ไฟฟ้าจากผู้ใช้ไฟฟ้าแล้วเบียดบังเป็นของตน จึงมีความผิดฐานเป็นพนักงานองค์การหรือหน่วยงานของรัฐเบียดบังทรัพย์ที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่จัดการเป็นของตนโดยทุจริต และเป็นการกระทำที่มีเจตนาเบียดบังตามวาระที่ผู้ใช้ไฟฟ้าแต่ละรายชำระ จึงเป็นการกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน
ก. ได้รับใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าระหว่างเดือนกันยายนและตุลาคม 2541 ซึ่งมีการระบุจำนวนเงินแน่นอนแล้ว เมื่อ ก. นำเงินไปชำระแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการรับชำระเงินค่าไฟฟ้าและออกใบเสร็จรับเงิน ย่อมไม่มีเหตุผลที่จำเลยที่ 2 จะต้องเขียนค่าไฟฟ้าทั้งสองจำนวนลงในเศษกระดาษอีก ทั้งการประทับตรายางว่า ชำระเงินแล้วโดยมีลายมือชื่อจำเลยที่ 2 และวันเดือนปีกำกับในเศษกระดาษดังกล่าว ส่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาทำเป็นหลักฐานมอบให้แก่ ก. ว่าได้ชำระเงินแล้ว เพื่อหลีกเลี่ยงการออกใบเสร็จรับเงินตามระเบียบของผู้เสียหาย คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 จึงชอบแล้ว จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502
ก. ได้รับใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าระหว่างเดือนกันยายนและตุลาคม 2541 ซึ่งมีการระบุจำนวนเงินแน่นอนแล้ว เมื่อ ก. นำเงินไปชำระแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการรับชำระเงินค่าไฟฟ้าและออกใบเสร็จรับเงิน ย่อมไม่มีเหตุผลที่จำเลยที่ 2 จะต้องเขียนค่าไฟฟ้าทั้งสองจำนวนลงในเศษกระดาษอีก ทั้งการประทับตรายางว่า ชำระเงินแล้วโดยมีลายมือชื่อจำเลยที่ 2 และวันเดือนปีกำกับในเศษกระดาษดังกล่าว ส่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาทำเป็นหลักฐานมอบให้แก่ ก. ว่าได้ชำระเงินแล้ว เพื่อหลีกเลี่ยงการออกใบเสร็จรับเงินตามระเบียบของผู้เสียหาย คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 จึงชอบแล้ว จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4850/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความขาดข้อต่อสู้ในชั้นอุทธรณ์ และความประมาทเลินเล่อของจำเลยในการทำสัญญาบริการโทรศัพท์ ทำให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์
ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความนั้น ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความจำเลยที่ 1 ไม่อุทธรณ์หรือโต้แย้งไว้ในคำแก้อุทธรณ์ ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นอันยุติ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ในปัญหาเรื่องอายุความจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามสัญญาบริการโทรศัพท์แสดงให้เห็นว่า ในกรณีที่มีผู้ขอใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศจะต้องมีการตรวจสอบชื่อและหลักฐานของผู้ขอใช้บริการ เช่น สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านและสถานที่ติดตั้ง ดังที่มีการระบุรายการเช่นนั้นไว้ในเอกสารดังกล่าว จำเลยที่ 1 มิได้ใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของเอกสารที่ใช้ในการทำสัญญาบริการโทรศัพท์เป็นเหตุให้มีการอนุมัติให้ใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ และในที่สุดไม่สามารถเรียกเก็บค่าใช้บริการรายนี้ได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าความเสียหายเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 อันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
ตามสัญญาบริการโทรศัพท์แสดงให้เห็นว่า ในกรณีที่มีผู้ขอใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศจะต้องมีการตรวจสอบชื่อและหลักฐานของผู้ขอใช้บริการ เช่น สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านและสถานที่ติดตั้ง ดังที่มีการระบุรายการเช่นนั้นไว้ในเอกสารดังกล่าว จำเลยที่ 1 มิได้ใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของเอกสารที่ใช้ในการทำสัญญาบริการโทรศัพท์เป็นเหตุให้มีการอนุมัติให้ใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ และในที่สุดไม่สามารถเรียกเก็บค่าใช้บริการรายนี้ได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าความเสียหายเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 อันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4661/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเรื่องละเมิดจากการปล่อยน้ำเสียกระทบการเกษตร: ศาลวินิจฉัยได้ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความ
ตามคำฟ้องโจทก์ระบุว่า จำเลยทำละเมิดต่อโจทก์โดยจำเลยปล่อยน้ำเสียซึ่งเป็นน้ำเค็มออกจากบ่อเลี้ยงกุ้งเพื่อทำการจับกุ้ง ซึ่งน้ำเสียที่ไหลออกมาได้ไหลเข้าในคลองส่งน้ำที่อยู่ติดกับที่นาของโจทก์ ต่อมาน้ำเสียซึ่งเป็นน้ำเค็มที่จำเลยปล่อยออกมาดังกล่าวไหลเข้าไปในที่นาของโจทก์ทำให้เกิดผลกระทบต่อการทำนาข้าวของโจทก์ มีความหมายชัดแจ้งว่า น้ำที่จำเลยปล่อยออกมาเป็นน้ำที่ไม่ดี เป็นน้ำที่เค็ม ไม่เหมือนน้ำในคลองส่งน้ำตามปกติที่ใช้ทำนาได้ ดังนี้ เห็นได้ว่าโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงว่าน้ำเสียเพราะมีสิ่งเจือปนที่ทำให้น้ำเค็มผิดปกติมาด้วยแล้ว เมื่อได้ความว่าน้ำจากบ่อเลี้ยงกุ้งของจำเลยที่ไหลเข้าท่วมขังในที่นาของโจทก์มีสิ่งเจือปนที่จำเลยใช้ในการเลี้ยงกุ้งทำให้ดินในที่นาของโจทก์มีความเค็มสูงผิดปกติ ทำให้มีผลกระทบกับการเพาะปลูกและความเจริญเติบโตของต้นข้าวในที่นาของโจทก์ ศาลมีอำนาจวินิจฉัยไปตามข้อเท็จจริงที่ได้ความดังกล่าวได้ หาเป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นไม่