พบผลลัพธ์ทั้งหมด 205 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12734/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินมรดก: โจทก์ไม่มีส่วนร่วมในการทำมาหากินกับผู้ตาย จึงไม่มีสิทธิเรียกร้อง
แม้ที่ดินและหุ้นจะได้มาในระหว่างโจทก์อยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตาย แต่เมื่อโจทก์กับผู้ตายไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ที่ดินและหุ้นดังกล่าวจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส อันจะถือเป็นสินสมรส ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) แม้ศาลจะมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายก็ฟังข้อเท็จจริงเพียงว่า เมื่อโจทก์เป็นภริยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โจทก์อาจมีสิทธิเป็นเจ้าของร่วมกันในทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกับผู้ตายจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะขอตั้งผู้จัดการมรดกได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 เป็นการรับฟังข้อเท็จจริงในเรื่องการมีส่วนได้เสียเพียงเพื่อวินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและควรตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่เท่านั้น แต่ไม่มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าที่ดินและหุ้นที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งในคดีนี้เป็นทรัพย์สินที่โจทก์ร่วมทำมาหาได้กับผู้ตายหรือไม่ คำพิพากษาคดีดังกล่าวจึงไม่ผูกพันคู่ความให้ต้องรับฟังว่าที่ดินและหุ้นที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งในคดีนี้เป็นทรัพย์สินที่โจทก์ทำมาหาได้ร่วมกับผู้ตายและโจทก์มีกรรมสิทธิ์ร่วมกึ่งหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12170/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีแบ่งแยกที่ดิน: แม้ไม่ใช่คู่ความชนะคดีก็ขอให้ศาลบังคับได้หากมีภาระร่วมกันตามคำพิพากษา
แม้จำเลยจะไม่ใช่คู่ความซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่มีสิทธิขอให้บังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 แต่กรณีนี้เป็นเรื่องที่ศาลพิพากษาให้โจทก์และจำเลยแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมตามข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมฉบับลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2524 และแผนที่ด้านหลังบันทึกดังกล่าว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 วรรคหนึ่ง ซึ่งโจทก์และจำเลยต่างมีภาระร่วมกันที่จะต้องไปดำเนินการแบ่งแยกที่ดินให้เป็นไปตามคำพิพากษา เมื่อคำร้องของจำเลยฉบับลงวันที่ 11 เมษายน 2554 ที่ขอให้บังคับโจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษาเป็นคำร้องที่สืบเนื่องมาจากคำร้องฉบับลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2551 ที่จำเลยยื่นต่อศาลขอให้ออกหมายเรียกโจทก์และเจ้าพนักงานที่ดินมาสอบถามเรื่องที่โจทก์ไม่ยอมลงลายมือชื่อรับทราบผลการรังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมอันเป็นเหตุขัดข้องทำให้เจ้าพนักงานที่ดินไม่อาจออกโฉนดที่ดินให้แก่จำเลยได้ จึงเป็นกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงในเบื้องต้นว่าโจทก์ไม่ให้ความร่วมมือในการแบ่งแยกที่ดิน ย่อมถือว่ามีเหตุขัดข้อง ทำให้ไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลได้ ศาลชั้นต้นควรต้องสอบถามโจทก์และจำเลยก่อนไม่ควรด่วนยกคำร้องของจำเลยไปเสียทีเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11238/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ที่ดิน: ศาลต้องรับฟ้องแย้งเพื่อพิจารณาข้ออ้างการได้กรรมสิทธิ์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งห้าออกจากที่ดินของโจทก์ จำเลยทั้งห้าให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยทั้งห้าอยู่ในที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นสัดส่วน เนื้อที่ 70 ตารางวา โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาแล้วเป็นเวลาเกินกว่าสิบปีโดยมิได้อาศัยสิทธิของผู้ใด ขอให้ยกฟ้อง และพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งห้า ให้โจทก์ไปดำเนินการแบ่งแยกที่ดินและโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยทั้งห้า หากโจทก์ไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของโจทก์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์กับจำเลยทั้งห้าโต้เถียงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแปลงเดียวกัน ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งห้าจึงเกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม ส่วนคำขอท้ายฟ้องแย้งแม้จะขอมาเป็นข้อเดียว แต่แยกได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกขอให้พิพากษาว่าที่ดินพิพาทเนื้อที่ 70 ตารางวา ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งห้า กับส่วนที่สองขอให้โจทก์ไปดำเนินการแบ่งแยกที่ดินพิพาทและโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยทั้งห้า ถึงแม้คำขอท้ายฟ้องแย้งส่วนที่สองจะไม่มีกฎหมายให้ศาลบังคับโจทก์ปฏิบัติเช่นนั้น ก็ชอบที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้องแย้งในส่วนที่สองเท่านั้น แต่ศาลชั้นต้นจะต้องสั่งรับฟ้องแย้งในส่วนที่ขอให้พิพากษาว่าจำเลยทั้งห้าได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเนื้อที่ 70 ตารางวา โดยการครอบครองปรปักษ์ไว้พิจารณาและพิพากษาไปตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10692/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: การสะดุดหยุด และเริ่มนับใหม่เมื่อการครอบครองทรัพย์สินสิ้นสุด
คดีจัดการมรดกกับคดีมรดกเป็นคดีคนละประเภทกัน กฎหมายบัญญัติแยกไว้คนละส่วนและให้อยู่ในบังคับการฟ้องร้องคนละมาตรา อายุความฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกมีอายุความห้าปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง ส่วนคดีมรดกมีอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 จำเลยที่ 2 และที่ 3มิใช่ผู้จัดการมรดกแต่เป็นทายาทและถูกโจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดก ย่อมเป็นคดีมรดก อันมีอายุความตามมาตรา 1754 แม้ขณะที่โจทก์ฟ้องจะได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกเข้ามาด้วย ก็หาอาจทำให้สิทธิเรียกร้องแบ่งมรดกของโจทก์จากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นทายาทกลับเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกไปได้ไม่
ป.พ.พ. มาตรา 193/9 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องใดๆ ถ้ามิได้ใช้บังคับภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด สิทธิเรียกร้องนั้นเป็นอันขาดอายุความ" มาตรา 193/14 บัญญัติว่า "อายุความย่อมสะดุดหยุดลงในกรณีดังต่อไปนี้ (1)... กระทำการใดๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง..." และมาตรา 193/15 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ" วรรคสอง บัญญัติว่า "เมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดลงเวลาใดให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น" โจทก์เรียกร้องเอาทรัพย์มรดกจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งอยู่ในบังคับอายุความตามมาตรา 1754 และอยู่ในบังคับตามมาตรา 193/9 มาตรา 193/14 และมาตรา 193/15 ดังกล่าวด้วย ข้อเท็จจริงได้ความว่า ณ. ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2537 ศาลตั้ง ส. เป็นผู้จัดการมรดกของ ณ. เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2538 จึงทำให้อายุความมรดกสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14 แม้ต่อมา ส. ในฐานะผู้จัดการมรดกจะจดทะเบียนโอนมรดกพิพาทให้แก่ตนเองกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ณ. เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2538 โดยไม่ได้โอนแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่ง แต่ก็ได้ความจากคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ว่าโจทก์ยังครอบครองทรัพย์มรดกโดยอาศัยในบ้าน ว. ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมรดกพิพาทอยู่ จึงเป็นกรณีที่ ส. จำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำการใดๆ อันปราศจากข้อสงสัยอันแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับว่าโจทก์ยังครอบครองมรดกอยู่อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ตามมาตรา 193/14
แต่เมื่อมีข้อเท็จจริงว่า ส. ไถ่ถอนจำนองโดย ส. มีหนังสือแจ้งธนาคารผู้รับจำนองว่า ไม่ให้ธนาคารมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินให้แก่โจทก์ และโอนที่ดินส่วนของตนให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3พฤติการณ์ดังกล่าวของ ส. จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการแสดงเจตนาไม่ยึดถือมรดกแทนโจทก์ต่อไปนับแต่วันที่ธนาคารได้แจ้งแก่โจทก์อย่างช้าไม่เกินวันที่ไถ่ถอนจำนองจากธนาคาร ดังนั้น การครอบครองทรัพย์มรดกของโจทก์อันเป็นเหตุทำให้อายุความสะดุดหยุดลงย่อมสิ้นสุดลงไม่ถือว่าโจทก์ครอบครองทรัพย์มรดกที่ยังไม่แบ่งต่อไปนับแต่วันนั้น อายุความจึงเริ่มนับใหม่ในวันดังกล่าวตามมาตรา 193/15 วรรคสอง โจทก์ฟ้องคดีนี้เกินหนึ่งปี ย่อมขาดอายุความตามมาตรา 1754 วรรคหนึ่ง
ป.พ.พ. มาตรา 193/9 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องใดๆ ถ้ามิได้ใช้บังคับภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด สิทธิเรียกร้องนั้นเป็นอันขาดอายุความ" มาตรา 193/14 บัญญัติว่า "อายุความย่อมสะดุดหยุดลงในกรณีดังต่อไปนี้ (1)... กระทำการใดๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง..." และมาตรา 193/15 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ" วรรคสอง บัญญัติว่า "เมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดลงเวลาใดให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น" โจทก์เรียกร้องเอาทรัพย์มรดกจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งอยู่ในบังคับอายุความตามมาตรา 1754 และอยู่ในบังคับตามมาตรา 193/9 มาตรา 193/14 และมาตรา 193/15 ดังกล่าวด้วย ข้อเท็จจริงได้ความว่า ณ. ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2537 ศาลตั้ง ส. เป็นผู้จัดการมรดกของ ณ. เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2538 จึงทำให้อายุความมรดกสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14 แม้ต่อมา ส. ในฐานะผู้จัดการมรดกจะจดทะเบียนโอนมรดกพิพาทให้แก่ตนเองกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ณ. เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2538 โดยไม่ได้โอนแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่ง แต่ก็ได้ความจากคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ว่าโจทก์ยังครอบครองทรัพย์มรดกโดยอาศัยในบ้าน ว. ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมรดกพิพาทอยู่ จึงเป็นกรณีที่ ส. จำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำการใดๆ อันปราศจากข้อสงสัยอันแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับว่าโจทก์ยังครอบครองมรดกอยู่อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ตามมาตรา 193/14
แต่เมื่อมีข้อเท็จจริงว่า ส. ไถ่ถอนจำนองโดย ส. มีหนังสือแจ้งธนาคารผู้รับจำนองว่า ไม่ให้ธนาคารมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินให้แก่โจทก์ และโอนที่ดินส่วนของตนให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3พฤติการณ์ดังกล่าวของ ส. จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการแสดงเจตนาไม่ยึดถือมรดกแทนโจทก์ต่อไปนับแต่วันที่ธนาคารได้แจ้งแก่โจทก์อย่างช้าไม่เกินวันที่ไถ่ถอนจำนองจากธนาคาร ดังนั้น การครอบครองทรัพย์มรดกของโจทก์อันเป็นเหตุทำให้อายุความสะดุดหยุดลงย่อมสิ้นสุดลงไม่ถือว่าโจทก์ครอบครองทรัพย์มรดกที่ยังไม่แบ่งต่อไปนับแต่วันนั้น อายุความจึงเริ่มนับใหม่ในวันดังกล่าวตามมาตรา 193/15 วรรคสอง โจทก์ฟ้องคดีนี้เกินหนึ่งปี ย่อมขาดอายุความตามมาตรา 1754 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10675-10676/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีที่ดิน: สิทธิการได้รับอนุญาตทำประโยชน์ในที่ดินเขตปฏิรูปที่ดินสิ้นสุดลง ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพิ่งมีมติให้เพิกถอนสิทธิของโจทก์ทั้งสองระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จึงเป็นกรณีที่จำเลยไม่สามารถระบุมติดังกล่าวไว้ในบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคหนึ่ง และมีเหตุอันสมควรที่จะขออนุญาตยื่นพยานเอกสารดังกล่าวต่อศาลฎีกา เมื่อโจทก์ทั้งสองไม่คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสาร และพยานเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี ดังนี้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จึงรับสำเนาเอกสารดังกล่าวเป็นพยานในชั้นฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10625/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งจากการถูกเพิกถอนจากตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา และการเลือกตั้งใหม่
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 มาตรา 158 บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาลงโทษผู้ใดฐานกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้และผู้นั้นเป็นผู้กระทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม หรือเป็นผู้กระทำการใดอันเป็นเท็จเพื่อจะแกล้งให้ผู้สมัครถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหรือเพื่อไม่ให้มีการประกาศผลการเลือกตั้งตามมาตรา 140 วรรคสอง อันเป็นเหตุให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ในหน่วยเลือกตั้งหรือเขตเลือกตั้งใด ให้ศาลมีคำพิพากษาว่าผู้นั้นต้องรับผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งใหม่นั้นด้วย..." ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่าผู้ที่กระทำความผิดตามมาตรา 158 จะต้องกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 แต่การที่จำเลยซึ่งได้รับการประกาศผลตามกฎหมายให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาแล้วแต่จงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ จนกระทั่งถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาลงโทษและให้จำเลยพ้นจากตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา อันเป็นผลทำให้ตำแหน่งวุฒิสภาว่างลงและโจทก์ต้องจัดการเลือกตั้งใหม่เป็นกรณีที่จำเลยกระทำการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2552 มาตรา 119 แต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวมิได้เป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 แต่อย่างใด เมื่อกฎหมายได้บัญญัติถึงกรณีที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งใหม่เป็นการเฉพาะดังกล่าวข้างต้นแล้ว การที่จะนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 420 มาใช้บังคับ ก็ต้องได้ความชัดว่า จำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความ กฎหมายกำหนดให้จำเลยยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มิได้มีบทบังคับให้จำเลยต้องยื่นต่อโจทก์ ส่วนการที่โจทก์ต้องเสียงบประมาณจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ก็เป็นผลแห่งคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ให้จำเลยพ้นจากตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา จำเลยมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ที่จะทำให้โจทก์ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการเลือกตั้งใหม่แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10625/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าใช้จ่ายเลือกตั้งใหม่: จำเลยไม่ต้องชดใช้ หากการกระทำผิดไม่ได้เจตนาต่อการเลือกตั้ง
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 มาตรา 158 บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาลงโทษผู้ใดฐานกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้และผู้นั้นเป็นผู้กระทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม หรือเป็นผู้กระทำการใดอันเป็นเท็จเพื่อจะแกล้งให้ผู้สมัครถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหรือเพื่อไม่ให้มีการประกาศผลการเลือกตั้งตามมาตรา 140 วรรคสอง อันเป็นเหตุให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ในหน่วยเลือกตั้งหรือเขตเลือกตั้งใด ให้ศาลมีคำพิพากษาว่าผู้นั้นต้องรับผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งใหม่นั้นด้วย..." ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่าผู้ที่กระทำความผิดตามมาตรา 158 จะต้องกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 แต่การที่จำเลยซึ่งได้รับการประกาศผลตามกฎหมายให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาแล้วแต่จงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ จนกระทั่งถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาลงโทษและให้จำเลยพ้นจากตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา อันเป็นผลทำให้ตำแหน่งวุฒิสภาว่างลงและโจทก์ต้องจัดการเลือกตั้งใหม่ก็ตามซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยกระทำการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 119 แต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวมิได้เป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 แต่อย่างใด เมื่อกฎหมายได้บัญญัติถึงกรณีที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งใหม่เป็นการเฉพาะดังกล่าวข้างต้นแล้ว การที่จะนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 420 มาใช้บังคับ ก็ต้องได้ความชัดว่า จำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความ กฎหมายกำหนดให้จำเลยยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มิได้มีบทบังคับให้จำเลยต้องยื่นต่อโจทก์ ส่วนการที่โจทก์ต้องเสียงบประมาณจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ก็เป็นผลแห่งคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ให้จำเลยพ้นจากตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา จำเลยมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ที่จะทำให้โจทก์ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการเลือกตั้งใหม่แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9345/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การชั้นสอบสวนของผู้ต้องหาใช้พิสูจน์ความผิดจำเลยอื่นได้
บทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 134/4 วรรคสาม กำหนดไว้ว่าถ้อยคำใด ๆ ที่ผู้ต้องหาให้ไว้ก่อนที่จะดำเนินการตามมาตรา 134/1 ในเรื่องการสอบถามและจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหาจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ต้องหานั้นไม่ได้เท่านั้น แต่หาได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด ๆ ที่ห้ามมิให้นำคำให้การชั้นสอบสวนของผู้ต้องหาในลักษณะดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของบุคคลอื่นหรือจำเลยอื่นในคดีแต่ประการใดทั้งสิ้น ดังนั้น คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยจึงสามารถนำมาเป็นพยานหลักฐานประกอบในคดีเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยอื่นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9270/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของห้างหุ้นส่วนจำกัดหลังการเปลี่ยนแปลงผู้จัดการ และการดำเนินการเพื่อรักษากิจการ
ในวันที่ 8 มีนาคม 2544 โจทก์โดย ท. ลงลายมือชื่อในใบคำขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ โดยแก้ไขเพิ่มเติมผู้เป็นหุ้นส่วนจาก ท. เป็น ว. และเปลี่ยนให้ ว. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแทน ท. ทั้ง พ. และ น. ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมแล้ว และในวันเดียวกันโจทก์โดย ท. มอบอำนาจให้ ภ. ไปจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนผู้จัดการดังกล่าว การจดทะเบียนที่กระทำภายหลัง เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2544 อันเป็นเวลาภายหลังที่ ท. ถึงแก่กรรมแล้วตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2544 ก็เป็นไปตามเจตนาของ ท. และได้แจ้งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเพื่อจะได้มีการประกาศการเปลี่ยนแปลงลงในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้บุคคลภายนอกทั่วไปทราบเท่านั้น เมื่อนายทะเบียนฯ รับจดทะเบียนไว้แล้ว ตราบใดที่ยังไม่มีการร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวหรือมีการเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียนนั้นเป็นอย่างอื่น ก็ยังถือได้ว่า ว. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์โดยชอบ การที่ ภ.ได้ดำเนินการจดทะเบียนเพื่อให้ ว. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการคนใหม่มีจุดประสงค์ให้โจทก์ดำเนินกิจการต่อไปได้ และเป็นไปเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของ ท. ซึ่งเป็นตัวการตาม ป.พ.พ. มาตรา 828 ประกอบกับปรากฏจากคำเบิกความของ ว. พยานโจทก์ว่า ว. เป็นบุตรชายคนโตของ ท. จึงนับว่าเป็นทายาทของ ท. หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์คนเดิม ทั้งผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดตกลงให้ ว. เข้ามาเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการคนใหม่และตกลงให้ห้างฯ ยังคงอยู่ต่อไปมิได้ให้ห้างฯ เลิกไป ว. ย่อมเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์โดยชอบ ทั้งยังได้ความว่าก่อนฟ้องคดีนี้ห้างฯ โจทก์ยังดำเนินกิจการอยู่โดย ว. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ โดยยังมิได้เลิกห้างฯ โจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8808/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาอนุญาโตตุลาการมีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญา การเรียกร้องค่าเสียหายจากบุคคลภายนอกสัญญายังคงดำเนินคดีในศาลได้
สัญญาการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ สมาคมประกันวินาศภัย ที่โจทก์และจำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่สัญญานั้น ย่อมมีผลผูกพันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบริษัทประกันภัยและเข้าทำสัญญาผูกพันระหว่างกันเท่านั้น สำหรับจำเลยที่ 1 นั้นเป็นบุคคลธรรมดา หาใช่บุคคลที่เป็นคู่สัญญาการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการดังกล่าวไม่ จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอ้างบทบัญญัติมาตรา 14 ของ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาเพื่อขอให้ศาลสั่งจำหน่ายคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 โจทก์มีสิทธิดำเนินคดีกับจำเลยที่ 1 ในชั้นศาลต่อไป
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาตรงกันว่าให้จำหน่ายคดีในส่วนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นไปตามคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายของจำเลยที่ 2 ประกอบกับ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 14 กำหนดให้สิทธิเฉพาะคู่กรณีที่มีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการต่อกันเท่านั้น อันถือเป็นสัญญาอย่างหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้เป็นคู่สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอาศัยบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวขอให้ศาลจำหน่ายคดีในส่วนของตนได้ แม้จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดต่อเมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ต้องรับผิดด้วยและเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ก็ตาม แต่ผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่จำหน่ายคดีในส่วนของจำเลยที่ 1 ก็ไม่มีผลกระทบโดยตรงกับจำเลยที่ 2 ฎีกาของจำเลยที่ 2 จึงไม่มีข้อโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาตรงกันว่าให้จำหน่ายคดีในส่วนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นไปตามคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายของจำเลยที่ 2 ประกอบกับ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 14 กำหนดให้สิทธิเฉพาะคู่กรณีที่มีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการต่อกันเท่านั้น อันถือเป็นสัญญาอย่างหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้เป็นคู่สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอาศัยบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวขอให้ศาลจำหน่ายคดีในส่วนของตนได้ แม้จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดต่อเมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ต้องรับผิดด้วยและเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ก็ตาม แต่ผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่จำหน่ายคดีในส่วนของจำเลยที่ 1 ก็ไม่มีผลกระทบโดยตรงกับจำเลยที่ 2 ฎีกาของจำเลยที่ 2 จึงไม่มีข้อโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง